ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาบัลติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาบัลติ
بلتی
སྦལ་འཐུས་
ประเทศที่มีการพูดบัลติสถานและลาดัก
ภูมิภาคประเทศปากีสถาน, ประเทศอินเดีย
ชาติพันธุ์ชาวบัลติ
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (379,000 คนในประเทศปากีสถาน (2016) รวมผู้พูดในทุกประเทศ: 491,000 คน (รวมผู้พูด Purgi)[1] อ้างถึง1992–2001)[2]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ
อักษรทิเบต
อักษรบัลติ (อดีต)
รหัสภาษา
ISO 639-3bft
ริซวาน ผู้พูดภาษาบัลติ

บัลติ (อักษรโรมัน: Balti, อักษรแนสแทอ์ลีก: بلتی, อักษรทิเบต: སྦལ་ཏི།, ไวลี: sbal ti) เป็นภาษากลุ่มทิเบตที่พูดโดยชาวบัลติในภูมิภาคบัลติสถานที่กิลกิต-บัลติสถาน ประเทศปากีสถาน, หุบเขานุบราในอำเภอเลฮ์ และอำเภอคาร์กิล ลาดัก ประเทศอินเดีย[3] ภาษานี้มีความแตกต่างจากภาษาทิเบตมาตรฐาน โดยเสียงพยัญชนะบางเสียงที่ไม่ออกเสียงในภาษาทิเบตสมัยใหม่ยังคงออกเสียงในภาษาบัลติ[4]

ประวัติ

[แก้]

บัลติสถานมาจากภาษากรีก Byaltae ที่มาจาก sBal-ti ซึ่งในภาษาทิเบตหมายถึงลำธาร ปโตเลมีได้กล่าวถึงดินแดนนี้ไว้ในประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เรียกดินแดนนี้ว่า Byaltae คำบัลติสถานมาจากภาษาเปอร์เซีย Baltiyul “บ้านเกิดของชาวบัลติ” ในสมัยของกษัตริย์มักโปน ชาวบัลติเคยเข้าไปรุกรานลาดัก ทิเบตตะวันออกรวมทั้งคลิกัตและชิตรัล เป็นการแสดงแสนยานุภาพทางทหาร ผู้ที่อยู่ในบัลติสถานแม้จะมีเผ่าพันธุ์ต่างกันก็เรียกว่าชาวบัลติทั้งสิ้น ชาวทิเบตเป็นกลุ่มใหญ่สุด มีประมาณ 60% ชาวบัลติอาศัยอยู่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำสินธุจากการ์กิลทางตะวันออกไปยังหรโมศทางตะวันตก และจากเทือกเขาการาโกรัมทางเหนือไปยังที่ราบคีโอไซทางใต้

ประชากรส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากชาวทิเบต โดยประชากรเหล่านี้อพยพมาในเวลาต่างๆกันในอดีต ภาษาที่พูดเป็นสาขาของภาษาทิเบตโบราณ มีชาวชีนบางส่วนพูดภาษาชีนา รูปแบบปัจจุบันของภาษาบัลติได้อิทธิพลจากภาษาบูรุซักกี ภาษาตุรกีและภาษาอูรดู รวมทั้งได้อิทธิพลจากวรรณกรรมอิสลามภาษาเปอร์เซียด้วยทำให้มีความแตกต่างจากภาษาทิเบตที่เป็นต้นกำเนิดมากขึ้น

ภาษาบัลติใกล้เคียงกับภาษาทิเบตสำเนียงคามมากกว่าสำเนียงอูซังและอัมโด จึงเป็นไปได้ว่าชาวทิเบตที่เข้าสู่บัลติสถานมาจากแคว้นคาม นักวิชาการบางกลุ่ม เช่น Rever and H.A. Jascke ถือว่าภาษาบัลติเป็นสำเนียงตะวันตกสุดของภาษาทิเบต ไม่ถือเป็นภาษาเอกเทศต่างหาก

สัทวิทยา

[แก้]

พยัญชนะ

[แก้]
ริมฝีปาก ฟัน/
ปุ่มเหงือก
ปลายลิ้นม้วน หลังปุ่มเหงือก เพดานปาก เพดานอ่อน ลิ้นไก่ เส้นเสียง
หยุด ไม่ก้อง p t ʈ k q
ธนิต ʈʰ
ก้อง b d ɖ ɡ ɢ
กักเสียดแทรก ไม่ก้อง t͡s t͡ʃ
ธนิต t͡sʰ t͡ʃʰ
ก้อง d͡z d͡ʒ
เสียดแทรก ไม่ก้อง s (ʂ) ʃ χ h
ก้อง z ʒ ʁ
นาสิก m n ɲ ŋ
ลิ้นกระทบ ɾ (ɽ)
ข้างลิ้น เรียบ l (ɭ)
งึมงำ ()
เปิด w j
  • /l/ สามารถมีหน่วยเสียงย่อยเป็น [lʱ], [ɭ], [ɫ̥]
  • /ɖ/ สามารถมีหน่วยเสียงย่อยเป็น [ɽ]
  • /s/ สามารถมีหน่วยเสียงย่อยเป็น [ʂ][5]

สระ

[แก้]
หน้า กลาง หลัง
ปิด i u
กลาง e ə o
เปิด (a) ɑ
  • หน่วยเสียงย่อย /ɑ/ ได้ยินเป็น [a][5]
  • หน่วยเสียงย่อย /e ɑ ɔ/ ได้ยินเป็น ʌ ɔ][6]

อักษร

[แก้]

ภาษาบัลติเคยมีอักษรเป็นของตนเองเรียกอักษรบัลติ ซึ่งเป็นอักษรแบบเดียวกับอักษรทิเบต ต่อมาถูกแทนที่ด้วยอักษรอาหรับแบบอูรดูเมื่อราว พ.ศ. 2200

ปัจจุบันได้มีการสนับสนุนให้ชาวบัลติกลับมาใช้อักษรของตนเองเพื่อรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนไว้ อักษรชนิดนี้มีใช้หลังจากที่ชาวทิเบตประดิษฐ์อักษรของตัวเองขึ้น และแพร่เข้าสู่บัลติสถานเมื่อราว พ.ศ. 1270 ใช้ในงานเขียนทางศาสนาและเป็นอักษรราชการ จนเมื่อราว พ.ศ. 2100เมื่อราชวงศ์มักโปนมีอำนาจและมีความสัมพันธ์กับราชวงศ์โมกุลของอินเดีย ภาษาเปอร์เซียเข้ามามีบทบาทเหนือกว่าภาษาบัลติ และเมื่อบัลติสถานถูกรวมเข้ากับปากีสถาน เมื่อ พ.ศ. 2491 ภาษาอูรดูและภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทมากจนแทบจะไม่มีการประดิษฐ์คำใหม่ในภาษาบัลติเลย โดยใช้คำจากภาษาอูรดูและภาษาอังกฤษแทน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ethnologies of world language".
  2. ภาษาบัลติ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  3. Census of India, 1961: Jammu and Kashmir (ภาษาอังกฤษ). Registrar General and Census Commissioner of India. 1961. p. 357.
  4. Sprigg, R. K. (1966). "Lepcha and Balti Tibetan: Tonal or Non-Tonal Languages?". Asia Major. 12: 185–201.
  5. 5.0 5.1 Sharma, D. D. (2004). Balti. Tribal Languages of Ladakh Part III: A descriptive Grammar of Purki and Balti: New Delhi, India: Mittal Publications. pp. 141–243.
  6. Rangan, K. (1975). Balti Phonetic Reader. Central Institute of Indian Languages.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]