ข้ามไปเนื้อหา

ถนนสุรวงศ์

พิกัด: 13°43′33″N 100°31′09″E / 13.725854°N 100.519079°E / 13.725854; 100.519079
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรวงศ์
ถนนสุรวงศ์ช่วงหน้าโรงแรมมณเฑียร
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์)
ประวัติ
ทางแยกที่สำคัญ
จากถนนอังรีดูนังต์ / ถนนพระรามที่ 4 ในเขตปทุมวัน / เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
 
ถึงถนนเจริญกรุง ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

ถนนสุรวงศ์ (อักษรโรมัน: Thanon Surawong) เป็นถนนในพื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (เป็นเส้นแบ่งพื้นที่ระหว่างแขวงสุริยวงศ์กับแขวงสี่พระยา) เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนพระรามที่ 4 เป็นถนนคู่ขนานกับถนนสีลม และถนนสี่พระยา ซึ่งอยู่ใกล้เคียง ถนนสุรวงศ์นั้นเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) เป็นผู้จัดซื้อที่ดินและตัดถนนขึ้นสองสาย โดยถนนสายหนึ่งตัดแยกจากถนนเจริญกรุงไปยังสะพานข้ามคลองวัวลำพอง (บริเวณถนนพระรามที่ 4 และสถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบัน) และท่านผู้หญิงตลับสีหราชเดโช ผู้เป็นภรรยาได้ขอพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ขณะที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์ได้พระราชทานชื่อว่า ถนนสุรวงศ์ และ ถนนเดโช [1]

ถนนสุรวงศ์มีขนาด 4 ช่องจราจร จัดการจราจรแบบสองทิศทาง ทิศทางละ 2 ช่อง ตั้งแต่แยกอังรีดูนังต์ถึงถนนเรศ และทิศทางเดียว จำนวน 4 ช่อง ตั้งแต่ถนนนเรศถึงถนนเจริญกรุง (แยกสุรวงศ์) โดยมีทิศทางมุ่งหน้าถนนเจริญกรุง

ประวัติ

[แก้]

เมื่อแรกตัดถนนเสร็จบริเวณรอบ ๆ ถนนสุรวงศ์ยังคงเป็นทุ่งนา, ไร่อ้อยและสวนผัก มีบ้านเรือนทรงยุโรปบ้างประปราย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ถนนสุรวงศ์ได้เป็นที่ตั้งของภัตตาคารและร้านอาหารชั้นสูงสำหรับรับรองชาวต่างชาติและชนชั้นสูงโดยเฉพาะเช่นเดียวกับถนนราชวงศ์ ในย่านเยาวราช และถนนสี่พระยาที่อยู่ใกล้เคียง[2]และยังปรากฏหลักฐานของกองช่างนคราทร (เทียบกับปัจจุบัน คือ กรมโยธาธิการและผังเมือง) ที่ได้ทำการประเมินพื้นที่ก่อสร้างที่แนวถนนสุรวงศ์ต่อไปยังอาคารศุลกสถาน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันนี้ ถนนสุรวงศ์ถือเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญเช่นเดียวกับ ถนนสีลม หรือถนนสาทร ที่อยู่ใกล้เคียง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยามราตรีที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีถนนพัฒน์พงษ์ และถนนธนิยะ ตัดผ่าน [3]

รายชื่อทางแยก

[แก้]
รายชื่อทางแยกบน ถนนสุรวงศ์ ทิศทาง: อังรีดูนังต์-แยกสุรวงศ์
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนสุรวงศ์ (อังรีดูนังต์-แยกสุรวงศ์)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกอังรีดูนังต์ เชื่อมต่อจาก: ถนนอังรีดูนังต์ จาก เฉลิมเผ่า
ถนนพระรามที่ 4 ไปศาลาแดง ถนนพระรามที่ 4 ไปสามย่าน
0+063 แยกธนิยะ ถนนธนิยะ ไปสีลม ไม่มี
0+270 แยกพัฒน์พงศ์ ถนนพัฒน์พงศ์ ไป สีลม ไม่มี
แยกทรัพย์-สุรวงศ์ 0+620 ถนนทรัพย์ ไปสี่พระยา
0+740 แยกสุรวงศ์-นราธิวาส ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปแยกสีลม-นราธิวาส ไม่มี
0+900 แยกเดโช-สุรวงศ์ ถนนเดโช ไปสีลม ไม่มี
1+000 แยกนเรศ-สุรวงศ์ เชื่อมต่อจาก: ถนนนเรศ จากแยกนเรศ
1+700 แยกมเหสักข์ ถนนมเหสักข์ ไปแยกสุรศักดิ์ ถนนมหาเศรษฐ์ ไปแยกมหานคร-สี่พระยา
2+000 แยกสุรวงศ์ ถนนเจริญกรุง ไปแยกบางรัก ถนนเจริญกรุง ไปแยกสี่พระยา
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง

[แก้]
  1. นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 232 มิถุนายน 2547 หน้า156
  2. ปีสาลี, วีระยุทธ (2016-08-05). "เมื่อในอดีต"คนชั้นสูง"ไม่กินอาหารค่ำนอกบ้าน และทำไมย่าน"ราชวงศ์"เป็นแหล่งดินเนอร์กลุ่มผู้ดี". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.
  3. "กรุงเทพในอดีต (ถนนสุรวงศ์)". MetroTV โทรทัศน์มหานคร. 2015-07-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°43′33″N 100°31′09″E / 13.725854°N 100.519079°E / 13.725854; 100.519079