ข้ามไปเนื้อหา

ทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตัง
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งจังหวัดนครศรีธรรมราชและตรัง ประเทศไทย
ปลายทาง
ประวัติ
เปิดเมื่อ1 เมษายน 2456[1][2][3]
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง92.802 กม. (57.66 ไมล์)[4]
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ
แผนที่เส้นทาง

ทางรถไฟสายธนบุรี–สุไหงโก-ลก
757.11
ชุมทางทุ่งสง
ไปสุไหงโก-ลก
765.75
ที่วัง
773.08
บ้านพูน
776.33
กะปาง
780.97
ควนเมา
789.49
คลองมวน
795.43
ยางยวน
800.82
ห้วยยอด
814.52
ลำภูรา
819.87
คลองเต็ง
823.00
สวนมัน
829.28
ตรัง
คลองนางน้อย
832.67
นาป้อ
835.86
พรุใหญ่
843.25
ป่ากอ
846.11
ป่าเตียว
850.08
กันตัง
ท่าเรือ กันตัง
รถจักรไอน้ำแปซิฟิก ซีเอ็กซ์ 50 (CX50) หมายเลข 291 ขณะทำขบวนรถสินค้า บนทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง-กันตัง, จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2516

ทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตัง หรือ ทางแยกกันตัง[4] เป็นเส้นทางรถไฟสายหนึ่งที่แยกมาจากทางรถไฟสายใต้ (ธนบุรี–สุไหงโก-ลก) ที่สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีปลายทางที่สถานีรถไฟกันตัง จังหวัดตรัง ปัจจุบันถือเป็นเส้นทางรถไฟเพียงสายเดียวของภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน[1][3]

ประวัติ

[แก้]

มีการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2452[5] และเริ่มมีการสร้างสถานีรถไฟกันตัง (ขณะนั้นใช้ชื่อว่าสถานีรถไฟตรัง) เพื่ออำนวยความสะดวกในการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ จากนั้นจึงมีการสร้างท่าเรือกันตังสำหรับใช้ในการขนส่งเพราะติดชายฝั่งทะเลอันดามัน และสร้างโรงงานประกอบรถจักรและล้อเลื่อนสำหรับใช้ในการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้[5] เบื้องต้นได้แบ่งการเดินรถออกเป็นสองช่วงคือสถานีรถไฟกันตังห้วยยอด ระยะทาง 49 กิโลเมตร เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456[1][2][3][5] และจากสถานีรถไฟห้วยยอดชุมทางทุ่งสง ระยะทาง 44 กิโลเมตร เดินรถเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2456[5][6] รวมมีระยะทางทั้งหมด 92.802 กิโลเมตรเมื่อนับจากสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง[4] ถือเป็นเส้นทางรถไฟที่เก่าแก่สายหนึ่ง[3]

ทางรถไฟสายนี้มีสถานีปลายทางคือสถานีรถไฟตรัง ต่อมาได้มีการย้ายตัวเมืองไปที่ตำบลทับเที่ยง สถานีรถไฟตรังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีรถไฟกันตัง ส่วนสถานีรถไฟทับเที่ยงซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองใหม่ก็เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีรถไฟตรังมาจนถึงปัจจุบัน[3] ในอดีตบริเวณสถานีรถไฟกันตัง มีรางรถไฟอีก 500 เมตรมุ่งสู่ท่าเทียบเรือกันตัง[2][3] จากการที่สถานีรถไฟกันตังตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือกันตัง จึงใช้สำหรับรับสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากยุโรป เช่น ประเทศเยอรมนี, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ และอินเดีย[3] โดยมากเป็นวัสดุสำหรับก่อสร้างและล้อเลื่อนที่สั่งมาจากต่างประเทศ[5] ทั้งนี้ท่าเรือกันตังมีการส่งต่อสินค้าอาทิ ยางพารา ไม้ยางพารา ยิปซัม และปูนซีเมนต์ไปยังท่าเรือปีนังเป็นสินค้าขาออกอย่างเดียว โดยสินค้าจะส่งต่อไปยังประเทศต่าง ๆ[5] แต่ภายหลังรัฐบาลไทยหันไปนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นแทนยุโรป ทำให้ท่าเรือกันตังซบเซาจนต้องยกเลิกกิจการขนส่งสินค้าจากท่าเรือกันตัง[3] ปัจจุบันรางรถไฟที่มุ่งไปยังท่าเรือกันตังจึงถูกชาวบ้านรุกล้ำ[2][3][5]

สิ่งที่พิเศษอย่างหนึ่งของทางรถไฟสายนี้คืออาคารของสถานีรถไฟกันตัง ที่ยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมเหมือนตั้งแต่แรกสร้าง ตัวอาคารสร้างด้วยไม้ชั้นเดียวผสานอิทธิพลตะวันออกและตะวันตก หลังคาเป็นรูปปั้นหยาผสมหลังคาจั่ว ผนังมีสีเหลืองมัสตาร์ด ตัดกับสีน้ำตาลจากขอบหน้าต่าง ขอบประตู เสา และคาน[1][3] จากความโดดเด่นดังกล่าวทำให้สถานีแห่งนี้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากร[2][7]

การเดินรถ

[แก้]

ขบวนรถที่บริการมีดังนี้

  • ขบวนรถเร็วที่ 167/168 กรุงเทพอภิวัฒน์ - กันตัง - กรุงเทพอภิวัฒน์
  • ขบวนรถด่วนที่ 83/84 กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตรัง - กรุงเทพอภิวัฒน์

รายชื่อสถานีรถไฟ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "สุดทางรถไฟฝั่งอันดามัน ที่กันตัง-กระบี่". ผู้จัดการออนไลน์. 28 กุมภาพันธ์ 2550. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "สถานีรถไฟกันตัง". เทศบาลเมืองกันตัง. 28 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 วันวิสข์ เนียมปาน (24 สิงหาคม 2560). "สถานีรถไฟสุดท้ายสายอันดามัน". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 "ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย". การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-29. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง. "ทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน". สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ประกาศกระทรวงคมนาคม แพนกรถไฟ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 2218–2219. 28 ธันวาคม 2456.
  7. "103 ปีสถานีรถไฟกันตังสถาปัตยกรรมยุค ร.6". วอยซ์ทีวี. 2 เมษายน 2559. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)