ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดเพชรบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เพชรบุรี)
จังหวัดเพชรบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Phetchaburi
เขาพะเนินทุ่ง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
คำขวัญ: 
เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ
เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเพชรบุรีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเพชรบุรีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเพชรบุรีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ว่าง
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด6,225.138 ตร.กม. (2,403.539 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 35
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด483,668 คน
 • อันดับอันดับที่ 55
 • ความหนาแน่น77.69 คน/ตร.กม. (201.2 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 66
รหัส ISO 3166TH-76
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองเพชร, พริบพรี, ศรีชัยวัชรปุระ
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้หว้า
 • ดอกไม้ไม่มี
 • สัตว์น้ำปลาเวียน [3]
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนราชวิถี ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 76000
 • โทรศัพท์0 3242 5573
เว็บไซต์http://www.phetchaburi.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เพชรบุรี (/เพ็ดชะบุรี/; เดิมสะกดว่า เพ็ชร์บุรี[4]) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตก มีภูมิประเทศทั้งเป็นที่สูงติดเทือกเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล มักเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า เมืองเพชร เดิมเรียก พริบพรี[5] และจากหลักฐานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปรากฏชื่อว่า ศรีชัยวัชรปุระ [6]

จังหวัดเพชรบุรีมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งผลิตน้ำตาล เนื่องจากมีต้นตาลหนาแน่น เป็นเมืองเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เพชรบุรีเป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ปัจจุบันมีวัดเก่าแก่และบ้านเรือนทรงไทยจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีคำพูดติดปากว่า นักเลงเมืองเพชร ปัจจุบันเพชรบุรีเป็นเมืองด่านสำคัญระหว่างภาคกลางและภาคใต้ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น พระนครคีรี หรือเขาวัง หาดชะอำ หาดปึกเตียน หาดเจ้าสำราญ แหลมหลวง แหลมเหลว และเขื่อนแก่งกระจาน

ประวัติ

[แก้]

เพชรบุรีเป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ มีหลักฐานชื่อเรียกปรากฏในหนังสือชาวต่างประเทศ เช่น ชาวฮอลันดาเรียกว่า พิพรีย์ ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า พิพพีล์ และ ฟิฟรี จึงสันนิษฐานกันว่าชื่อ "เมืองพริบพรี" เป็นชื่อเดิมของเมืองเพชรบุรี ซึ่งสอดคล้องกับชื่อวัดพริบพลีที่เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัด และที่วัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งเสาชิงช้าอีกด้วย

เพชรบุรี (ศรีชัยวัชรบุรี) เป็นเมืองเก่าแก่มาแต่โบราณ เคยเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ อาณาจักรหนึ่ง บางสมัยมีเจ้าผู้ครองนครหรือกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระ บางสมัยอาจจะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรที่เข้มแข็งกว่า เจ้าผู้ครองนครได้ส่งเครื่องบรรณาการไปยังเมืองจีนเป็นประจำ เพชรบุรีมีปรากฏเป็นหลักฐานมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่น พระปรางค์ 5 ยอด ณ วัดมหาธาตุวรวิหาร และปราสาทหินศิลาแลง ณ วัดกำแพงแลงเป็นต้น โดยที่มาของชื่อเมืองนั้นอาจเรียกตามตำนานที่เล่าสืบกันมาว่าในสมัยโบราณเคยมีแสงระยิบระยับในเวลาค่ำคืนที่เขาแด่น ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่ามีเพชรพลอยบนเขานั้นจึงพากันไปค้นหาแต่ก็ไม่พบ จึงได้ออกค้นหาในเวลากลางคืนแล้วใช้ปูนที่ใช้สำหรับกินหมากป้ายเป็นตำหนิไว้เพื่อมาค้นหาในเวลากลางวัน แต่ก็ไม่พบ บ้างก็ว่าเรียกตามชื่อของแม่น้ำเพชรบุรี เมืองเพชรบุรีมีศิลปวัตถุมากมาย เป็นหลักฐานที่แสดงว่าเพชรบุรีเคยเป็นบ้านเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นชุมชนถาวรมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เช่น ศิลปะปูนปั้น ทั้งนี้ก็เป็นไปได้ที่มีการเปลี่ยนชื่อ "วัชรปุระ" เป็น "เพชรบุรี" จากแผลงคำในชื่อ "วัชร" เป็น "เพชร" โดยเปลี่ยนจาก "ว" เป็น "พ"

สมัยสุโขทัย

[แก้]

แม้อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงจะมีอำนาจครอบคลุมเพชรบุรี แต่เพชรบุรีก็ยังมีอิสระอยู่มาก สามารถส่งทูตไปจีนได้ ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีในช่วงสมัยสุโขทัยคือ พระพนมทะเลศิริ ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทองจึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

สมัยอยุธยา

[แก้]

ในสมัยอยุธยาตอนต้น เพชรบุรีขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาในแบบศักดินาสวามิภักดิ์มีขุนนางควบคุมเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ อำนาจในส่วนกลางมีมากขึ้น เพชรบุรียังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นอำนาจจากส่วนกลางจึงมามีส่วนในการปกครองเพชรบุรีมากกว่าเดิม

ในสมัยพระมหาธรรมราชา (พ.ศ. 2113) พระยาละแวก เจ้าเมืองเขมร ยกกองทัพมาสู้กับกองทัพอยุธยา แต่สู้ไม่ได้ จึงแพ้และหนีไป อีก 5 ปีต่อมา (พ.ศ. 2118) พระยาละแวกยกทัพเรือมาที่อยุธยาอีก สู้อยุธยาไม่ได้อีก จึงยกกองทัพกลับไป ต่อมา พ.ศ. 2121 ทางเขมรได้ให้พระยาจีนจันตุยกทัพมาตีเมืองเพชรบุรี แต่ชาวเพชรบุรีป้องกันเมืองไว้ได้ ต่อมา พ.ศ. 2124 อยุธยาติดพันรบกับกบฏ พระยาละแวกก็เลยชิงยกกองทัพเรือมาเองมีกำลังประมาณ 7,000 คน เมืองเพชรบุรีจึงตกเป็นของเขมร จนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีเขมรชนะ เพชรบุรีจึงเป็นอิสระ โดยใน พ.ศ. 2136 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรฯ พิจารณานิสัยสันดานของเขมรแล้วเจ็บช้ำพระทัย จึงยกกองทัพไปตีเขมร จับครอบครัวเอาไว้แล้วมาไว้ที่อยุธยา ตัดคอล้างพระบาท เพราะชอบฉกฉวยโอกาสขณะที่อยุธยาตีติดทัพที่อื่น แต่พระองค์ท่านยังมีพระเมตตา ให้โอกาสลูกชายคนโตของพระยาละแวก กลับไปปกครองเขมรต่อ แล้วให้ระบุว่า จะต้องไม่เป็นกบฏต่ออยุธยา และต้องเป็นเมืองขึ้นของสยามต่อไป และเนื่องจากทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีเป็นพิเศษ จึงได้เสด็จมาประทับที่เมืองเพชรบุรีเป็นเวลาถึง 5 ปี ก่อนจะทรงยกทัพใหญ่ไปปราบพม่า และสวรรคตที่เมืองหาง

เจ้าเมืองเพชรบุรีและชาวเมืองเพชรบุรีได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับข้าศึกหลายครั้ง นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระเชษฐาธิราช และสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โดยเฉพาะในสมัยพระเทพราชา การปราบปรามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งแข็งเมืองนั้น พระยาเพชรบุรีได้เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสบียงให้แก่กองทัพฝ่ายราชสำนักอยุธยา อย่างไรก็ดีเมืองเพชรบุรีถูกตีแตกอีกครั้ง เมื่อพม่าโดยมังมหานรธราได้ยกมาตีไทย จนไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 นั่นเอง

สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์

[แก้]
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไทยยังคงทำสงครามกับพม่ามาโดยตลอด ซึ่งเจ้าเมืองและชาวเมืองเพชรบุรีก็ยังคงมีส่วนร่วมในการทำสงครามดังกล่าว จนเมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษ บทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีต่อเมืองหลวงและราชสำนักจึงค่อย ๆ เปลี่ยนไป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้งยังผนวช และเมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดให้สร้างพระราชวัง วัด และพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับตัวเมืองและพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ “พระรามราชนิเวศน์” หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “วังบ้านปืน” และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเลและน้ำทะเลอาจบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ที่ชายหาดชะอำเพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

จังหวัดเพชรบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 6,225.138 ตารางกิโลเมตรหรือ 3,890,711.20 ไร่ โดยมีส่วนที่กว้างที่สุดวัดได้ 103 กิโลเมตรจากทิศตะวันออก-ตะวันตกและส่วนที่ยาวที่สุดวัดได้ 80 กิโลเมตรจากทิศเหนือ-ใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดและประเทศใกล้เคียงต่อไปนี้

แผนที่แนบท้ายพระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502

ภูมิประเทศ

[แก้]

พื้นที่ด้านตะวันตกเป็นป่าไม้และภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างไทยกับพม่า เฉพาะในเขตจังหวัดเพชรบุรีมีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร แม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี มีความยาวตลอดสาย 227 กิโลเมตร แม่น้ำบางกลอย มีความยาว 44 กิโลเมตร และแม่น้ำบางตะบูน มีความยาว 18 กิโลเมตร มีประชากรอาศัยหนาแน่นทางตะวันออกของพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดเพชรบุรี แบ่งเป็น 3 เขต คือ

ก. เขตภูเขาและที่ราบสูง อยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดติดกับพม่าในบริเวณอำเภอแก่งกระจานและอำเภอหนองหญ้าปล้อง มีภูเขาสูงและเป็นบริเวณที่สูงชันของจังหวัด มีลักษณะเป็นเทือกเขาทอดยาวจากเหนือมาใต้ พื้นที่ถัดจากบริเวณนี้จะค่อย ๆ ลาดต่ำลงมาทางด้านตะวันออก บริเวณนี้เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี

ข. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ บริเวณตอนกลางของจังหวัดซึ่งอุดมสมบูรณ์ที่สุด มีแม่น้ำเพชรบุรีซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน และมีเขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนเพชรบุรีซึ่งเป็นแหล่งน้ำระบบชลประทาน บริเวณนี้เป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญของจังหวัด เขตนี้คือบริเวณบางส่วนของอำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ อำเภอบ้านลาด อำเภอบ้านแหลม และอำเภอเขาย้อย

ค. เขตที่ราบฝั่งทะเล อยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัด ติดกับชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย บริเวณนี้นับเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งของจังหวัดในด้านการประมง การท่องเที่ยว เขตนี้ได้แก่ บางส่วนของอำเภอเมืองเพชรบุรี บ้านแหลม ท่ายาง และชะอำ ลักษณะพื้นที่ชายฝั่งเพชรบุรี เหนือแหลมหลวงไปทางทิศเหนือเป็นพื้นที่ชายฝั่งหาดโคลน มีระบบนิเวศป่าชายเลน ด้านทิศใต้ของแหลมหลวงลงไปด้านทิศใต้เป็นหาดทราย แหลมหลวงซึ่งอยู่ในพื้นที่ตำบลแหลมผักเบี้ยจึงเป็นแหลมที่แบ่งระบบนิเวศป่าชายเลน ออกจากระบบนิเวศหาดทราย เหนือแหลมหลวงขึ้นไปด้านทิศเหนือมีลักษณะเป็นหาดโคลนเพราะอยู่ใกล้พื้นที่ชุมน้ำของแม่น้ำสายใหญ่ ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำบางตะบูน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เมื่อฤดูน้ำหลากน้ำจากแม่น้ำได้พัดพาตะกอนลงสู่ทะเลเป็นจำนวนมาก จึงส่งผลให้พื้นที่ของชายฝั่งแถบนี้มีตะกอนในน้ำสูง ส่งผลให้ชายฝั่งมีโคลนจำนวนมาก ซึ่งเหมาะแก่ระบบนิเวศป่าชายเลน เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล บริเวณอ่าวไทยในเขตอำเภอบ้านแหลมถือว่าเป็นอ่าวที่พบหอยหลากชนิด เช่น หอยเสียบ หอยปากเป็ด หอยตระกาย หอยตลับ หอยหลอด หอยแครง เป็นต้น โดยเฉพาะหอยแครง เป็นแหล่งที่พบมากที่สุดในโลก ภายหลังได้มีการตัดไม้ป่าชายเลนนำไปเผาถ่าน ทำลายป่าเพื่อทำนากุ้งกุลาดำ จึงส่งผลให้ป่าชายเลนถูกทำลายเป็นจำนวนมาก

ภูมิอากาศ

[แก้]

จังหวัดเพชรบุรีอยู่ติดอ่าวไทยจึงได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในฤดูฝน ซึ่งมีผลทำให้ฝนตกชุก และอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว จึงทำให้มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเวลาดังกล่าว สามารถแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 32.13 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 959.5 มิลลิเมตร
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 24.16 องศาเซลเซียส

ใน พ.ศ. 2550 อุณหภูมิอากาศสูงที่สุด 37 องศาเซลเซียส (19 เมษายน) อุณหภูมิอากาศต่ำที่สุด 16 องศาเซลเซียส (4 กุมภาพันธ์) อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยทั้งปี 28.02 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกรวมทั้งปี 1,113.4 มิลลิเมตร มีจำนวนวันฝนตกวัดได้ตั้งแต่ 0.1 มิลลิเมตร จำนวน 99 วัน จากสถิติปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ พ.ศ. 2537–2550 เฉลี่ยวันฝนตกประมาณปีละ 103 วัน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 12 ปี (พ.ศ. 2539–2550) 1,003.43 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีฝนตกมากในช่วงเดือนกันยายน–ตุลาคม

การเมืองการปกครอง

[แก้]

จังหวัดเพชรบุรีมีรูปแบบการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน 3 รูปแบบ คือ

การบริหารส่วนกลาง

[แก้]

ประกอบด้วยหน่วยงานสังกัดส่วนกลางซึ่งมาตั้งหน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ จำนวน 75 ส่วนราชการ

การบริหารส่วนภูมิภาค

[แก้]
แผนที่อำเภอในจังหวัดเพชรบุรี

มีหน่วยราชการที่อยู่ในความควบคุมดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัด คือ ส่วนราชการต่าง ๆ ในระดับจังหวัด และอำเภอ ส่วนราชการในระดับจังหวัดเป็นหน่วยงาน 2 ลักษณะ คือ หน่วยราชการบริหาร ส่วนภูมิภาคประจำจังหวัด และหน่วยราชการบริหารส่วนกลางในจังหวัด (ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง) หน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำจังหวัดของจังหวัดเพชรบุรีมีทั้งสิ้น 33 หน่วยงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย 8 หน่วยงาน และสังกัดกระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ 26 หน่วยงาน

  • ระดับจังหวัด ประกอบด้วยส่วนราชการประจำจังหวัด จำนวน 26 ส่วนราชการ
  • ระดับอำเภอ ประกอบด้วย 8 อำเภอ 93 ตำบล 698 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองเพชรบุรี
  2. อำเภอเขาย้อย
  3. อำเภอหนองหญ้าปล้อง
  4. อำเภอชะอำ
  1. อำเภอท่ายาง
  2. อำเภอบ้านลาด
  3. อำเภอบ้านแหลม
  4. อำเภอแก่งกระจาน

การบริหารส่วนท้องถิ่น

[แก้]

การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี, เทศบาลเมือง 2 แห่ง, เทศบาลตำบล 13 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 69 แห่ง มีรายละเอียดดังนี้

จังหวัด ลำดับ
ที่
ชื่อ อำเภอที่ตั้ง เนื้อที่
(ตร.กม.)
ประชากร
สิ้นปี 2555
(คน)[7]
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
ปีที่ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมือง ชื่อและ/หรือฐานะ
ก่อนหน้า
 เพชรบุรี 1  เทศบาลเมืองชะอำ  ชะอำ
110.00 
34,151 
310.46 
2547   เทศบาลตำบลชะอำ
2  เทศบาลเมืองเพชรบุรี  เมืองเพชรบุรี
5.40 
23,811 
4,409.44 
2478 [8]  สุขาภิบาลเมืองเพชรบุรี
  • เทศบาลตำบล 13 แห่ง จำแนกตามอำเภอได้ดังนี้
อำเภอ ลำดับที่ ชื่อเทศบาล ครอบคลุมตำบล
(ตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่)
ปีที่ได้รับการ
จัดตั้งเป็น
เทศบาลตำบล
ชื่อและ/หรือฐานะก่อนหน้า
เต็มพื้นที่ ไม่เต็มพื้นที่
(เฉพาะบางส่วนหรือส่วนใหญ่)
 เมืองเพชรบุรี 1  เทศบาลตำบลหนองขนาน  หนองขนาน 2555  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขนาน
2  เทศบาลตำบลหัวสะพาน  วังตะโก, หัวสะพาน 2542  สุขาภิบาลหัวสะพาน
3  เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ  หาดเจ้าสำราญ 2542  สุขาภิบาลหาดเจ้าสำราญ
 เขาย้อย 1  เทศบาลตำบลเขาย้อย  บางเค็ม  เขาย้อย, ทับคาง, สระพัง 2542  สุขาภิบาลเขาย้อย
 ชะอำ 1  เทศบาลตำบลนายาง  เขาใหญ่, ดอนขุนห้วย, นายาง 2542  สุขาภิบาลนายาง
2  เทศบาลตำบลบางเก่า  บางเก่า 2555  องค์การบริหารส่วนตำบลบางเก่า
 ท่ายาง 1  เทศบาลตำบลท่าไม้รวก  ท่าไม้รวก 2551  องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้รวก
2  เทศบาลตำบลท่ายาง  ท่ายาง  ท่าคอย 2542  สุขาภิบาลท่ายาง
3  เทศบาลตำบลท่าแลง  ท่าแลง 2551  องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแลง
4  เทศบาลตำบลหนองจอก  หนองจอก 2542  สุขาภิบาลหนองจอก
 บ้านลาด 1  เทศบาลตำบลบ้านลาด  บ้านลาด 2542  สุขาภิบาลบ้านลาด
 บ้านแหลม 1  เทศบาลตำบลบางตะบูน  บางตะบูน, บางตะบูนออก 2542  สุขาภิบาลบางตะบูน
2  เทศบาลตำบลบ้านแหลม  บ้านแหลม 2542  สุขาภิบาลบ้านแหลม
  • องค์การบริหารส่วนตำบล 69 แห่ง จำแนกตามอำเภอได้ดังนี้
    • อำเภอเมืองเพชรบุรี : องค์การบริหารส่วนตำบลบางจาน องค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกุ่ม องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน องค์การบริหารส่วนตำบลไร่ส้ม องค์การบริหารส่วนตำบลบางจาก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ องค์การบริหารส่วนตำบลต้นมะม่วง องค์การบริหารส่วนตำบลช่องสะแก องค์การบริหารส่วนตำบลนาวุ้ง องค์การบริหารส่วนตำบลสำมะโรง องค์การบริหารส่วนตำบลโพพระ องค์การบริหารส่วนตำบลต้นมะพร้าว องค์การบริหารส่วนตำบลโพไร่หวาน องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาง และ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพลับ
    • อำเภอเขาย้อย : องค์การบริหารส่วนตำบลเขาย้อย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองชุมพล องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโรง องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยท่าช้าง และ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองชุมพลเหนือ
    • อำเภอหนองหญ้าปล้อง : องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าปล้อง องค์การบริหารส่วนตำบลยางน้ำกลัดใต้ และ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะคร้อ
    • อำเภอชะอำ : องค์การบริหารส่วนตำบลหนองศาลา องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเหนือ องค์การบริหารส่วนตำบลไร่ใหม่พัฒนา และ องค์การบริหารส่วนตำบลสามพระยา
    • อำเภอท่ายาง : องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคอย องค์การบริหารส่วนตำบลยางหย่อง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจอก องค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า องค์การบริหารส่วนตำบลวังไคร้ องค์การบริหารส่วนตำบลกลัดหลวง องค์การบริหารส่วนตำบลปึกเตียน องค์การบริหารส่วนตำบลเขากระปุก และ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดง
    • อำเภอบ้านลาด : องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหาด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทาน องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ องค์การบริหารส่วนตำบลสมอพลือ องค์การบริหารส่วนตำบลไร่มะขาม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ องค์การบริหารส่วนตำบลไร่โคก องค์การบริหารส่วนตำบลโรงเข้ องค์การบริหารส่วนตำบลไร่สะท้อน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำรงค์ และ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยลึก
    • อำเภอบ้านแหลม : องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนไทร องค์การบริหารส่วนตำบลปากทะเล องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูน องค์การบริหารส่วนตำบลบางครก องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง และ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก
    • อำเภอแก่งกระจาน : องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งกระจาน องค์การบริหารส่วนตำบลสองพี่น้อง องค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าเด็ง องค์การบริหารส่วนตำบลพุสวรรค์ และ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแม่เพรียง

รายพระนามและรายชื่อผู้ปกครอง

[แก้]
รายพระนามกษัตริย์ผู้ครองแคว้น
ลำดับ พระนาม/นาม ตำแหน่ง ราชวงศ์ ช่วงเวลา
1 พระพนมทะเลศรีมเหนทราชาธิราช กษัตริย์เพชรบุรี - ไม่ทราบปี
2 พระพนมไชยศิริ กษัตริย์เพชรบุรี - ไม่ทราบปี
3 พระกฤติสาร กษัตริย์เพชรบุรี - ไม่ทราบปี
4 พระอินทราชา กษัตริย์เพชรบุรี - ไม่ทราบปี
5 พระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์เพชรบุรี - ไม่ทราบปี - พ.ศ. 1748
เพชรบุรี: ไม่ทราบปี - พ.ศ. 1748; อโยธยา:พ.ศ. 1748 - 1796[]
6 เจ้าสาม กษัตริย์เพชรบุรี - พ.ศ. 1748 - ไม่ทราบปี
- - - - -
- เจ้าวรเชษฐ์ กษัตริย์เพชรบุรี สายน้ำผึ้ง หลัง พ.ศ. 1868 - 1887
เพชรบุรี: หลัง พ.ศ. 1868 - 1887; อโยธยา: พ.ศ. 1887 - 1893; อยุธยา: พ.ศ. 1893 - 1912
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี

ประชากร

[แก้]

ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550 จังหวัดเพชรบุรีมีประชากร จำนวน 456,061 คน เป็นชาย 220,847 คน หญิง 235,214 คน จำนวนบ้าน 156,457 หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 97.35) และศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 2.49) และศาสนาคริสต์ (ร้อยละ 0.16) รายได้ต่อหัวของประชากรจังหวัดเพชรบุรีใน พ.ศ. 2549 คือ 102,202 บาทต่อคนต่อปี

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

เมืองพี่น้อง

[แก้]

จังหวัดเพชรบุรีมีความสัมพันธ์ในฐานะเมืองพี่น้อง (Sister City) กับเมืองดังต่อไปนี้[ต้องการอ้างอิง]

การขนส่ง

[แก้]

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ

[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ

[แก้]
  • วัดโคมนาราม (ที่จมทะเลไปแล้ว) - วัดโคมนาราม (วัดในบางแก้ว) ปัจจุบันได้ย้ายเข้ามาในแผ่นดินแล้ว สำหรับวัดที่อยู่ที่เดิมได้จมลงในทะเลไปแล้ว หลังจากได้มีการกัดเซาะของกระแสน้ำในทะเลอย่างรุนแรง ยากต่อการป้องกัน ซึ่งหลังจากได้มีการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้ศึกษาและได้ทำการหาวิธีป้องกัน ลดผลกระทบ ในปัจจุบันความรุนแรงของปัญหาการกัดเซาะได้ลดลงบ้าง
  • วัดปากน้ำ-ท่าหิน เป็นวัดร้างที่คงหลงเหลืออยู่แค่พระพุทธรูปกับซุ้มเท่านี้ อยู่ถนนโพธิ์การ้องใกล้สี่แยกท่าหินที่ไปบางแก้ว
  • วัดปีป เป็นวัดร้างที่ตั้งอยู่ข้างรางรถไฟในเขตตำบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรี
  • ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช เป็นชายฝั่งทะเลในพื้นที่แหลมผักเบี้ย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกชื่อชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรี-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาว 200 กิโลเมตร[9] มีความยาวคอดไปถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ [10] เพื่อแสดงถึงวีรกรรม พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ให้ปรากฏพระนามบนแผนที่[11]


สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. พระราชพงศาวดารเหนือ ระบุว่า เมื่อทรงไปครองอโยธยาแล้ว ทรงให้เจ้าอ้ายไปครองเมืองนคร เจ้ายี่ไปครองเมืองตะนาว และเจ้าสามครองเมืองเพชรบุรี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ข้อมูลการปกครอง". ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2010.
  2. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564" (PDF). กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. 2021. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2022.
  3. ดร. ชวลิต วิทยานนท์. ปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544. 115 หน้า. หน้า 43. ISBN 9789744726551
  4. ราชกิจจานุเบกษา. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก หน้า 56. วันที่ 28 เมษายน 2460.
  5. "ประวัติศาสตร์-ความเป็นมาเพชรบุรี". บ้านจอมยุทธ.
  6. สนอง ประกอบชาติ (1991). เอกสารประกอบการเรียนวิชาท้องถิ่นของเรา เพชรบุรี. เพชรบุรี: เพชรภูมิการพิมพ์. DDC 371.32 ส194อ.
  7. "รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน ทั่วประเทศ และรายจังหวัด ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2555". สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. 2013. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2013.
  8. ราชกิจจานุเบกษา. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). เล่ม 52 ก หน้า 1708–1711. วันที่ 10 ธันวาคม 2478.
  9. ราชกิจจานุเบกษา. "พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๔๙" (PDF). เล่มที่ 123 ตอนที่ 80 ก หน้า 1. วันที่ 8 สิงหาคม 2549.
  10. "ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช". pranburitravel.com. 17 ธันวาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2011.
  11. "ประชาสัมพันธ์การเรียกชื่อชายฝั่งทะเล ตั้งแต่บริเวณหาดเจ้าสำราญ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ถึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ว่า"ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"". สำนักงานเทศบาลเมืองชะอำ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2011.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]