ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาลิเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาลิเชีย
ภูมิภาคอนาโตเลียตะวันตกเฉียงใต้
สูญแล้วประมาณ พ.ศ. 443
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรลิเชีย
รหัสภาษา
ISO 639-3xlc

ภาษาลิเชีย (อังกฤษ: Lycian language ออกเสียง Lycian) เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน กลุ่มอนาโตเลีย ใช้พูดในยุคเหล็กในบริเวณลิเชียในอนาโตเลีย (ตุรกีปัจจุบัน) คาดว่าสืบทอดมาจากภาษาฮิตไตน์หรือภาษาลูเวียหรือทั้งสองภาษา

ผู้พูด

[แก้]

ลิเซียครอบคลุมพื้นที่ระหว่างเมืองอันตัลยาและเฟติเยในปัจจุบันทางภาคใต้ของตุรกี โดยเฉพาะบริเวณจากอ่าวเฟติเยไปจนถึงอ่าวอันตัลยา เอกสารในสมัยอียิปต์โบราณได้กล่าวว่าในหมู่ของคนทะเลมีบริเวณที่เรียกว่าลิคาโอเนีย อยู่ในเขตภูเขาทางตะวันอออกระหว่างเมืองอันตัลยาและเมอร์ซินในปัจจุบัน

ลักษณะของภาษา

[แก้]

ภาษาลิเซียจัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนในกลึ่มย่อยลูเวียของกลุ่มภาษาอนาโตเลีย ในกลุ่มนี้มีอักษรรูปลิ่ม และอักษรเฮียโรกลิฟของภาษาลูเวีย ภาษาคาเรีย ภาษาซิเดติก และภาษาปิซิดิก ภาษาในกลุ่มย่อยนี้ใช้พูดในยุคเหล็กหรือเมื่อประมาณ 457 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานกล่าวว่าในสมัยสงครามโทรจันมีผู้พูดภาษาลิเซีย ส่วนภาษาลูเวียนั้นมีประวัติย้อนกลับไปถึงตอนปลายของยุคทองแดง และมาตลอดจนถึงการล่มสลายของจักวรรดิฮิตไตต์ สมาชิกอื่นๆในกลุ่มนี้จัดเป็นภาษาลูกหลานของภาษาลิเซีย คาดว่าภาษาลิเซียเป็นภาษาตายในราวพุทธศตวรรษที่ 6 และถูกแทนที่ด้วยภาษากรีกโบราณ ภาษานี้เป็นที่รู้จักจากจารึก ซึ่งนักวิชาการแบ่งเป็น 2 สำเนียง คือภาษาลิเซียสำเนียงมาตรฐานหรือลิเซียเอ อีกสำเนียงเรียกว่าลิเซียบีหรือมิเลียนซึ่งแตกต่างกันทางด้านไวยากรณ์ ภาษาลิเซียมีอักษรเป็นของตนเองคืออักษรลิเชียซึ่งคล้ายกับอักษรกรีก โดยมีบางตัวยืมมาจากอักษรคาเรีย

อ้างอิง

[แก้]
  • Trevor R. Bryce, The Lycians, Vol. I, Copenhagen : Museum Tusculanum Press, 1986, pp. 68-71 (ISBN 87-7289-023-1)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]