ข้ามไปเนื้อหา

อาร์เทอร์ รอสตรอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอร์

อาร์เทอร์ รอสตรอน

กัปตัน เอ. เอช. รอสตรอน ขณะเป็นกัปตันเรืออาร์เอ็มเอส คาร์พาเทีย ภาพถูกถ่ายในวันที่ไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากอาร์เอ็มเอส ไททานิก เมื่อปี ค.ศ. 1912
ชื่อเกิดอาร์เทอร์ เฮนรี รอสตรอน
เกิด14 พฤษภาคม ค.ศ. 1869(1869-05-14)
โบลตัน เกรตเตอร์แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940(1940-11-04) (71 ปี)
ชิปเพนแฮม วิลต์เชอร์ ประเทศอังกฤษ
สุสาน
โบสถ์เวสต์เอนด์แพริช เซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ
รับใช้ สหราชอาณาจักร
แผนก/สังกัด กองหนุนราชนาวี
ประจำการ1886–1931 (พาณิชยนาวีอังกฤษ)
1893–1924 (กองหนุนราชนาวี)
ชั้นยศนาวาเอกกองหนุนราชนาวี
พลเรือจัตวาคูนาร์ดไลน์
บังคับบัญชาอาร์เอ็มเอส พันโนเนีย
อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย
อาร์เอ็มเอส คาร์เมเนีย
อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย
อาร์เอ็มเอส คัมปาเนีย
อาร์เอ็มเอส ออเรเนีย
อาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย
อาร์เอ็มเอส อันดาเนีย
อาร์เอ็มเอส แซกโซเนีย
อาร์เอ็มเอส เบเรนกาเรีย
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่ 1
บำเหน็จ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ข้าราชการกองหนุนราชนาวี
เหรียญยกย่องเชิดชูเกียรติ
เหรียญทองรัฐสภา

เซอร์ อาร์เทอร์ เฮนรี รอสตรอน เคบีอี, อาร์ดี, อาร์เอ็นอาร์ (อังกฤษ: Sir Arthur Henry Rostron; 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1869 – 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940) เป็นกะลาสีเรือพาณิชย์ชาวอังกฤษ และเป็นเจ้าหน้าที่เดินเรือของสายการเดินเรือคิวนาร์ด (Cunard Line)[1] เขาเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะกัปตันของเรือเดินสมุทรอาร์เอ็มเอส คาร์พาเทีย (RMS Carpathia) ซึ่งเป็นเรือที่ไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) ที่กำลังอับปางเมื่อปี ค.ศ. 1912[1]

รอสตรอนได้รับคำชมมากมายจากความพยายามอันแรงกล้าของเขาในการไปช่วยเหลือเรือไททานิก ก่อนที่จะอับปาง ตลอดจนการเตรียมการและปฏิบัติการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ เขาได้รับรางวัลเหรียญทองรัฐสภาจากรัฐสภาสหรัฐอเมริกา และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติชชั้นเคบีอี (KBE) เขาได้เป็นพลเรือจัตวาแห่งกองเรือของคิวนาร์ดและเกษียณในปี ค.ศ. 1931[2]

ประวัติ

[แก้]

เสียชีวิต

[แก้]

ตอนที่เขาป่วย รอสตรอนกับภรรยาเดินทางเยี่ยมมาร์กาเรต ลูกสาว ที่คาน เขาติดโรคปอดอักเสบและเสียชีวิตในโรงพยาบาลคอทเทจ ชิพเพนแฮม ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 อายุ 71 ปี พิธีศพของเขาจัดขึ้นที่โบสถ์เวสต์เอนด์แพริช เซาแทมป์ตัน ในวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 เหลือเพียงภรรยา เอเธล มินนี และลูก 4 คน เอเธลเสียชีวิตในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 ด้วยอายุ 69 ปี และฝังข้างเขาในสุสานโบสถ์เวสต์เอนด์[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "The Captain who saved so many". ITV. 9 April 2012. สืบค้นเมื่อ 2 June 2019.
  2. Cohen, Steven. "5 Things You May Not Know About Titanic's Rescue Ship". History. สืบค้นเมื่อ 2 June 2019.[ลิงก์เสีย]
  3. Obituary, Captain Arthur Henry Rostron. Encyclopaedia Titanica

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]