ข้ามไปเนื้อหา

มาริโอ (ตัวละคร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มาริโอ)
มาริโอ
ตัวละครใน มาริโอ
ปรากฏครั้งแรกดองกีคอง ค.ศ. 1981
สร้างโดยชิเงรุ มิยาโมโตะ
ออกแบบโดยชิเงรุ มิยาโมโตะ โยชิ โคตาเบะ ชิเงฟูมิ ฮิโนะ
แสดงโดยลู อัลบาโน (เดอะซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ซูเปอร์โชว์!)
บ็อบ ฮอสกินส์ (ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส)
ให้เสียงโดยอังกฤษ:
ชาลส์ มาร์ทิเน
(1995 - 2023)[1]
คริส แพร็ตต์ (เดอะ ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส มูฟวี่)
เควิน อัฟกานี
(2023 - ปัจจุบัน)[2]
ญี่ปุ่น:
โทรุ ฟูรูยะ (1996-1998; Super Mario Bros.: The Great Mission to Rescue Princess Peach! และ Amada Anime Series: Super Mario Bros.)
ไทย:
ภูเบศ พัฒน์ปรีชา (เดอะ ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส มูฟวี่)
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
ชื่อเต็มมาริโอ
นามแฝงซูเปอร์มาริโอ
เผ่าพันธุ์มนุษย์
เพศชาย
อาชีพช่างไม้ (เกมดองกีคอง)
ช่างประปา หมอ (ซีรีส์ดอกเตอร์มาริโอ)
ครอบครัว
ลุยจิ (น้องชาย)

ยอชชี (แม่เลี้ยง)

คนสำคัญเจ้าหญิงพีช
ญาติคิโนะปิโอะ (เพื่อนสนิท)
บ้านเกิดบรุกริน อาณาจักรเห็ด
สัญชาติอิตาลี
บ้านเกิดบรุกลิน อาณาจักรเห็ด

มาริโอ (ญี่ปุ่น: マリオโรมาจิMario) เป็นตัวละครจากวิดีโอเกมและการ์ตูนมาริโอ และเป็นสัญลักษณ์ของบริษัทเกมนินเทนโด สร้างโดยนักออกแบบวิดีโอชื่อ ชิเงรุ มิยาโมโตะ หลังจากได้เป็นสัญลักษณ์นำโชคให้กับบริษัทและเป็นตัวเอกของเกมชุดแล้ว มาริโอได้ปรากฏตัวในวิดีโอเกมต่าง ๆ กว่า 200 เกม มาริโอถูกออกแบบให้เป็นช่างประปาชาวอิตาลีร่างอ้วนเตี้ย อาศัยอยู่ในอาณาจักรเห็ด มีภารกิจคือการช่วยชีวิตเจ้าหญิงพีชจากเต่าวายร้ายชื่อคุปปะ มาริโอมีน้องชายชื่อ ลุยจิ นอกจากนี้เขายังปรากฏในวิดีโอเกมแนวอื่น ๆ เช่น แนวรถแข่ง เช่นเกมชุด มาริโอคาร์ต (Mario Kart) เกมแนวกีฬา เช่นเกมชุด มาริโอเทนนิส และ มาริโอกอล์ฟ เกมแนวสวมบทบาทของนินเทนโด เช่นเกมชุด เปเปอร์มาริโอ และ ซูเปอร์มาริโออาร์พีจี และเกมเพื่อการศึกษา เช่น มาริโออิซมิสซิง! และมาริโอสไทม์แมตชีน แฟรนไชส์มาริโอยังได้ต่อยอดไปยังสื่อต่าง ๆ มากมาย เช่น รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และสินค้ามีลิขสิทธิ์ต่าง ๆ อีกด้วย ผู้พากย์เสียงเขาคือชาลส์ มาร์ทิเน พากย์ตั้งแต่ปี 1995[3]

แนวคิดและการสร้าง

[แก้]
สัญลักษณ์ของมาริโอ
รูปปั้นมาริโอที่สำนักงานใหญ่นินเทนโดสาขาสวีเดน

ชิเงรุ มิยาโมโตะ ได้สร้างตัวละครมาริโอขึ้นขณะกำลังพัฒนาเกม ดองกีคอง (Donkey Kong) เพื่อพยายามที่จะสร้างวิดีโอเกมที่ขายดีที่สุดให้กับบริษัทนินเทนโด หลังจากเกมประเภทเกมตู้ก่อนหน้านี้ที่ชื่อ Sheriff ไม่ประสบความสำเร็จอย่างเกม Pac-Man เมื่อแรกเริ่มนั้น มิยาโมโตะอยากสร้างวิดีโอเกมโดยใช้ตัวละคร ป๊อปอาย (Popeye) บลูโต (Bluto) และโอลีฟ ออยล์ (Olive Oyl)[4] แต่ในเวลานั้น เขาไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตัวละครเหล่านี้ (และไม่ได้รับอนุญาตจนถึง ค.ศ. 1982) เขาจึงตัดสินใจคิดทำตัวละครชื่อ จัมป์แมน (Jumpman) (หรือในเวลาต่อมาเป็นที่รู้จักกันดีว่า มาริโอ) ดองกี้คอง (Donkey Kong) และ พอลีน (Pauline)[4] โดยในด่านแรก ๆ ของเกมดองกีคองก์ มาริโอยังกระโดดไม่ได้ และมุ่งเป้าไปที่การหาทางออกจากเขาวงกตให้ได้ อย่างไรก็ดี มิยาโมโตะทำให้มาริโอกระโดดได้ พร้อมกล่าวว่า “ถ้าคุณเจอลังไม้กลิ้งมาหาคุณ คุณจะทำอย่างไรดี”[5][6]

เดิมที มิยาโมโตะเคยตั้งชื่อมาริโอว่า "มิสเตอร์วิดีโอ" (Mr.Video) และถูกนำมาใช้ในทุกวิดีโอที่มิยาโมโตะพัฒนา[7] จากเรื่องเล่าที่แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง ในระหว่างการจำหน่ายเกมดองกีคองให้ลูกค้าในอเมริกาเหนือ เจ้าของพื้นที่คลังเก็บสินค้าของนินเทนโดที่ชื่อ มาริโอ ซีเกล ได้เรียกค่าเช่ากับมิโนรุ อาราคาวะ ผู้ซึ่งเป็นประธานบริษัทในเวลาต่อมา หลังจากการโต้เถียงที่ในที่สุดพนักงานของนินเทนโดก็รับปากซีเกลว่าจะจ่ายค่าเช่าให้ พวกเขาจึงเลือกที่จะตั้งชื่อตัวละครนี้ว่า มาริโอ ตามชื่อของเขา[8][9]

มิยาโมโตะให้ความเห็นว่าถ้าเขาตั้งชื่อมาริโอว่า "มิสเตอร์วิดีโอ" มาริโออาจจะ "หายสาปสูญไปจากโลกนี้" แล้ว ด้วยความตั้งใจของเขา เขาเลือกอาชีพของมาริโอให้เหมาะกับรูปแบบของเกม เนื่องจากฉากในเกมดองกีคองก์เป็นเขตการก่อสร้าง มาริโอจึงมีอาชีพเป็นช่างไม้ เมื่อเขาปรากฏตัวอีกครั้งในเกมมาริโอบราเธอร์ส เขาได้รับเลือกให้เป็นช่างประปา เนื่องจากเกมส่วนใหญ่เป็นฉากใต้ดิน ในการออกแบบตัวละครมาริโอ โดยเฉพาะจมูกโตของเขานั้น ถูกวาดตามแบบจากอิทธิพลชาวตะวันตก เมื่อเขาได้เป็นช่างประปา มิยาโมโตะตัดสินใจกำหนดให้เขาอยู่ในนครนิวยอร์ก และให้เขาเป็นชาวอิตาลี โดยจงใจบ่งบอกสัญชาติผ่านหนวดเคราของเขา ในแหล่งอื่น มีการเลือกอาชีพของมาริโอให้เป็นช่างไม้เพื่อพรรณนาตัวละครให้เป็นคนทำงานหนักและเพื่อให้ผู้เล่นระบุถึงตัวเขาได้ง่าย หลังจากเพื่อนร่วมงานชี้ว่ามาริโอดูคล้ายคลึงกับช่างประปามากกว่า มาริโอจึงเปลี่ยนอาชีพของมาริโอตามนั้นและพัฒนาเกมมาริโอบราเธอร์ส โดยนำเสนอตัวละครในท่อระบายน้ำของนครนิวยอร์ก

เนื่องจากข้อจำกัดด้านกราฟิกของฮาร์ดแวร์อาเคดขณะนั้น มิยาโมโตะจึงใส่เสื้อให้มาริโอเป็นชุดคลุมสีแดงและเสื้อเชิ้ตสีฟ้าให้ขัดกันเองและขัดกับพื้นหลัง หมวกแก๊ปสีแดงถูกเพิ่มเข้าไปเพื่อให้มิยาโมโตะไม่ต้องออกแบบทรงผม หน้าผาก และคิ้ว รวมถึงเพื่อเลี่ยงปัญหาการเคลื่อนไหวของทรงผมในขณะกระโดด[4][10] เพื่อให้เขาดูเป็นมนุษย์อยู่ในจอทั้งๆ ที่ตัวเล็ก มาริโอจึงมีคุณลักษณะที่แตกต่างชัดเจน นั่นคือจมูกใหญ่อันโดดเด่นและหนวดเครา เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการวาดปากและสีหน้าให้กับตัวละครตัวเล็กๆบนจอ[11]

มิยาโมโตะพัฒนามาริโอด้วยแนวคิดในการใช้เขาเป็นตัวละคร "เดินไปยัง" (go to) ที่สามารถนำไปใส่ไว้ในฉากใดก็ได้ตามต้องการ แม้ในฉากความคิดก็ตาม เพราะขณะนั้น มิยาโมโตะไม่ได้คาดหวังให้มาริโอเป็นที่นิยม[7] เพื่อให้เป็นอย่างนั้น แรกเริ่มเขาเรียกตัวละครนี้ว่า "มิสเตอร์วิดีโอ" เทียบกับความตั้งใจที่จะให้มาริโอปรากฏในฉากความคิดที่สร้างโดยอัลเฟรด ฮิตช์ค็อก ในภาพยนตร์ของฮิตช์ค็อกเอง[12] เมื่อเวลาผ่านไป[13] การปรากฏตัวของมาริโอเริ่มมีรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น โดยมีการเพิ่มถุงมือสีขาว รองเท้าสีน้ำตาล และตัวอักษร M สีแดงในวงกลมสีขาวบนด้านหน้าของหมวก และกระดุมสีทองบนชุดคลุม สีของเสื้อและชุดคลุมเคยสลับจากเสื้อเชิ้ตสีฟ้ากับชุดคลุมสีแดงเป็นเสื้อเชิ้ตสีแดงและชุดคลุมสีฟ้า มิยาโมโตะระบุว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลจากทีมงานและฝ่ายศิลป์ของแต่ละเกมรวมถึงความก้าวหน้าในเทคโนโลยีในตามเวลาที่ผ่านไป นินเทนโดไม่เคยเปิดเผยชื่อเต็มของมาริโอ กล่าวเพียงว่าไม่ใช่ "มาริโอ มาริโอ" แม้ว่าจะมีการบอกเป็นนัยๆในชื่อซีรีส์มาริโอบราเธอร์ส ในซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ภาพยนตร์ และข้อมูลที่เคยให้ไว้ในคู่มือเกม มาริโอแอนด์ลุยจิ: ซูเปอร์สตาร์ซาก้า ของพรีมา[14]

การปรากฏตัว

[แก้]

ค.ศ. 1981 - ค.ศ. 1990

[แก้]

มาริโอปรากฏตัวครั้งแรกในนาม "จัมป์แมน" (Jumpman) ในเกมอาร์เคดที่ชื่อ ดองกีคอง ในปี ค.ศ. 1981[4] ในคราบของช่างไม้ที่เลี้ยงลิงตัวหนึ่ง[15]ชื่อ ดองกีคอง (Donkey Kong) เขาเลี้ยงดูลิงตัวนั้นอย่างทารุณ ต่อมาดองกีคองก์จึงหลบหนีไปพร้อมกับลักพาตัวแฟนสาวของจัมป์แมน (เดิมรู้จักกันในชื่อ เลดี้ และต่อมามีชื่อว่า พอลลีน (Pauline)) ไปด้วย ตัวผู้เล่นจะต้องรับบทเป็นจัมป์แมนและช่วยเหลือผู้หญิงคนนั้น ต่อมาตัวละครนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "มาริโอ" ในเกมอาร์เคด ดองกีคองจูเนียร์ ของปี ค.ศ. 1982 เป็นเกมเดียวที่เขาเป็นตัวร้าย ในเกมอาร์เคด มาริโอบราเธอร์ส ของปี ค.ศ. 1983 มาริโอและน้องชายชื่อ ลุยจิ (Luigi) ถูกพรรณนาให้เป็นช่างประปา[16]ลูกครึ่งอิตาลีอเมริกัน[10]ที่เอาชนะสัตว์ประหลาดที่ออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้นครนิวยอร์ก ชื่อท้ายของพวกเขาในตอนนั้นคือ "มาริโอ" ทำให้ชื่อเต็มของมาริโอที่ปรากฏครั้งแรกในที่นี้คือ "มาริโอ มาริโอ"[17]

ในเกม ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส บนเครื่องเล่นนินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเต็ม หรือแฟมิคอม มาริโอได้ช่วยชีวิตเจ้าหญิงโทดสตูล (Princess Toadstool) (ต่อมารู้จักกันในชื่อเจ้าหญิงพีช (Princess Peach)) แห่งอาณาจักรเห็ดจากราชาคุปปะ (King Koopa)[18] เพื่อช่วยเจ้าหญิงโทดสตูล มาริโอฝ่าฟันด่านในอาณาจักรเห็ดถึง 8 ด่าน โดยเข้าไปในปราสาทเพื่อโจมตีลูกน้องของราชาคูป้า ก่อนจะถึงปราสาทแต่ละหลังนั้น มาริโอต้องฝ่าฟันด่านย่อย 3 ด่านเพื่อโจมตีสมุนของราชาคุปปะ ถ้ามาริโอฝ่าฟันไปถึงปราสาทได้สำเร็จและเอาชนะตัวลูกน้องได้ เขาจะได้ปล่อยตัวคิโนะปิโอะ เห็ดรับใช้แห่งอาณาจักรเห็ด ได้หนึ่งตัว[19] ในปราสาทหลังที่แปด มาริโอจะได้ต่อสู้กับราชาคุปปะและปล่อยตัวเจ้าหญิงโทดสตูล ในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 2 ผู้เล่นสามารถเลือกได้ระหว่างมาริโอ ลุยจิ คิโนะปิโอะ หรือเจ้าหญิงพีช โดยตัวละครแต่ละตัวจะมีความสามารถพิเศษโดดเด่นคนละอย่าง (ลุยจิกระโดดได้สูง โทดขุดดินได้เร็วที่สุด และเจ้าหญิงพีชลอยตัวได้) ส่วนมาริโอนั้นมีความสามารถรอบด้านมากกว่า ในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 3 มาริโอมีภารกิจช่วยผู้ปกครองแห่งอาณาจักรทั้งเจ็ดจากคุปปะและโคกุปปะ เหล่าลูกสมุนของเขา และมาริโอท่องไปในด่านต่าง ๆ 8 ด่านเพื่อเรียกความสงบสุขกลับคืนยังโลกของเห็ดและช่วยเหลือเจ้าหญิงพีช[20] มีการเปิดตัวพาวเวอร์อัพใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับมาริโอด้วย[21]

ค.ศ. 1989 - ค.ศ. 1995

[แก้]

ในเกม ซูเปอร์มาริโอแลนด์ ปรากฏมนุษย์ต่างดาวชื่อ ทาทังกะ (Tatanga) สะกดจิตผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ ซาราซาแลนด์ (Sarasaland) ให้หลับและจับตัวผู้ปกครองเมืองชื่อเจ้าหญิงเดซี (Princess Daisy) ไป จากนั้นมาริโอจึงเริ่มออกเดินทางช่วยชีวิตเธอจากทาทังกะ ท่องเที่ยวไปยังเขตพื้นที่แห่งซาราซาแลนด์ 4 เขตและเอาชนะสมุนของทาทังกะไปตลอดทาง ในที่สุดเขาก็ต้อนทาทังกะให้จนมุมได้บนท้องฟ้าในอาณาจักรไช (Chai Kingdom) ทำให้ยานรบมนุษย์ต่างดาวร่วงลงมาและช่วยชีวิตเดซีไว้ได้[22] ในเกม ซูเปอร์มาริโอเวิลด์ มาริโอและลุยจิพาเจ้าหญิงพีชไปเที่ยวในโลกไดโนเสาร์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งหลังเหตุการณ์ของเกม ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 3 ในระหว่างการท่องเที่ยว พีชถูกคุปปะลักพาตัวไป มาริโอและลุยจิได้พบกับตระกูลยอชชี ตระกูลไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ในโลกไดโนเสาร์ พวกเขาได้ช่วยนำตัวพีชกลับมาโดยให้มาริโอและลุยจิขี่บนหลัง[23] ในเกม ซูเปอร์มาริโอแลนด์ 2: 6 โกลเด้น คอนส์ ที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นทันทีหลังเกมซูเปอร์มาริโอแลนด์ภาคก่อนหน้า ด้านปีศาจของมาริโอชื่อ วาริโอ ได้ร่ายเวทมนตร์ไปยังมาริโอแลนด์ขณะที่มาริโอกำลังอยู่ในซาราซาแลนด์ และเปลี่ยนชื่อพื้นที่นั้นเป็นวาริโอแลนด์ ผู้อยู่อาศัยถูกล้างสมองให้เชื่อว่าวาริโอคือหัวหน้าและมาริโอเป็นศัตรู เป้าหมายของวาริโอคือเข้ายึดครองปราสาทของมาริโอเพื่อให้เป็นของตนเอง เพื่อที่หยุดวาริโอ มาริโอได้หาเหรียญทองคำ 6 เหรียญรอบๆ มาริโอแลนด์และได้เข้าไปยังปราสาทของตนอีกครั้ง ในเกม ซูเปอร์มาริโอเวิลด์ 2: ยอชชีส์ไอส์แลนด์ นกกระสาตัวหนึ่งได้แบกตัวเบบีมาริโอและเบบีลุยจิข้ามทะเล แต่ปีศาจเมจิคูป้าชื่อ คาเมค (Magikoopa Kamek) ได้ขโมยตัวเบบีลุยจิไป ส่วนเบบีมาริโอตกลงไปบนเกาะที่ชื่อ ยอชชีส์ไอส์แลนด์ บ้านเกิดของตระกูลยอชชี ชื่อยอชชี หลังจากมาริโอได้พบกับตระกูลยอชชี พวกเขาได้เดินทางผ่าน 6 ด่านเพื่อช่วยชีวิตเบบีลุยจิและนกกระสาจากเบบีคุปปะและคาเมค

ค.ศ. 1996 - ค.ศ. 2002

[แก้]

มาริโอเปิดตัวในรูปแบบ 3 มิติในเกมซูเปอร์มาริโอ 64 [24] เจ้าหญิงพีชส่งจดหมายชวนมาริโอให้ไปร่วมกินเค้กที่ปราสาทของเธอ[25] อย่างไรก็ตามเมื่อเขาไปถึง มาริโอพบว่าคุปปะได้บุกรุกปราสาทและกักขังตัวเจ้าหญิงและบริวารของเธอไว้ด้วยพาวเวอร์สตาร์ 120 ดวง ภาพวาดในปราสาทจำนวนมากเป็นประตูหลายมิติที่จะนำไปสู่แดนอื่นๆ ที่ลูกสมุนของคุปปะคอยป้องกันดวงดาวไว้ มาริโอสำรวจประสาทและแดนอื่น ๆ เพื่อเก็บดวงดาวคืนมา เขาเข้าไปในประตูหลายมิติหลายบานเพื่อให้ได้ดาวหลายดวง[26] และฝ่าฟันอุปสรรค 3 ด่าน นำเขาไปสู่การต่อสู้กับคุปปะ การเอาชนะคุปปะ 2 ครั้งแรกจะทำให้ได้รับกุญเจไขชั้นใหม่ของปราสาท[27] ขณะที่ในการต่อสู้ครั้งสุดท้ายจะปล่อยตัวพีช ซึ่งต่อมาได้อบเค้กให้รางวัลแก่มาริโออย่างที่เธอได้สัญญากับเขาไว้[27][28]

ในเกมซูเปอร์มาริโอซันไชน์ มาริโอ โทดสเวิร์ธ และเจ้าหญิงพีชได้ไปเที่ยวพักร้อนที่หมู่เกาะเดลฟิโน (Isle Delfino) หมู่เกาะในเขตร้อนแห่งหนึ่ง มีบุคคลหน้าคล้ายมาริโอ รู้จักในชื่อ แชโดว์มาริโอ หรือมาริโอเงา (Shadow Mario) ใช่แปรงสีเวทมนตร์ก่อความวินาศและสร้างมลพิษให้กับเกาะทั้งเกาะ การก่อความวุ่นวายนี้เป็นเหตุให้ภูติส่องสว่างหนีไปจากเมือง เดลฟิโนพลาซ่า และปล่อยให้เกาะถูกความมืดปกคลุม มาริโอผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเรื่อง ถูกเจ้าหน้าที่ของเกาะจับกุมและสั่งให้เก็บกวาดหมู่เกาะเดลฟิโน มาริโอพาอุปกรณ์ชื่อ FLUDD อุปกรณ์สายฉีดน้ำหุ่นยนต์ประดิษฐ์ขึ้นโดยศาสตราจารย์เอลวิน แกดด์ (Professor E. Gadd , Professor Elvin Gadd (ชื่อเต็ม)) ซึ่งเขาเอาไว้ใช้ทำความสะอาดมลพิษและเก็บตัวภูติส่องสว่าง[29] ขณะเดียวกัน พีชถูกมาริโอเงาจับตัวไป ซึ่งต่อมาเขาเปิดเผยตนว่าเป็นคุปปะจูเนียร์ ลูกของคุปปะ ในที่สุดมาริโอก็เผชิญหน้ากับคุปปะและคุปปะจูเนียร์และช่วยชีวิตเจ้าหญิงได้สำเร็จ เมื่อเกาะถูกเก็บกวาดสะอาดแล้ว มาริโอกับพีชก็เริ่มพักร้อนต่อไป[30]

ค.ศ. 2006 - ปัจจุบัน

[แก้]

มาริโอก้าวเข้าสู่รูปแบบ 2.5 มิติในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ขณะที่มาริโอและพีชเดินเล่นด้วยกันไปในอาณาจักรเห็ด คุปปะจูเนียร์ จับตัวพีชและหนีไป[31] มาริโอวิ่งไล่ฝ่าฟันผ่านด่าน 8 ด่าน ในที่สุดมาริโอก็ไล่ตามทันและเอาชนะคุปปะและคุปปะจูเนียร์และช่วยเหลือพีชไว้ได้[32] ในเกมซูเปอร์มาริโอกาแล็คซี มาริโอได้รับเชิญจากเจ้าหญิงพีชให้ไปงานสตาร์เฟสติวัลครบรอบ 100 ปีในอาณาจักรเห็ด[33] เมื่อมาถึง คุปปะบุกเข้ามาในอาณาจักรและทำลายปราสาทของพีชออกเป็นเสี่ยงๆ และโยนออกนอกโลก หลังจากไม่สามารถป้องกันเจ้าหญิงจากการลักพาตัวได้ มาริโอพบกับสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายดาวชื่อว่า ลูมัส และสหายชื่อ โรซาลินา โรซาลินาบอกมาริโอว่าคุปปะได้ขโมยพาวเวอร์สตาร์ (Power Star) แหล่งพลังงานของหอดูดาวเคลื่อนที่ของโรซาลินา และได้พาตัวพีชไป ณ ศูนย์กลางจักรวาล มาริโอเดินทางไปยังกาแล็คซี่ทั้งหลายเพื่อนำพาวเวอร์สตาร์กลับมา และนำพลังงานกลับคืนสู่หอดูดาว และนำตัวเจ้าหญิงพีชกลับมา[34] ในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส วี เกม 2.5 มิติอีกหนึ่งเกม มาริโอ ลุยจิ และโทด 2 ตัวเข้าร่วมงานวันเกิดของเจ้าหญิงพีช ขณะเดียวกัน คุปปะจูเนียร์และโคกุปปะอีก 7 ตัวแอบซุ่มดูเจ้าหญิงและลักพาตัวเธอไป มาริโอ ลุยจิ และโทด 2 ตัวไล่ตามพวกนั้นผ่าน 8 ด่าน เอาชนะคูปาลิงส์ทีละตัว พวกมาริโอเผชิญหน้ากับคุปปะได้ในที่สุด เอาชนะและนำตัวเจ้าหญิงกลับมาได้[35] ในเกมซูเปอร์มาริโอกาแล็กซี 2 คุปปะที่ใช้พาวเวอร์สตาร์แปลงร่างเป็นยักษ์ เข้าโจมตีอาณาจักรเห็ดและลักพาตัวพีช และพาตัวเธอไป ณ จุดศูนย์กลางของจักรวาล ด้วยความช่วยเหลือของลูมัส มาริโอขับยานอวกาศมาริโอซึ่งเป็นดาวเคราะห์เคลื่อนที่ได้มีรูปเป็นหัวของเขาเอง ท่องเที่ยวไปยังกาแล็คซี่ทั้งหลายและรวบรวมพาวเวอร์สตาร์เพื่อเติมเชื้อเพลิงให้กับยาน หลังจากต่อสู้กับคุปปะและคุปปะจูเนียร์หลายครั้ง ในที่สุดมาริโอก็มาถึงที่ซ่อนของคุปปะที่ศูนย์กลางจักรวาล เอาชนะเขาและช่วยชีวิตเจ้าหญิงได้[36] ในปี ค.ศ. 2012 มาริโอกลับมาในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 2 ซึ่งเขาเก็บเหรียญได้ 1 ล้านเหรียญที่กระจายอยู่ทั่วอาณาจักรเห็ดเพื่อช่วยเหลือเจ้าหญิงพีชจากการควบคุมของคุปปะและโคกุปปะ มาริโอกลับมาอีกครั้งเพื่อเอาชนะคุปปะและลูกสมุนในเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ยู

เกมมาริโออื่นๆ

[แก้]

เกมมาริโอในแนวเกมอื่นประกอบด้วยเกมบนเครื่องเล่นประเภท เกมแอนด์วอตช์ จำนวนมาก เช่น มาริโอพินบอลแลนด์ เกมพินบอลบนเครื่องเกมบอยแอดวานซ์[37] เกมแนวประกอบการศึกษามากมาย และเกม ด็อกเตอร์มาริโอ เกมคอมพิวเตอร์แนวแก้ปริศนา (ซึ่งเกมด็อกเตอร์มาริโอออกจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1990) [38] ในเกมเหล่านี้ ด็อกเตอร์มาริโอจะโยนเม็ดยาวิตามินลงมาและผู้เล่นจะต้องจัดเรียงเพื่อทำลายเชื้อไวรัสที่อยู่บนพื้น[38] เกมซูเปอร์มาริโออาร์พีจี: เลเจนด์ออฟเดอะเซเวนสตาร์ส ของปี ค.ศ. 1996 บนเครื่องเล่นซูเปอร์แฟมิคอม เป็นเกม มาริโอ แนวบทบาทสมมุติเกมแรก[39] มีอีก 7 เกมออกตามมา รวมไปถึงเกมในชุด เปเปอร์มาริโอ 4 เกม (เปเปอร์มาริโอ บนเครื่องนินเทนโด 64, เปเปอร์มาริโอ: เดอะเธาซันด์เยียร์ดอร์ บนเครื่องนินเทนโด เกมคิวบ์, ซูเปอร์เปเปอร์มาริโอ บนเครื่องวี และเปเปอร์มาริโอ: สติ๊กเกอร์สตาร์ บนเครื่องนินเทนโด 3ดีเอส) และเกมในชุด มาริโอแอนด์ลุยจิ อีก 4 เกม (มาริโอแอนด์ลุยจิ: ซูเปอร์สตาร์ซากา บนเครื่องเกมบอยแอดวานซ์, มาริโอแอนด์ลุยจิ: พาร์ตเนอร์สอินไทม์ และมาริโอแอนด์ลุยจิ: บาวเซอร์สอินไซด์สตอรี บนเครื่องนินเทนโดดีเอส และมาริโอแอนด์ลุยจิ: ดรีมทีม บนเครื่อง 3ดีเอส)

มีชุดเกมย่อยของ มาริโอ จำนวนมากออกจำหน่าย โดยเฉพาะชุดเกมที่ได้แรงบันดาลใจจากกีฬาชนิดต่างๆ แฟรนไชส์เกม มาริโอคาร์ท เริ่มด้วยเกม ซูเปอร์มาริโอคาร์ท บนเครื่องซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเต็มในปี ค.ศ. 1992 เป็นแฟรนไชส์เกมแนวรถแข่งโกคาร์ตที่ประสบความสำเร็จและอยู่ได้นานที่สุดในขณะนี้[40] เกมมาริโอแนวกีฬาอื่น ๆ เช่น เกมชุด มาริโอกอล์ฟ และ มาริโอเทนนิส ที่พัฒนาโดย คาเมล็อต เกม มาริโอซูเปอร์สตาร์เบสบอล และ ซูเปอร์มาริโอสไตรเกอร์ ซึ่งเป็นเกมกีฬาเบสบอลและฟุตบอลตามลำดับ ในปี ค.ศ. 1999 เกมชุด มาริโอปาร์ตี้ พัฒนาโดย ฮัดสัน เริ่มออกจำหน่ายบนเครื่องนินเทนโด 64 ตัวเกมจะวนเวียนอยู่กับชุดของมินิเกมและเล่นได้ 4 คน มาริโอแอนด์โซนิคแอตดิโอลิมปิกเกมส์ ออกจำหน่ายบนเครื่องนินเทนโดดีเอส และวี เป็นชุดคอลเลคชันของเหตุการณ์ที่อิงจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง ที่ตัวละครจากชุด โซนิคเดอะเฮดจ์ฮอก ของเซก้า แข่งขันกันตัวละครจาก มาริโอ ตามมาด้วยเกมปี ค.ศ. 2009 มาริโอแอนด์โซนิคแอตดิโอลิมปิกวินเทอร์เกมส์ บนเครื่องเล่นทั้งสองเครื่อง อิงจากโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ที่แวนคูเวอร์ มีเกมแนวกีฬาอีก 2 เกมออกมาสำหรับเครื่องวี ออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 2011 คือ มาริโอสปอร์ตสมิกซ์ และเกมมาริโอแอนด์โซนิคเกมที่สาม มาริโอแอนด์โซนิคแอตเดอะลอนดอนโอลิมปิก 2012 เกม ออกจำหน่ายบนเครื่องนินเทนโด 3ดีเอส ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 อิงจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่กรุงลอนดอน

ในสื่ออื่น

[แก้]

นอกจากผลงานที่เกี่ยวกับเกมแพลตฟอร์มและเกมเสริมแล้ว มาริโอยังปรากฏในวิดีโอเกมอื่น ๆ เช่น ไมค์ไทสันสพันช์เอาต์ โดยมาริโอเป็นกรรมการห้ามมวย[41] มาริโอยังปรากฏในฐานะตัวละครที่เล่นได้ในเกม เอ็นบีเอสตรีตวี3[42] และ เอสเอสเอ็กซ์ออนทัวร์[43] ของอิเล็กทรอนิกส์อาร์ตทั้งสองเกม เขาปรากฏตัวอยู่ในภาพวาดในเกมเดอะเลเจนด์ออฟเซลด้า: อะลิงก์ทูเดอะพาสต์ และ เดอะเลเจนด์ออฟเซลด้า: โอคาริน่าออฟไทม์ และในเกม เมทัลเกียร์โซลิด: เดอะทวินสเนคส์ เขาปรากฏตัวเป็นรูปปั้นขนาดเล็ก

มาริโอปรากฏในเกมชุด ซูเปอร์สแมชบราเธอร์ส ทุกเกม[44] และยังใช้ความสามารถพิเศษเดิมเมื่อต้องต่อสู้กับตัวละครจากเกมชุดอื่น[45] เกมนี้ยังรวมถึงตัวละครจากมาริโอตัวอื่น ๆ ไอเทม และด่านต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีมาริโอรูปแบบใหม่ ด็อกเตอร์มาริโอ และเมทัลมาริโอ ปรากฏในเกมชุดนี้ด้วย

รายการโทรทัศน์ เดอะซูเปอร์มาริโอบราเธอร์สซูเปอร์โชว์! และภาพยนตร์ที่ใช้คนเล่นเรื่อง ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ซึ่งทั้งคู่มีเนื้อเรื่องอ้างอิงจากชุดวิดีโอเกมนี้ ได้นำตัวละครมาริโอออกทางโทรทัศน์และวงการภาพยนตร์ ในรายการโทรทัศน์ได้ "กัปตัน" ลู อัลบาโน แสดงเป็นมาริโอ และในภาพยนตร์ ได้ บ็อบ ฮอสคินส์ แสดงเป็น มาริโอ มาริโอ ช่างประปาที่พบว่าตนเองอยู่ในโลกที่ไดโนเสาร์ยึดครอง ซึ่งเขาต้องช่วยรักษาโลกจากการบุกรุก[46] นอกจากเกมดั้งเดิม รายการโทรทัศน์ และภาพยนตร์ มาริโอยังมีอิทธิพลในการผลิตสินค้าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ และปรากฏในวัฒนธรรมสมัยนิยม ชุดหนังสือการ์ตูนนินเทนโดโคมิกส์ซิสเต็ม รวมถึงนินเทนโดแอดเวนเจอร์บุ๊คส์ ก็สร้างขึ้นจากมาริโอเช่นกัน

ในพิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ระหว่างการนำเสนอของญี่ปุ่น เจ้าภาพ โอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้แต่งกายเป็นมาริโอ และปรากฏตัวกลางสนามโดยใช้ท่อวาร์ปจากแยกชิบุยะ มายังสนามกีฬามารากานัง[47]

ลักษณะเด่น

[แก้]

ในตอนแรกนั้นมาริโอได้ถูกออกแบบออกมาโดยใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกที่เรียกว่าสไปรต์แบบ 2 มิติ แต่เกมที่ออกมาภายหลัง เขาได้เปลี่ยนเป็นแบบ 3 มิติหลายเหลี่ยม เขาเป็นช่างประปาร่างท้วม อาศัยอยู่กับน้องชายที่สูงกว่าเขาชื่อ ลุยจิ (Luigi) ในดินแดนของอาณาจักรเห็ด[4][48][49] ในรายการโทรทัศน์บอกว่า มาริโอและลุยจิมาจากบรูคลิน น้อยคนนักที่จะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัยเด็กของมาริโอ แม้ว่าจะมีมาริโอในรูปแบบทารกชื่อ เบบีมาริโอ ปรากฏครั้งแรกในปี ค.ศ. 1995 ในเกม ซูเปอร์มาริโอเวิลด์ 2: ยอชชีส์ไอส์แลนด์ และประกฏในเกมกีฬาของนินเทนโดหลายเกมตั้งแต่นั้นมา เบบีมาริโอมีบทบาทหลักคู่กับเบบีลุยจิในเกม มาริโอแอนด์ลุยจิ: พาร์ทเนอร์อินไทม์ และปรากฏในเกม ยอชชีส์ไอส์แลนด์ดีเอส เขา (และมาริโอผู้ใหญ่) ได้รับพากย์เสียงจาก ชาร์ลส มาร์ติเนต [50]

อาชีพและงานอดิเรก

[แก้]

มาริโอมีอาชีพเป็นช่างประปา แต่ในเกมดองกีคอง เขาเป็นช่างไม้[51] มาริโอยังมีอาชีพต่าง ๆ อีกมากมาย ในเกมชุดดอกเตอร์มาริโอ ที่เปิดตัวในปี ค.ศ. 1990 มาริโอมีอาชีพเป็นหมอชื่อ "ดอกเตอร์มาริโอ"[52] ในเกมมาริโอสพิครอส บนเครื่องเกมบอย มาริโอเป็นนักโบราณคดี และในเกม มาริโอ vs. ดองกีคองก์ 2: มาร์ชออกเดอะมินิส มาริโอเป็นประธานบริษัทผลิตของเล่น [53] มาริโอยังเป็นนักกีฬาในเกมแนวกีฬาต่าง ๆ เช่น มาริโอฮูปส์ 3-ออน-3, ซูเปอร์มาริโอสไตรเกอร์, และมาริโอซูเปอร์สลักเกอร์ส รวมถึงนักขับรถโกคาร์ตในเกมชุดมาริโอคาร์ต มาริโอมักจะช่วยชีวิตเจ้าหญิงพีชและอาณาจักรเห็ด และกำจัดเหล่าวายร้ายอย่าง เบาเซอร์ จากดินแดนต่าง ๆ มาริโอได้รับการกล่าวขายในอาณาจักรเห็ดเนื่องจากการกระทำเยี่ยงวีรบุรุษ ดังเช่นในเกม มาริโอแอนด์ลุยจิ: ซูเปอร์สตาร์ซากา ที่สองพี่น้องได้รับการพูดถึงให้เป็น "ดารา"[54]

ความสัมพันธ์

[แก้]

ตั้งแต่เกมแรก มาริโอมีบทบาทในการช่วยเหลือสาวเอ๊าะเดือดร้อน[48] เดิมทีนั้น เขาจะต้องช่วยชีวิตแฟนสาวชื่อ พอลีน ในเกมดองกีคองก์ จากตัวดองกีคองก์[55] ต่อมาพอลีนถูกแทนที่เป็นสาวเอ๊าะเดือดร้อนคนใหม่ในนาม เจ้าหญิงพีช ในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส[4] แต่พอลีนกลับมาในเกมดองกีคองก์เวอร์ชันรีเมกบนเครื่องเกมบอย ในปี ค.ศ. 1994 และในเกมมาริโอ vs. ดองกีคองก์ 2: มาร์ชออฟเดอะมินิส ในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งเกมบรรยายว่าเป็น "เพื่อนของมาริโอ"[56] มาริโอได้ช่วยชีวิตเจ้าหญิงพีชหลายครั้งนับตั้งแต่เกม "ซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส"[48] ในเกม ซูเปอร์ปริ้นเซสพีช มีการสลับบทบาทกันให้เจ้าหญิงพีชเป็นคนช่วยชีวิตมาริโอแทน[57] มาริโอได้ช่วยชีวิตเจ้าหญิงเดซีแห่งดินแดนซาราซาราแลนด์ในเกมซูเปอร์มาริโอแลนด์[58] แต่ดูเหมือนว่าลุยจิจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเธอมากกว่า ในเกมซูเปอร์สแมชบราเธอร์ส เมเล มีข้อความอธิบายเกี่ยวกับของที่ระลึกของเดซีกล่าวว่า "หลังจากที่เธอปรากฏตัวในเกมมาริโอกอล์ฟ มีการซุบซิบว่าเธอคือคำตอบของลุยจิถึงเจ้าหญิงพีชของมาริโอ"[59]

ลุยจิ เป็นน้องชายของมาริโอ เขาเป็นเพื่อนร่วมทางในเกมมาริโอหลายเกม[49] และเป็นตัวละครตัวที่สองที่ผู้ที่สองสามารถควบคุมได้ในโหมดเล่นสองคน[60] แต่เขาเคยช่วยชีวิตมาริโอเป็นบางครั้ง อย่างที่เห็นในเกม มาริโออิสมิสซิง และ ลุยจิสมิชชัน[61] วาริโอ ด้านมืดจอมตะกละของมาริโอ กลับมาอีกครั้งในเกมซูเปอร์มาริโอแลนด์ 2: 6 โกลเดนคอยน์ส บนเครื่องเกมบอย มักจะเป็นปฏิปักษ์ต่อมาริโอหรือตัวเอกปฏิลักษณ์[62] ยอชชี ไดโนเสาร์ที่มีชื่อสปีชีส์เป็นยอชชีเช่นกัน ตัวของยอชชีมีได้หลายสี แต่ดั้งเดิม ยอชชีมีสีเขียว[63] ยอชชีเป็นผู้รับใช้มาริโอในเกมอย่าง ซูเปอร์มาริโอเวิลด์[63] และถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ประหลาดที่มีความรู้สึกมากขึ้นในเกมอย่าง ซูเปอร์มาริโอคาร์ต และยอชชีส์ไอแลนด์

ความสามารถ

[แก้]

ระหว่างการพัฒนาเกมดองกีคอง คนรู้จักมาริโอในชื่อ จัมป์แมน การกระโดดทั้งเพื่อเข้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ และเพื่อโจมตี ถือเป็นคุณสมบัติทั่วไปของระบบการเล่นเกมมาริโอ โดยเฉพาะเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส ก่อนที่ซูเปอร์มาริโออาร์พีจี: เลเจนด์ออฟเดอะเซเวนสตาร์ส จะออกจำหน่าย การกระโดดกลายเป็นเอกลักษณ์ของมาริโอซึ่งผู้เล่นมักจะทดสอบด้วยการกระโดด เพื่อพิสูจน์ให้ตัวละครที่ไม่ใช่ผู้เล่นรู้ว่าเขาคือมาริโอ การโจมตีโดยทั่วไปของมาริโอคือการกระโดดกระทืบหัวของศัตรู พบครั้งแรกในเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส การกระโดดกระทืบนี้อาจจะบดขยี้ศัตรูตัวเล็ก และอาจใช้กับศัตรูตัวที่ใหญ่กว่า บางครั้งก่อให้เกิดผลต่อเนื่อง[4] การโจมตีนี้ทำให้มาริโอเอาชนะเต่าคูป้าทรูป้า ทำให้หัวมุดเข้าหรือออกจากกระดอง และใช้กระดองเป็นอาวุธได้[4] เกมที่ตามมาได้ปรับเปลี่ยนความสามารถในการกระโดดของมาริโอ เกมซูเปอร์มาริโอเวิลด์ เพิ่มการกระโดดหมุนตัว ทำให้มาริโอทำลายก้อนอิฐข้างใต้ได้ ในเกมดองกีคอง เวอร์ชันเกมบอย ทำให้มาริโอกระโดดได้สูงขึ้นด้วยการกระโดดต่อเนื่องกลางอากาศ และทำการพลิกตัวกลับได้ ในเกมซูเปอร์มาริโอ 64 มาริโอได้รับความสามารถใหม่ ๆ เช่นการตีลังกาไถข้าง การแตะพื้น และการกระโดดเตะกำแพง ซึ่งช่วยดันตัวเขาให้สูงขึ้นด้วย

การตอบรับและสิ่งสืบทอด

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "We have a message for fans of the Mushroom Kingdom. Please take a look". ทวิตเตอร์. 2023-08-21. สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Kevin Afghani revealed as the new voice of Mario in Super Mario Bros. Wonder" Nintendo Everything. 2023-10-13.
  3. "Charles Martinet Down Under". N-Sider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-06. สืบค้นเมื่อ 2006-11-12.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 McLaughlin, Rus (2007-08-11). "IGN Presents the History of Super Mario Bros". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-23. สืบค้นเมื่อ 2009-02-28.
  5. Orlando, Greg (2007-05-15). "Console Portraits: A 40-Year Pictorial History of Gaming". Wired News. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
  6. "Iwata Asks: New Super Mario Bros". Wii.com. Nintendo. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-28. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27.
  7. 7.0 7.1 "Playback 93". Yahoo. 2009-12-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-11. สืบค้นเมื่อ 2009-12-24.
  8. Edwards, Benj (April 25, 2010). "The True Face of Mario". Technologizer. สืบค้นเมื่อ June 30, 2011.
  9. Eric Pryne (March 27, 2010). "Powerful Segale family has massive vision for Tukwila expanse". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ June 30, 2011.
  10. 10.0 10.1 Mike Snider (Nov 8, 2010). "Q&A: 'Mario' creator Shigeru Miyamoto". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
  11. Rao, Anjali (2007-02-15). Sigeru Miyamao Talk Asia interview. CNN. Retrieved on 2009-02-28
  12. "Iwata Asks: New Super Mario Bros". Wii.com. Nintendo. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-28. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27.
  13. Arakawa, Minoru (1991). Mario Mania. Nintendo. pp. 30-32. ASIN B000BPL42C.
  14. Reporter: Joel Loy (1989). "Inside Super Mario Bros". Inside Edition. CBS Television Distribution.
  15. Kohler, Chris (2005). Power-Up: How Japanese Video Games Gave the World an Extra Life. Brady Games. p. 39. ISBN 0-7440-0424-1.
  16. "Mario Bros. at Nintendo - Wii - Virtual Console". Nintendo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-31. สืบค้นเมื่อ 2008-10-01.
  17. Sheff, David (1999). Game Over Press Start to Continue. Cyberactive Media Group. p. 56. ISBN 0-9669617-0-6.
  18. Super Mario Bros. Instruction Booklet. Nintendo of America. 1986.
  19. "The Good". TMK Super Mario Bros. Complete Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-08-27.
  20. "The Eight Kingdoms". Super Mario Bros. 3 Instruction Booklet. Nintendo of America. 1990-02-12.
  21. Nintendo Power Staff (1990). "Super Mario Bros. 3: Strategy Guide on the Way". Nintendo Power. Nintendo (12): 94–95. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  22. Nintendo (1989). Super Mario Land Instruction Booklet. Nintendo of America, Inc.
  23. Super Mario World Instruction Booklet. Nintendo.
  24. "FEATURE: Galaxy Quest". Edge. September 25, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-08. สืบค้นเมื่อ February 16, 2010.
  25. Princess Peach's note: Dear Mario: Please come to the castle. I've baked a cake for you. Yours truly-- Princess Toadstool, Peach Nintendo EAD (1996-09-29). Super Mario 64 (Nintendo 64). Nintendo.
  26. "Full Coverage — Super Mario 64". Nintendo Power. Nintendo (88): 14–23. September 1996.
  27. 27.0 27.1 Official Super Mario 64 Player's Guide. Nintendo. 1996.
  28. Super Mario 64 Instruction Booklet. Nintendo. 1996. NUS-NSME-USA.
  29. Super Mario Sunshine instruction booklet. Nintendo. 2002. pp. 20–23.
  30. Nintendo EAD (2002-08-26). Super Mario Sunshine (Nintendo GameCube). Nintendo. FLUDD: The vacation starts now!
  31. New Super Mario Bros. manual. Nintendo. 2006-05-16. p. 10.
  32. Nintendo EAD (May 15, 2006). New Super Mario Bros (Nintendo DS). Nintendo.
  33. "Prologue". Super Mario Galaxy Instruction Booklet. Nintendo of America. 2007.
  34. Casamassina, Matt (November 7, 2007). "Super Mario Galaxy Review". IGN. pp. 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-15. สืบค้นเมื่อ January 25, 2009.
  35. "New Super Mario Bros. Wii: Your Questions Answered!". Official Nintendo Magazine. 2009-10-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-25. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.
  36. Matt Wales (2010-06-10). "Super Mario Galaxy 2 - Wii Review". Uk.wii.ign.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-31. สืบค้นเมื่อ 2011-08-20.
  37. Byron, Tom (November 20, 2004). "Mario Pinball Land (Game Boy Advance)". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-23. สืบค้นเมื่อ January 25, 2010.
  38. 38.0 38.1 "Dr. Mario". IGN. สืบค้นเมื่อ January 24, 2010.
  39. East, Tom (September 19, 2008). "Virtual Console Review: Super Mario RPG". Official Nintendo Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-18. สืบค้นเมื่อ February 17, 2010.
  40. Jenkins, David (10/01/2007). "Mario Tops Best Selling Game Franchise List". Gamasutra. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  41. Pigna, Kris (August 9, 2009). "Mario Included in NES Punch-Out!! Without Miyamoto's Permission". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ January 28, 2009.
  42. "Mario to hoop it up in NBA Street V3". GameSpot. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009.
  43. "SSX On Tour Character Spotlight: Mario, Luigi, and Peach". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-14. สืบค้นเมื่อ May 4, 2009.
  44. "Mario". Smash Bros. DOJO!!. Smashbros.com. 2007-11-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-21. สืบค้นเมื่อ 2009-06-03.
  45. "Mario". Smash Bros. DOJO!!. Smashbros.com. 2007-11-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-21. สืบค้นเมื่อ 2009-06-03. An easy-to-use character, Mario sets the standard for balance.
  46. "At the Movies:Super Mario Bros". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ January 25, 2010.
  47. Palazzo, Chiara (August 22, 2016). "Shinzo Abe emerges from a green pipe disguised as Super Mario during Rio Closing Ceremony". สืบค้นเมื่อ August 22, 2016.
  48. 48.0 48.1 48.2 "Mario Biography". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-20. สืบค้นเมื่อ January 23, 2010.
  49. 49.0 49.1 "Luigi Biography". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-17. สืบค้นเมื่อ January 26, 2010.
  50. "Charles Martinet: Voice Over". สืบค้นเมื่อ 2008-03-16.
  51. "Nintendo - Corporate: About Nintendo Worldwide". Nintendo. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-05-02.
  52. "Top Ten Mario Games". GameTrailers. July 24, 2007. สืบค้นเมื่อ January 30, 2010.
  53. "Story and Characters". Mario vs. Donkey Kong 2: March of the Minis Instruction Booklet. Nintendo of America. 2006-09-25.
  54. "Mario and Luigi: Superstar Saga". Nintendo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2008-08-21.
  55. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ dkhist
  56. "Mario vs. DK 2: March of the Minis". Yahoo! Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
  57. Bozon, Mark (February 1, 2006). "Hands-On: Super Princess Peach". IGN. สืบค้นเมื่อ January 23, 2010.
  58. "Princess Daisy Biography". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-29. สืบค้นเมื่อ January 27, 2009.
  59. HAL Laboratory (2001-12-03). Super Smash Bros. Melee (Nintendo GameCube). Nintendo.
  60. "Luigi Profile". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ January 26, 2010.
  61. Buchanan, Levi (August 7, 2008). "The Other Mario Games, Vol. 2". IGN. สืบค้นเมื่อ January 23, 2010.
  62. "Wario Biography". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-12. สืบค้นเมื่อ January 23, 2010.
  63. 63.0 63.1 "Yoshi Biography". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-02. สืบค้นเมื่อ January 23, 2009.