ข้ามไปเนื้อหา

นิตเนม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิตเนม (ปัญจาบ: ਨਿਤਨੇਮ) แปลตรงตัวว่า "กิจวัตประจำวัน" หมายถึงกลุ่มเพลงสวดของศาสนาซิกข์ (คุรบานิ) ที่ศาสนิกชนต้องอ่านวันละอย่างน้อย 3 ครั้ง ในชาวซิกข์ที่เป็นอมฤตธารีทุกคนต้องอ่านนิตเนมเป็นข้อบังคับพื้นฐาน[1] ดังที่ถูกย้ำชัดเจนไว้ในสิกขเรหัตมรรยาท[2] นิตนีมประกอบด้วยหลัก ๆ คือ บทสวดยามเช้าที่ต้องสวดในช่วงอมฤตเวลา (เช้าตรู่ก่อนย่ำรุ่ง) มี 5 บทสวด (บานิทั้งห้า)[3], เรหรัสสาหิบ สำหรับสวดยามเย็น และ กีรตันโสหิล สำหรับสวดยามค่ำคืน ในบทสวดยามเช้าและยามเย็นควรจะตามด้วยการทำอรทาส[4][5]

บทสวดยามเช้า

[แก้]

บทสวดยามเช้า 5 บท เรียกรวมกันว่าบานิทั้งห้า (Five Banis) บทสวดนี้จะท่องตอนย่ำรุ่ง[6]

บทสวดยามเย็น

[แก้]

เรียกว่า เรหรัสสาหิบ บทสวดนี้จะสวดเวลาพลบค่ำ มีความยาวประมาณ 15-25 นาที[6][7]

บทสวดยามค่ำคืน

[แก้]

เรียกว่า โสหิลสาหิบ บทสวดนี้จะท่องก่อนนอน และมีความยาวประมาณ 5-8 นาที[6][8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Singh, H.S. (2005). The Encyclopedia of Sikhism (Second ed.). New Delhi: Hemkunt Press. p. 15. ISBN 978-8170103011.
  2. Dr. H.S. Singha (2005). Sikh Studies, Book 7. Hemkunt Press. p. 56. ISBN 9788170102458.
  3. Singh, H.S. (2005). The Encyclopedia of Sikhism (Second ed.). New Delhi: Hemkunt Press. p. 15. ISBN 978-8170103011.
  4. Singh Sethi, Manmohan (13 August 2017). Nitnem and Ardaas : English Transliteration: Japji, Jaap, Sawaiye, Rehras, Kirtan Sohila, Ardaas. Sukan Publishing Universe. p. 3. ISBN 978-1-502-26421-3.
  5. Singh, Gurinder (2001). The Making of Sikh Scripture. New York: Oxford University Press. p. 133. ISBN 978-0195130249.
  6. 6.0 6.1 6.2 Haribala Rani Kaur Vaid (2007). The Sikh Religion: An Introduction (illustrated ed.). Star Publications. pp. 36–7. ISBN 9788176502306.
  7. Panesar, Rajinder; Ganeri, Anita (2008). Sikh Prayer and Worship. Sea to Sea Publications.
  8. Kapoor, Sukhbir (2002). Guru Granth Sahib - An Advance Study (Volume I). New Delhi: Hemkunt. p. 283. ISBN 978-8170103172.