ลูกโลก
ลูกโลก (อังกฤษ: globe) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้สำหรับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ เป็นการจำลองลักษณะของโลกหรือเทห์ฟ้า อาจทำมาจากกระดาษ พลาสติกหรืออื่น ๆ ลูกโลกทำหน้าที่คล้ายกับแผนที่ แตกต่างกันตรงที่ลูกโลกจะไม่บิดเบือนความจริง เป็นเพียงการลดขนาดของโลกหรือเทห์ฟ้านั้น ๆ จึงทำให้สามารถแสดงภาพรวมของสภาพภูมิประเทศ ขนาดประเทศและลักษณะทางกายภาพได้เหมือนจริงมากกว่า แต่มีข้อเสียคือลูกโลกจะไม่สามารถมองภาพรวมทั้งหมดของโลกในเวลาเดี่ยวกันได้อีกทั้งยังพกพาได้ลำบาก[1]
ลูกโลกมีสองแบบคือลูกโลกธรรมดาหรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า (terrestrial globe) แปลตรงตัวว่าโลกบกกับอีกแบบ คือทรงกลมท้องฟ้าในภาษาอังกฤษเรียกว่า (celestial globe) แปลตรงตัวว่าโลกท้องฟ้า ซึ่งปกติแล้วจะแสดงกลุ่มดาวบนท้องฟ้าหรือแสดงดวงดาวบนท้องฟ้าและตำแหน่งของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ
คำว่า globe มาจากภาษาละตินคำว่า globus ซึ่งมีความหมายว่าทรงกลม ลูกโลกนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน บุคคลที่กล่าวถึงลูกโลกเป็นครั้งแรกคือสตราโบซึ่งได้อธิบายไวใน The Globe of Crates เมื่อ 150 ปีก่อนคริสต์ศักราช ใน ค.ศ. 1492 มาร์ทีน เบไฮม์ได้ผลิตลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดที่เหลือรอดอยู่ชื่อว่า แอร์ทอัพเฟิล (Erdapfel)[2] ส่วนลูกทรงกลมท้องฟ้าที่เก่าแก่ที่สุดที่เหลือรอดอยู่คือ รูปสลักแอตลาสแบกโลก ซึ่งแกะสลักในสมัยศตวรรษที่ 2 ของจักรวรรดิโรมัน
ทรงกลมบก (ลูกโลกธรรมดา)
[แก้]แผนที่ระนาบราบนั้นจำเป็นต้องใช้เส้นโครงแผนที่ในการสร้าง ซึ่งมักมีการบิดเบือนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และยิ่งพื้นที่มีขนาดใหญ่ก็ยิ่งมีความบิดเบือนมาก ลูกโลกเป็นการแสดงลักษณะของโลกแบบเดียวในตอนนี้ที่ไม่มีการบิดเบือนของรูปร่าง ขนาดและคุณลักษณะที่มีขนาดใหญ่ เช่นทวีปและมหาสมุทร
ลูกโลกมีหลายขนาด โดยเทียบจากที่โลกมีเส้นรอบวงยาวประมาณ 40,000 กิโลเมตร (40 ล้านเมตร)[3][4] ลูกโลกส่วนมากมีเส้นรอบวงยาว 1 เมตร ทำให้มีมาตราส่วน 1:40 ล้าน ในประเทศที่ใช้หน่วยวัดแบบอังกฤษจะสร้างลูกโลกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ฟุต (30 ซม.) ทำให้มีเส้นรอบวงยาว 3.14 ฟุต มาตราส่วนจึงเท่ากับ 1:42 ล้าน
ลูกโลกบางลูกมีการแสดงลักษณะภูมิประเทศและระดับความลึก ค่าระดับความสูงและค่าระดับความลึกนั้นเป็นการแสดงผลที่เกินจริงโดยเจตนา เพราะมาตราส่วนที่ห่างขนาดนี้ไม่สามารถแสดงผลได้ ตัวอย่างเช่นผู้ผลิตรายหนึ่งผลิตลูกโลกพื้นผิวสามมิติที่มีเส้นรอบวงยาว 200 ซม. (มาตราส่วน 1:20 ล้าน) โดยแสดงผลให้ยอดเขาเอเวอเรสต์สูง 2.5 ซม. เมือเทียบกับมาตราส่วนแล้วจะสูงกว่าความเป็นจริงประมาณ 57 เท่า[5][6]
ลูกโลกสมัยใหม่มักมีการใส่เส้นขนานและเส้นเมริเดียน ทำให้สามารถบอกตำแหน่งโดยประมาณของสถานที่ต่าง ๆ ได้ บางครั้งมีการแสดงเขตแดนและชื่อประเทศลงบนลูกโลกด้วย ลูกโลกบางใบมีการใส่แอนาเล็มมาเพื่อแสดงการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าในช่วงเวลาหนึ่งปี
ลูกโลกโดยทั่วไปจะให้ทิศเหนืออยู่ด้านบน แต่ลูกโลกบางใบสามารถหมุนแกนโลกทิศใต้ขึ้นมาข้างบนได้เพื่อที่จะสามารถดูลักษณะในซีกใต้ได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังสามารถดูลักษณะของโลกในทิศทางที่แตกต่างพื่อช่วยต้านอคติที่เกิดจากการนำเสนอแบบเดิม ๆ
ทรงกลมท้องฟ้า
[แก้]เป็นลูกโลกที่แสดงตำแหน่งของดาวบนท้องฟ้าและระบาบสุริยวิถี โดยไม่นับรวมดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดาวเคราะห์
ประวัติ
[แก้]ลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏขึ้นพร้อมกับแนวคิดและความเชื่อเรื่องโลกกลมของนักดาราศาสตร์ชาวกรีกในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช โดยเชื่อกันว่าตัวอย่างของลูกโลกจำลองทางภูมิศาสตร์ที่เก่าที่สุดถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย คราเตสแห่งมอลลัสแห่งซิลิเชีย (ปัจจุบันคือชาคูโลวา) ในกลางศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช
ปัจจุบันไม่มีลูกโลกจำลองจากสมัยโบราณและยุคกลางเหลือรอด ส่วนตัวอย่างของทรงกลมท้องฟ้าที่เหลือรอดอยู่คือรูปสลักแอตลาสแบกโลกที่แกะสลักในสมัยศตวรรษที่ 2 ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งนาโปลี[7]
แบบจำลองของโลกที่แสดงโลกเก่าทั้งหมดสร้างขึ้นในยุคทองของอิสลาม[8][9] เดวิต วูดเวิร์ดกล่าวว่า หนึ่งในตัวอย่างก็คือลูกโลกที่จามัล แอดดิน อัลบุคอรีนำไปปักกิ่งใน ค.ศ.1267[10]
ลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดที่เหลือรอดอยู่สร้างขึ้นใน ค.ศ 1492 โดยมาร์ทีน เบไฮม์มันมีชื่อว่า แอร์ทอัพเฟิล (Erdapfel) มาร์ทีน เบไฮม์เป็นช่างทำแผนที่ นักเดินเรือและพ่อค้าชาวเยอรมันที่ทำงานในเนือร์นแบร์ค ประเทศเยอรมนี ก่อนจะสร้างลูกโลกใบนี้เขาได้เดินทางไปทั่วโลก เขาพำนักอยู่ในลิสบอนชั่วคร่าวใน ค.ศ. 1480 พัฒนาธุรกิจการค้าและคลุกคลีกับนักสำรวจและนักวิทยาศาสตร์ เมื่อเดินทางกลับบ้านเกิดเขาก็ได้ทำการสร้างลูกโลกใบนี้ขึ้นโดยให้ เกออร์ค กล็อคเคินโดน เป็นผู้วาด[7] เขาเรียกลูกโลกของเขาว่า "Nürnberg Terrestrial Globe." แต่ในเวลาต่อมามันรู้จักกันในชื่อแอร์ทอัพเฟิล
ลูกโลกที่เก่าแก่อีกลูกคือลูกโลกฮันท์–เลน็อกซ์ เชื่อกันว่านี้เป็นที่มาของวลี "Hic Sunt Dracones" ความหมายคือ "Here Be Dragons - ที่นี่มีมังกร" ลูกโลกใบนี้ทำจากไข่นกกระจอกเทศสองซีกและมีขนาดประมาณลูกเกรปฟรูต ถูกค้นพบครั้งแรกใน ค.ศ. 2012 มีการคาดเดาว่ามันน่าจะอยู่มาตั้งแต่ ค.ศ. 1504[11] และอาจเป็นลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดที่แสดงพื้นที่โลกใหม่ สเตฟาน มิสไซน์ผู้วิเคราะห์ลูกโลกให้กับ นิตยสารปอร์โตแลน (The Portolan journal) ของ วอชิงตัน แมพ โซไซตี้ กล่าวว่าเป็น "ส่วนหนึ่งของคอลเล็กชันสำคัญของยุโรปในรอบทศวรรษ"
ใน ค.ศ. 1507 มาร์ติน วัลด์ซีมูลเลอร์เป็นคนแรกที่วาดทวีปอเมริกาลงในแผนที่โลก ลูกโลกที่ทันสมัยอย่างมากอีกใบหนึ่งสร้างโดยตากี อัลดีนที่หอดูดาวคอนสแตนติโนเปิลแห่งตากี อัลดีนในช่วงทศวรรษที่ 1570[12]
ทรงกลมท้องฟ้าที่ไม่มีรอยต่อใบแรกของโลกสร้างโดยนักวิทยาศาสตร์ในจักรวรรดิโมกุลซึ่งสนับสนุนโดยจักรพรรดิชะฮันคีร์[13]
Globus IMP อุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องกลกับลูกโลกขนาด 5 นิ้ว ถูกใช้เป็นเครื่องมือนำทางในยานอวกาศของโซเวียตและรัสเซียตั้งแต่ ค.ศ. 1961–2002 ใน ค.ศ. 2001 มีการใช้แผนที่ดิจิทัลแทนเครื่องมือตัวนี้ในยานอวกาศโซยุซ ทีเอ็มเอ[14]
ในชวงยุค 1800 ลูกโลกขนาดเล็ก (น้อยกว่า 3 นิ้ว) เป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะความเป็นสุภาพบุรุษและเป็นของเล่นเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กที่มีฐานะ[15]
วิธีการผลิต
[แก้]โดยปกติแล้วการผลิตลูกโลกจะใช้การพิมพ์ลงในแผ่นกระดาษกอร์ (Gore) ที่มีลักษณะกระดาษรูปโค้งจันทร์เสี้ยวที่มีลักษณะเรียวแหลมบริเวณขั้ว[16] และนำมาติดลงบนวัตถุทรงกลมซึ่งส่วนมากจะเป็นไม้ หากลูกโลกนั้นมีกระดาษกอร์มาเท่าไหร่ผิวของลูกโลกก็จะเรียบเนียนมากเท่านั้น
ในปัจจุบันลูกโลกส่วนมากใช้เทอร์โมพลาสติกในการผลิต ตั้งแกนโลกให้เอียงจากแนวตั้งฉากเป็นมุมประมาณ 23.5° เพื่อให้สามารถทำให้นึกภาพได้ง่ายขึ้นว่าฤดูกาลเปลี่ยนแปลงอย่างไร
การแสดงผล
[แก้]แผนที่จะแสดงความบิดเบือนของโลกเช่นทำให้บริเวณขั่วโลกมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ว่าลูกโลกนั้นจะมีรูปร่างที่เหมือนจริงทำให้มันมีลักษณะคล้ายโลกมากกว่าแผนที่ ลูกโลกมีรูปทรงกลมคล้ายผลส้ม คือ ตรงบริเวณขั้วโลกทั้งสองยุบราบลงเล็กน้อยและป่องตรงบริเวณศูนย์สูตร โลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร ยาว 12,756 กิโลเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาว 12,714 กิโลเมตร [17][18]นี้ทำให้เห็นว่าโลกนั้นไม่ได้กลมเปะแต่ถึงอย่างงั้นค่าพวกนี้ก็เป็นแค่ส่วนต่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ผิวโลกนั้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นมหาสมุทรมีเนื้อที่รวมกัน 375 ล้านตารางกิโลเมตรและส่วนที่เป็นพื้นดินอย่างทวีปและเกาะต่าง ๆ มีเนื้อที่รวมกัน 150 ล้านตารางกิโลเมตร เมื่อรวมทั้งพื้นน้ำและแผ่นดินแล้ว โลกจะมีเนื้อที่รวมประมาณ 525 ล้านตารางกิโลเมตร โดยคิดสัดส่วนบริเวณผิวของเปลือกโลกจะเป็นพื้นน้ำ 2 ใน 3 ส่วน และส่วนที่เป็นแผ่นดิน 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้น การสร้างลูกโลกจึงต้องเป็นไปตามสัดส่วนของโลก แต่เนื่องจากเมื่อมีการย่อส่วนเป็นลูกโลกแล้ว จะพบว่าค่าความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร และจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้จะมีค่าไม่ต่างกันมากนัก จึงเห็นได้ว่ารูปโลกมีลักษณะทรงกลม [19][20]
ข้อมูลที่แสดงบนลูกโลกนั้นมีการใช้สัญลักษณ์, สี, หรืออื่น ๆ ในการแสดงสภาพบนผิวโลกเช่นความสูงความต่ำเป็นต้นโดยจะมีการแสดง 2 แบบ ดังนี้
- ลูกโลกแสดงลักษณะผิวโลก โดยแบ่งผิวโลกออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน คือ ส่วนที่เป็นทะเลหรือมหาสมุทรโดยส่วนมากจะเป็นสีฟ้าและน้ำเงิน และแสดงพื้นดินด้วยสีต่าง ๆ ตามความสูงโดยจะมีการกำหนดอยู่บนลูกโลกนั้น ๆ
- ส่วนที่สมมติขึ้น เช่นมีการใช้เส้นละติจูด ลองจิจูด เส้นศูนย์สูตร เพื่อเป็นการบอกพิกัดทางภูมิศาสตร์ หรือมีการใช้จุดหรือสัญลักษณ์ในการบอกเมืองท่าหรือเมืองสำคัญเป็นต้น [21]
เช่น:[22]
- เครื่องหมายแสดงทิศ
- ทางรถยนต์
- ทางรถไฟ
- เส้นแบ่งอาณาเขต
- แม่น้ำ
- จังหวัด
- อำเภอ
รูปภาพ
[แก้]-
ลูกโลกในศตวรรษที่19
-
มาร์ทีน เบไฮม์กับลูกโลกแอร์ทอัพเฟิล
-
ลูกโลกในอดีต (มองจากด้านบน)
-
ลูกโลกรูปทรงในอดีต
-
ภาพฟิล์มหรือแผ่นกระดาษกอร์ก่อนนำมาติดบนลูกโลก
-
ลูกโลกดิจิทัล
-
ลูกโลกในพิพิธภัณฑ์
-
รูปสลักแอตลาสแบกโลก
ประโยชน์
[แก้]ทำให้เราได้มองโลกได้ตามความจริงและได้เห็นทุกมุมมองของโลกแสดงรายละเอียดที่ถูกต้องกว่า
ข้อเสีย
[แก้]ยากในการพกพาแสดงข้อมูลรายละเอียดได้น้อยไม่สามารถแสดงข้อมูลรายละเอียดทั้งโลกได้ในคราวเดียว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ลูกโลก
- ↑ "Der Behaim-Globus in Nürnberg" (ภาษาเยอรมัน). Bayern-online.
- ↑ The Earth’s circumference is 40 million m because the metre was originally defined to be one 10-millionth of the distance between the poles and the equator.
- ↑ Arc length#Arcs of great circles on the Earth
- ↑ MapScaping på Twitter: "3D topographic globe at Stanford's Branner Library."
- ↑ The GEO One 25" Extreme Raised Relief Classroom Floor Globe
- ↑ 7.0 7.1 Microsoft Encarta Encyclopedia 2003.
- ↑ Medieval Islamic Civilization By Josef W. Meri, Jere L Bacharach, pages 138–139
- ↑ Covington, Richard (2007), "The Third Dimension", Saudi Aramco World, May–June 2007: 17–21, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-12, สืบค้นเมื่อ 2008-07-06
- ↑ David Woodward (1989), "The Image of the Spherical Earth", Perspecta, MIT Press, 25: 3–15 [9], JSTOR 1567135
- ↑ Missinne 2019, p. 261.
- ↑ Soucek, Svat (1994), "Piri Reis and Ottoman Discovery of the Great Discoveries", Studia Islamica, Maisonneuve & Larose, 79 (79): 121–142 [123 & 134–6], doi:10.2307/1595839, JSTOR 1595839
- ↑ Society, National Geographic (2011-01-21). "globe". National Geographic Society (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-20. สืบค้นเมื่อ 2017-01-23.
- ↑ Tiapchenko, Yurii. "Information Display Systems for Russian Spacecraft: An Overview". Computing in the Soviet Space Program (Translation from Russian: Slava Gerovitch).
- ↑ Bliss, Laura (13 October 2014). "These tiny glass globes were all the rage in London 200 years ago". Quartz (publication). สืบค้นเมื่อ 2014-10-14.
- ↑ "Image: globe.jpg, (450 × 100 px)". netpbm.sourceforge.net. สืบค้นเมื่อ 2015-09-01.
- ↑ The Earth’s circumference is 40 million m because the metre was originally defined to be one 10-millionth of the distance between the poles and the equator.
- ↑ Arc length#Arcs of great circles on the Earth
- ↑ โลก
- ↑ ดาวเคาระห์โลก
- ↑ "การแสดงผลบนลูกโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 2017-05-07.
- ↑ "การแสดงผล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-07.