ข้ามไปเนื้อหา

หอคอยบาเบล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอคอยบาเบล
מִגְדַּל בָּבֶל
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทหอคอย
ที่ตั้งบาบิโลน อิรัก
ความสูงดู§ ความสูง

หอคอยบาเบล (อังกฤษ: Tower of Babel; ฮีบรู: מִגְדַּל בָּבֶל, อักษรโรมัน: Miḡdal Bāḇel; กรีกโบราณ: Πύργος τῆς Βαβέλ, อักษรโรมัน: Pýrgos tês Babél; ละติน: Turris Babel) เป็นตำนานต้นกำเนิดและนิทานคติสอนใจในหนังสือปฐมกาลเพื่ออธิบายว่าทำไมถึงมีภาษาและวัฒนธรรมหลายแบบ[1][2][3][4][5]

ในเรื่องราวนี้ มนุษยชาติที่พูดภาษาเดียวกัน อพยพกันเป็นกลุ่มไปที่ชินาร์ (เมโสโปเตเมียตอนล่าง)[a] โดยทั้งหมดตกลงกันสร้างเมืองใหญ่ที่มีหอคอยสูงเทียมฟ้า พระยาห์เวห์ทรงสังเกตความพยายามเหล่านี้ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังของมนุษยชาติในความสามัคคี ทำให้คำพูดของพวกเขาสับสนจนไม่สามารถเข้าใจกันได้อีกต่อไป และทำให้พวกเขากระจัดกระจายไปทั่วโลก ทิ้งเมืองนี้ไว้โดยที่ยังสร้างไม่เสร็จ

นักวิชาการสมัยใหม่บางคนเชื่อมโยงหอคอยบาเบลเข้ากับโครงสร้างและบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ โดยเฉพาะข้อมุลจากเมโสโปเตเมียโบราณ อาคารที่มีการยอมรับมากที่สุดคือเอเตเมนอันกี ซิกกูแรตที่อุทิศแด่เทพเจ้ามาร์ดุกในบาบิโลน[6] ซึ่งในภาษาฮีบรูเรียกว่า บาเบล[7] เรื่องราวที่คล้ายกันก็พบในตำนานซูเมอร์โบราณชื่อ เอ็นเมร์การ์และเจ้าแห่งอารัตตา ซึ่งอธิบายเหตุการณ์และสถานที่ในเมโสโปเตเมียตอนใต้[8]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

วลี "หอคอยบาเบล" ไม่ปรากฏในหนังสือปฐมกาลหรือในคัมภีร์ไบเบิล แต่ใช้คำว่า "เมืองกับหอคอยนั้น"[b] หรือสั้น ๆ แค่ "เมืองนั้น"[c] เสมอ ที่มาของชื่อบาเบล ซึ่งเป็นชื่อภาษาฮีบรูของบาบิโลน ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ชื่อเมืองในภาษาแอกแคดคือ บาบ-อิลิม หมายถึง "ประตูของพระเจ้า" อย่างไรก็ตาม รูปแบบและการตีความนั้นโดยทั่วไปคาดว่าได้รับมาจากนิรุกติศาสตร์พื้นบ้านภาษาแอกแคด เพื่อใช้กับชื่อ "บาบิลลา" ที่ไม่ทราบความหมายและน่าจะมีต้นตอที่ไม่ได้มาจากกลุ่มภาษาเซมิติก[9][10]

ตามเรื่องราวในหนังสือปฐมกาล เมืองนี้ได้รับ "บาเบล" จากคำกริยาฮีบรู บาลัล[d] หมายถึง ทำให้ปนเปหรือสับสน หลังจากพระยาห์เวห์ทรงบิดเบือนภาษาสามัญของมนุษยชาติ[11] Encyclopædia Britannica ระบุว่า คำนี้สะท้อนถึงการเล่นคำ เนื่องจากคำว่าบาบิโลนและ "สับสน" ในภาษาฮีบรูออกเสียงคล้ายกัน[7]

ในไบเบิล

[แก้]

1 และทั่วแผ่นดินโลกมีภาษาเดียวและมีสำเนียงเดียวกัน
2 และต่อมาเมื่อพวกเขาเดินทางจากทิศตะวันออก พวกเขาก็พบที่ราบในแผ่นดินแห่งชินาร์และพวกเขาอาศัยอยู่ที่นั่น
3 และพวกเขาต่างคนต่างก็พูดกันว่า “มาเถิด ให้พวกเราทำอิฐและเผามันให้แข็ง” และพวกเขามีอิฐใช้แทนหินและมียางมะตอยใช้แทนปูนขาว
4 และเขาทั้งหลายพูดว่า “มาเถิด ให้พวกเราสร้างเมืองขึ้นเมืองหนึ่งและก่อหอคอยให้ยอดของมันไปถึงฟ้าสวรรค์ และให้พวกเราสร้างชื่อเสียงของพวกเราไว้ เกรงว่าพวกเราจะกระจัดกระจายไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก”
5 และพระเยโฮวาห์เสด็จลงมาทอดพระเนตรเมืองและหอคอยนั้นซึ่งบุตรทั้งหลายของมนุษย์ได้ก่อสร้างขึ้น
6 และพระเยโฮวาห์ตรัสว่า “ดูเถิด คนเหล่านี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และพวกเขาทั้งปวงมีภาษาเดียว และพวกเขาเริ่มทำเช่นนี้แล้ว และบัดนี้จะไม่มีอะไรหยุดยั้งพวกเขาได้ในสิ่งที่พวกเขาคิดจะทำ
7 มาเถิด ให้พวกเราลงไปและทำให้ภาษาของพวกเขาสับสนที่นั่น เพื่อไม่ให้พวกเขาพูดเข้าใจกันได้”
8 ดังนั้น พระเยโฮวาห์จึงทรงทำให้พวกเขากระจัดกระจายจากที่นั่นไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก และพวกเขาก็เลิกสร้างเมืองนั้น

9 เหตุฉะนั้น จึงเรียกชื่อเมืองนั้นว่า บาเบล เพราะว่าที่นั่นพระเยโฮวาห์ทรงทำให้ภาษาของทั่วทั้งแผ่นดินโลกสับสน และ ณ จากที่นั่นพระเยโฮวาห์ได้ทรงทำให้พวกเขากระจัดกระจายออกไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก

— ปฐมกาล 11:1–9[12]

การวิเคราะห์

[แก้]
ภาพวาดการก่อสร้างหอคอยสมัยกลางตอนปลายในเยอรมนี จากเอกสารตัวเขียนของ Rudolf von Ems' Weltchronik, cgm 5 fol. 29r (ป. 1370s)

ประเภท

[แก้]

หอคอยบาเบลเป็นตำนานประเภทสมุฏฐานวิทยาที่ใช้อธิบายต้นกำเนิดความหลากหลายของภาษา[13]: 426  ความสับสนของภาษา (confusio linguarum) เป็นผลจากการก่อสร้างหอคอยบาเบล ทำให้ภาษาของมนุษย์แตกออกเป็นเสี่ยง ๆ: พระเจ้าทรงกังวลว่ามนุษย์ดูหมิ่นพระเจ้าด้วยการสร้างหอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำท่วมครั้งที่สอง ดังนั้น พระเจ้าจึงสร้างภาษาต่าง ๆ ขึ้นมาหลายภาษา ทำให้มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจกันได้[13]: 51 

ก่อนหน้าเหตุการณ์นี้ มนุษยชาติพูดภาษาเดียวกัน แม้ว่าในปฐมกาล 10:5 ระุว่าลูกหลานยาเฟท โกเมอร์ และยาวานกระจายไป "ตามภาษาตามตระกูลตามชาติของพวกเขา"[14] ออกัสตินอธิบายความขัดแย้งที่เห็นได้ชัดนี้ โดยโต้แย้งว่าเรื่องราวนี้ "เล่าย้อนกลับไปว่าเหตุใดภาษาเดียวที่มนุษย์ทุกคนใช้ร่วมกันจึงแตกออกเป็นภาษาหลายภาษาโดยไม่กล่าวถึงเรื่องนั้น" ("without mentioning it, goes back to tell how it came about that the one language common to all men was broken up into many tongues")[15] นักวิชาการสมัยใหม่ถือว่าบททั้งสองนี้เขียนขึ้นจากแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน 2 แห่ง อันแรกมาจาก Priestly source และอันหลังมาจาก Jahwist อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ที่ผ่านมา บรรดานักวิชาการถกเถียงกันเรื่องทฤษฎีนี้[16]

แก่นเรื่อง

[แก้]

แก่นเรื่องการแข่งขันระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ปรากฏทั้งหนังสือปฐมกาล เช่น ในเรื่องราวอาดัมกับเอวาในสวนเอเดน[17]

ความสูง

[แก้]

หนังสือปฐมกาลไม่ได้ระบุถึงความสูงของหอคอยอย่างชัดเจน วลี "สูงเทียมฟ้า" (v.4) เป็นเพียงสำนวนสำหรับความสูงอันน่าทึ่ง มากกว่าจะสื่อถึงความเย่อหยิ่ง[18]: 37  หนังสือยูบิลีกล่าวถึงความสูงของหอคอยที่ 5,433 คิวบิตและ 2 ฝ่ามือ หรือ 2,484 m (8,150 ft) ประมาณสามเท่าของความสูงบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ หรือเกือบ 1.6 ไมล๋ (10:21)

องค์ประกอบ

[แก้]
สวนลอยบาบิโลน (ภาพวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 19) แสดงหอคอยบาเบลในฉากหลัง

ความเป็นเจ้าของ

[แก้]

ความเป็นประวัติศาสตร์

[แก้]

นักวิชาการพระคัมภีร์มองหนังสือปฐมกาลเป็นเรื่องราวปรัมปรา ไม่ใช่บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์[19] หนังสือปฐมกาลได้รับการอธิบายว่าเริ่มต้นด้วยตำนานที่เป็นประวัติศาสตร์และจบลงด้วยประวัติศาสตร์ที่เป็นตำนาน[20] ถึงกระนั้น เรื่องราวบาเบลสามารถตีความได้ตามบริบท เช่น ในหนังสือปฐมกาลส่วนอื่น ๆ ระบุไว้ว่าบาเบล (LXX: Βαβυλών) อยู่ในอาณาจักรของนิมโรด ซึ่งอยู่ในเมโสโปเตเมียตอนล่าง[21] คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้ระบุเป็นการเฉพาะว่านิมโรดเป็นผู้สั่งให้สร้างหอคอย แต่ข้อมูลอื่น ๆ หลายแห่งเชื่อมโยงกับพระองค์[22] ปฐมกาล 11:9 อ้างถึงชื่อบาเบลในภาษาฮีบรูมาจากคำกริยา บาลัล ซึ่งแปลว่า ทำให้ปนเปหรือสับสน[23] ฟลาวีอุส โยเซพุส นักเขียนชาวโรมัน-ยิวในคริสต์ศตวรรษที่ อธิบายว่า ชื่อนี้มาจากศัพท์ฮีบรูว่า Babel (בבל) หมายถึง "ความสับสน"[24]

วรรณกรรมยุคหลัง

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ฮีบรู: שִׁנְעָר, อักษรโรมัน: Šinʿār; กรีกโบราณ: Σενναάρ, อักษรโรมัน: Sennaár
  2. אֶת הָעִיר וְאֶת הַמִּגְדָּל, ʾeṯ hā-ʿîr wəʾeṯ ha-mmiḡdāl
  3. הָעִיר, hāʿîr
  4. בָּלַל

อ้างอิง

[แก้]
  1. 11:1–9
  2. Metzger, Bruce Manning; Coogan, Michael D. (2004). The Oxford Guide To People And Places of the Bible. Oxford University Press. p. 28. ISBN 978-0-195-17610-0. สืบค้นเมื่อ 22 December 2012.
  3. Levenson, Jon D. (2004). "Genesis: Introduction and Annotations". ใน Berlin, Adele; Brettler, Marc Zvi (บ.ก.). The Jewish Study Bible. Oxford University Press. p. 29. ISBN 978-0-195-29751-5.
  4. Graves, Robert; Patai, Raphael (1986). Hebrew Myths: The Book of Genesis. Random House. p. 315. ISBN 978-0-795-33715-4.
  5. Schwartz, Howard; Loebel-Fried, Caren; Ginsburg, Elliot K. (2007). Tree of Souls: The Mythology of Judaism. Oxford University Press. p. 704. ISBN 978-0-195-35870-4.
  6. "Tower of Babel | Story, Summary, Meaning, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-04.
  7. 7.0 7.1 "Tower of Babel | Story, Summary, Meaning, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-05.
  8. Kramer, Samuel Noah (1968). "The 'Babel of Tongues': A Sumerian Version". Journal of the American Oriental Society. Vol. 88 no. 1. pp. 108–111.
  9. Day, John (2014). From Creation to Babel: Studies in Genesis 1-11. Bloomsbury Publishing. pp. 179–180. ISBN 978-0-567-37030-3.
  10. Dietz Otto Edzard: Geschichte Mesopotamiens. Von den Sumerern bis zu Alexander dem Großen, Beck, München 2004, p. 121.
  11. John L. Mckenzie (1995). The Dictionary of the Bible. Simon and Schuster. p. 73. ISBN 978-0-684-81913-6.
  12. [ปฐมกาล 11:1–9 KJV]
  13. 13.0 13.1 Coogan, Michael D. (2009). A Brief Introduction to the Old Testament: the Hebrew Bible in its Context. Oxford University Press. ISBN 9780195332728.
  14. Genesis 10:5
  15. Louth, Andrew; Oden, Thomas C.; Conti, Marco (2001). Genesis 1-11; Volume 1. Taylor & Francis. p. 164. ISBN 1579582206.
  16. Hiebert, Theodore (Spring 2007). "The Tower of Babel and the Origin of the World's Cultures" (PDF). Journal of Biblical Literature. 126 (1): 31–32. doi:10.2307/27638419. JSTOR 27638419 – โดยทาง JSTOR.
  17. Harris, Stephen L. (1985). Understanding the Bible: A Reader's Introduction. Palo Alto: Mayfield. ISBN 9780874846966.
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ hiebert
  19. Levenson 2004, p. 11 "How much history lies behind the story of Genesis? Because the action of the primeval story is not represented as taking place on the plane of ordinary human history and has so many affinities with ancient mythology, it is very far-fetched to speak of its narratives as historical at all."
  20. Moye, Richard H. (1990). "In the Beginning: Myth and History in Genesis and Exodus". Journal of Biblical Literature. 109 (4): 580. doi:10.2307/3267364. JSTOR 3267364.
  21. Genesis 10:10
  22. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ JE
  23. Genesis 11:9
  24. Josephus, Antiquities, 1.4.3

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Sayce, Archibald Henry (1878), "Babel" , ใน Baynes, T. S. (บ.ก.), Encyclopædia Britannica, vol. 3 (9th ed.), New York: Charles Scribner's Sons, p. 178
  •  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Babel" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 3 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 91.
  • Maas, Anthony John (1912). "Tower of Babel" . ใน Herbermann, Charles (บ.ก.). สารานุกรมคาทอลิก. Vol. 15. New York: Robert Appleton Company.
  • Knecht, Friedrich Justus (1910). "The Tower of Babel" . A Practical Commentary on Holy Scripture. B. Herder.
  • Pr. Diego Duran, Historia Antiqua de la Nueva Espana (Madrid, 1585).
  • Ixtilxochitl, Don Ferdinand d'Alva, Historia Chichimeca, 1658
  • Lord Kingsborough, Antiquities of Mexico, vol. 9
  • H.H. Bancroft, Native Races of the Pacific States (New York, 1874)
  • Klaus Seybold, "Der Turmbau zu Babel: Zur Entstehung von Genesis XI 1–9," Vetus Testamentum (1976).
  • Samuel Noah Kramer, The "Babel of Tongues": A Sumerian Version, Journal of the American Oriental Society (1968).
  • Kyle Dugdale: Babel's Present. Ed. by Reto Geiser and Tilo Richter, Standpunkte, Basel 2016, ISBN 978-3-9523540-8-7 (Standpunkte Dokumente No. 5).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]