ช.การช่าง
ประเภท | มหาชน SET:CK |
---|---|
อุตสาหกรรม | บริการรับเหมาก่อสร้าง |
ก่อตั้ง | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 |
สำนักงานใหญ่ | 587 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง, |
บุคลากรหลัก | อัศวิน คงสิริ (ประธานกรรมการ) ปลิว ตรีวิศวเวทย์ (ประธานกรรมการบริหาร) สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ (กรรมการผู้จัดการ) |
รายได้ | 35,470 ล้านบาท (2557) |
รายได้สุทธิ | 2,296 ล้านบาท (2557) |
สินทรัพย์ | 80,872 ล้านบาท (2557) |
เว็บไซต์ | www |
บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: CH. KARNCHANG PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ: CK[1]) เป็นหนึ่งในผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ 3 รายที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งมีลักษณะการประกอบธุรกิจที่แตกต่างจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งอื่น โดยมีโครงสร้างทางธุรกิจหลักของบริษัท 2 ประเภทด้วยกัน คือ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค[2] ในส่วนของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างนั้น ช.การช่างสามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในหลายรูปแบบ อาทิ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน, ท่าอากาศยาน, โรงไฟฟ้าพลังน้ำ, โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์, ทางด่วน, ท่าเรือน้ำลึก และในส่วนของธุรกิจการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค ช.การช่างได้มีการเข้าไปลงทุนในธุรกิจทั้งหมด 3 ด้านคือ ธุรกิจด้านการคมนาคมขนส่ง ธุรกิจด้านระบบน้ำและธุรกิจด้านพลังงาน
ประวัติ
[แก้]บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ ช.การช่าง ก่อตั้งโดยตระกูลตรีวิศวเวทย์ สำหรับอักษรย่อ ช. มาจากชื่อพี่ชายคุณปลิว, พี่เทพ ภาษาจีนมีตัวย่อเป็น ช.ช้าง และยังสอดคล้องกับความเป็นสิริมงคลจึงตั้งเป็น ช. การช่าง(อ้างอิงจาก ข่าวช่าง, 2548)[3] แต่เดิมเป็นอู่ซ่อมรถ ย่านสี่แยกบ้านแขก ตระกูลตรีวิศวเวทย์อพยพมาจาก จ.สุพรรณบุรี มีพื้นเพเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว แซ่เตียว ช่วงแรกพยายามสร้างตัวโดยการทำสารพัดอาชีพแต่ก็ไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จ จนพี่น้อง รุ่นที่ 2 ที่มีอยู่ 10 คน อพยพมากรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2495 จากอู่ซ่อมรถขยับขยายธุรกิจมาเป็นธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โดยเริ่มจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนแรกเริ่มจำนวน 1,400,000 บาท เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โดยในระยะแรกลักษณะงานของบริษัทเป็นการก่อสร้างอาคารและงานโยธาทั่วไป ในปี พ.ศ. 2524 ได้ร่วมทุนกับบริษัทโตคิว คอนสตรัคชั่นจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างของญี่ปุ่น ตั้งบริษัท ช.การช่าง-โตคิว มีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท โดยทาง ช.การช่าง ถือหุ้น 55% และฝ่ายโตคิวถือหุ้น 45%
ช.การช่าง ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ใช้ชื่อว่า "บริษัท ชายการช่าง (ช.การช่าง) จำกัด (มหาชน)" ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2537 และได้พิธีเปิดการซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ถึงปัจจุบัน [4]
ช.การช่าง ได้มีการร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติอื่นๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการก่อสร้าง อาทิ บริษัท บิลฟิงเกอร์ เอจี จำกัด จากเยอรมัน บริษัท เธมส์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จากประเทศอังกฤษ เป็นต้น[5]
ประเภทธุรกิจ
[แก้]บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจแบ่ง สายงานการผลิต, สายงานการรับเหมาก่อสร้าง และสายงานสัมปทาน ซึ่งกลุ่มบริษัทมีการแบ่งแยกสายงานการผลิตของบริษัทย่อย, กิจการร่วมค้า และบริษัทร่วม ตามกลุ่มลักษณะการดำเนินธุรกิจ[6]
ธุรกิจการก่อสร้าง
[แก้]บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) มีโครงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในประเทศ อาทิ[7]
ประเภทโครงการ | โครงการ | มูลค่า (ล้านบาท) | ระยะเวลา |
---|---|---|---|
ระบบขนส่งมวลชน | โครงการก่อสร้างสถานีและอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล | 23,900 | 2539–2545 |
ระบบขนส่งมวลชน | โครงการงานวางรางรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล | 3,020 | 2542–2545 |
ระบบขนส่งมวลชน | โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วง บางใหญ่–ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ บางซื่อ สัญญาที่ 1 งานโครงสร้างยกระดับ (ด้านทิศตะวันออก) |
10,004 | 2552–2557 |
ระบบขนส่งมวลชน | โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง–บางแค และบางซื่อ–ท่าพระ สัญญาที่ 2: งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงสนามไชย–ท่าพระ |
9,988 | 2554–2559 |
ระบบขนส่งมวลชน | โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง–บางแค และบางซื่อ–ท่าพระ สัญญาที่ 5: งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างระบบวางรางรถไฟฟ้าทั้งโครงการ[8] |
4,672 | 2554–2559 |
ระบบขนส่งมวลชน | โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ สัญญาที่ 1 : งานโครงสร้างยกระดับ | 14,138 | 2554–2559 |
ระบบขนส่งมวลชน | โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ สัญญาที่ 2 : งานวางราง | 2,243 | 2554–2559 |
ระบบขนส่งมวลชน | โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วง บางใหญ่–บางซื่อ สัญญา 4 : ออกแบบ จัดหา และติดตั้งระบบรถไฟฟ้า บริหารโครงการ | 20,011 | 2556–2559 |
ท่าอากาศยาน | โครงการงานส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารภายในประเทศท่าอากาศยานกรุงเทพ | 1,113 | 2535–2536 |
ท่าอากาศยาน | โครงการเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานกรุงเทพ | 3,877 | 2543–2546 |
ท่าอากาศยาน | โครงการงานปรับปรุงคุณภาพดินลานจอด บริเวณอาคารเทียบเครื่องบินรอง หลังที่ 1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | 5,575 | 2548–2550 |
ถนนและทางด่วน | โครงการสะพานพระราม 9 | 924 | 2527–2530 |
ถนนและทางด่วน | โครงการทางด่วน บางนา-บางพลี-บางปะกง-ชลบุรี | 25,193 | 2538–2543 |
ถนนและทางด่วน | โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 | 34,778 | 2540–2543 |
ถนนและทางด่วน | โครงการทางพิเศษ สายบางพลี–สุขสวัสดิ์ | 14,520 | 2547–2550 |
ถนนและทางด่วน | โครงการทางพิเศษศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร | 22,500 | 2555–2559 |
ท่าเรือ | โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต | 288 | 2529–2531 |
อาคาร | โครงการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า | 2,567 | 2526–2529 |
อาคาร | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | 1,690 | 2538–2541 |
อาคาร | โครงการอาคารการสื่อสารแห่งประเทศไทย | 2,334 | 2538–2542 |
อาคาร | โครงการมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | 2,325 | 2542–2547 |
อาคาร | โครงการงานสาธารณูปโภคและภูมิสถาปัตย์มหกรรมพืชสวนโลก | 667 | 2547–2549 |
อาคาร | โครงการอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี | 1,513 | 2548–2552 |
อาคาร | ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ สัญญา 3 งานก่อสร้างอาคาร B, C, D, E | 2,557 | 2549–2552 |
อาคาร | โครงการก่อสร้างอาคารโรงงานยาสูบแห่งใหม่ | 4,619 | 2554–2557 |
พลังงาน | โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 | 22,472 | 2549–2554 |
พลังงาน | โครงการไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี | 76,000 | 2554–2562 |
พลังงาน | โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน | 4,550 | 2554–2556 |
ระบบน้ำ | โครงการผลิตน้ำประปาปทุมธานี | 3,776 | 2538–2542 |
ระบบน้ำ | โครงการผลิตน้ำประปาในจังหวัดนครปฐม และสมุทรสาคร | 7,629 | 2545–2547 |
ระบบน้ำ | โครงการอุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา | 2,024 | 2547–2551 |
ธุรกิจของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า
[แก้]- ธุรกิจการก่อสร้าง
- บริษัท ช.การช่าง (ลาว) จำกัด
- บริษัท ช.การช่างเรียลเอสเตท จำกัด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประเสริฐวิทย์ก่อสร้าง
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรหมประทานก่อสร้าง
- บริษัท กมลา ซีเนียร์ ลิฟวิ่ง จำกัด
- บริษัท เสริมมิตร เอ็กซ์เซคคิวทีฟ จำกัด
- บริษัท ช.การช่าง-โตกิว คอนสตรัคชั่น จำกัด
- บริษัท เจอาร์ คิวชู แคปิทอล แมเนจเมนท์ (ไทยแลนด์) จำกัด
- กิจการร่วมค้า บีบีซีที ซึ่งประกอบด้วย บิลฟิงเกอร์ แอนด์ เบอร์เกอร์ โบคเตียน เกสเซลซอฟ, โตคิว คอนสตรัคชั่น คัมพานี ลิมิเต็ด และบริษัท ช.การช่าง-โตกิว คอนสตรัคชั่น จำกัด
- กิจการร่วมค้า ซีเคทีซี ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และโตคิว คอนสตรัคชั่น คัมพานี ลิมิเต็ด
- กิจการร่วมค้า ช.การช่าง- กรุงธนเอนยิเนียร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด
- กิจการร่วมค้า บีบีซีดี ซึ่งประกอบด้วย บิลฟิงเกอร์ แอนด์ เบอร์เกอร์ เอจี, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), วัลเทอร์เบา เอจี
- กิจการร่วมค้า ซีเคซีเอช ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด
- กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัทชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
- ธุรกิจการพัฒนาโครงการสาธารณูปโภค
- บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (ถือหุ้นทางตรงร้อยละ 5.00 และถือผ่านบีอีเอ็มร้อยละ 10.00)
- บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด
- บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด
- บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ประปาปทุมธานี จำกัด
- บริษัท ไทยวอเตอร์ โอเปอเรชั่นส์ จำกัด
- บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท บางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น จำกัด
- บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด
- บริษัท นครราชสีมา โซล่าร์ จำกัด
- บริษัท เชียงราย โซล่าร์ จำกัด
- บริษัท บางเขนชัย จำกัด
- บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย เอนเนอร์จี จำกัด
- บริษัท ไฟฟ้าน้ำงึม 2 จำกัด
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
[แก้]- ข้อมูล ณ วันที่ 9 เมษายน 2558[9]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
---|---|---|---|
1 | บริษัท มหาศิริ สยาม จำกัด | 340,412,365 | 20.10% |
2 | บริษัท ช.การช่าง โฮลดิ้ง จำกัด | 175,496,530 | 10.36% |
3 | บริษัท ซีเค.ออฟฟิซ ทาวเวอร์ จำกัด | 93,348,212 | 5.51% |
4 | ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) | 38,950,000 | 2.30% |
5 | บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด | 31,817,471 | 1.88% |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ ลักษณะการประกอบธุรกิจ แบบรายงาน 56-1 ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ประจำปี :2557
- ↑ “ธนวัฒน์” GEN 3 ช.การช่าง
- ↑ เหตุการณ์ที่สำคัญของ ช.การช่าง
- ↑ รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- ↑ กลุ่มบริษัทมีการแบ่งแยกสายงานการผลิตของบริษัทย่อย
- ↑ ธุรกิจการก่อสร้าง
- ↑ รถไฟฟ้า (ลอดแม่น้ำ) มาหานะเธอ เบื้องหลังวิธีคิดและสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะทำให้คนกรุงเทพฯ เดินทางได้ง่ายขึ้น
- ↑ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่