ข้ามไปเนื้อหา

มิสแกรนด์ไทยแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มิสแกรนด์ฉะเชิงเทรา)
มิสแกรนด์ไทยแลนด์
คําขวัญนับจากนี้ทุกพื้นที่มีแต่แกรนด์
We are Grand the one and only
ก่อตั้ง7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556; 11 ปีก่อน (2556-05-07)
ผู้ก่อตั้งณวัฒน์ อิสรไกรศีล
ประเภทการประกวดความงาม
สํานักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง
สมาชิก
มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
มิสทัวริซึมอินเตอร์เนชันแนล
เดอะมิสโกลบ
มิสออราอินเตอร์เนชันแนล
มิสอีโคอินเตอร์เนชันแนล
เฟซออฟบิวตีอินเตอร์เนชันแนล
มิสเอเชียแปซิฟิกอินเตอร์เนชันแนล
มิสไชนิสเวิลด์
ภาษาทางการ
ไทย
บุคลากรหลัก
ณวัฒน์ อิสรไกรศีล
(ประธานกองประกวด)
อิงฟ้า วราหะ
(ผู้จัดการกองประกวด)
วรัญชนา ระดมเล็ก
(รองผู้จัดการกองประกวด)
องค์กรแม่
มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
องค์กรปกครอง
บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
เว็บไซต์missgrandthailand.com

มิสแกรนด์ไทยแลนด์ (อังกฤษ: Miss Grand Thailand) เป็นการประกวดนางงามในประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2556 โดยมีณวัฒน์ อิสรไกรศีล เป็นประธานกองประกวด, อิงฟ้า วราหะ เป็นผู้จัดการกองประกวด และวรัญชนา ระดมเล็ก เป็นรองผู้จัดการกองประกวด เพื่อส่งผู้ชนะเลิศเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล และมีการส่งผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศและผู้เข้ารอบสุดท้ายต่าง ๆ ไปประกวดยังเวทีนานาชาติอื่น ๆ

ในปี พ.ศ. 2559 กองประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ให้เหมือนกับการประกวดนางงามในสหรัฐ, ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเวเนซุเอลา โดยการให้ทั้ง 77 จังหวัดจัดการประกวดมิสแกรนด์ขึ้น เพื่อหาตัวแทนของแต่ละจังหวัด โดยให้ใช้ชื่อ "มิสแกรนด์" แล้วตามด้วยจังหวัด เช่น มิสแกรนด์นครนายก มิสแกรนด์นครปฐม มิสแกรนด์นครพนม มิสแกรนด์นครราชสีมา เป็นต้น[1]

ผู้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์ไทยแลนด์คนปัจจุบันคือมาลิน ชระอนันต์ จาก มิสแกรนด์ภูเก็ต 2024

ประวัติ

[แก้]

มิสแกรนด์ไทยแลนด์เป็นเวทีการประกวดความงามระดับประเทศ เพื่อส่งออกตัวแทนประเทศไทยเพื่อไปประกวดเวทีระดับนานาชาติ โดยผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดจะได้ทำการส่งออกไปยังมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ขณะที่รองชนะเลิศหรือผู้เข้าประกวดคนอื่นๆ จะได้ส่งออกในเวทีระดับนานาชาติอื่นๆ อาทิ มิสทัวริซึมอินเตอร์เนชันแนล, เดอะมิสโกลบ, มิสออราอินเตอร์เนชันแนล เป็นต้น

มิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้เริ่มการประกวดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 โดยมีณวัฒน์ อิสรไกรศีล เป็นผู้ก่อตั้งการประกวด และมีผู้ชนะคนแรกคือ ญาดา เทพนม จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์[2] ในปี พ.ศ. 2559 เป็นปีแรกที่กองประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้นำรูปแบบการประกวดแบบ 77 จังหวัดเข้ามาใช้ในการประกวดโดยได้จัดงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559[3] โดยผู้ชนะในการประกวดแบบระบบจังหวัดคนแรกคือ สุภาพร มะลิซ้อน จากมิสแกรนด์สงขลา[4]

ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563 ภายหลังจากการแถลงข่าวเตรียมจัดการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2020 ณ ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ องค์กรได้มีการประกาศยกเลิกสัญญาถ่ายทอดสดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ผ่านทางช่อง 7 และต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน ปีเดียวกัน ได้มีการออกมาแถลงว่ามิสแกรนด์ไทยแลนด์จะถ่ายทอดสดที่ช่องวัน 31

ตั้งแต่ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้ดำเนินการเผยแพร่กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบการถ่ายทอดสดและการบันทึกสื่อล่วงหน้าแล้วนำมาออกอากาศ ผ่านทางออนไลน์ ประกอบด้วยช่องยูทูบ/ติ๊กต็อก แกรนด์ทีวี และเพจเฟซบุ๊ก มิสแกรนด์ไทยแลนด์ โดยไม่มีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์อีก

การคัดเลือกตัวแทนและกิจกรรมการประกวด

[แก้]
แผนที่แสดงระบบกลุ่มภูมิภาคนการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์:
  ภาคเหนือ
  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
  ภาคกลาง
  ภาคใต้

ในการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ นั้น บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้กำหนดให้มีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการการประกวดระดับจังหวัด หรือโปรวินเชียลไดเรกเตอร์ (อังกฤษ: Provincial Director; PD) เป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวดในพื้นที่นั้นๆ อย่างไรก็ตาม การจัดประกวดเพื่อหาตัวแทนในระดับจังหวัดอาจใช้วิธีการคัดเลือกตัวแทนหลายจังหวัดพร้อมกันในครั้งเดียว หรือแยกเฉพาะจังหวัดนั้นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้อำนวยการกองประกวดระดับจังหวัด

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 กองประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้ประกาศว่า ผู้ที่ผ่านการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 และนางสาวไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ซึ่งรวมถึงผู้เข้าประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์และนางสาวไทยในระดับจังหวัด แม้ไม่ได้รับตำแหน่งก็ตาม จะไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ อนึ่ง ทั้งสองเวทีดังกล่าวอยู่ในความดูแลของ บจก.ทีพีเอ็น โกลบอล[5] ต่อมา ณวัฒน์ อิสรไกรศีล ผู้อำนวยการกองประกวด ได้ยืนยันการประกาศดังกล่าว พร้อมระบุว่ามิสแกรนด์ไทยแลนด์จะไม่รับสตรีที่ผ่านการสมรสและ/หรือมีบุตรแล้ว รวมถึงสตรีข้ามเพศ เข้าร่วมการประกวดอีกด้วย[6]

ทั้งนี้ผู้เข้าประกวดจะต้องมีคุณสมบัติโดยอิงตามหลัก 4 บี (อังกฤษ: 4B) ของกองประกวดซึ่งได้แก่ รูปร่าง (อังกฤษ: Body), ความงาม (อังกฤษ: Beauty), ความฉลาด (อังกฤษ: Brain) และธุรกิจ (อังกฤษ: Business)[7]

การคัดเลือกตัวแทน

[แก้]

ตั้งแต่การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2020 นั้น[8] ได้กำหนดให้มีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการการประกวดระดับจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวดในพื้นที่นั้น ๆ[9] เพื่อหาตัวแทนในระดับจังหวัดอาจใช้วิธีการคัดเลือกตัวแทนหลายจังหวัดพร้อมกันในครั้งเดียว หรือแยกเฉพาะจังหวัดนั้น ๆ

ในการแข่งขันระดับประเทศ ตัวแทนจังหวัดทั้ง 77 คน จะถูกแบ่งออกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ 17 คน, ภาคอีสาน 20 คน, ภาคกลาง 22 คน และภาคใต้ 18 คน โดยการคัดเลือกผู้เข้ารอบจะคัดเลือกตามกลุ่มจังหวัด ซึ่งจะมีผู้ผ่านเข้ารอบในรอบ 20 คนสุดท้าย, 10 คนสุดท้าย, และ 5 คนสุดท้าย กลุ่มจังหวัดละ 5, 2 และ 1 คน ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้ชนะรางวัลมิสป็อปปูลาร์โหวตจากการโหวตผ่านทางแอปพลิเคชันจะผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายโดยอัตโนมัติ[9][10] ทั้งนี้ในรอบ 10 คนสุดท้าย และรอบ 5 คนสุดท้าย ผู้ที่ได้รับเลือกจากณวัฒน์ อิสรไกรศีล หรือบอสชอยส์จะได้สิทธิ์ผ่านเข้าสู่รอบถัดไปโดยอัตโนมัติ[9][10]

ผู้ดำรงตำแหน่ง

[แก้]
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ตัวแทนจังหวัด ผู้ดำรงตำแหน่ง สถานที่จัดประกวด/แต่งตั้ง จังหวัดเจ้าภาพ ผู้เข้าประกวด
2568 (2025) รอประกาศ เอ็มจีไอ ฮอลล์, กรุงเทพมหานคร  สงขลา 77
2567 (2024)  ภูเก็ต มาลิน ชระอนันต์  ภูเก็ต
2566 (2023)  ชุมพร ทวีพร พริ้งจำรัส  เชียงใหม่
2565 (2022)  กรุงเทพมหานคร อิงฟ้า วราหะ โชว์ ดีซี ฮอลล์, กรุงเทพมหานคร  ขอนแก่น
2564 (2021)  ปทุมธานี อินดี จอห์นสัน บริษัท พีเอ็ม เซ็นเตอร์ จำกัด, กรุงเทพมหานคร ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
2563 (2020)  ระนอง พัชรพร จันทรประดิษฐ์ ไบเทค บางนา, กรุงเทพมหานคร  เชียงราย 77
2562 (2019)  นครพนม อารยะ ศุภฤกษ์ นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา, สตูล
2561 (2018)  ภูเก็ต น้ำอ้อย ชนะพาล  ภูเก็ต
2560 (2017)  กระบี่ ปาเมลา ปาสิเนตตี  เชียงใหม่
2559 (2016)  สงขลา พีรญา มะลิซ้อน อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก, กรุงเทพมหานคร  อุดรธานี
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) จังหวัดบ้านเกิด ผู้ดำรงตำแหน่ง สถานที่จัดประกวด จังหวัดเจ้าภาพ ผู้เข้าประกวด
2558 (2015)  สงขลา รัตติกร ขุนโสม อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก, กรุงเทพมหานคร  ชุมพร 50
2557 (2014)  นครราชสีมา ปรภัสสร วรสิรินดา โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์, กรุงเทพมหานคร  บุรีรัมย์
2556 (2013)  ประจวบคีรีขันธ์ ญาดา เทพนม  ปัตตานี 37

ทำเนียบมิสแกรนด์ไทยแลนด์

[แก้]

ตารางตำแหน่ง

[แก้]

ตารางต่อไปนี้แสดงจำนวนผู้เข้าประกวดที่เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการประกวดระดับนานาชาติ (เฉพาะการประกวดประจำปีที่เสร็จสิ้นแล้ว) ภายใต้บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) โดยมีรายละเอียดเฉพาะแฟรนไชส์ระดับนานาชาติปัจจุบันที่กลุ่มบริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ถือครอง.

ชื่อการประกวด เข้าร่วมประกวด ชนะเลิศ รองอันดับ
1
รองอันดับ
2
รองอันดับ
3
รองอันดับ
4
รองอันดับ
5
5 คน
สุดท้าย
10 คน
สุดท้าย
11 คน
สุดท้าย
15 คน
สุดท้าย
16 คน
สุดท้าย
17 คน
สุดท้าย
20 คน
สุดท้าย
21 คน
สุดท้าย
จำนวนตำแหน่ง
ทั้งหมด
มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 12 2022 20162019 2015 2023 201420172020 201320182024 11
เดอะมิสโกลบ 7 2024 2022 2016 2017 • 2023 5
มิสอีโคอินเตอร์เนชันแนล 3 2021 2017 2024 3
เฟซออฟบิวตีอินเตอร์เนชันแนล 3 2019 2023 2024 3
มิสออราอินเตอร์เนชันแนล 2 2023 2024 2
มิสเอเชียแปซิฟิกอินเตอร์เนชันแนล 1 2024 1
มิสทัวริซึมอินเตอร์เนชันแนล 9 2022 • 2023 2014 • 2020 2017 • 2019 6
มิสทัวริซึมควีนออฟเดอะเยียร์อินเตอร์เนชันแนล 3 0
มิสทัวริซึมเมโทรโพลิตันอินเตอร์เนชันแนล 0 2016 1
มิสเซาท์อีสต์เอเชียทัวริซึมแอมบาสเดอร์ 2 2015 1
มิสไชนิสเวิลด์ 4 2017 • 2023 2021 3
อดีตแฟรนไชส์
มิสซูปราเนชันแนล 4 2014 2013 2
มิสเอิร์ธ 1 2014 1
มิสอินเตอร์คอนติเนนตัล 9 2014 2019 2013 • 2016 2015 2018 • 2021 • 2022 8
มิสยูไนเต็ดคอนติเนนท์ 5 2017 • 2019 2018 2016 4
มิสแลนด์สเคปส์อินเตอร์เนชันแนล 1 0
ท็อปโมเดลออฟเดอะเวิลด์ 2016 2017 2
รวม (66) (7) (6) (3) (3) (3) (4) (2) (9) (1) (4) (1) (1) (11) (1) (53)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ณวัฒน์ ประกาศขายลิขสิทธิ์ "มิสแกรนด์"". Daily News. 2 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2016. สืบค้นเมื่อ 22 October 2021.
  2. "น้องอ๋อ คว้ามงกุฎมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ 2013". Sanook.com. 8 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2021. สืบค้นเมื่อ 26 October 2021.
  3. "เปิดใจ "แคลร์" มิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนลคนล่าสุด นับจากนี้ 6 เดือนจะทำหน้าที่จนวันสุดท้าย (คลิป)". มติชน. 1 April 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 April 2023.
  4. "สวยครบเครื่อง! ชาวเน็ตชื่นชม "ฝ้าย-สุภาพร มะลิซ้อน" มิสแกรนด์ ไทยแลนด์ 2016". Matichon. 27 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2021. สืบค้นเมื่อ 22 October 2021.
  5. "กองประกวด Miss Grand Thailand ออกประกาศห้ามผู้ที่เคยเข้าประกวดมิสยูนิเวิร์สปีที่แล้ว และผู้เข้าประกวดนางสาวไทยปี 2566 สมัครชิงมงเวทีนี้เด็ดขาด". THE STANDARD. 2023-01-19.
  6. matichon (2023-03-03). "ณวัฒน์ เคลียร์สตอรี่สีส้ม ยืนยันไม่รับนางงามจาก 2 เวทีเข้าประกวดมิสแกรนด์". มติชนออนไลน์.
  7. "ตัวเต็ง "มิสแกรนด์เปรู" ซิว "Miss Grand International 2023" ด้าน "อุ้ม ทวีพร" ตัวแทนจากไทยจอด Top 10". ผู้จัดการออนไลน์. 25 October 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2023. สืบค้นเมื่อ 5 April 2024.
  8. ลงทุนศาสตร์ Investerest.co (15 July 2019). "มิสแกรนด์ กำไรดีไหมลงทุนศาสตร์ – Investerest". investerest.co. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2019. สืบค้นเมื่อ 5 September 2020.
  9. 9.0 9.1 9.2 สยามรัฐออนไลน์ (1 September 2020). "นับถอยหลังประชันที่สุดแห่งนางงาม "มิสแกรนด์ ไทยแลนด์ 2020 : โควิด19 เอพพิโซด"". Siamrath.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2020. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  10. 10.0 10.1 Voice TV (24 June 2019). "เวทีมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2019 ปรับโฉม มงกุฏใหม่ พร้อมเปลี่ยนรูปแบบการตัดสิน และเพิ่มตำแหน่ง โดยปีนี้เก็บคะแนนตั้งแต่วันแรกที่เข้ากองประกวด พร้อมเลือกจัดกิจกรรม เก็บตัว 77 สาวงาม ที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้". Voicetv.con. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2020. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]