วุฒิพงษ์ นามบุตร
วุฒิพงษ์ นามบุตร | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (16 ปี 346 วัน) | |
ก่อนหน้า | วิฑูรย์ นามบุตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2550–ปัจจุบัน) |
วุฒิพงษ์ นามบุตร (เกิด 6 มีนาคม พ.ศ. 2517) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 4 สมัย อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และอดีตสมาชิกสภาเทศบาลตำบลเขื่องใน
ประวัติ
[แก้]วุฒิพงษ์ เกิดวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 ชื่อเล่น เอ ที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยเป็นหลานวิฑูรย์ นามบุตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี ชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาไฟฟ้ากำลัง จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
งานการเมือง
[แก้]วุฒิพงษ์ นามบุตร เคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลเขื่องใน และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (ส.จ.) ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จึงได้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ซึ่งเป็นหนึ่งในห้า ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อภิวัฒน์ เงินหมื่น วุฒิพงษ์ นามบุตร ศุภชัย ศรีหล้า อิสสระ สมชัย และณิรัฐกานต์ ศรีลาภ)
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 วุฒิพงษ์ก็ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 และเป็นหนึ่งในสี่ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่ภาคอีสาน
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาก็ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เป็น ส.ส. สมัยที่ 3 ในพื้นที่เขตเลือกตั้งเดิม และสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม เขาเป็นหนึ่งในสองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ชนะการเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 4 และเป็นหนึ่งในสอง ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการจำนวน 2 คณะ คือ คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงิน และตลาดการเงิน และคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ด้วย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2517
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเขื่องใน
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี
- บุคคลจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- บุคคลจากคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์