เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร)
เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร) | |
---|---|
สมุหพระตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2469 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มกราคม พ.ศ. 2399 |
เสียชีวิต | 20 เมษายน พ.ศ. 2472 (73 ปี) |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงแปลก หม่อมกอง |
บุตร | 3 |
บุพการี |
|
พระตำรวจเอก เจ้าพระยาราชศุภมิตร (8 มกราคม พ.ศ. 2399 - 20 เมษายน พ.ศ. 2472) เป็นขุนนางชาวสยาม ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น องคมนตรี ราชองครักษ์พิเศษ สมุหพระตำรวจ ต้นสกุล ศุภมิตร[1]
ประวัติ
[แก้]เจ้าพระยาราชศุภมิตร มีนามเดิมว่า อ๊อด เป็นบุตรพระมหาสงคราม (ศุข) กับท่านเป้า ธิดาพระยาศรีอรรคราชนารถภักดี (เมือง บุรานนท์) เกิดเมื่อเกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2399 (นับแบบใหม่)[2]
ปี พ.ศ. 2411 ได้เข้ารับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ เวรฤทธิ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2427 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศิลปสารสราวุธ ถือศักดินา 800[3]ถึงปี พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็นจมื่นวิชิตไชยศักดาวุธ ถือศักดินา 1000[4]ต่อมาในปี พ.ศ. 2430 ได้รับพระราชทานยศ "พันตรี" ถือศักดินา 1500[5]และในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ได้เลื่อนเป็นพระราชวัลภานุสิษฐ์ มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ ถือศักดินา 1,000[6] โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์ประจำการในตำแหน่ง ผู้บังคับการกองทหารมหาดเล็ก[7]
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2437 ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรีพร้อมทั้งเลื่อนยศและบรรดาศักดิ์เป็นนายพันโท พระยาราชวัลภานุสิษฐ์ มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ ถือศักดินา 1,500[8] ปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ประจำรักษาพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร[9] อยู่ตลอดเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน พระยาราชวัลภานุสิษฐ์ เป็น นายพันเอก[10] ต่อมาทรงสำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับมาประทับ ณ พระนคร ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นลำดับจนถึงนายพลตรี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446[11]และพ้นจากหน้าที่ราชองครักษ์ประจำการเพราะครบกำหนดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446[12]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ถือน้ำตั้งเป็นองคมนตรีในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453[13] และราชองครักษ์ประจำการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2453[14] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมุหพระตำรวจตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 แทนพระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) ที่ลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ[15] วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2461 ได้เลื่อนยศเป็นพระตำรวจเอก[16] และในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในหิรัญบัฏว่า เจ้าพระยาราชศุภมิตร์ วัลลภานุศิษฏ์สุรเสนี เทพวัชรีศรีมหาสวามิภักดิ์พิเศษ วิเทศจิรวาสีอัคระวราภิบาล สุจริตไพศาลสุนทรพจน์ อดุลยยศราชองครักษ์ อัคระรัตนไตรยสรณธาดา เมตตาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ถือศักดินา 10,000[17]
ถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาราชศุภมิตรได้ขอลาออกจากราชการ แต่ทรงตั้งท่านเป็นผู้กำกับการกรมพระตำรวจหลวงและพระราชทานเบี้ยบำนาญเป็นกรณีพิเศษ[18]
เจ้าพระยาราชศุภมิตร ป่วยด้วยโรคชรา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2472 ปีมะเส็ง สิริอายุ 73 ปี ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ชั้นรอง 2 ชั้น ฉัตรเบญจา 4 คัน ประกอบศพเป็นเกียรติยศ[19] ได้รับพระราชทานเพลิงศพในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2473 ณ เมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
ยศ
[แก้]- นายหมู่ตรี
- 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - นายหมู่เอก[20]
- 11 มกราคม 2455 – นายหมู่ใหญ่[21]
- 4 มิถุนายน 2456 – นายกองตรี[22]
- นายกองเอก
- 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 - นายกองใหญ่[23]
ครอบครัว
[แก้]เจ้าพระยาราชศุภมิตร สมรสกับท่านผู้หญิงแปลก ในปี พ.ศ. 2438 มีบุตรได้แก่ นางวิมลา บุรานนท์ ซึ่งสมรสกับนายประจวบ บุรานนท์ มีบุตรสามคน คือ
- พล.ต.ต. อังกูร บุรานนท์ (สามีของอดีตนางงามและอดีตนางเอกชื่อดังอมรา อัศวนนท์)
- นายประวิตร บุรานนท์
- นายทนง บุรานนท์
เจ้าพระยาราชศุภมิตร มีภรรยาอีกหนึ่งคนคือหม่อมกอง และมีบุตรชายคือมหาเสวกตรี พระยาสมบัติบริหาร (เอื้อ ศุภมิตร)[18] ซึ่งส่งไปศึกษาเรื่องป่าไม้ที่ประเทศอินเดีย และรับราชการในกรมป่าไม้ ต่อมาได้เป็นพระยาพระคลังข้างที่ สมรสกับคุณหญิงฟองแก้ว บุตรีหลวงโยธการพิจิตร (หม่องปันโหย่ว) เจ้าของสัมปทานป่าไม้ของเชียงใหม่และกาดต้นลำไย เรือนโบราณในโรงแรมเพชรงาม จ.เชียงใหม่ ร้านอาหารเฮือนโบราณ มีบุตรคือ
- นางสุมิตรา และ
- ร.ต. อานนท์ ศุภมิตร สมรสกับท่านผู้หญิงพึงจิตต์ (บุตรีหลวงพลหาญสงคราม (จิตร อัคนิทัต) กับนางไสว อัคนิทัต)(ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2566) คุณข้าหลวงคนแรกในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีบุตรี 1 คน คือ นางจินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีบุตรี 1 คนคือ ด.ญ.โสภิภาส์ ศุภมิตร ไล
ร.ต อานนท์ ศุภมิตร มีบุตรจากการสมรสครั้งก่อนๆ คือ1 นางอรอนงค์ -เรือเอกวินัย มงกุฎทอง 2 นางอังศณา -มร. คาส อดัม 3 นายอดิศร ศุภมิตร 4 นายศศิพงษ์ -นางรดา ศุภมิตร 5. นางอุมาภรณ์ เลสลี 6. นายศิริชัย-นางพนิดา ศุภมิตร
เจ้าพระยาราชศุภมิตร มีบุตรที่เกิดกับนางทรัพย์ 1 คน คือคุณหญิงอิง อนุชิตชาญชัย ภริยาพระตำรวจโท พระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
[แก้]- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[24]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[25]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[26]
- พ.ศ. 2453 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[27]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.) (ฝ่ายหน้า)[28]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[29]
- พ.ศ. 2437 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[8]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[30]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[31]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[32]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[33]
- พ.ศ. 2425 – เหรียญสตพรรษมาลา (ส.ม.)
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- อิตาลี :
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 2[34]
- ปรัสเซีย :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นกอินทรีแดง ชั้นที่ 2[36]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอล ชั้นที่ 2[36]
- บาเดิน :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แบร์ท็อลท์ที่ 1 ชั้นที่ 2[36]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 3[36]
- ออสเตรีย-ฮังการี :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ ชั้นที่ 2[36]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 1 เก็บถาวร 2011-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 30, ตอน 0 ง, 26 มิถุนายน พ.ศ. 2456, หน้า 650
- ↑ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 200
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งตำแหน่ง (หน้า 285 ลำดับที่ 294)
- ↑ สัญญาบัตรปีระกาสัปตศก
- ↑ ข่าวพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนตำแหน่งข้าราชการ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง เก็บถาวร 2020-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 9, ตอน 35, 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435, หน้า 291
- ↑ ประกาศกรมยุทธนาธิการ ศาลายุทธนาธิการ
- ↑ 8.0 8.1 ราชกิจจานุเบกษา, ทรงตั้งองคมนตรี และพระราชทานสัญญาบัตร เครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑ ตอนที่ ๔๕ หน้า ๓๘๓, ๓ กุมภาพันธ์ ๑๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, กราบถวายบังคมลา, เล่ม 11, ตอน 45, 3 กุมภาพันธ์ ร.ศ.113, หน้า 383
- ↑ ส่งสัญญาบัตร์ทหารไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมยุทธนาธิการ เรื่อง ให้พระยารามกำแหง เป็นผู้บัญชาการทหารบก มณฑลกรุงเทพ ฯ ให้พระพิเรนทรเทพ เป็นราชองครักษ์ประจำการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเปลี่ยนพระยาราชวัลภานุสิษฐ์, เล่ม 20, ตอน 49, 6 มีนาคม พ.ศ. 2446, หน้า 835-6
- ↑ "บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 27 (ตอน 0 ง): หน้า 2276. 1 มกราคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมยุทธนาธิการ เรื่อง ให้นายพันโท พระยาอภัยพลภักดิ์ ออกจากตำแหน่งราชองครักษ์ประจำการ และรับพระราชทานเบี้ยบำนาญตามพระราชบัญญัติให้นายพลตรี พระยาราชวัลภานุศิษฎ์เป็นราชองครักษ์ประจำการ, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453, หน้า 2012
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระยาอนุชิตชาญไชย ลาออกจากตำแหน่ง สมุหพระตำรวจ และตั้งพระยาราชวัลภานุศิษฎ์ เป็นสมุหพระตำรวจแทน, เล่ม 29, ตอน ก, 30 มีนาคม พ.ศ. 2455, หน้า 294-5
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนยศข้าราชการกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์, เล่ม 35, ตอน ง, 5 มกราคม พ.ศ. 2461, หน้า 2707
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรมและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 37, ตอน 0 ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463, หน้า 297-300
- ↑ 18.0 18.1 เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 203
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวถึงอสัญกรรม, เล่ม 46, ตอน ง, 28 เมษายน พ.ศ. 2472, หน้า 249-251
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า (หน้า ๔๑๔๐)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๒๙๑, ๑๗ กันยายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๓, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๓, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๒, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๘๘, ๙ มิถุนายน ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๔๕๔, ๗ มกราคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๕, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๑๖, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
- ↑ 34.0 34.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๖๘๘, ๑ ธันวาคม ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒, ๓๐ มิถุนายน ๑๒๖
- ↑ 36.0 36.1 36.2 36.3 36.4 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๒๕ หน้า ๕๐๑, ๒๑ กันยายน ๑๒๑
- บรรณานุกรม
- สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 151-153. ISBN 974-417-534-6
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2399
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2472
- บรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ว.ภ.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ว.ม.ล.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(พ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
- วงศ์เฉกอะหมัด
- สมาชิกกองเสือป่า