บนอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นหมา
"On the Internet, nobody knows you're a dog" (แปลว่า "บนอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นหมา") เป็นภาษิตซึ่งเริ่มใช้ในคำบรรยายภาพการ์ตูน ของปีเตอร์ สไตเนอร์ ซึ่งตีพิมพ์ใน เดอะนิวยอร์กเกอร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2536[1][2] ในภาพการ์ตูน มีรูปหมา 2 ตัว ตัวหนึ่งนั่งบนเก้าอี้หน้าคอมพิวเตอร์ และกล่าวคำบรรยายภาพแก่หมาอีกตัวซึ่งนั่งบนพื้น[3] จนปี 2554 ภาพดังกล่าวเป็นการ์ตูนที่ได้รับการตีพิมพ์เพิ่มมากที่สุดจากเดอะนิวยอร์กเกอร์ และสเตย์เนอร์ได้รับเงินจากการตีพิมพ์ซ้ำกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ[1][4][5]
ประวัติ
[แก้]ปีเตอร์ สไตเนอร์ นักเขียนการ์ตูนและผู้ร่วมงานในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กเกอร์ตั้งแต่ปี 2522[6] กล่าวว่า ทีแรกการ์ตูนดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจมากนัก แต่ต่อมามันเกินควบคุม และเขารู้สึกคล้ายกับผู้สร้างใบหน้าสไมลีย์[1] อันที่จริง สไตเนอร์ไม่ได้สนใจอินเทอร์เน็ตขณะที่เขาวาดการ์ตูน และแม้ว่าเขามีบัญชีออนไลน์อยู่บัญชีหนึ่ง เขาระลึกได้ว่าการ์ตูนไม่ได้มีความหมายที่ "ลึกซึ้ง" ใด ๆ แต่เขาวาดเพื่อเป็นการ์ตูน "ที่มีคำบรรยายใต้ภาพ" เท่านั้น[1]
ในการสนองต่อความเป็นที่นิยมของการ์ตูน เขากล่าวว่า "ผมไม่อาจหยั่งรู้ได้ว่ามันจะเป็นที่รู้จักและเป็นที่จดจำกว้างกว้างเช่นนั้น"[1]
บริบท
[แก้]การ์ตูนภาพนี้สร้างช่วงเวลาที่น่าจดจำในประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต ในช่วงก่อนหน้านั้น มีเพียงแค่วิศวกรและอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้นที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ แต่ช่วงที่การ์ตูนภาพนี้ออกมาเป็นจุดเปลี่ยน โดยอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นหัวข้ออภิปรายในนิตยสารเกี่ยวกับความสนใจทั่วไปอย่าง เดอะนิวยอร์กเกอร์ มิตช์ เคเพอร์ ผู้ก่อตั้งโลตัสซอฟต์แวร์และนักกิจกรรมอินเทอร์เน็ตยุคแรก ให้ความเห็นในบทความหนึ่งในนิตยสารไทม์ เมื่อปี 2536 ว่า "สัญลักษณ์ที่แท้จริงที่บอกว่าความสนใจที่เป็นที่นิยมได้ถึงระดับมวลชนมาถึงแล้วในฤดูร้อนนี้ เมื่อเดอะนิวยอร์กเกอร์พิมพ์ภาพการ์ตูนที่แสดงสัตว์มีเขี้ยวสองตัวที่ชำนาญคอมพิวเตอร์"[7]
การ์ตูนดังกล่าวแสดงถึงความเข้าใจในความเป็นส่วนตัวในอินเทอร์เน็ตที่ให้ความสำคัญกับความสามารถที่ผู้ใช้จะรับหรือส่งข้อความแบบไม่ระบุตัวตน ลอเรนซ์ เลสซิก แนะว่า "ไม่มีใครรู้"เพราะชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตไม่ได้บังคับให้ผู้ใช้ระบุตัวตน แม้ว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตภายในพื้นที่ เช่น ในมหาวิทยาลัยของผู้ใช้อาจจะบังคับก็ตาม แต่การเข้าถึงก็จะเก็บสารสนเทศนี้ไว้เป็นส่วนตัว และไม่ได้เป็นเนื้อแท้ของธุรกรรมอินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด[8]
จากการศึกษาจองโมราฮาน-มาร์ติน และชูมาเชอร์ (2543) ในหัวข้ออภิปรายเรื่อง การใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นปัญหาหรือถูกบังคับ แนะว่าการแสดงตนเองจากหลังหน้าจอคอมพิวเตอร์อาจเป็นส่วนหนึ่งของแรงกดดันทางใจที่จะเข้าสู่โลกออนไลน์[9] วลีดังกล่าวอาจหมายความว่า "ไซเบอร์สเปซจะเป็นอิสระเพราะเพศ เชื้อชาติ อายุ หน้าตา หรือแม้แต่ 'ความเป็นสุนัข' จะหายไปหรือถูกประดิษฐ์เปลี่ยนแปลงหรือทำให้เกินจริงจากความสร้างสรรค์แบบมิได้ยับยั้ง โดยมีจุดประสงค์มากมายทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย" จากความเข้าใจที่สะท้อนออกมาเป็นคำกล่าวของจอห์น กิลมอร์ บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของยูซเน็ต[10] วลีดังกล่าวยังแนะให้เห็น "การปลอมตัวผ่านคอมพิวเตอร์" (computer cross-dress) และแสดงให้เห็นว่าเขามีเพศ อายุ เชื้อชาติ ฯลฯ ที่แตกต่างไปจากเดิม[11] ในอีกนัยหนึ่ง "อิสรภาพที่สุนัขเลือกที่จะใช้ประโยชน์ คืออิสรภาพที่จะ 'เปลี่ยนแปลง' เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์กลุ่มหนึ่ง เช่น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เป็นมนุษย์กับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต"[11][12]
บ็อบ มอนคอฟฟ์ บรรณาธิการการ์ตูนจากหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กเกอร์ กล่าวว่า "การ์ตูนดังกล่าวสะท้อนความระมัดระวังเรื่องหลอกลวงที่อาจกุขึ้นจากผู้ที่มีความรู้เรื่องเอชทีเอ็มแอลเพียงขั้นแรกเริ่ม"[13]
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]การ์ตูนภาพนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับละครเวทีเรื่อง ไม่มีใครรู้ว่าฉันเป็นหมา (Nobody Knows I'm a Dog) โดยอลัน เดวิด เพอร์คินส์ ละครมีเนื้อหาเกี่ยวกับบุคคล 6 คนที่ไม่สามารถสื่อสารกับผู้คนในชีวิตของเขาอย่างมีประสิทธิภาพได้ ทำให้เขาเข้าสังคมในอินเทอร์เน็ต และใช้ความเป็นนิรนามปกปิดตนเอง[1]
ไซเบอร์ด็อก ชุดโปรแกรมอินเทอร์เน็ตของแอปเปิล ได้ชื่อนี้มาจากการ์ตูนดังกล่าว[14]
การ์ตูนที่วาดโดยคามแรน ฮาฟีซ ในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กเกอร์ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 นำเสนอสุนัขสองตัวกำลังเฝ้ามองเจ้าของนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ สุนัขตัวหนึ่งถามอีกตัวหนึ่งว่า "จำได้ไหมว่า บนอินเทอร์เน็ต เมื่อไรที่ไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นใคร" (Remember when, on the Internet, nobody knew who you were?)[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Fleishman, Glenn (December 14, 2000). "Cartoon Captures Spirit of the Internet". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-30. สืบค้นเมื่อ October 1, 2007.
- ↑ Aikat, Debashis "Deb" (1993). "On the Internet, nobody knows you're a dog". University of North Carolina at Chapel Hill. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-29. สืบค้นเมื่อ October 2, 2007.
- ↑ EURSOC (2007). "New Privacy Concerns". EURSOC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ January 26, 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Glenn Fleishman (October 29, 1998). "New Yorker Cartoons to Go on Line". The New York Times. สืบค้นเมื่อ October 2, 2007.
- ↑ "January 2011 Brown's Guide Cover | Brown's Guide to Georgia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-12. สืบค้นเมื่อ 2014-11-11.
- ↑ January 2011 เก็บถาวร 2014-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Brown's Guide to Georgia
- ↑ Elmer-DeWitt, Philip; Jackson, David S. & King, Wendy (December 6, 1993). "First Nation in Cyberspace". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-26. สืบค้นเมื่อ March 21, 2009.
- ↑ Lessig, Lawrence (2006). Code: Version 2.0. New York: Basic Books. p. 35. ISBN 0-465-03914-6.
- ↑ Taylor, Maxwell; Quayle, Ethel (2003). Child Pornography: An Internet Crime. New York: Psychology Press. p. 97. ISBN 1-58391-244-4.
- ↑ Jordan, Tim (1999). "The Virtual Individual". Cyberpower: The Culture and Politics of Cyberspace and the Internet. New York: Routledge. p. 66. ISBN 0-415-17078-8.
- ↑ 11.0 11.1 Trend, David (2001). Reading Digital Culture. Malden, MA: Blackwell Publishing. pp. 226–7. ISBN 0-631-22302-9.
- ↑ Singel, Ryan (September 6, 2007). "Fraudster Who Impersonated a Lawyer to Steal Domain Names Pleads Guilty to Wire Fraud". Wired. สืบค้นเมื่อ October 2, 2007.
- ↑ Cavna, Michael (July 31, 2013). "'NOBODY KNOWS YOU'RE A DOG': As iconic Internet cartoon turns 20, creator Peter Steiner knows the joke rings as relevant as ever". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 6 January 2015.
- ↑ Ticktin, Neil (February 1996). "Save Cyberdog!". MacTech. 12 (2). สืบค้นเมื่อ September 3, 2011.
- ↑ Peter Vidani. "The New Yorker - A cartoon by Kaamran Hafeez, from this week's..." tumblr.com.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Peter Steiner's Website
- Myth/Reality เก็บถาวร 2010-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The New Yorker Cartoon Bank online เก็บถาวร 2008-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Nobody Knows I'm a Dog production เก็บถาวร 2008-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน