เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)
เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2384 |
ถึงแก่กรรม | 10 กันยายน พ.ศ. 2449 (66 ปี) |
บิดามารดา |
|
เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ มีนามเดิมว่า เทศ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2384 ในสกุลบุนนาค ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับหม่อมหรุ่น เข้ารับราชการในรัชกาลที่ 4 เป็นนายรองไชยขรรค์มหาดเล็ก แล้วเป็นนายสรรพวิชัยหุ้มแพรมหาดเล็ก จากนั้นเป็นพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองเพชรบุรี
ในรัชกาลที่ 5 ได้เลื่อนเป็นพระยาสุรินทรฦๅชัย ผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรี และราชการจรในเมืองราชบุรี ดูแลการทำโทรเลขทางเมืองทวายและตัดทาง ได้รับความลำบากตรากตรำเป็นอันมาก รับราชการได้เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี เป็นผู้ที่มีความวิริยอุตสาหะ และมีความจงรักภักดียิ่ง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2440 จึงโปรดฯ ให้สถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาตามจารึกในหิรัญบัฏว่า เจ้าพระยาสุรพันธพิสุทธิ์ ชนุตมราชภักดี สกลเทพมนตรีมิตรจิตร สุจริตวราธยาไศรย เสนานุวัตรสมัยสมันตโกศล ยุติธรรมวิมลสัตยารักษ์ สุนทรศักดิ์วัฒนไวย อภัยพิริยพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[1] ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า
เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ) สมรสกับท่านผู้หญิงอู่[2]ธิดาพระยาภักดีนฤบดินทร์ (กุ้ง วงศาโรจน์) หลานเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) เหลนของเจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) ซึ่งเป็นราชินิกุลสืบเชื้อสายมาจากท่านยายเจ้าเมือง พระปิตุจฉาพระองค์โตของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 1
ท่านมีบุตรธิดากับท่านผู้หญิงอู่ 14 คน ที่สำคัญได้แก่
- พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค)
- พระยาสุรินทรฤๅชัย (เทียม บุนนาค)
- พระสัจจาภิรมย์ (แถบ บุนนาค)
ธิดาอีก 5 คน ได้เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า "เจ้าจอมก๊กออ" คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน มีพระเจ้าลูกเธอ 2 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา และน้องสาวของเจ้าจอมมารดาอ่อน ได้แก่ เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน ส่วนธิดาอีก 3 คน ได้สมรสกับพี่น้องในตระกูลบุนนาคสายเดียวกันคือ คุณหญิงอิ่ม เป็นภรรยาพระยาศรีสัชนาลัย (เจิม บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) คุณหญิงอบ เป็นภรรยาพระยาธรรมสารเนติ (ถึก บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และคุณหญิงอาย เป็นภรรยาพระยานิพัทธสุริยานุวงศ์ (เหม บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
นอกจากนี้เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ยังมีบุตรธิดาอีกหลายคนกับภรรยาอื่น โดยบุตรที่มีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระยา ได้แก่
- พระยามหานุภาพ (ไท บุนนาค)
- พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค) ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
- พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ (ฮก บุนนาค)
และบุตรบางคนยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระ จมื่น และหลวง เช่น
- พระราชวิสูตรวิสุทธิรักษ์ (เชย บุนนาค)
- พระภิรมย์เสนารักษ์ (โพล้ง บุนนาค)
- พระสุรพันธาทิตย์ (ฮัก)
- จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (เจิม บุนนาค)
- หลวงภักดีบริรักษ์ (ชวน บุนนาค) ผู้ช่วยราชการจังหวัดเพชรบุรี
- หลวงนาสาลี (เนียม บุนนาค) ข้าราชการเมืองเพชรบุรี
- หลวงไอศูรย์สุทธิวิไชย (อิศร์ บุนนาค)
- หลวงวิจิตรสุรพันธ์ (อุ่น บุนนาค)
- หลวงสมานนันทพรรค (คลุ้ย บุนนาค)
- หลวงวิจารณ์ภัณฑกิจ (แจ๋ว บุนนาค)
- หลวงวิสูตรอัศดร (คลาย บุนนาค)
ส่วนธิดาที่เกิดแต่ภรรยาอื่น และได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ได้แก่ เจ้าจอมแก้ว ในรัชกาลที่ 5 และ เจ้าจอมแส ในรัชกาลที่ 5 ธิดาชื่อ หวน ได้เป็น หม่อมห้ามในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ธิดาชื่อ คุณหญิงกุ่ม เป็นภรรยาพระยาชัยสุรินทร์ (ตาล บุนนาค) และธิดาชื่อ คุณหญิงขลิบ เป็นภรรยาพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา)
เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) มีบุตรธิดารวม 62 คน บุตรหลายคนรับราชการปฏิบัติหน้าที่ตามหัวเมืองโดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่บิดาเคยรับราชการมาก่อน
เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ) ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อเวลา 10 ทุ่มเศษของวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2449 อายุ 66 ปี[3]
บุตรธิดา
[แก้]เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) มีบุตรธิดา ดังนี้
1. ท่านผู้หญิงอู่ ธิดาพระยาภักดีนฤบดินทร์ (กุ้ง วงศาโรจน์) มีบุตรธิดา 14 คน ได้แก่
- พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค)
- นางสาวเอม บุนนาค
- พระยาสุรินทรฤๅไชย (เทียม บุนนาค)
- เจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5
- พระสัจจาภิรมย์ (แถบ บุนนาค)
- นางสาวอ่วน บุนนาค
- เจ้าจอมเอี่ยม ในรัชกาลที่ 5
- คุณหญิงอิ่ม ภรรยาพระยาศรีสัชนาลัย (เจิม บุนนาค)
- นายเถลิง บุนนาค
- คุณหญิงอบ ภรรยาพระยาธรรมสารเนติ (ถึก บุนนาค)
- เจ้าจอมเอิบ ในรัชกาลที่ 5
- เจ้าจอมอาบ ในรัชกาลที่ 5
- คุณหญิงอาย ภรรยาพระยานิพัทธสุริยานุวงศ์ (เหม บุนนาค)
- เจ้าจอมเอื้อน ในรัชกาลที่ 5
2. ลำภู มีบุตร 1 คน ได้แก่
- ขุนตำรวจเอกพระยามหานุภาพ (ไท บุนนาค)
3. ใย มีธิดา 1 คน ได้แก่
- นางสาวเทียบ บุนนาค
4. พวง ธิดาพระยาสมุทสงคราม (โนรี วงศาโรจน์) มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่
- นายพุ่ม มหาดเล็ก
- นายพ่วง มหาดเล็ก
- เจ้าจอมแก้ว ในรัชกาลที่ 5
5. แจ้ง มีบุตร 1 คน ได้แก่
- พระราชวิสูตรวิสุทธิรักษ์ (เชย บุนนาค)
6. สุด ธิดาพระยาราชบุรี (กลั่น วงศาโรจน์) มีบุตร 2 คน ได้แก่
- หลวงภักดีบริรักษ์ (ชวน บุนนาค)
- หลวงมหาดไทย (เล็ก บุนนาค)
7. บาง มีบุตร 1 คน ได้แก่
- พระภิรมย์เสนารักษ์ (โพล้ง บุนนาค)
8. จัน มีธิดา 1 คน ได้แก่
- จอน ภรรยาขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น)
9. นวม มีธิดา 1 คน ได้แก่
- นางสาวสั้น บุนนาค
10. จอน มีบุตร 1 คน ได้แก่
- จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (เจิม บุนนาค)
11. บางเล็ก มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่
- นางสาวเหลี่ยม บุนนาค
- นายอ่อง มหาดเล็ก
- หลวงวิจิตรสุรพันธ์ (อุ่น บุนนาค)
12. ปริก มีธิดา 1 คน ได้แก่
- นางสาวอ้อน บุนนาค
13. หรั่ง มีบุตรธิดา 4 คน ได้แก่
- นางสาวหริ่ง บุนนาค
- หริ่ม ภรรยาพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค)
- นางสาวหรุ่ม บุนนาค
- นายเหลี่ยม มหาดเล็ก
14. น่วม มีบุตร 1 คน ได้แก่
- หลวงนาสาลี (เนียม บุนนาค)
15. เป๋า ธิดาพระยาประสิทธิสงคราม (โป วงศาโรจน์) มีบุตร 1 คน ได้แก่
- นายหาด มหาดเล็ก
16. เหม จากสกุลมหานนท์ มีบุตรธิดา 2 คน ได้แก่
- นายหอม มหาดเล็ก
- หม่อมหวน ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
17. อ้น มีบุตร 5 คน ได้แก่
- นายอั้ง มหาดเล็ก
- นายอุ้ง มหาดเล็ก
- พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค)
- หลวงไอศูรย์สุทธิวิไชย (อิศร์ บุนนาค)
- นายอัด มหาดเล็ก
18. เม้า หลานปู่พระยาราชบุรี (กลั่น วงศาโรจน์) มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่
- พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ (ฮก บุนนาค)
- พระสุรพันธาทิตย์ (ฮัก)
- นางสาวเหล็ง บุนนาค
19. คล้อย จากสกุลวัชโรบล มีบุตรธิดา 5 คน ได้แก่
- นางสาวคลิ้ว บุนนาค
- หลวงสมานนันทพรรค (คลุ้ย บุนนาค)
- หลวงวิสูตรอัศดร (คลาย บุนนาค)
- นางสาวเคลื่อน บุนนาค
- คุณหญิงขลิบ ภรรยาพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา)
20. ตลับ มีธิดา 1 คน ได้แก่
- คุณหญิงไลย ภรรยาพระยาศรีสัชนาลัย (เจิม บุนนาค)
21. เลี่ยม มีธิดา 1 คน ได้แก่
- นางสาวเมี้ยน บุนนาค
22. กิม มีธิดา 1 คน ได้แก่
- คุณหญิงกุ่ม ภรรยาพระชัยสุรินทร์ (ตาล บุนนาค)
23. ทรัพย์ มีธิดา 1 คน ได้แก่
24. มอญ มีบุตร 1 คน ได้แก่
25. กล่อม มีธิดา 1 คน ได้แก่
- กลม ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "สุพรรณ" ภรรยาพระมิตรกรรมรักษา (นัดดา บุรณศิริ)
26. ชัง มีบุตร 1 คน ได้แก่
- นายชิน มหาดเล็ก
27. เมือง มีบุตร 1 คน ได้แก่
- หลวงไอศูรย์สรรพการี (มิ่ง บุนนาค)
28. ย้อย มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่
- นายหยัด มหาดเล็ก
- นายหยด มหาดเล็ก
- นางสาวหยุด บุนนาค
29. ทิพย์ มีบุตร 1 คน ได้แก่
- นายทุ้ย มหาดเล็ก
30. ผาด มีธิดา 1 คน ได้แก่
- นางสาวผุด บุนนาค
31. เผื่อน มีบุตร 1 คน และธิดา 2 คน แต่ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์
32. ขลิบ มีบุตร 1 คน ได้แก่
- นายคลอบ มหาดเล็ก
33. ทิม มีธิดา 1 คน ได้แก่
- นางสาวทับ บุนนาค
34. แปลก มีบุตร 1 คน ได้แก่
- นายศรี มหาดเล็ก
35. แก้ว มีบุตร 1 คน ได้แก่
- นายเกี้ยว มหาดเล็ก
36. หลี มีธิดา 1 คน ได้แก่
- นางสาวหลิน บุนนาค
37. สุด มีธิดา 1 คน แต่ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์
38. พ่วง มีบุตร 1 คน ได้แก่
- นายเพ่ง มหาดเล็ก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2440 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2447 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2435 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
- พ.ศ. 2438 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[7]
- พ.ศ. 2439 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 4 (ม.ป.ร.4)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 14, หน้า 702-3
- ↑ ข่าวอสัญกรรม
- ↑ ข่าวอสัญกรรม
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 564
- ชมรมสายสกุลบุนนาค
- กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. 416 หน้า. ISBN 974-7383-97-7