ดาวเทียมไทยคม
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือชิน คอร์ปอเรชั่น ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ
ลักษณะและการใช้งานของดาวเทียม
[แก้]ปัจจุบัน ดาวเทียมสื่อสารภายใต้ชื่อ ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 8 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง ดังนี้
ภาพรวม
[แก้]ดาวเทียม | ผู้ผลิต | วันขึ้นสู่อวกาศ (UTC) |
จรวด | สถานที่ปล่อยจรวด | ผู้รับจ้าง | ลองจิจูด | สถานะ | อ้างอิง |
ไทยคม 1 | Hughes Space Aircraft | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 | Ariane 4 (44L) | Kourou ELA-2 | Arianespace | 120° ตะวันออก | ปลดระวาง | |
ไทยคม 2 | Hughes Space Aircraft | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2537 | Ariane 4 (44L) | Kourou ELA-2 | Arianespace | 78.5° ตะวันออก | ปลดระวาง | |
ไทยคม 3 | อาเอร็อสปาซียาล, ปัจจุบัน Thales Alenia Space |
16 เมษายน พ.ศ. 2540 | Ariane 4 (44LP) | Kourou ELA-2 | Arianespace | 78.5° ตะวันออก | ปลดระวาง (ออกจากวงโคจร 2 ตุลาคม 2006) |
|
ไทยคม 4 (IPSTAR) | Space Systems/Loral สหรัฐอเมริกา | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | Ariane 5 EGS | Kourou ELA-3 | Arianespace | 119.5° ตะวันออก | ปฏิบัติการ | [1] |
ไทยคม 5 | Alcatel Alenia Space ฝรั่งเศส | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 | Ariane 5 ECA | Kourou ELA-3 | Arianespace | 78.5° ตะวันออก | ปลดระวาง | [2] |
ไทยคม 6 | Orbital Sciences Corporation | 6 มกราคม พ.ศ. 2557 | Falcon 9 v1.1 | Cape Canaveral SLC-40 | สเปซเอ็กซ์ | 78.5° ตะวันออก | ปฏิบัติการ | [3] |
ไทยคม 7 | Space Systems/Loral สหรัฐอเมริกา | 7 กันยายน พ.ศ. 2557 | Falcon 9 v1.1 | Cape Canaveral SLC-40 | สเปซเอ็กซ์ | 120° ตะวันออก | ปฏิบัติการ | [4] |
ไทยคม 8 | Orbital Sciences Corporation | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 | Falcon 9 v1.2 | Cape Canaveral SLC-40 | สเปซเอ็กซ์ | 78.5° ตะวันออก | ปฏิบัติการ |
ไทยคม 1 ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)
- เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"
- ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E / 0.000°N 120.000°E
ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 104°24'57.7 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี ก่อนที่จะตกลงสู่มหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ 2552
- ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E / 0.000°N 78.083°E
ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 เพื่อทดแทนไทยคม 1A มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ
- ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E / 0.000°N 78.083°E
ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6,805 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุด ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี และครอบคลุม 18 แห่ง ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก [5] [6] [7]
- ตำแหน่ง: 0°0′N 119°5′E / 0.000°N 119.083°E
ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH6486) และการถ่ายทอดสัญญาณ(โทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง) (High Definition TV)(HD) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3 โดยดาวเทียมไทยคม 5 ได้ปลดระวางไปแล้วเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เนื่องจากปัญหาด้านแบตเตอรี่ของดาวเทียม
- ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E / 0.000°N 78.083°E
ไทยคม6 เป็นดาวเทียม สร้างโดยบริษัท Orbital Sciences Corporation แต่ขนส่งโดยบริษัท SpaceX เนื่องจากดาวเทียมดวงนี้มีน้ำหนักถึง 3,000 กิโลกรัม จรวดของ Orbital Sciences Corporation ไม่สามารถขนส่งได้ ชื่อของจรวจของ SpaceX ที่ส่งดาวเทียม "ไทยคม 6" คือ "Falcon 9" มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) (HD)
- ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E / 0.000°N 78.083°E
ไทยคม 7 เป็นดาวเทียมประเภท 3 แกน รุ่น FS1300 ผลิตโดย บริษัท สเปซ สิสเต็มส์/ลอเรล ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซ์พลอเรชั่น เทคโนโลยี (SPACEX) ประเทศสหรัฐอเมริกา มวลในวงโคจร ประมาณ 3,700 กิโลกรัม มีอายุการใช้งานนาน 15 ปี ประกอบด้วยย่านความถี่ ซี-แบนด์ (C-Band) จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ ซึ่งมีพื้นที่ให้บริการกว้างครอบคลุมภูมิภาคเอเชียใต้ อินโดจีน รวมถึงออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ภายในบีมเดียวกัน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่อข้ามภูมิภาคได้ ดาวเทียมไทยคม 7 จัดสร้างแล้วเสร็จและจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร ณ ตำแหน่ง 120 องศาตะวันออกได้เมื่อปี พ.ศ. 2557
- ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E / 0.000°N 120.000°E
ไทยคม 8 เป็นดาวเทียมรุ่นใหม่ สร้างโดยบริษัท Orbital Sciences Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซ์พลอเรชั่น เทคโนโลยี (SPACEX) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เพื่อทดแทนไทยคม 5 ไทยคม 8 โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก เดียวกับ ไทยคม 5 และ ไทยคม 6 มีน้ำหนักราว 3,100 กิโลกรัม มีจานรับส่งสัญญาณ เคยู-แบนด์ (Ku-Band) จำนวน 24 ทรานสพอนเดอร์ ซึ่งมีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ ทั้งในประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียใต้ และทวีปแอฟริกา ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลทั้งความละเอียดสูง และความละเอียดสูงยิ่งยวด
- ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E / 0.000°N 78.083°E
พื้นที่ให้บริการ
[แก้]ดาวเทียมไทยคม 1A และ 2
[แก้]พื้นที่ให้บริการในย่านความถี่ C-Band
- ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุม ไทย ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และชายฝั่งด้านตะวันออกของจีน[8]มีหน้าที่ปรับสัญญาณให้อยู่คงที่ ปัจจุบันดาวเทียมไทยคม 2 ตกลงสู่มหาสมุทรอินเดียเนื่องจากไม่สามารถติดต่อกับหอควบคุมได้
ดาวเทียมไทยคม 3
[แก้]สถานะ : ปลดระวาง
- พื้นที่ที่ดาวเทียมไทยคม 3 เคยให้บริการ
- ทวีปแอฟริกา : แอลจีเรีย, มาลี, แองโกลา, โมร็อกโก, เบนิน, โมซัมบิก, บอตสวานา, นามิเบีย, บูร์กินาฟาโซ, ไนเจอร์, บุรุนดี, ไนจีเรีย, แคเมอรูน, รวันดา, แอฟริกากลาง, โซมาเลีย, ชาด, แอฟริกาใต้, คองโก, ซูดาน, สวาซิแลนด์, จิบูตี, แทนซาเนีย, อียิปต์, โตโก, เอธิโอเปีย, ตูนิเซีย, กาบอง, ยูกันดา, กานา, โกตดิวัวร์, ซิมบับเว, เคนยา, เลโซโท, ลิเบีย, มาดากัสการ์, มาลาวี
- ทวีปเอเชีย : อัฟกานิสถาน, อาร์มีเนีย, อาเซอร์ไบจาน, บาเรน, บังกลาเทศ, ฎูฏาน, บรูไน, กัมพูชา, จีน, จอร์เจีย, ฮ่องกง, อินเดีย, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิรัก, อิสราเอล, ญี่ปุ่น, จอร์แดน, คาซัคสถาน, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, คูเวต, คีร์กีซสถาน, ลาว, เลบานอน, มาเลเซีย, มองโกเลีย, พม่า, เนปาล, โอมาน, ปาเลสไตน์, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, สิงคโปร์, ศรีลังกา, ซีเรีย, ไต้หวัน, ทาจิกิสถาน, ตุรกี, เติร์กเมนิสถาน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อุซเบกิสถาน, เวียดนาม, เยเมน
- โอเชียเนีย : ออสเตรเลีย, ปาปัวนิวกินี
- ทวีปยุโรป : แอลเบเนีย, อันดอร์รา, ออสเตรีย, บอสเนีย, เฮอร์เซโกวีนา, บัลแกเรีย, โครเอเชีย, สาธารณรัฐเช็ก, เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, กรีซ, ฮังการี, อิตาลี, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, ลักแซมเบิร์ก, มาซิโดเนีย, โมนาโก, มอลโดวา, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โปแลนด์, โรมาเนีย, รัสเซีย, เซอร์เบีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย, สเปน, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์
ดาวเทียมไทยคม 5
[แก้]- สถานะ : ปลดระวาง
- ย่านความถี่ C-Band : 25 ทรานสพอนเดอร์
- ย่านความถี่ C-Band Global Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 4 ทวีป ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย, แอฟริกา
- ย่านความถี่ Ku-Band : 14 ทรานสพอนเดอร์
ดาวเทียมไทยคม 6
[แก้]- ย่านความถี่ C-Band : 18 ทรานสพอนเดอร์
- ย่านความถี่ C-Band Global Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 4 ทวีป ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย, แอฟริกา
- ย่านความถี่ Ku-Band : 8 ทรานสพอนเดอร์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดาวเทียมไทยคม 7
[แก้]บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ประสบความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียมไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา เวลา 01.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ด้วยจรวดขนส่งฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซพลอเรชั่น เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (Space Exploration Technologies Corporation- SPACE X) ณ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาสิทธิในวงโคจรของไทย พร้อมช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ไทย ด้วยการเพิ่มปริมาณช่องสัญญาณเพื่อรองรับความต้องการใช้งานและการเติบโตของโทรคมนาคมในประเทศ พร้อมขยายศักยภาพในฐานะบริษัทดาวเทียมไทยเพื่อให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมให้ครอบคลุมทั้งในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปออสเตรเลีย
การส่งดาวเทียมไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจร เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับ ให้ไทยคมมีช่องสัญญาณเพียงพอต่อการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ของไทย โดยเฉพาะทีวีดิจิตอล โดยเสริมช่องสัญญาณบนดาวเทียมไทยคม 5 และ 6 ที่ให้บริการเต็มในปัจจุบัน การมีดาวเทียมเพิ่มเติมอีกดวงหนึ่งนี้ จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพการให้บริการและช่วยขยายตลาดของไทยคมในต่างประเทศด้วย
- ย่านความถี่ C-Band : 14 ทรานสพอนเดอร์
- ย่านความถี่ C-Band ของ Global Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม เอเชียใต้, ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, โอเชียเนีย
ดาวเทียมไทยคม 8
[แก้]- ย่านความถี่ Ku-Band : 24 ทรานสพอนเดอร์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ข้อถกเถียงการถือกรรมสิทธิ์ดาวเทียมและวงโคจร
[แก้]กิจการดาวเทียมเป็นกิจการสัมปทานที่ได้รับการอนุญาตโดยการทำสัญญาจาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ผู้มีสิทธิให้อนุญาตและเพิกถอนสัญญาเรียกคืนสัมปทาน แต่เช่นเดียวกับการถือสัมปทานอื่น ผู้ให้สัมปทาน (หน่วยงานของรัฐ) ไม่สามารถบริหารดาวเทียม คงจะเป็นผู้กำกับและเป็นเจ้าของทรัพย์สินและคลื่นความถี่เท่านั้น แต่เป็นบริษัทผู้ได้รับสัมปทาน ที่บริหารนโยบายการใช้งานดาวเทียมได้เอง หากไม่ขัดกับเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน
เดิมทีบริหารนโยบายการใช้งานดาวเทียม แม้ว่าไม่ใช่โดยหน่วยงานของรัฐ แต่ก็ยังถือว่าโดยบริษัทของชาวไทย (มีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่) แต่เมื่อ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ขายหุ้นครั้งใหญ่ สายการบริหารจึงดำเนินการโดยบริษัทของชาวไทย (ชาวไทยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่)
อย่างไรก็ตาม มีกระแสความเห็นว่า ยังไม่ใช่การครอบครองโดยเบ็ดเสร็จ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังเป็นผู้พิจารณาให้สัมปทาน จึงอาจกล่าวโดยมุมมองที่ต่างกันไปว่า เจ้าของที่แท้จริงยังเป็นคนไทย เพียงแต่ให้ชาวต่างชาติเช่าเพื่อดูแลและใช้งานในธุรกิจ อีกทั้งยังอาจมีวิธียึดคืนสัมปทานได้ ถ้าค้นคว้าได้ว่าผิดสัญญา [14]
ทั้งนี้ ข้อกฎหมายตั้งเงื่อนไข ห้ามมิให้บริษัทที่ชาวต่างชาติถือหุ้นรายใหญ่ในสัมปทาน เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจคนต่างด้าว และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม แต่ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ซึ่งเป็นผู้ถือรายหุ้นใหญ่ใน บริษัท ไทยคม จำกัด) ได้ขายหุ้นให้ บริษัท โฮลดิงส์ จำกัด ซึ่งบริษัทนี้ แม้จดทะเบียนในประเทศไทย แต่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิงส์ จำกัด [15] (สรุปให้ง่ายว่า ขณะนี้ บริษัทไทยคม เป็นบริษัทลูกของ บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัทซีดาร์โฮลดิงส์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัทเทมาเส็กโฮลดิงส์)
ดังนั้นถ้าพิจารณาโดยเบื้องต้น จึงไม่ขัดกับข้อกฎหมาย เพราะ บริษัทชินคอร์ปอเรชั่นไม่ใช่บริษัทต่างชาติโดยตรง ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (เป็นบริษัทลูกอีกชั้นหนึ่ง) ทั้งนี้ถือเป็นการเลี่ยงโดยอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมาย ซึ่งถ้าพิจารณาตามสายการบริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จากบริษัทเทมาเส็กโฮลดิงส์ สามารถล็อบบี้และควบคุมการบริหารและดำเนินนโยบายใน กิจการดาวเทียมไทยคม โดยลำดับเป็นทอดๆ [16]
ปัญหาเรื่องการจัดสร้างดาวเทียมทดแทน
[แก้]ในช่วงปี พ.ศ. 2551 ต่อเนื่องถึงปี พ.ศ. 2553 จะเป็นช่วงหมดอายุการใช้งานของดาวเทียมไทยคม 2 ดวง ได้แก่ ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ซึ่งในสัญญาสัมปทานระบุให้ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานจากภาครัฐ ต้องทำการจัดสร้างดาวเทียมและส่งขึ้นสู่อวกาศเพื่อให้บริการทดแทนตลอดอายุสัมปทาน แต่บริษัทผู้รับสัมปทานได้ขอระงับการจัดสร้างดาวเทียมใหม่ทดแทน โดยเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงไอซีที) เป็นการเช่าดาวเทียมของประเทศอื่นแทนการสร้างใหม่ โดยอ้างเรื่องการลงทุนที่สูง [17] แม้กระทรวงไอซีทีไม่เห็นด้วยในตอนแรก แต่เมื่อดาวเทียมใกล้หมดอายุใช้งานจึงจำเป็นต้องอนุญาตเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้ดาวเทียม [18] โดยให้เป็นการเช่าชั่วคราวและยืนยันให้ผู้รับสัมปทานยังต้องทำแผนจัดสร้างและส่งดาวเทียมไทยคม 6 ตามสัญญาสัมปทาน
ปัญหาการขัดข้องของดาวเทียมไทยคม 5
[แก้]นับแต่เริ่มใช้งานเป็นต้นมา มีบันทึกว่าดาวเทียมไทยคม 5 ประสบปัญหาทางเทคนิค จนไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติมาแล้ว 2 ครั้ง คือ เมื่อเวลาประมาณ 16:10 น. ของวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554 อีกครั้ง เมื่อเวลาประมาณ 23:25 น.ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งสายเคเบิลใยแก้ว ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างสถานีดาวเทียมไทยคม กับสถานีโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิกทรูวิชั่นส์ (Fiber link) เกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคบางส่วน จนส่งผลให้บางช่องรายการของทรูวิชันส์ ไม่สามารถส่งสัญญาณออกอากาศได้ในขณะนั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
การครอบครองทรัพย์สิน
[แก้]ผู้เช่าสัมปทานและคลื่นความถี่
[แก้]บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในเครือของ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินและคลื่นความถี่
[แก้]- กระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2545)
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน)
อ้างอิง
[แก้]- บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เก็บถาวร 2008-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Thaicom 4". Satellites. Thaicom Public Company Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-06. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
- ↑ "Thaicom 5". Satellites. Thaicom Public Company Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
- ↑ "Thaicom 6". Satellites. Thaicom Public Company Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-06. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
- ↑ "Thaicom 7". Satellites. Thaicom Public Company Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-06. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-05. สืบค้นเมื่อ 2007-02-25.
- ↑ http://www.thairath.co.th/news/business/1483270
- ↑ http://www.prachachat.net/ict/news-367130
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-26. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.
- ↑ http://www.spacenews.com/satellite_telecom/110531-thaicom-order-sat-orbital-launch-spacex.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.thaicom.net/พื้นที่ให้บริการ/ดาวเทียมไทยคม-7
- ↑ THCOM จับมือทรูวิชั่นส์ เซ็นสัญญาระยะยาวใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคม 8 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน
- ↑ http://www.thaicom.net/พื้นที่ให้บริการ/ดาวเทียมไทยคม-8
- ↑ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=4235 เก็บถาวร 2009-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หนังสือพิมพ์ OK nation
- ↑ http://www.thaicom.net/thai/ir_shareholder.aspx เก็บถาวร 2008-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) แสดงรายชื่อผู้ถือหุ้น
- ↑ http://news.utcc.ac.th/content/view/390/16/ เก็บถาวร 2009-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์มหาวิทยาลัยหอการค้า อ้างเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ อธิบายข้อกฎหมาย
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-11. สืบค้นเมื่อ 2010-05-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-13. สืบค้นเมื่อ 2010-05-13.