อำเภอเกาะยาว
อำเภอเกาะยาว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ko Yao |
คำขวัญ: เกาะสามเมือง ลือเลื่องการท่องเที่ยว หนึ่งเดียวรังนก มรดกอันดามัน มหัศจรรย์น้ำทะเลจืด | |
แผนที่จังหวัดพังงา เน้นอำเภอเกาะยาว | |
พิกัด: 8°6′42″N 98°35′27″E / 8.11167°N 98.59083°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พังงา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 128.465 ตร.กม. (49.601 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 14,538 คน |
• ความหนาแน่น | 113.17 คน/ตร.กม. (293.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 82160 ไปรษณีย์พรุใน 83000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8202 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเกาะยาว ถนนกาลัญกุล ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 82160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เกาะยาว ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา เป็นอำเภอที่มีระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอยาวนานที่สุดในประเทศไทยถึง 85 ปี ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2446 ขึ้นตรงต่อเมืองพังงา และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531[1]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอเกาะยาว มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ทะเลอันดามัน (อาณาเขตทางทะเลของอำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเมืองพังงา)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลอันดามัน (อาณาเขตทางทะเลของอำเภออ่าวลึก และอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่)
- ทิศใต้ ติดต่อกับทะเลอันดามัน
- ทิศตะวันตก ทะเลอันดามัน (อาณาเขตทางทะเลของอำเภอเมืองภูเก็ต และอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต)
ประวัติ
[แก้]บรรพบุรุษของชาวเกาะยาวได้อพยพมาจากจังหวัดตรังตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวน้อย และ สตูล จะตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวใหญ่ และอื่น ๆ ที่อยู่แถบนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2328) ขณะที่พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ผู้ที่หนีมาเห็นว่าเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่มีความเหมาะสมที่จะหลบภัย จึงได้ตั้งหลักแหล่งบริเวณนี้
พ.ศ. 2446 ทางราชการยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอเกาะยาว แยกออกมาจากอำเภอเมืองพังงา และขึ้นต่อเมืองพังงา ในปี พ.ศ. 2460 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ[2] เกาะยาวมีฐานะเป็นกิ่งอำเภออยู่แล้ว จากหลักฐานประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 ในท้องที่มณฑลภูเก็ต กิ่งอำเภอเกาะยาวมีพื้นที่การปกครองสองตำบล คือ ตำบลเกาะยาวใหญ่[3] และตำบลเกาะยาวน้อย[4] ได้สร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอหลังแรกเมื่อปี พ.ศ. 2463 ต่อมาได้ย้ายมาในที่ว่าการปัจจุบันในปี พ.ศ. 2508
ต่อมาข้าราชการและประชาชนต้องการให้ยกกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็นอำเภอเกาะยาว ตลอดจนจังหวัดพังงาได้สนับสนุนให้ทางราชการยกฐานะให้ รวมได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย จนในที่สุดก็ได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็น อำเภอเกาะยาว ในวันที่ 30 ธันวาคม 2530 โดยมีผลในรุ่งขึ้น วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531[1] รวมระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอ 85 ปี นับว่าเป็นกิ่งอำเภอที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย
- วันที่ - พ.ศ. 2446 แยกพื้นที่ตำบลเกาะยาวใหญ่ และตำบลเกาะยาวน้อย จากอำเภอเมืองพังงา มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเกาะยาว และให้ขึ้นการปกครองตรงต่ออำเภอเมืองพังงา
- วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะยาว ในท้องที่บางส่วนของตำบลเกาะยาวน้อย[5]
- วันที่ 2 พฤศจิกายน 2525 ตั้งตำบลพรุใน แยกออกจากตำบลเกาะยาวใหญ่[6]
- วันที่ 31 ธันวาคม 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอเกาะยาว อำเภอเมืองพังงา เป็น อำเภอเกาะยาว[1]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเกาะยาว เป็นเทศบาลตำบลเกาะยาว[7] ด้วยผลของกฎหมาย
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอเกาะยาวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[8] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | เกาะยาวน้อย | Ko Yao Noi | 7
|
5,412
|
|
2. | เกาะยาวใหญ่ | Ko Yao Yai | 4
|
2,832
| |
3. | พรุใน | Phru Nai | 7
|
6,348
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอเกาะยาวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเกาะยาว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเกาะยาวน้อย
- เทศบาลตำบลพรุใน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรุในทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะยาวใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะยาวน้อย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเกาะยาว)
รายชื่อเกาะในเขตอำเภอเกาะยาว
[แก้]อำเภอเกาะยาว เป็นอำเภอที่มีเกาะมากเป็นอันดับสามของจังหวัดพังงา รองจากอำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วทุ่ง มีมากถึง 35 เกาะจาก 155 เกาะ มีเกาะหลักคือ เกาะยาวใหญ่ และเกาะยาวน้อย มีเนื้อที่ประมาณ 87.24 ตารางกิโลเมตร และ 36.14 ตารางกิโลเมตรตามลำดับ และเกาะเล็ก ๆ อีก 33 เกาะ ซึ่งอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่ และเทศบาลตำบลพรุใน ทุกเกาะมีพื้นที่รวมทั้งหมด 128.465 ตารางกิโลเมตร[9]
ลำดับที่ | ชื่อเกาะ | ตำบล | พื้นที่ (ตร.กม.) | หน่วยงาน | |||||||
1 | นก | เกาะยาวน้อย | 0.004 | อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา | |||||||
2 | บ่อรังไก่ | เกาะยาวน้อย | 0.004 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
3 | ยูง | เกาะยาวน้อย | 0.005 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
4 | ตีหมู | เกาะยาวน้อย | 0.007 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
5 | เหลาหนี | เกาะยาวน้อย | 0.012 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
6 | จาบัง | เกาะยาวน้อย | 0.014 | อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี | |||||||
7 | แตเราะ | เกาะยาวน้อย | 0.017 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
8 | ทอง | เกาะยาวน้อย | 0.023 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
9 | นอก | เกาะยาวน้อย | 0.026 | อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา | |||||||
10 | แดง | เกาะยาวน้อย | 0.026 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
11 | หินมดแดง | เกาะยาวน้อย | 0.03 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
12 | พลอง | เกาะยาวน้อย | 0.033 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
13 | ฮันตู | เกาะยาวน้อย | 0.034 | อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี | |||||||
14 | ใต้ | เกาะยาวน้อย | 0.052 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
15 | เหลาไป | เกาะยาวน้อย | 0.054 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
16 | กูดูเล็ก | เกาะยาวน้อย | 0.069 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
17 | โรย | เกาะยาวน้อย | 0.192 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
18 | เหลาบาตัง | เกาะยาวน้อย | 0.346 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
19 | กูดูใหญ่ | เกาะยาวน้อย | 0.408 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
20 | โบยน้อย | เกาะยาวน้อย | 0.574 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
21 | โบยใหญ่ | เกาะยาวน้อย | 2.350 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
22 | ยาวน้อย | เกาะยาวน้อย | 36.140 | เทศบาลตำบลเกาะยาว, องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย | |||||||
23 | ลูกเกาะ | เกาะยาวใหญ่ | 0.002 | อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา | |||||||
24 | สูบ | เกาะยาวใหญ่ | 0.004 | อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา | |||||||
25 | โล๊ะกาหลาด | เกาะยาวใหญ่ | 0.156 | อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา | |||||||
26 | ยาวใหญ่ | เกาะยาวใหญ่, พรุใน | 87.241 | เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่, เทศบาลตำบลพรุใน | |||||||
27 | ไข่ | พรุใน | 0.012 | เทศบาลตำบลพรุใน | |||||||
28 | ไข่ใน | พรุใน | 0.014 | เทศบาลตำบลพรุใน | |||||||
29 | ช่องลัดน้อย | พรุใน | 0.017 | เทศบาลตำบลพรุใน | |||||||
30 | ไข่นอก | พรุใน | 0.033 | เทศบาลตำบลพรุใน | |||||||
31 | ดอกไม้ | พรุใน | 0.06 | เทศบาลตำบลพรุใน | |||||||
32 | ไก่ | พรุใน | 0.072 | เทศบาลตำบลพรุใน | |||||||
33 | หนุ่ย | พรุใน | 0.119 | เทศบาลตำบลพรุใน | |||||||
34 | ลีปี | พรุใน | 0.146 | เทศบาลตำบลพรุใน | |||||||
35 | ช่องลัดใหญ่ | พรุใน | 0.169 | เทศบาลตำบลพรุใน |
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- http://www.phangnga.go.th/district/kohyao.htm เก็บถาวร 2009-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอนามน อำเภอพระยืน อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอจะแนะ อำเภอหนองหงส์ อำเภอนาโพธิ์ อำเภอเกาะยาว อำเภอแกดำ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโนนคูณ อำเภอควนโดน อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง และอำเภอตาลสุม พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (278 ก): (ฉบับพิเศษ) 33-37. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลภูเก็ต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 572–575. February 26, 1921.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลภูเก็ต]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 519–530. December 25, 1921.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะยาว อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 67-68. January 7, 1957.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเกาะยาว อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (163 ง): 4366–4368. November 2, 1982.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ "ข้อมูลเกาะรายจังหวัด - เกาะในจังหวัดพังงา". สืบค้นเมื่อ April 16, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)