ข้ามไปเนื้อหา

ขบวนการ 969

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขบวนการ 969
၉၆၉ လှုပ်ရှားမှု
หัวหน้าอะชีนวีระตู
ประเภทขบวนการชาตินิยม
ที่ตั้งธงของประเทศพม่า พม่า
อุดมคติทางการเมืองวิจารณ์ศาสนาอิสลาม, ฟื้นฟูนิยมศาสนาพุทธ, ชาตินิยมทางศาสนา
ศาสนาพุทธ

ขบวนการ 969 (อังกฤษ: 969 Movement; พม่า: ၉၆၉ သင်္ကေတ) เป็นขวนการชาตินิยมต่อต้านในสิ่งที่เห็นว่าเป็นการแผ่ขยายของศาสนาอิสลามในสังคมพม่าที่นับถือศาสนาพุทธ เลข 969 เป็นสัญลักษณ์หมายถึงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้า 9 ประการ เลข 6 แสดงคุณลักษณะ 6 ประการของพระธรรม และเลข 9 ตัวสุดท้าย แสดงถึงคุณลักษณะของพระสงฆ์ 9 ประการ ในอดีต พระรัตนตรัยและธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของชาวพุทธ และกลายเป็นตัวเลข 969 ซึ่งเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่ง[1]

ขบวนการนี้มีปฏิกิริยาที่รุนแรงภายในพม่า[2] สื่อในระดับนานาชาติ เช่น สเตรทไทม์กล่าวว่าพระวีระทูมีส่วนรับผิดชอบต่อความรุนแรงต่อต้านมุสลิม แม้จะปฏิญาณว่าจะทำงานเพื่อสันติภาพ[3] แต่ยังมีผู้ติเตียนด้วยความสงสัย ขบวนการนี้ถูกกล่าวว่าเป็นขบวนการต่อต้านอิสลามหรือหวาดกลัวอิสลาม[4][5][6][7] ผู้สนับสนุนขบวนการนี้เป็นชาวพุทธซึ่งปฏิเสธว่าไม่ได้ต่อต้านอิสลาม ภิกษุวีระทูกล่าวว่าเป็นขบวนการปกป้องที่มีเป้าหมายที่ชาวเบงกอลซึ่งก่อการร้ายต่อชาวพุทธยะไข่[8] อเล็กซ์ บุกบินเดอร์ได้กล่าวใน The Atlantic เชื่อมโยงจุดเริ่มต้นของขบวนการนี้กับหนังสือที่เขียนในราว พ.ศ. 2532 โดยอู จอ ลวิน ผู้ทำงานในกระทรวงกิจการศาสนา ขบวนการนี้มองว่ามุสลิมมีแผนรุกรานพม่าในศตวรรษที่ 21[9]

วีระทู

[แก้]

วีระทูถือเป็นผู้นำสูงสุดของขบวนการ เขาสนับสนุนให้คว่ำบาตรร้านค้าของมุสลิม[10][11][12] เขากล่าวว่าการประณามขบวนการ 969 ในเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555 ไม่เป็นธรรม ขบวนการนี้ไม่ได้เน้นความรุนแรง[13] Asia Times Online ได้กล่าวถึงเขาว่ามีภาพลักษณ์ที่ซับซ้อน โดยให้ภาพมุสลิมเป็นมารแต่ก็ประณามตำรวจที่ใช้ความรุนแรง[14] บทความในสเตรทไทม์กล่าวว่ามีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าวีระทูได้เปลี่ยนน้ำเสียงและสนับสนุนสันติภาพระหว่างศาสนา[15]

นิตยสารไทม์ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง ภาพของการก่อการร้ายชาวพุทธ เมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556[16] หลังการตีพิมพ์ พระวีระทูปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับการต่อต้านมุสลิมด้วยความรุนแรง[17] และไทม์ฉบับนี้ถูกคว่ำบาตรในพม่า[18] เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่าได้ออกมาปกป้องพระวีระทู และคว่ำบาตรเพื่อไม่ให้เกิดการต่อต้านจากพระสงฆ์ที่ต่อต้านอิสลาม ป้องกันไม่ให้บทความนี้สร้างปัญหาระหว่างชาวพุทธและมุสลิม[19] วีระทูกล่าวว่าบทความนี้ไม่ได้ต่อต้านชาวพุทธแต่ต่อต้านเขาโดยตรง เขาได้ให้สัมภาษณ์นิตยสาร The Irrawaddy ว่ากลุ่มพันธมิตรอิสลามอยู่เบื้องหลังบทความเพื่อวางแผนขยายญิฮาดเข้าสู่พม่า[20]

มีผู้ประท้วงหลายร้อยคนบนถนนในกรุงย่างกุ้งเมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เพื่อต่อต้านบทความในนิตยสารไทม์เกี่ยวพระวีระทูและขบวนการ 969 พระสงฆ์ได้ออกมาปกป้องพระวีระทูว่าไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายแต่เป็นผู้ปกป้องเชื้อชาติ ศาสนา และภาษา

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 พระวีระทูได้ไปเข้าร่วมการประชุมใหญ่พระสงฆ์ในโคลัมโบ จัดโดยโพทุ พาลา เสนา ซึ่งเขากล่าวว่าขบวนการ 969 จะร่วมงานกับโพทุ พาลา เสนา[21]

สิ่งที่ริเริ่ม

[แก้]

ขบวนการนี้พยายามร่างกฎหมายที่จะห้ามหญิงชาวพุทธแต่งงานกับแต่งงานกับชายที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น[22] ธรรมปิยะ พระผู้ใหญ่ที่ช่วยร่างกฎหมายนี้ต้องการให้เกิดสันติภาพระหว่างศรัทธาที่ต่างกันและปกป้องหญิงชาวพุทธจากการถูกบังคับให้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามเมื่อแต่งงานกับชายมุสลิม หน่วยงานของรัฐบาลที่ควบคุมศาสนาซึ่งสนับสนุนการปกป้องศาสนาพุทธจากการขยายตัวของศาสนาอิสลาม ปฏิเสธร่างกฎหมายนี้และขัดขวางการจัดตั้งองค์กรที่เป็นทางการ[23]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Nationalist Monk U Wirathu Denies Role in Anti-Muslim Unrest". Irrawaddy.org. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  2. "Monks speak out against misuse of '969'". Mmtimes.com. 10 April 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  3. Nirmal Ghosh (1 Apr 2013). "Anti-Muslim monk changes tack, vows to promote peace". The Straits Times.
  4. Downs, Ray (27 March 2013). "Is Burma's Anti-Muslim Violence Led by Buddhist Neo-Nazis ?". Vice.com. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  5. Sardina, Carlos (10 May 2013). "Who are the monks behind Burma's '969′ campaign? | DVB Multimedia Group". Dvb.no. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  6. Lindsay Murdoch (15 April 2013). "Anti-Muslim movement hits Myanmar". Smh.com.au. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  7. "Myanmar's extremist Buddhists get free rein". Nation.com.pk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  8. "Religious radicals driving "Myanmar's" unrest". Global Post. 31 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 2015-12-10.
  9. "969: The Strange Numerological Basis for Burma's Religious Violence - Alex Bookbinder". The Atlantic. 9 April 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  10. Hodal, Kate; Khalili, Mustafa; Salfield, Alice (16 April 2013). "Burma's Bin Laden, the Buddhist monk who fuels hatred - video | World news". London: theguardian.com. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  11. "Fanatical Buddhist Monk Saydaw Wirathu Calling for Boycott of Myanmar Muslims [VIDEO] - IBTimes UK". Ibtimes.co.uk. 26 March 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  12. "The 'Burmese bin Laden' fomenting violence against Myanmar's Muslims | The National". Thenational.ae. 29 March 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  13. "Root Out the Source of Meikhtila Unrest". Irrawaddy.org. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  14. Matthew J Walton (2 April 2013). "Buddhism turns violent in Myanmar". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-14. สืบค้นเมื่อ 2015-12-10.
  15. Ghosh, Nirmal. "Outspoken anti-Muslim monk pledges to promote peace in Myanmar". Straitstimes.com. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  16. Beech, Hannah (1 July 2013). "The Buddhist Monks Advocating Intolerance in Asia". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  17. "Myanmar Monk Rejects Terrorist Label Following Communal Clashes". Rfa.org. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  18. Williams, Alex (28 June 2013). "Myanmar bans TIME Magazine over 'Buddhist Terror' cover story (video)". Inside Investor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-15. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  19. "BBC News - Burmese leader defends 'anti Muslim' monk Ashin Wirathu". Bbc.co.uk. 24 June 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  20. Daniel Schearf. "Burma Objects to Time Magazine Criticism". Voanews.com. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  21. "Ashin Wirathu Thera of Myanmar to work with BBS". Daily Mirror (Sri Lanka). 28 September 2014.
  22. "Buddhism v Islam in Asia: Fears of a new religious strife". The Economist. 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
  23. Jared Ferrie and Min Zayar Oo (11 September 2013). "Myanmar Buddhist committee bans anti-Muslim organizations". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26. สืบค้นเมื่อ 18 October 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]