ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฟาโรห์อเมนโฮเตปที่ 1)

ฟาโรห์เจเซอร์คาเร แอเมนโฮเทปที่ 1 (/ˌæmɛnˈhoʊtɛp)(Amenhotep I) หมายถึง ความพอใจของเทพอามัน ภาษากรีกโบราณอ่านพระนามของพระองค์ว่า Ἀμένωφις(Amenophis) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์ที่ 18 ยุคอาณาจักรใหม่ตอนต้นของอียิปต์โบราณ

พระราชประวัติ

[แก้]

ฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 1 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ในฟาโรห์อาโมสที่ 1ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 18 และพระนางอาห์โมส-เนเฟอร์ตารี โดยที่แอเมนโฮเทปมีพระเชษฐาร่วมพระมารดา 2 พระองค์ คือ เจ้าชายอาโมส-อังค์(Ahmose-ankh)และเจ้าชายอาโมส-ซาแพ(Ahmose Sapair) พระเชรษฐาทั้งสองพระองค์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทำให้แอเมนโฮเทปได้ดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมาร และเข้าพิธีราชาภิเษกเมื่อพระชนมายุราว 21 ชันษา หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระราชบิดา และอภิเษกสมรสกับพระนาง อาห์โมส เมอร์ริตามุน(Ahmose-Meritamun)พระภคินีร่วมสายพระโลหิต และมีพระราชโอรสด้วยกัน แต่สิ้นพระชนม์เมื่อยังเยาว์วัย

ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการทำศึกกับชนชาติต่าง ๆ และได้รับชัยชนะ เช่น นูเบียน ตามบันทึกของมาเนโธนักประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ปโตเลมี กล่าวว่า ฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 1 ทรงอยู่ในราชสมบัติประมาณ 10 ปี แต่ตามบันทึกในสุสานของนักบวช ชื่อ อาเมเนมฮัต ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชีวิตในสมัยเดียวกับแอเมนโฮเทปที่ 1 ระบุไว้ชัดเจนว่า ทรงครองราชย์นาน 21 ปี โดยนักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าพระองค์ทรงครองราชย์ระหว่าง ปี 1546 – 1526 ก่อนคริสตกาล หรือ 1525 – 1504 ก่อนคริสตกาล โดยแต่ละกลุ่มอาจมีการกำหนดะยะเวลาที่ทรงครองราชย์ต่างกันเล็กน้อย

การพัฒนาวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

[แก้]

อนุสรณ์จำนวนมากที่มีการค้นพบว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยของแอเมนโฮเทปที่ 1 มีลักษณะเช่นเดียวกับรูปปั้นยุครามเสส(Ramesside period)ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพิธีกรรมศพตามแบบศาสนาอียิปต์โบราณ รูปปั้นบางส่วนได้รับอิทธิพลจากศิลปะสมัยอาณาจักรกลาง ศิลปะในสมัยราชวงศ์ที่ 18 จึงมีความคล้ายคลึงกับในช่วงต้นของยุคอาณาจักรกลาง รูปปั้นสมัยนี้มีต้นฉบับจากยุคฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 และฟาห์โรเซนุสเรทที่ 3

สุสานไว้พระศพ

[แก้]
The mummy of Amenhotep I

ฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 1 สิ้นพระชนม์ประมาณ ปี 1506 หรือ ปี 1504 ก่อนคริตส์ศักราช สุสานหลวงที่มีพระนามของพระองค์ปรากฏอยู่ คือ เควี 39 แต่มีการค้นพบพระศพที่ ดรา' อบู เอล-นากา ในเขตหุบผากษัตริย์

  1. Clayton, p.100.