ข้ามไปเนื้อหา

โดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์ค
สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์
พระสาทิสลักษณ์ร่วมสมัยของสมเด็จพระราชินีโดโรเธียในปราสาทเฟรเดอริคส์บอร์ก, ฮิลลีรืด
สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
ครองราชย์26 กันยายน ค.ศ. 1446–
5 มกราคม ค.ศ. 1448

28 ตุลาคม ค.ศ. 1449–
21 พฤษภาคม ค.ศ. 1481
ราชาภิเษก28 ตุลาคม ค.ศ. 1449
โบสถ์พระนางมารี,
โคเปนเฮเกน
ก่อนหน้าฟิลิปปาแห่งอังกฤษ (ครั้งแรก)
ว่าง (ครั้งที่สอง)
ถัดไปว่าง (ครั้งแรก)
คริสตินาแห่งซัคเซิน (ครั้งที่สอง)
สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์
ครองราชย์26 กันยายน ค.ศ. 1446–
5 มกราคม ค.ศ. 1448

13 พฤษภาคม ค.ศ. 1450–
21 พฤษภาคม ค.ศ. 1481
ราชาภิเษก2 สิงหาคม ค.ศ. 1450
มหาวิหารนิดารอส, ทร็อนไฮม์
ก่อนหน้าฟิลิปปาแห่งอังกฤษ (ครั้งแรก)
คาทารีนา คาร์ลสด็อทเทอร์ (ครั้งที่สอง)
ถัดไปคาทารีนา คาร์ลสด็อทเทอร์ (ครั้งแรก)
คริสตินาแห่งซัคเซิน (ครั้งที่สอง)
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
ครองราชย์26 กันยายน ค.ศ. 1446–
5 มกราคม ค.ศ. 1448

23 มิถุนายน ค.ศ. 1457–
23 มิถุนายน ค.ศ. 1464
ราชาภิเษก29 มิถุนายน ค.ศ. 1457
อาสนวิหารอุปซอลา
ก่อนหน้าฟิลิปปาแห่งอังกฤษ (ครั้งแรก)
คาทารีนา คาร์ลสด็อทเทอร์ (ครั้งที่สอง)
ถัดไปคาทารีนา คาร์ลสด็อทเทอร์ (ครั้งแรก)
คริสตินา อับราฮัมสด็อทเทอร์ (ครั้งที่สอง)
พระราชสมภพราว ค.ศ. 1430/1431
บรันเดินบวร์ค
สวรรคต10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1495 (พระชนมายุราว 65 พรรษา)
คาลุนด์บอร์ก, เดนมาร์ก
ฝังพระศพมหาวิหารรอสกิลด์
คู่อภิเษกพระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 3 แห่งเดนมาร์ก
(แต่ง 1445)
พระเจ้าคริสเตียนที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
(แต่ง 1449)
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
โดโรเธีย ฟ็อน โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น
ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น(โดยประสูติ)
พาราทิเนต-นอยมาร์ก (โดยเสกสมรส)
อ็อลเดินบวร์ค (โดยเสกสมรส)
พระราชบิดาโยฮัน มาร์คกราฟแห่งบรันเดินบวร์ค-คูล์มบาค
พระราชมารดาบาร์บาราแห่งซัคเซิน-วิทเทนแบร์ก
ศาสนาโรมันคาทอลิก

โดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์ค (ค.ศ. 1430/1431 - 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1495) ทรงเป็นเจ้าหญิงโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น ซึ่งได้เป็นสมเด็จพระราชินีสแกนดิเนเวียภายใต้สหภาพคาลมาร์ คือ สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก, นอร์เวย์และสวีเดน จากการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 3 แห่งเดนมาร์ก ในค.ศ. 1445 จนกระทั่งกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์สวรรคต ค.ศ. 1448 และต่อมาทรงเป็นพระมเหสีในพระเจ้าคริสเตียนที่ 1 แห่งเดนมาร์ก พระนางทรงดำรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก ในค.ศ. 1449 และสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ ในค.ศ. 1450 จนกระทั่งกษัตริย์คริสเตียนสวรรคตในค.ศ. 1481 และยังทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน ตั้งแต่ค.ศ. 1457 - 1464 พระนางยังทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเดนมาร์กในช่วงสมัยไร้กษัตริย์ในค.ศ. 1448 และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงพระราชสวามีองค์ที่สองเสด็จออกจากราชอาณาจักร[1] [2] [3] พระนางยังทรงเป็นพระราชชนนีในพระเจ้าฮันส์แห่งเดนมาร์ก และพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก[4][5]

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

[แก้]

โดโรเธียประสูติราว ค.ศ. 1430 หรือ ค.ศ. 1431 เป็นพระราชธิดาในโยฮัน มาร์คกราฟแห่งบรันเดินบวร์ค-คูล์มบาคกับบาร์บาราแห่งซัคเซิน-วิทเทนแบร์ก (1405 - 1465) พระนางทรงมีพระเชษฐภคินีสองพระองค์ ได้แก่ บาร์บารา (1423 - 1481) ผู้ซึ่งกลายเป็นมาร์เชอเนสแห่งมันตัว และเอลิซาเบธ (1425 - 1465) ผู้ซึ่งกลายเป็นดัชเชสแห่งพอเมอเรเนีย เมื่อมีพระชนมายุได้ 8 ชันษา ได้ประทับอยู่ที่ไบร็อยท์ ซึ่งพระบิดาของพระนางเป็นผู้ปกครองอยู่ ในค.ศ. 1443 คริสโตเฟอร์แห่งบาวาเรีย ได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก, สวีเดนและนอร์เวย์ พระองค์ใหม่ ได้สืบทอดเขตโอเบิร์พฟัลทซ์ ซึ่งอยู่ใกล้ไบร็อยท์ และได้มีการแนะนำให้กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์เสกสมรสกับโดโรเธีย เพื่อรับการสนับสนุนของพระบิดาของโดโรเธียต่อฐานอำนาจของกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ในดินแดนเยอรมัน[6] การหมั้นได้มีการประกาศก่อนสมัยการประทานของพระสันตะปาปาในเรื่องความสัมพันธ์ที่เป็นญาติกัน เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1445 ซึ่งได้รับการอนุมัติในวันที่ 10 มีนาคม

การอภิเษกสมรสกับคริสโตเฟอร์แห่งบาวาเรีย

[แก้]

ในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1445 พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์และโดโรเธียจัดขึ้นในโคเปนเฮเกน ตามมาด้วยพิธีสวมมงกุฎให้พระราชินีโดโรเธีย กษัตริย์ทรงพระราชทานเงินทุนพร้อมภาษีพิเศษแก่ทั้งสามราชอาณาจักร จึงถูกมองว่าเป็นวาระโอกาสที่พิถีพิถันที่สุดประวัติศาสตร์นอร์ดิกสมัยกลาง[7] พิธีเฉลิมฉลองดำเนินไป 8 วัน และร่วมพิธีโดยเหล่าเจ้าชายผู้ปกครองนครเบราน์ชไวค์ เฮ็สเซินและบาวาเรีย และคณะทูตจากสันนิบาตฮันซา รวมถึงคณะอัศวินท็อยโทและเหล่าขุนนางเดนมาร์ก สวีเดนและนอร์เวย์ พระนางโดโรเธียเสด็จเข้าเมืองโดยมีขุนนางจากทั้งสามราชอาณาจักรสวมชุดปักสีทองขี่ม้าคอยคุ้มกัน และสวมมงกุฎเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก สวีเดนและนอร์เวย์ โดยบาทหลวงของทั้งสามอาณาจักรที่อารามวัดสเตนา[8] ในวันที่ 15 กันยายน พระราชินีทรงได้รับสินสมรสศักดินาจากทั้งสามอาณาจักร ได้แก่ รอสคิลด์ ริงสเต็ด ฮารัลด์บอร์กและสกอยเดนเซของเดนมาร์ก แยมต์ลันด์ของนอร์เวย์ และเออเรบรู นาร์กและแวร์มลันด์ของสวีเดน[9] หากพระนางเลือกที่จะประทับนอกสแกนดิเนเวียในฐานะตกพุ่มหม้าย พระนางจะได้รับทรัพย์จำนวน 45,000 ไรน์กิลเดอร์ ซึ่งเป็นจำนวนหนึ่งในสามของแต่ละอาณาจักร[10]

สมเด็จพระราชินีโดโรเธียเสด็จออกจากสวีเดนพร้อมกษัตริย์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1446 ทั้งสองพระองค์เสด็จเยือนอารามวัดสเตนา และที่ดินสินสมรสของพระนางที่เออเรบรู ในช่วงนี้พระนางทรงพระราชทานพระวโรกาสให้คาร์ล เจ้ากรมวังแห่งสวีเดนเข้าเฝ้า ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นศัตรูของพระนางในอนาคต ตามพงศาวดารคาร์ลสโคนนิคัน การพบปะครั้งนี้เป็นเรื่องดีและมีการถวายของกำนัลให้แก่พระนางและนางสนองพระโอษฐ์มากมาย ทั้งสองพระองค์เสด็จกลับเดนมาร์กในเดือนกันยายน การอภิเษกสมรสระหว่างพระนางโดโรเธียและกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์เป็นเรื่องดีในทางการเมือง โดยพระบิดาของพระนางปกครองดินแดนเยอรมันของกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ และเป็นทั้งผู้สนับสนุนตลอดจนที่ปรึกษาผู้ภักดี[11] แต่ทั้งสองพระองค์ก็ไม่ทรงมีทายาท ตามบันทึกของอีริคัส โอไล ระบุว่าในความเป็นจริงแล้วการเสกสมรสครั้งนี้ไม่มีเรื่องของความสัมพันธ์ทางเพศเลย[12]

การอภิเษกสมรสกับกษัตริย์คริสเตียนที่ 1 แห่งเดนมาร์ก

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชินีโดโรเธีย
ตราประจำพระอิสริยยศ
การทูลHendes Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
พระเจ้าคริสเตียนที่ 1 และสมเด็จพระราชินีโดโรเธีย

สมเด็จพระพันปีหลวงโดโรเธียได้รับคำขอให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากาชีมีแยชที่ 4 แห่งโปแลนด์และอัลเบร็ชท์ที่ 6 อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย แต่พระนางทรงเลือกที่จะประทับในเดนมาร์กต่อไป และอภิเษกสมรสกับกษัตริย์เดนมาร์กพระองค์ใหม่ที่ได้รับการเลือกตั้งคือ คริสเตียนแห่งอ็อลเดินบวร์ค หรือ กษัตริย์คริสเตียนที่ 1[13] พระราชพิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1449 ตามมาด้วยพระราชพิธีราชาภิเษกในฐานะกษัตริย์คริสเตียนและพระราชินีโดโรเธียแห่งเดนมาร์ก พระนางทรงสละสิทธิในการครอบครองที่ดินศักดินาจากการสมรสที่มีอยู่ในเดนมาร์กและนอร์เวย์ แทนที่ด้วยคาลุนด์บอร์กและแซมเซอในเดนมาร์ก และรอเมริเกในนอร์เวย์ แต่ทรงปฏิเสธที่จะสละที่ดินในสวีเดน[14] มีการเลือกตั้งให้คาร์ล คนุตสัน บอนเดอเป็นกษัตริย์สวีเดนและนอร์เวย์ ทำให้พระนางสูญเสียดินแดนในอาณาจักรเหล่านี้ และด้วยความทะเยอทะยานของพระนาง รวมถึงความทะเยอทะยานของกษัตริย์คริสเตียน ที่ต้องการให้กษัตริย์คริสเตียนสวมมงกุฎในสวีเดนและนอร์เวย์ และเพื่อรวมสหภาพคาลมาร์ที่แตกสลายให้รวมกันอีกครั้ง[15]

กษัตริย์คริสเตียนทรงสืบราชบัลลังก์ในนอร์เวย์เช่นกัน ค.ศ. 1450 แต่การเอาชนะสวีเดนนั้นทำได้ยากกว่า และสมเด็จพระราชินีโดโรเธียทรงยืนหยัดรณรงค์เป็นเวลาหลายปีในการสรรหาผู้สนับสนุนจากเหล่าบาทหลวงและขุนนางสวีเดน ซึ่งพระนางทรงกล่าวพาดพิงถึง กษัตริย์คาร์ลที่ 8 แห่งสวีเดน ทีได้รับเลือกเป็นกษัตริย์นั้น เป็นเพียงอดีตเจ้ากรมวังและข้าราชบริพารของพระนาง ดังนั้นจึงสมควรเรียกว่าเป็นผู้ช่วงชิงราชบัลลังก์และเป็นผู้ทรยศที่ฝ่าฝืนคำปฏิญาณโดยการปล้นสิทธิที่ดินมรดกสมรสในสวีเดนของพระนาง ซึ่งเป็นอดีตพระราชินี[16] ในค.ศ. 1455 พระนางทรงยื่นคำร้องไปถึงสมเด็จพระสันตะปาปา[17] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1457 การรณรงค์ของพระนางประสบความสำเร็จ เมื่อเกิดการกบฏโดยอาร์ชบิชอป จอน เบ็งก์สัน อ็อกเซนสแทร์นา ได้โค่นบัลลังก์ของกษัตริย์คาร์ลที่ 8 ซึ่งลี้ภัยไปยังดินแดนเยอรมัน และในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1457 กษัตริย์คริสเตียนทรงได้รับเลือกเป็นพระมหากษัตริย์สวีเดน ด้วยเหตุนี้จึงสามารถรวมสามอาณาจักรนอร์ดิกเป็นหนึ่งเดียวได้อีกครั้ง[18] สมเด็จพระราชินีโดโรเธียเสด็จเข้าสตอกโฮล์มอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม และที่ดินมรดกสมรสของพระนางได้รับการฟื้นคืนแก่พระนาง ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1458 สภาสวีเดนได้อนุมัติตามพระราชประสงค์ของพระราชินีโดโรเธียและกษัตริย์คริสเตียนที่ว่าพระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ จะได้สืบราชบัลลังก์สวีเดน เช่นเดียวกับราชบัลลังก์นอร์เวย์และเดนมาร์กที่ได้มีการรับประกันอย่างมั่นคงแล้ว[19] กษัตริย์และพระราชินีเสด็จกลับเดนมาร์กในเดือนกรกฎาคม

ใน ค.ศ. 1460 กษัตริย์คริสเตียนทรงซื้อดัชชีชเลสวิชและฮ็อลชไตน์ ซึ่งทำให้พระองค์มีหนี้สิ้น ทำให้ต้องทรงขึ้นภาษีและทำลายผู้สนับสนุนฝ่ายพระองค์ในสวีเดน พวกเขาเลือกกษัตริย์คาร์ลที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์อีกครั้งในค.ศ. 1464[20] การสูญเสียสวีเดนส่งผลกระทบต่อสมเด็จพระราชินีโดโรเธีย ที่ทรงรณรงค์มาตลอดพระชนม์ชีพเพื่อพระราชสวามี (และพระราชโอรสในรัชสมัยต่อมา) ในการได้รับราชบัลลังก์อีกครั้ง ส่งผลกระทบต่อสหภาพคาลมาร์แห่งสามราชอาณาจักรและการเรียกคืนดินแดนมรดกสมรสของพระนาง[21] การสูญเสียที่ดินส่วนพระองค์ทำให้พระนางสามารถผลักดันปัญหาสวรีเดนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีในศาลได้ และพระนางทรงฟ้องกษัตริย์คาร์ลที่ 8 ต่อสมเด็จพระสันตะปาปากรุงโรมในข้อหาช่วงชิงสิทธิในที่ดินของพระนาง[22] เมื่อผู้สืบตำแหน่งจากกษัตริย์คาร์ลที่ 8 เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินสวีเดน คือ สเตียน สตูเร ผู้อาวุโส ซึ่งเป็นหลานลุงของกษัตริย์คาร์ลที่ 8 พระนางจึงทรงฟ้องเขาด้วย[23] ในค.ศ. 1475 พระนางเสด็จอิตาลี พระนางเสด็จเยี่ยมบาร์บาราแห่งบรันเดินบวร์ค พระเชษฐภคินีของพระนางที่มันตัว และเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระสันตะปาปาซิกตุสที่ 4 ในโรม และผลักดันให้มีการปัพพาชนียกรรมสเตียน สตูเร อย่างเป็นทางการ[24] การที่พระนางใช้แผนการปัพพาชนียกรรม จะทำให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งสวีเดนไม่สามารถปกครองได้ และราชอาณาจักรสวีเดนจะถูกทำลายทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้ผู้สำเร็จราชการสวีเดนพ่ายแพ้และมีการเลือกตั้งให้กษัตริย์เดนมาร์กเป็นกษัตริย์สวีเดน อันเป็นนโยบายทางการเมืองที่ถูกระงับและพระนางทรงต่อสู้มาเป็นเวลากว่า 20 ปี[25] การเสด็จเยือนโรมในพฤษภาคม ค.ศ. 1475 สมเด็จพระสันตะปาปาซิกตุสที่ 4 ทรงออกสารตราอนุญาตให้กษัตริย์คริสเตียนจัดตั้งมหาวิทยาลัยในเดนมาร์ก เป็นผลให้มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้รับการสถาปนาในค.ศ. 1479

ในเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีโดโรเธียทรงได้รับ สล็อตสโลวึน (Slotsloven) เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิแก่สมเด็จพระราชินีในการบังคับบัญชาปราสาท ป้อมปราการทั้งหมดในเดนมาร์ก และต้องทรงทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงที่พระมหากษัตริย์เสด็จนอกราชอาณาจักร[26] พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระนางมีส่วนในการสร้างอิทธิพลทางการเมือง เมื่อกษัตริย์คริสเตียนทรงได้รับฮ็อลชไตน์และชเลสวิช ในค.ศ. 1460 และไม่สามารถจ่ายได้ พระนางทรงให้พระราชสวามียืมพระราชทรัพย์ในจำนวนที่จำเป็นเพียงพอต่อการซื้อที่ดินเหล่านี้และรวมเข้าไว้กับเดนมาร์ก[27] ในค.ศ. 1470 พระนางทรงยึดอำนาจการควบคุมชเลสวิชและฮ็อลชไตน์โดยพฤตินัย เมื่อกษัตริย์คริสเตียนไม่ทรงสามารถหาทรัพย์มาคืนพระนางได้ พระนางปกครองฮ็อลชไตน์ (ค.ศ. 1479) และชเลสวิช (ค.ศ. 1480) ด้วยพระนางเองและทรงปกครองเหมือนสถานะที่ดินศักดินาของพระนาง[28] หลังการสิ้นพระชนม์ของพระบิดาของพระนาง ในค.ศ. 1464 พระนางทรงต่อสู้กับฟรีดริชที่ 2 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค อาของพระนาง ในการแย่งชิงมรดกในแคว้นบรันเดินบวร์ค

สมเด็จพระราชินีโดโรเธียทรงได้รับการบรรยายว่า เป็นผู้มีความสามารถ ทะเยอทะยาน หยิ่งยะโสและประหยัด

สมเด็จพระพันปีหลวง

[แก้]

กษัตริย์คริสเตียนที่ 1 สวรรคตในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1481 และผู้สืบราชบัลลังก์คือ พระเจ้าฮันส์แห่งเดนมาร์ก พระราชโอรสองค์ใหญ่ ขณะดำรงเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง พระนางโปรดที่จะประทับในปราสาทคาลุนด์บอร์ก พระนางยังทรงมีบทบาททางการเมืองในรัชสมัยพระราชโอรสตราบจนสิ้นพระชนม์ พระนางได้พระราชทานดัชชีชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ แก่เจ้าชายเฟรเดอริก พระราชโอรสองค์เล็ก ซึ่งทำให้พระนางเกิดความขัดแย้งกับพระราชโอรสองค์ใหญ่ และสุดท้ายทรงยุติด้วยการแบ่งดัชชีระหว่างพระราชโอรสทั้งสอง[29]

สมเด็จพระพันปีหลวงโดโรเธียยังทรงมีความทะเยอทะยานต่อไปในการรวมสหภาพคาลมาร์แห่งราชอาณาจักรนอร์ดิก โดยพระนางทรงโปรดให้พระราชโอรสครองราชย์เป็นกษัตริย์สวีเดนมากกว่าที่จะสนับสนุนพระราชสวามี ด้วยการขับไล่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งสวีเดนจากการปัพพาชนียกรรม ด้วยเขาทำการริบที่ดินสิทธิมรดกของพระนาง[30] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1482 พระนางทรงตรัสแผนการนี้แก่กษัตริย์ พระราชโอรส และในค.ศ. 1488 พระนางเสด็จไปเยือนบาร์บารา พระเชษฐภคินีที่มันตัวเป็นครั้งที่สอง ระหว่างทางพระนางทรงเข้าเฝ้าฯ จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่อินส์บรุค และเสด็จเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 8 ที่กรุงโรม ซึ่งพระนางทรงกดดันให้มีการคว่ำบาตรผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งสวีเดนอีกครั้งและให้ราชอาณาจักรสวีเดนอยู่ในโทษต้องห้าม[31] เฮ็มมิง กาห์ เอกอัครราชทูตสวีเดนพยายามอย่างยากลำบากที่ไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น[32] สมเด็จพระพันปีหลวงทรงดำเนินการตามแผนการนี้ต่อไปจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เรื่องนี้ก็ไม่ยุติจนกระทั่งหลังพระนางสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามปี เมื่อพระราชโอรสของพระนางได้รับเลือกเป็นกษัตริย์สวีเดน และพระองค์ทรงยืนยันว่าจะไม่ดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป แม้ว่าพระนางจะสิ้นพระชนม์ก่อนที่พระราชโอรสจะได้เป็นกษัตริย์สวีเดนสองปี แต่ก็ถือว่าความพยายามของพระนางส่งผลให้เกิดผลประโยชน์ดังกล่าว[33]

สมเด็จพระพันปีหลวงโดโรเธียสิ้นพระชนม์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1495 และทรงได้รับการฝังพระศพเคียงข้างพระราชสวามี ณ มหาวิหารรอสกิลด์

พระโอรส-ธิดา

[แก้]

พระราชินีโดโรเธียกับพระเจ้าคริสเตียนที่ 1 ทรงมีพระโอรส-ธิดาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
เจ้าชายโอลาฟแห่งเดนมาร์ก ค.ศ. 1450 ค.ศ. 1451 สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
เจ้าชายคนุตแห่งเดนมาร์ก ค.ศ. 1451 ค.ศ. 1455 สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
พระเจ้าฮันส์แห่งเดนมาร์ก 2 กุมภาพันธ์
ค.ศ. 1455
20 กุมภาพันธ์
ค.ศ. 1513
อภิเษกสมรส วันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1478 กับ
คริสตินาแห่งซัคเซิน
มีพระโอรสธิดา 6 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายจอห์น
เจ้าชายเอิร์นส์
พระเจ้าคริสเตียนที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
เจ้าชายจาค็อบ เดอะดาเชียน
เอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก อีเล็กเตรสแห่งบรันเดินบวร์ค
เจ้าชายฟรานซิสแห่งเดนมาร์ก
มาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสกอตแลนด์ 23 มิถุนายน
ค.ศ. 1456
14 กรกฎาคม
ค.ศ. 1486
อภิเษกสมรส เดือนกรกฎาคมค.ศ. 1469 กับ
พระเจ้าเจมส์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์
มีพระโอรส 3 พระองค์ ได้แก่
พระเจ้าเจมส์ที่ 4 แห่งสกอตแลนด์
เจมส์ สจวต ดยุกแห่งรอส
จอห์น สจวต เอิร์ลแห่งมาร์
พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก 7 ตุลาคม
ค.ศ. 1471
10 เมษายน
ค.ศ. 1533
อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 ค.ศ. 1502 กับ
แอนนาแห่งบรันเดินบวร์ค
มีพระโอรสธิดา 2 พระองค์ ได้แก่
พระเจ้าคริสเตียนที่ 3 แห่งเดนมาร์ก
โดโรเธียแห่งเดนมาร์ก ดัชเชสแห่งปรัสเซีย

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 วันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1518 กับ
โซฟีแห่งพอเมอเรเนีย
มีพระโอรสธิดา 6 พระองค์ ได้แก่
จอห์นที่ 2 ดยุกแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ฮาเดอร์สเลฟ
เอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก ดัชเชสแห่งเม็คเลนบวร์ก
อดอล์ฟ ดยุกแห่งฮ็อลชไตน์-ก็อตท็อป
เจ้าหญิงแอนน์แห่งเดนมาร์ก
โดโรเธียแห่งเดนมาร์ก ดัชเชสแห่งเม็คเลนบวร์ก
เจ้าชายบิชอปเฟรเดอริกแห่งเดนมาร์ก

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  2. Terje Bratberg (2014-09-28). "Christoffer Av Bayern". Norsk biografisk leksikon. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
  3. Esben Albrectsen (2016-05-03). "Christian 1". Norsk biografisk leksikon. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
  4. Eldbjørg Haug (2014-09-28). "Hans". Norsk biografisk leksikon. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
  5. Øystein Rian (2014-09-28). "Frederik 1". Norsk biografisk leksikon. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
  6. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  7. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  8. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  9. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  10. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  11. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  12. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  13. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  14. Dansk kvindebiografisk leksikon
  15. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  16. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  17. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  18. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  19. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  20. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  21. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  22. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  23. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  24. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  25. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  26. Dansk kvindebiografisk leksikon
  27. Dansk kvindebiografisk leksikon
  28. Dansk kvindebiografisk leksikon
  29. Dansk kvindebiografisk leksikon
  30. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  31. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  32. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.
  33. Dorotea, urn:sbl:17601, Svenskt biografiskt lexikon (art av Gottfrid Carlsson.), hämtad 2016-09-07.

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Anne J. Duggan: Queens and queenship in medieval Europe


ก่อนหน้า โดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์ค ถัดไป
เจ้าหญิงฟิลิปปาแห่งอังกฤษ
สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
ครั้งที่ 1
(ราชวงศ์พาราทิเนต-เนามาร์ทก์)

(12 กันยายน ค.ศ. 14456 มกราคม ค.ศ. 1448)
ว่าง

สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์
ครั้งที่ 1
(ราชวงศ์พาราทิเนต-เนามาร์ทก์)

(12 กันยายน ค.ศ. 14456 มกราคม ค.ศ. 1448)
คาทารีนา คาร์ลสด็อทเทอร์
ว่าง
สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
ครั้งที่ 2
(ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก)

(28 ตุลาคม ค.ศ. 144921 พฤษภาคม ค.ศ. 1481)
คริสตินาแห่งซัคเซิน
คาทารีนา คาร์ลสด็อทเทอร์
สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์
ครั้งที่ 2
(ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก)

(28 ตุลาคม ค.ศ. 144921 พฤษภาคม ค.ศ. 1481)



สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
ครั้งที่ 2
(ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก)

(23 มิถุนายน ค.ศ. 145723 มิถุนายน ค.ศ. 1464)
คริสตินา อับราฮัมสด็อทเทอร์