ชาดา ไทยเศรษฐ์
ชาดา ไทยเศรษฐ์ | |
---|---|
ชาดา ใน พ.ศ. 2566 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (1 ปี 2 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีว่าการ | อนุทิน ชาญวีรกูล |
ก่อนหน้า | นริศ ขำนุรักษ์ |
ถัดไป | ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (16 ปี 328 วัน) | |
ก่อนหน้า | ธีรพันธ์ ธีรยุทธวัฒนะ |
เขตเลือกตั้ง |
|
รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 173 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2504 อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี ประเทศไทย |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2561–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ชาติไทย (2531–2551) ชาติไทยพัฒนา (2552–2561) |
คู่สมรส | เตือนจิตรา แสงไกร (หย่า) อัจฉรา ทองเทพ (หย่า) |
บุตร | 7 |
บุพการี |
|
ญาติ | มนัญญา ไทยเศรษฐ์ (น้องสาว) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
อาชีพ | นักการเมือง |
ชาดา ไทยเศรษฐ์ (เกิด 7 มิถุนายน พ.ศ. 2504) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี เขต 2 และรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย อดีตนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี
ประวัติ
[แก้]ชาดา เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ในครอบครัวมุสลิมปาทาน เป็นบุตรของเดชา กับปาลี้ ไทยเศรษฐ์[1] พี่ชายชื่อ ชัยยศ ไทยเศรษฐ์ และน้องสาวชื่อ มนัญญา ไทยเศรษฐ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[1] บิดาถูกลอบสังหารในปี พ.ศ. 2511 ตั้งแต่เขาอายุ 7 ขวบ อีกเจ็ดปีต่อมา พ.ศ. 2518 มารดาถูกลอบสังหาร และในอีก 8 เดือนถัดมา พี่ชายก็เสียชีวิตด้วยสาเหตุการลอบสังหารเช่นเดียวกัน[2]
เขาสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโทสาขาเดียวกัน
ในช่วงวัยรุ่น ชาดาเคยประสบอุบัติเหตุ ทำให้กระดูกคอมีปัญหา[3] ต้องพบแพทย์เพื่อฉีดยาระงับอาการป่วยซึ่งกำเริบเป็นระยะ[4]
เขาเคยสมรสกับเตือนจิตรา แสงไกร และอัจฉรา ทองเทพ มีบุตรชายและบุตรสาวทั้งหมด 7 คน เป็นบุตรในสมรส 4 คน และเป็นบุตรนอกสมรสที่รับรองแล้วอีก 3 คน[1]
การทำงาน
[แก้]ชาดา ไทยเศรษฐ์ เป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลของจังหวัดอุทัยธานี[4] เริ่มเข้าสู่การเมืองในปี พ.ศ. 2535 โดยลงสมัครสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี และได้รับการเลือกตั้ง สามปีต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี[5] และในปี พ.ศ. 2543 เข้าร่วมกิจกรรมกับพรรคถิ่นไทย[6] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
ในระหว่างดำรงตำแหน่งสภาผู้แทนราษฎร ชาดา ไทยเศรษฐ์ ได้ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์สภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการงบประมาณ
หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดอำนาจการปกครองในปี พ.ศ. 2557 เขาถูกจับตามองจาก คสช.[7] และเคยถูกเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามคำสั่ง คสช. ตรวจค้นบ้านของเขาในปี พ.ศ. 2560[8]
ในปี พ.ศ. 2561 เขาย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีในการเลือกตั้งปีถัดมา
จากนั้นในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็น สส. อีกสมัย และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[9] ต่อมาเขาได้รับมอบหมายจากอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นผู้คัดกรองบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งในส่วนท้องถิ่นและปราบปรามผู้มีอิทธิพล[10]
โดยเขาได้กำหนดนโยบายให้หน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งฝ่ายปกครอง ทหาร และตำรวจ บูรณาการการปฎิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลไปในทิศทางเดียวกัน[11]
ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือการปราบปรามผู้มีอิทธิพลอันเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นการกวาดล้างแหล่งผลิต โรงงานยาเสพติด(ยาบ้า)ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี การปราบปรามคลังเก็บยาเสพติดในพื้นที่ชั้นในของประเทศไทย การสกัดกั้นกลุ่มเครือข่ายลำเลียงยาเสพติดจากชายแดนทางภาคเหนือ และภาคตะวันตก การกวาดล้างกลุ่มเครือข่ายยาเสพติดต่างๆในหลายพื้นที่ ผลงานของเขาเป็นที่ประจักษ์และนับว่าเป็นการปราบปรามผู้มีอิทธิพลอันเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุดยุคหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย
ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เขาได้เปิดปฎิบัติการกวาดล้างนอมินีนายทุนต่างชาติในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยเขาสั่งการให้ชุดปราบปรามผู้มีอิทธิพล กระทรวงมหาดไทย และชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดและรักษาความสงบ กรมการปกครอง “DOPA Force” เข้าตรวจค้น-จับกุมโรงเเรม 22 เเห่ง ย่านป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งนับเป็นการเปิดปฎิบัติกวาดล้างนอมินีต่างชาติครั้งแรกของกระทรวงมหาดไทย
ผลงานสุดท้ายของเขาในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยคือเขาได้ดำเนินนโยบายกดดันจนทำให้ทุนยักษ์ใหญ่จีน ที่ลงทุนสูงถึง 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในฝั่งส่วยโก๊กโก่ รัฐกะเหรี่ยง ประเทศเมียนมา บริเวณตรงข้ามบ้านวังแก้ว ต.แม่ปะ และบ้านวังผา ตำบลแม่จะเรา อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของทหารกะเหรี่ยงบีจีเอฟ. ( กองกำลังพิทักษ์ชายแดน) ได้ประกาศยกเลิกธุรกิจส่วยโก๊กโก่อย่างถาวร โดยเขาได้สั่งการในคำสั่งให้ชุดปราบปรามผู้มีอิทธิพล กรมการปกครอง กรมโยธาธิการและผังเมือง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บูรณาการร่วมกับ กสทช. ในการเปิดปฎิบัติการเชิงรุกบังคับใช้กฎหมาย แก้ไขปัญหาแก็งคอลเซ็นเตอร์ และเครือข่ายเว็บพนันออนไลน์โดยได้ดำเนินการรื้อถอนเสาสัญญาณ ตัดการจ่ายไฟฟ้า และตัดสัญญาณสื่อสารผิดกฎหมาย มากกว่า 30 จุด ในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด และอีกหลายพื้นที่ จังหวัดตาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ชาดาได้ประกาศถอนตัวออกจากรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร โดยส่งบุตรสาว ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ เข้าไปดำรงตำแหน่งเดิมแทนตน[12]
คดีความ
[แก้]ชาดา เคยถูกจับกุมเมื่อปี พ.ศ. 2546 ในข้อหาจ้างวานฆ่าสมเกียรติ จันทร์หิรัญ เลขานุการของประแสง มงคลศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย สุดท้ายศาลพิพากษายกฟ้องในปี พ.ศ. 2548[13] และเคยถูกจับกุมในปี 2545 คดีจ้างวานฆ่านางนิตยา เททายบรรลือ ผู้จัดการบัญชีของบริษัทรับเหมา ต่อมาศาลชั้นต้นยกฟ้องในปี 2548[14][15]
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]- 3 มกราคม พ.ศ. 2567 ชาดา ไทยเศรษฐ์ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก[16]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[17]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายชาดา ไทยเศรษฐ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-07. สืบค้นเมื่อ 2012-05-29.
- ↑ "ประวัติ "ชาดา ไทยเศรษฐ์" ส.ส.ภูมิใจไทย ชีวิตสุดผาดโผน จากพ่อค้าเนื้อสู่เจ้าพ่อสะแกกรัง". www.sanook.com/news. 2023-07-13.
- ↑ ""หนุ่ม กรรชัย" ตัวแทนหมู่บ้านถาม "ชาดา" ให้แล้ว คอท่านเป็นอะไร คนถามว่าดีดหรือเปล่า". www.sanook.com/news. 2023-09-14.
- ↑ 4.0 4.1 "หนุ่ม กรรชัย ถามชาดาตรง ๆ ใครคือมาเฟียที่อุทัยธานี ฟังคำตอบชัด ๆ ทำลั่นเลย !". kapook.com. 2023-09-14.
- ↑ Ltd.Thailand, VOICE TV (2023-03-11). "Voice Politics : "ผมคือผู้มีอิทธิพล" - 'ชาดา ไทยเศรษฐ์' หมดสมัยปลายกระบอกปืน". VoiceTV.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค นโยบายพรรค ข้อบังคับพรรค และกรรมการบริหารพรรคถิ่นไทย
- ↑ Ltd.Thailand, VOICE TV (2023-03-11). "Voice Politics : "ผมคือผู้มีอิทธิพล" - 'ชาดา ไทยเศรษฐ์' หมดสมัยปลายกระบอกปืน". VoiceTV.
- ↑ "ค้นบ้าน "ชาดา ไทยเศรษฐ์ - ส.จ.เปี๊ยก" ทลายคลังอาวุธ จ.อุทัยธานี". พีพีทีวี. 2017-03-24.
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
- ↑ "เกลือจิ้มเกลือ 'อนุทิน' ยื่นดาบให้ 'ชาดา ไทยเศรษฐ์' ลุยปราบมาเฟีย". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-09-08.
- ↑ [1]
- ↑ ""ชาดา" ถอนชื่อออกจากโผ ครม. แพทองธาร 1 ส่ง "ซาบีดา" ลูกสาว นั่ง มท.3 แทน". คมชัดลึก. 3 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เปิดประวัติ "ชาดา ไทยเศรษฐ์" เจ้าพ่อแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง". พีพีทีวี. 13 July 2023. สืบค้นเมื่อ 13 July 2023.
- ↑ "ศาลจำคุกตลอดชีวิต "จ่าแม็ก" ดิ้นขออภัยโทษ". mgronline.com. 2007-10-17.
- ↑ เคนนี่, คิง (2019-06-17). ""ใครก็หาว่าผมเป็นเจ้าพ่อ"". COP'S Magazine.
- ↑ โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็นกรณีพิเศษแก่ “อนุทิน-เกรียง-ชาดา”
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอหนองขาหย่าง
- ชาวไทยเชื้อสายปาทาน
- มุสลิมชาวไทย
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี
- นายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี
- นักการเมืองพรรคถิ่นไทย
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคชาติไทยพัฒนา
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอุทัยวิทยาคม
- บุคคลจาก กศน.
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร