โรคพยาธิแส้ม้า
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โรคพยาธิแส้ม้า | |
---|---|
วงจรชีวิตของพยาธิแส้ม้า | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | B79 |
ICD-9 | 127.3 |
DiseasesDB | 31146 |
MedlinePlus | 001364 |
MeSH | D014257 |
Trichuriasis หรือ โรคพยาธิแส้ม้า เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากพยาธิที่ชื่อว่า Trichuris trichiura (พยาธิแส้ม้า)[1] หากพยาธิมีเพียงไม่กี่ตัว ก็มักจะไม่มีอาการใด ๆ[2] ส่วนผู้ที่ติดเชื้อพยาธิจำนวนมาก อาจมีอาการปวดท้อง, อ่อนเพลียและท้องร่วง[2] บางครั้งในผู้ที่ท้องร่วงรุนแรงอาจถ่ายเป็นมูกเลือดได้[2] เด็กที่ติดเชื้อพยาธิอาจมีความเสื่อมถอยทางสติปัญญาและพัฒนาการทางกายภาพ[2] การสูญเสียเลือดอาจก่อให้เกิดระดับเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ[1]
สาเหตุ
[แก้]โดยทั่วไปโรคนี้แพร่กระจายโดยการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีไข่พยาธิปนปนอยู่[2] ซึ่งอาจเกิดจากการไม่ได้ล้างหรือปรุงผักที่มีไข่พยาธิปนเปื้อนอย่างถูกสุขลักษณะ[2] โดยมากไข่พยาธิเหล่านี้มักปะปนอยู่ในดินบริเวณที่มีคนการถ่ายอุจจาระนอกส้วม และบริเวณที่มีการนำอุจจาระคนที่ไม่ได้รับการฆ่าเชื้อมาใช้ทำเป็นปุ๋ย[1] ไข่พยาธิมีที่มาจากอุจจาระของผู้ที่มีพยาธิ[2] เด็กเล็กที่เล่นกับดินดังกล่าวและใส่มือในปากมักจะติดพยาธิได้ง่าย[2] ตัวแก่ของพยาธิอาศัยอยู่ในลำไส้ลำไส้ใหญ่ และมักมีความยาวประมาณสี่เซนติเมตร[1] การวินิจฉัยโรคพยาธิแส้ม้าทำได้โดยการตรวจไข่พยาธิในอุจจาระด้วยกล้องจุลทรรศน์[3] ไข่พยาธิมีรูปทรงคล้ายกระบอกสูบ[4]
การป้องกันและการรักษา
[แก้]การป้องกันพยาธิทำได้โดยการปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และการล้างมือก่อนทำอาหาร[5] มาตรการป้องกันอื่น ๆ คือการพัฒนาสุขอนามัย เช่น การใช้ส้วมที่สะอาดและเหมาะสมสำหรับการใช้งาน[5] และการดื่มน้ำสะอาด[6] ในภูมิภาคของโลกที่พบการติดเชื้อได้ทั่วไป มักทำการรักษากลุ่มคนทั้งหมดในคราวเดียวกันและสม่ำเสมอเป็นประจำ[7] การรักษาคือการให้ยาอัลเบนดาโซล (albendazole), มีเบนดาโซล (mebendazole) หรือ ไอเวอมิคทิน (ivermectin) เป็นเวลาสามวัน[8] หลังจากการรักษาผู้ป่วยมักได้รับเชื้อพยาธิอีก[9]
ข้อมูลทางพยาธิวิทยา
[แก้]ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิแส้ม้าในทั่วโลกมีจำนวนประมาณ 600 ถึง 800 ล้านคน[1][10] มักพบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อนชื้น[7] ในประเทศที่กำลังพัฒนา มักพบว่าผู้ที่ติดเชื้อพยาธิแส้ม้าจะติดเชื้อพยาธิปากขอ และพยาธิไส้เดือนด้วยเช่นกัน[7] โรคนี้ส่งผลกระทบที่สำคัญทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ[11] การพัฒนาวัคซีนเพื่อต่อต้านโรคนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ[7] โรคพยาธิแส้ม้าถูกจัดว่าเป็นโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Parasites - Trichuriasis (also known as Whipworm Infection)". CDC. January 10, 2013. สืบค้นเมื่อ 5 March 2014.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 "Soil-transmitted helminth infections Fact sheet N°366". World Health Organization. June 2013. สืบค้นเมื่อ 5 March 2014.
- ↑ "Parasites - Trichuriasis (also known as Whipworm Infection) Diagnosis". CDC. January 10, 2013. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
- ↑ Duben-Engelkirk, Paul G. Engelkirk, Janet (2008). Laboratory diagnosis of infectious diseases : essentials of diagnostic microbiology. Baltimore: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 604. ISBN 9780781797016.
- ↑ 5.0 5.1 "Parasites - Trichuriasis (also known as Whipworm Infection) Prevention & Control". CDC. January 10, 2013. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
- ↑ Ziegelbauer, K; Speich, B; Mäusezahl, D; Bos, R; Keiser, J; Utzinger, J (Jan 2012). "Effect of sanitation on soil-transmitted helminth infection: systematic review and meta-analysis". PLoS medicine. 9 (1): e1001162. doi:10.1371/journal.pmed.1001162. PMC 3265535. PMID 22291577.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Bethony, J; Brooker, S; Albonico, M; Geiger, SM; Loukas, A; Diemert, D; Hotez, PJ (May 6, 2006). "Soil-transmitted helminth infections: ascariasis, trichuriasis, and hookworm". Lancet. 367 (9521): 1521–32. doi:10.1016/S0140-6736(06)68653-4. PMID 16679166.
- ↑ "Parasites - Trichuriasis (also known as Whipworm Infection): Resources for Health Professionals". CDC. January 10, 2013. สืบค้นเมื่อ 5 March 2014.
- ↑ Jia, TW; Melville, S; Utzinger, J; King, CH; Zhou, XN (2012). "Soil-transmitted helminth reinfection after drug treatment: a systematic review and meta-analysis". PLoS neglected tropical diseases. 6 (5): e1621. doi:10.1371/journal.pntd.0001621. PMC 3348161. PMID 22590656.
- ↑ Fenwick, A (Mar 2012). "The global burden of neglected tropical diseases". Public health. 126 (3): 233–6. doi:10.1016/j.puhe.2011.11.015. PMID 22325616.
- ↑ Jamison, Dean (2006). "Helminth Infections: Soil-transmitted Helminth Infections and Schistosomiasis". Disease control priorities in developing countries (2nd ed.). New York: Oxford University Press. p. Chapter 24. ISBN 9780821361801.
- ↑ "Neglected Tropical Diseases". cdc.gov. June 6, 2011. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.