โพแทสเซียมไดไซยาโนออเรต
ชื่อ | |
---|---|
IUPAC name
Potassium dicyanoaurate(I)
| |
ชื่ออื่น | |
เลขทะเบียน | |
3D model (JSmol)
|
|
6235525 | |
ChEBI | |
เคมสไปเดอร์ | |
ECHA InfoCard | 100.034.303 |
EC Number |
|
37363 | |
ผับเคม CID
|
|
UNII | |
UN number | 1588 |
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
| |
| |
คุณสมบัติ | |
KAu(CN)2 | |
มวลโมเลกุล | 288.101 g/mol |
ลักษณะทางกายภาพ | ผลึกสีขาว[1] |
ความหนาแน่น | 3.45 g/cm3[1] |
จุดเดือด | สลายตัว |
140 g/L[1] | |
โครงสร้าง | |
รอมโบฮีดรัล, hR54, No. 148 | |
R3 | |
a = 0.728 nm, b = 0.728 nm, c = 2.636 nm
| |
ปริมาณแลตทิซ (V)
|
1.2099 nm3 |
หน่วยสูตร (Z)
|
9 |
ความอันตราย | |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS/OSH): | |
อันตรายหลัก
|
เป็นพิษ |
GHS labelling: | |
เตือน | |
H290, H300, H310, H315, H317, H318, H330, H410 | |
P260, P264, P273, P280, P284, P301+P310 | |
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |
แอนไอออนอื่น ๆ
|
โพแทสเซียมอาร์เจนโตไซยาไนด์ |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
โพแทสเซียมไดไซยาโนออเรต (อังกฤษ: potassium dicyanoaurate) หรือโพแทสเซียมโกลด์ไซยาไนด์ (อังกฤษ: potassium gold cyanide) หรือเกลือทอง[3] เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุล K[Au(CN)2] เป็นของแข็งไม่มีสีถึงสีขาวที่ละลายน้ำได้ และละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ เกลือมักไม่ถูกแยกออกมา แต่สารละลายของไอออนไดไซยาโนออเรต ([Au(CN)2]−) ถูกสร้างขึ้นในปริมาณมากในการสกัดทองคำจากแร่[4]
การผลิต
[แก้]ในการขุดทองคำจากแหล่งที่มีสิ่งเจือปน ทองคำจะถูกคัดเลือกสกัดด้วยการละลายในสารละลายไซยาไนด์ในน้ำ ซึ่งได้จากการละลายโซเดียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมไซยาไนด์ และ/หรือแคลเซียมไซยาไนด์ ปฏิกิริยาการละลายทองคำซึ่งเรียกว่า "สมการเอลส์เนอร์ (Elsner equation)" คือ:
- 4 Au + 8 KCN + O2 + 2 H2O → 4 K[Au(CN)2] + 4 KOH
ในกระบวนการนี้ ออกซิเจนจะเป็นตัวออกซิไดซ์[5]
ออกซิเจนสามารถผลิตได้จากปฏิกิริยาของเกลือโกลด์(I) กับโพแทสเซียมไซยาไนด์ที่มากเกินพอ
- AuCl + 2 KCN → K[Au(CN)2] + KCl
โครงสร้าง
[แก้]โพแทสเซียมไดไซยาโนออเรตเป็นเกลือ แอนไอออนไดไซยาโนออเรตมีโครงสร้างเป็นเชิงเส้นตามการศึกษาโครงสร้างผลึกด้วยรังสีเอกซ์[4] โดยการใช้เทคนิคอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี พบว่าแอนไอออนไดไซยาโนออเรตมีโครงสร้างที่คล้ายกันมากกับโซเดียมไดไซยาโนออเรต (NaAu(CN)2)[6]
การใช้งาน
[แก้]ไดไซยาโนออเรตเป็นสารที่สามารถละลายได้ซึ่งถูกใช้เป็นหลักในการสกัดทองคำโดยการเติมไซยาไนด์ (gold cyanidation) ซึ่งเป็นกระบวนทางโลหวิทยาการละลายในการสกัดทองคำจากแร่ที่มีสิ่งเจือปน ในกระบวนการเชิงพาณิชย์ โซเดียมไซยาไนด์ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากกว่าเกลือโพแทสเซียม[7]
นอกเหนือจากการใช้งานหลักเป็นสารมัธยันต์ในการสกัดทองคำแล้ว โพแทสเซียมไดไซยาโนออเรตยังมักใช้ในการชุบทองอีกด้วย
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
[แก้]สารประกอบที่มีโกลด์(III) ไซยาไนด์ ที่เป็นที่รู้จักอีกชนิดหนึ่งคือ โพแทสเซียมเตตระไซยาโนออเรต(III), K[Au(CN)4] การใช้สารประกอบนี้ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก
ไอออนโพแทสเซียมสามารถถูกแทนที่ด้วยแคตไอออนควอเตอร์นารีแอมโมเนียมได้เช่น ในเตตระบิวทิลแอมโมเนียมไดไซยาโนออเรต[8]
ความปลอดภัย
[แก้]การรับประทานโพแทสเซียมไดไซยาโนออเรต หรือเกลือทอง ปริมาณ 2 กรัม อาจทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน โดยเป็นพิษจากทองที่ขัดขวางเอนไซม์โรดาเนส (rhodanese) ซึ่งร่างกายใช้ขจัดพิษจากไซยาไนด์[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Haynes, William M., บ.ก. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). CRC Press. p. 4.82. ISBN 978-1-4398-5511-9.
- ↑ Greenwood, N. N.; & Earnshaw, A. (1997). Chemistry of the Elements (2nd Edn.), Oxford:Butterworth-Heinemann. ISBN 0-7506-3365-4.
- ↑ "ทำความรู้จัก "เกลือทอง" หรือ โกลด์ไซยาไนด์ ใช้ในอุตสาหกรรมการชุบเครื่องประดับ". ผู้จัดการออนไลน์. 16 สิงหาคม 2024.
- ↑ 4.0 4.1 Rosenzweig, A.; Cromer, D. T. (1959). "The Crystal Structure of KAu(CN)2". Acta Crystallographica. 12 (10): 709–712. doi:10.1107/S0365110X59002109.
- ↑ "Treatment of Ores Containing Reactive Iron Sulphides" (PDF). Multi Mix Systems. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 ตุลาคม 2009.
- ↑ Chadwick, B.M.; Frankiss, S.G. (1976). "Vibrational Spectra and Structures of Some Dicyanoaurate(I) Complexes". Journal of Molecular Structure. 31 (1): 1–9. Bibcode:1976JMoSt..31....1C. doi:10.1016/0022-2860(76)80113-5.
- ↑ Rubo, Andreas; Kellens, Raf; Reddy, Jay; Steier, Norbert; Hasenpusch, Wolfgang (2006), "Alkali Metal Cyanides", Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry, Weinheim: Wiley-VCH, doi:10.1002/14356007.i01_i01. ISBN 978-3-527-30673-2.
- ↑ Stender, Matthias; Olmstead, Marilyn M.; Balch, Alan L.; Rios, Daniel; Attar, Saeed (2003). "Cation and Hydrogen Bonding Effects on the Self-Association and Luminescence of the Dicyanoaurate Ion, Au(CN)2−". Dalton Transactions (22): 4282. doi:10.1039/b310085e.
- ↑ Wright, I. H.; Vesey, C. J. (กันยายน 1986). "Acute poisoning with gold cyanide". Anaesthesia. 41 (9): 936–939. doi:10.1111/j.1365-2044.1986.tb12920.x. PMID 3022615.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โพแทสเซียมไดไซยาโนออเรต
เกลือและอนุพันธ์โคเวเลนต์ของไซยาไนด์ไอออน | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
HCN | He | ||||||||||||||||||
LiCN | Be(CN)2 | B | C | NH4CN | OCN−, -NCO |
FCN | Ne | ||||||||||||
NaCN | Mg(CN)2 | Al(CN)3 | SiCN | P(CN)3 | SCN−, -NCS, (SCN)2, S(CN)2 |
ClCN | Ar | ||||||||||||
KCN | Ca(CN)2 | Sc(CN)3 | Ti(CN)4 | VO(CN)3 | Cr(CN)3 | Mn(CN)2 | Fe(CN)3, Fe(CN)64+, Fe(CN)63+ |
Co(CN)2, Co(CN)3 |
Ni(CN)2 Ni(CN)42− |
CuCN | Zn(CN)2 | Ga(CN)3 | Ge | As(CN)3 | SeCN− (SeCN)2 Se(CN)2 |
BrCN | Kr | ||
RbCN | Sr(CN)2 | Y(CN)3 | Zr(CN)4 | Nb | Mo | Tc | Ru | Rh | Pd(CN)2 | AgCN | Cd(CN)2 | In(CN)3 | Sn | Sb | Te(CN)2, Te(CN)4 |
ICN | XeCN | ||
CsCN | Ba(CN)2 | Hf | Ta | W | Re | Os | Ir | Pt | Au | Hg2(CN)2, Hg(CN)2 |
TlCN | Pb(CN)2 | Bi(CN)3 | Po | At | Rn | |||
Fr | Ra | Rf | Db | Sg | Bh | Hs | Mt | Ds | Rg | Cn | Nh | Fl | Mc | Lv | Ts | Og | |||
↓ | |||||||||||||||||||
La | Ce(CN)3, Ce(CN)4 |
Pr | Nd | Pm | Sm | Eu | Gd(CN)3 | Tb | Dy | Ho | Er | Tm | Yb | Lu | |||||
Ac | Th | Pa | UO2(CN)2 | Np | Pu | Am | Cm | Bk | Cf | Es | Fm | Md | No | Lr |