ข้ามไปเนื้อหา

ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่

พิกัด: 18°49′33.6″N 98°57′46.8″E / 18.826000°N 98.963000°E / 18.826000; 98.963000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เชียงใหม่
Chiang Mai International Exhibition and Convention Centre
ศูนย์ประชุมฯ ปี 2555
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเลียบคลองชลประทาน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ประเทศประเทศไทย
พิกัด18°49′33.6″N 98°57′46.8″E / 18.826000°N 98.963000°E / 18.826000; 98.963000
เริ่มสร้างพ.ศ. 2552
แล้วเสร็จพ.ศ. 2555
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่ในอาคาร 60,000 m2 (650,000 sq ft)[1]
เว็บไซต์
www.cmecc-mice.com

ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2554 เป็นศูนย์ประชุมและนิทรรศการขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นศูนย์ประชุมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ศูนย์ประชุมฯตั้งอยู่บนที่ดิน 326 ไร่ ณ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ บริเวณทิศใต้ของสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ก่อสร้างขึ้นด้วยงบประมาณ 3,024 ล้านบาท[2] และเปิดใช้เมื่อ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ในระยะเริ่มแรกอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต่อมาได้โอนมาอยู่ภายใต้ความดูแลของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)[3] และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด[4] ตามลำดับ

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]

พื้นที่ส่วนหลักภายในศูนย์ประชุมและการแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น

  • โถงต้อนรับ
  • นิทรรศการ
    • โถงนิทรรศการ (11,340 ม2)
    • ลานนิทรรศการกลางแจ้ง (7,443 ม2)
  • ห้องประชุมย่อย
    • ความจุ 100, 150, 300 และ 750 ที่นั่ง
  • อาคาร รวงผึ้ง
  • อาคารภัตตาคารและศูนย์อาหาร

การใช้งานที่สำคัญ

[แก้]

การใช้งานในสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19

[แก้]

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ มีมติให้จัดตั้ง "โรงพยาบาลสนาม จังหวัดเชียงใหม่" ภายในศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ซึ่งเปิดรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2564 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 มีการเพิ่มของผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้โรงพยาบาลในจังหวัดไม่มีห้องความดันลบเพียงพอที่จะรองรับ เบื้องต้นมีเตียงรับผู้ป่วยในโถงแรกจำนวน 252 เตียง และเตรียมขยายเพิ่มเติมอีกหนึ่งห้อง จำนวนประมาณ 500 เตียง โดยพื้นที่ของศูนย์ประชุมสามารถรองรับได้เป็นจำนวน 1,000 เตียง[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยม ศูนย์ประชุมและการแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ รัฐบาลไทย. 26 ธันวาคม 2555
  2. มติคณะรัฐมนตรี 29 กรกฎาคม 2551 อนุมัติวงเงินงบประมาณเบื้องต้นจำนวน 2,369,746,695.44 บาท และงบประมาณที่ได้รับเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี 15 พฤศจิกายน 2554
  3. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-19. สืบค้นเมื่อ 2019-01-25. เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๕ ก. ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖.
  4. "ยุบพิงคนคร!! มีผล 15 เม.ย. 62 โอนศูนย์ประชุมให้ธนารักษ์ ไนท์ซาฟารีโอนไปสวนสัตว์". เชียงใหม่นิวส์. 2019-04-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-08. สืบค้นเมื่อ 2021-02-08.
  5. "ประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นแล้ว". CNX News. 2013-05-20.
  6. "เชียงใหม่ระดมเสริมเตียง รพ.สนาม รับมือผู้ติดโควิด-19 พุ่งสูง". ไทยโพสต์. 2021-04-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]