ข้ามไปเนื้อหา

ณัฐ ภมรประวัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ณัฐ ภมรประวัติ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม 2522 – 8 ธันวาคม 2534
ก่อนหน้าศ.นพ.กษาน จาติกวนิช
ถัดไปศ.นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
ดำรงตำแหน่ง
2516–2522
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471
เสียชีวิต16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (75 ปี)
ศาสนาพุทธ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ณัฐ ภมรประวัติ (29 พฤศจิกายน 2471 – 16 กุมภาพันธ์ 2547) ท่านเคยเป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล อดีตกรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์[1] ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2536 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากผลงานเด่นด้านพยาธิวิทยาของโรคตับ ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ เป็นชาวเชียงใหม่ เกิดในตระกูลแพทย์ประจำราชสำนัก เป็นบุตรคนแรกในจำนวน 2 คน ของหลวงอายุรกิจโกศล และท่านผู้หญิงยุภา อายุรกิจโกศล

การศึกษา

[แก้]

นายแพทย์ ณัฐ ภมรประวัติ เริ่มเข้าศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาศีกษาในชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่, โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[2] พ.ศ. 2495 จบปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ต่อมา พ.ศ. 2500 จบปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ( D.Sc.Med ) จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา และ พ.ศ. 2501 สอบได้เป็นผู้ชำนาญวิชาพยาธิวิทยา ของสหรัฐอเมริกา (Diplomate, American Board Of Pathology) และได้รับประกาศนียบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 21 ใน พ.ศ. 2522

ประวัติการทำงาน

[แก้]

นายแพทย์ ณัฐ ภมรประวัติ เข้าทำงานที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใน พ.ศ. 2509 รับตำแหน่งรักษาการหัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา ต่อมาใน พ.ศ. 2510 รับตำแหน่งรักษาการหัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน และหัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และใน พ.ศ. 2513–2516 ดำรงตำแหน่งรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาใน พ.ศ. 2516–2522 ดำรงตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ พ.ศ. 2517–2522 ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวางแผน มหาวิทยาลัยมหิดล และดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลระหว่าง พ.ศ. 2522–2534

รางวัลที่เคยได้รับ

[แก้]
  • พ.ศ. 2489 – 2490 - เหรียญรางวัลวิทยาศาสตร์ที่ 1 ปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2518 - เหรียญทองปาฐกถา สุด แสงวิเชียร
  • พ.ศ. 2529 - ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พ.ศ. 2530 - ผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่นครุฑทองคำ สมาคมข้าราชการพลเรือน
  • พ.ศ. 2531 - Health for all Medal องค์การอนามัยโลก
  • พ.ศ. 2536 - นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2536 มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2537 - บุคคลดีเด่นแห่งชาติ สาขาบริหารการศึกษา คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
  • พ.ศ. 2538 - Pasteur Medal จากองค์การยูเนสโก และสถาบันปาสเตอร์
  • พ.ศ. 2539 - รางวัลมหิดลทยากร สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2542 - ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2545 - ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2546 - เกียรติบัตรเชิดชูเกียรติพยาธิแพทย์อาวุโส ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิจุฬาภรณ์" เป็นนิติบุคคล เล่ม 103 ตอนที่ 172 ง, วันที่ 7 ตุลาคม 2529
  2. "รายนามนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษารุ่น 6 จำนวน 59 คน". สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ตุลาคม 2014.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 103 ตอนที่ 12 ง ฉบับพิเศษ หน้า 2, วันที่ 27 มกราคม 2529
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 98 ตอนที่ 206 ง ฉบับพิเศษ หน้า 44, วันที่ 17 ธันวาคม 2524
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 109 ตอนที่ 59 ง ฉบับพิเศษ หน้า 2, วันที่ 5 พฤษภาคม 2535
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 101 ตอนที่ 134 ง ฉบับพิเศษ หน้า 14, วันที่ 29 กันยายน 2527
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม 95 ตอนที่ 63 ง ฉบับพิเศษ หน้า 2454, วันที่ 15 มิถุนายน 2521

บรรณานุกรม

[แก้]