ข้ามไปเนื้อหา

มิลเดฟ ทารันทูลา เอชเอ็มเอวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยานเกราะความคล่องตัวสูง มิลเดฟ ทารันทูลา
ต้นแบบของทารันทูลา เอชเอ็มเอวี ขับเคลื่อนสี่ล้อ
ชนิดรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ / เอ็มแรป
แหล่งกำเนิดมาเลเซีย
ประวัติการผลิต
ช่วงการออกแบบค.ศ. 2013–?
บริษัทผู้ผลิตมิลเดฟ
ช่วงการผลิตค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต2 ต้นแบบ[1]
ข้อมูลจำเพาะ
มวล14 ตัน (น้ำหนักรวม), 11 ตัน (น้ำหนักตัวเปล่า)
ความยาว5.6 เมตร
ความกว้าง2.5 เมตร
ความสูง2.5 เมตร
ลูกเรือ10 นาย

เกราะ
  • เกราะคอมโพสิต, ป้องกันตัวถังสตาแนก 4569 ระดับ 2เอ
  • ป้องกันท้องสตาแนก 4569 ระดับ 2บี
อาวุธหลัก
สถานีอาวุธควบคุมระยะไกล 12.7 มม.
เครื่องยนต์เครื่องยนต์แคทเธอร์พิลลาร์
330 แรงม้า
กำลัง/น้ำหนัก23.57 แรงม้า/ตัน
เครื่องถ่ายกำลังเกียร์อัตโนมัติแอลลิสัน
กันสะเทือนขับเคลื่อนสี่ล้อ
ความสูงจากพื้นรถ430 มม.
ความเร็วสูงสุด110 กม./ชม.

มิลเดฟ ทารันทูลา เอชเอ็มเอวี (อังกฤษ: MILDEF Tarantula HMAV)[2] เป็นยานยนต์ทหารราบความคล่องตัวสูงต้านทานทุ่นระเบิดตัวถังรูปตัววีขับเคลื่อนสี่ล้อสัญชาติมาเลเซีย ซึ่งให้การป้องกันระดับสูงต่อภัยคุกคามในสนามรบที่หลากหลาย เช่น ทุ่นระเบิด และระเบิดแสวงเครื่อง รถยนต์ดังกล่าวได้รับการออกแบบและผลิตโดยบริษัทมิลเดฟ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021

ยานพาหนะดังกล่าวได้รับการพัฒนาให้เป็นรถลำเลียงพลหุ้มเกราะแบบล้อยางที่มีความสามารถในการต้านทานทุ่นระเบิด และยังมีความคล่องตัวที่ดีในสนามรบ[3] มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลดการพึ่งพายานเกราะที่ผลิตในต่างประเทศ[4]

ประวัติ

[แก้]

การพัฒนารถดังกล่าวใช้เวลาสี่ปีจึงแล้วเสร็จ โดยมีมูลค่ารวม 16 ล้านริงกิตสำหรับการวิจัยและพัฒนา ต้นแบบหนึ่งคันได้รับการสร้างขึ้นและเปิดตัวในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 และคาดว่าจะได้รับการทดสอบโดยกองทัพมาเลเซีย รถคันนี้ใช้ส่วนประกอบในประเทศ 70 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่อีก 30 เปอร์เซ็นต์ใช้ส่วนประกอบต่างประเทศ เช่น ระบบส่งกำลัง, เครื่องยนต์ และระบบอาวุธ[5]

การพัฒนายานพาหนะได้รับความช่วยเหลือโดยสถาบันวิจัยเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์เพื่อการป้องกันประเทศ (STRIDE) ร่วมกับกองทัพมาเลเซีย[1] เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2021 ยานเกราะความคล่องตัวสูง มิลเดฟ ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ทารันทูลา"[2]

ตามที่รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ดาตุก เซรี อิซมาอิล ซาบรี ยาอากบ กล่าวว่าบางประเทศในตะวันออกกลางที่ไม่ระบุชื่อได้แสดงความสนใจในการเข้าซื้อทารันทูลา[6] ซึ่งทางบริษัทมิลเดฟได้กล่าวว่าพวกเขาต้องการส่งออกทารันทูลาไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน ตามด้วยประเทศนอกภูมิภาค[4]

การออกแบบ

[แก้]

ทารันทูลาขับเคลื่อนสี่ล้อยาว 5.6 เมตร, กว้าง 2.5 เมตร และสูง 2.5 เมตร น้ำหนักตัวรถคือ 14 ตัน ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แคทเธอร์พิลลาร์ความจุ 7.2 ลิตร ดีเซลเทอร์โบ ด้วย 330 แรงม้าและ 1,116 นิวตันเมตร สามารถทำความเร็วได้ถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[6]

ทารันทูลามีคุณสมบัติตามมาตรฐานสตาแนก 4569 ของเนโท ซึ่งการป้องกันวัตถุที่มีความเร็วของพวกมันเข้ากันได้กับสตาแนก 4569 ระดับ 2 สำหรับวัตถุที่มีความเร็วและปืนใหญ่ ยานพาหนะนี้เข้ากันได้กับสตาแนก 4569 ระดับ 2บี และการป้องกันตัวถังเข้ากันได้กับสตาแนก 4569 ระดับ 2เอ[6]

อาวุธหลักประกอบด้วยสถานีอาวุธควบคุมระยะไกล 12.7 มม.[7] ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดควันเพื่อป้องกันตัวเอง[7]

หลังจากมีการประกาศเปิดตัวทารันทูลาเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 ยานพาหนะดังกล่าวได้รับการทดสอบเป็นเวลาเก้าวันผ่านการทดสอบบนถนน 700 กม. และทางวิบาก 300 กม. ตามด้วยความทนทานบนทางหลวง, ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง โหลด, การดึง, ความลาดชัน, การติดตั้งและการยกออกจากรถ, การปีนเขาและการเบรก รวมถึงการทดสอบการลุยบริเวณน้ำตื้นหนึ่งเมตร[8]

ดาตุก เซรี โมะด์ นีซัม กาซา ซีอีโอของมิลเดฟ ระบุว่าโครงส้รางของทารันทูลาประกอบด้วส่วนประกอบภายใน 70 เปอร์เซ็นต์ (แชสซี, ตัวถัง และระบบเครื่องยนต์) และส่วนประกอบภายนอก 30 เปอร์เซ็นต์ (เพลา, เกียร์หกสปีด และเครื่องยนต์)[1]

ประจำการ

[แก้]

ปัจจุบัน

[แก้]

คำสั่งซื้อในอนาคต

[แก้]
  • ยานเกราะความคล่องตัวสูง 100 คันได้รับการสั่งซื้อโดยผู้ซื้อที่ไม่เปิดเผย[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "NST-Mildef unveils locally-made high mobility armoured vehicles". nst.com.my. สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.}
  2. 2.0 2.1 "Tarantula HMAV 4×4". malaysian defence.com. สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.}
  3. "Malaysia News Agency:Bernama-Mildef unveils Malaysian-made armoured vehicle". bernama.com. สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.
  4. 4.0 4.1 Selan, Siva (11 February 2021). "First made-in-Malaysia armoured vehicle unveiled". สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.
  5. "Malaysian Defence-Unifil contender out on show". malaysiandefence.com. สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Malaysia produces its first armoured vehicle, the Tarantula HMAV 4x4". The Star. 2 April 2021. สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.
  7. 7.0 7.1 "MILDEF Malaysia 4x4 armoured recon vehicle revealed - paultan.org". February 15, 2021. สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.
  8. "MILDEF HMAV 4×4 Successfully Completes First Round of Military Evaluation Testing". Asian Military Review. 25 March 2021. สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.
  9. Frahan, Alain Henry de. "Mildef International Technologies unveils Malaysian-made high mobility armored vehicle | Defense News February 2021 Global Security army industry | Defense Security global news industry army year 2021 | Archive News year". www.armyrecognition.com. สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]