ข้ามไปเนื้อหา

แมกนีเซียมซัลเฟต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Magnesium sulfate)
แมกนีเซียมซัลเฟต

Magnesium sulfate hexahydrate

Anhydrous magnesium sulfate

Epsomite (Magnesium sulfate heptahydrate)
ชื่อ
IUPAC name
Magnesium sulfate
ชื่ออื่น
  • Epsom salt (Magnesium sulfate heptahydrate)
  • English salt
  • Bitter salts
  • Bath salt
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ดรักแบงก์
ECHA InfoCard 100.028.453 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 231-298-2
KEGG
RTECS number
  • OM4500000
UNII
  • InChI=1S/Mg.H2O4S/c;1-5(2,3)4/h;(H2,1,2,3,4)/q+2;/p-2 checkY
    Key: CSNNHWWHGAXBCP-UHFFFAOYSA-L checkY
  • InChI=1/Mg.8H2O4S/c;1-5(2,3)4/h;(H2,1,2,3,4)/q+2;/p-2
    Key: CSNNHWWHGAXBCP-NUQVWONBAQ
  • [Mg+2].[O-]S([O-])(=O)=O
คุณสมบัติ
MgSO4
มวลโมเลกุล
  • 120.366 g/mol (anhydrous)
  • 138.38 g/mol (monohydrate)
  • 174.41 g/mol (trihydrate)
  • 210.44 g/mol (pentahydrate)
  • 228.46 g/mol (hexahydrate)
  • 246.47 g/mol (heptahydrate)
ลักษณะทางกายภาพ ผลึกของแข็งสีขาว
กลิ่น ไม่มีกลิ่น
ความหนาแน่น
  • 2.66 g/cm3 (anhydrous)
  • 2.445 g/cm3 (monohydrate)
  • 1.68 g/cm3 (heptahydrate)
  • 1.512 g/cm3 (undecahydrate)
จุดหลอมเหลว
  • anhydrous decomposes at 1,124 °C
  • monohydrate decomposes at 200 °C
  • heptahydrate decomposes at 150 °C
  • undecahydrate decomposes at 2 °C
  • anhydrous
  • 26.9 g/(100 mL) (0 °C)
  • 35.1 g/(100 mL) (20 °C)
  • 50.2 g/(100 mL) (100 °C)

  • heptahydrate
  • 113 g/(100 mL) (20 °C)
Solubility product, Ksp 738 (502 g/L)
ความสามารถละลายได้
−50·10−6 cm3/mol
1.523 (monohydrate)
1.433 (heptahydrate)
โครงสร้าง
monoclinic (hydrate)
เภสัชวิทยา
A06AD04 (WHO) A12CC02 B05XA05 D11AX05 V04CC02
ความอันตราย
NFPA 704 (fire diamond)
NFPA 704 four-colored diamondHealth 1: Exposure would cause irritation but only minor residual injury. E.g. turpentineFlammability 0: Will not burn. E.g. waterInstability 0: Normally stable, even under fire exposure conditions, and is not reactive with water. E.g. liquid nitrogenSpecial hazards (white): no code
1
0
0
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แคทไอออนอื่น ๆ
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

แมกนีเซียมซัลเฟต (อังกฤษ: magnesium sulfate) เป็นสารประกอบเคมีของแมกนีเซียม มีสูตรเคมีคือ MgSO4 มักอยู่ในรูปของเฮปต้า ไฮเดรต เริ่มแรกโดยการเคี่ยวน้ำแร่ (mineral water) จนงวดและแห้งที่เมืองยิปซัม (Epsom) ประเทศอังกฤษ และต่อมาภายหลังเตรียมได้จากน้ำทะเลและพบในแร่หลายชนิด เช่น ซิลิซีอัสไฮเดรตออฟแมกนีเซียม (siliceous hydrate of magnesia)

แมกนีเซียมซัลเฟตในรูปมีน้ำ 7 โมเลกุลเรียกดีเกลือฝรั่งได้มาจากการทำนาเกลือโดยจะตกผลึกปนมากับดีเกลือไทย ในตำรับยาโบราณใช้เป็นยาถ่าย ยาขับน้ำดี และใช้แก้พิษตะกั่ว[1]

การใช้ประโยชน์

[แก้]

การแพทย์

[แก้]

แมกนีเซียมซัลเฟตใช้ทั้งภายนอกและภายใน การใช้งานภายนอกหลักคือการใช้เป็นเกลืออาบน้ำ โดยเฉพาะการแช่เท้าเพื่อบรรเทาอาการเจ็บเท้า มีการกล่าวอ้างว่าการอาบน้ำดังกล่าวช่วยบรรเทาและเร่งการฟื้นตัวจากอาการปวดกล้ามเนื้อ ความรุนแรง หรือการบาดเจ็บ[2] ผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากแมกนีเซียมซัลเฟตนั้นสะท้อนให้เห็นในการศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวกับผลกระทบของแมกนีเซียมต่อภาวะซึมเศร้าที่ดื้อยา[3] และเป็นยาแก้ปวดสำหรับไมเกรนและอาการปวดเรื้อรัง[4] แมกนีเซียมซัลเฟตได้รับการศึกษาในการรักษาโรคหืด[5] ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก และภาวะครรภ์เป็นพิษระยะชัก[6] แมกนีเซียมซัลเฟตเป็นส่วนประกอบปกติของสารละลายเกลือเข้มข้นที่ใช้ในถังแยกเพื่อเพิ่มความถ่วงจำเพาะเป็นประมาณ 1.25–1.26 ความหนาแน่นสูงนี้ช่วยให้บุคคลลอยตัวได้อย่างง่ายดายบนผิวน้ำในถังปิด ขจัดความรู้สึกจากภายนอกให้ได้มากที่สุด ในสหราชอาณาจักร ยาที่ประกอบด้วยแมกนีเซียมซัลเฟตและฟีนอลที่เรียกว่า "ยาพอกดึง" (drawing paste) มีประโยชน์สำหรับฝีเล็กๆ หรือการติดเชื้อเฉพาะที่[7] และการกำจัดเสี้ยน[8]

การใช้งานภายใน แมกนีเซียมซัลเฟตอาจให้โดยทางปาก ทางเดินหายใจ หรือทางหลอดเลือดดำ เพื่อการบำบัดทดแทนสำหรับการขาดแมกนีเซียม[9] การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเฉียบพลันและรุนแรง[10] เป็นยาขยายหลอดลมในการรักษาโรคหืด[11] การป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ[12] สารโทโคไลติค[13] และเป็นยากันชัก[13]

การเกษตร

[แก้]

แมกนีเซียมซัลเฟตใช้ในการแก้ไขดินขาดธาตุแมกนีเซียม [แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีความจำเป็นสำหรับโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ (chlorophyll)] โดยส่วนใหญ่มักจะแก้ไขกับดินสำหรับปลูกต้นไม้กระถาง หรือพืชที่ต้องการแมกนีเซียมมาก เช่น มันฝรั่ง กุหลาบ และ มะเขือเทศ ข้อได้เปรียบของแมกนีเซียมซัลเฟตต่อแมกนีเซียมชนิดอื่นที่ใช้แก้ไขดิน เช่น โดโลไมติกไลม์ คือละลายได้ดีกว่า

การเตรียมอาหาร

[แก้]

แมกนีเซียมซัลเฟตใช้เป็นเกลือหมักในการผลิตเบียร์[14] นอกจากนี้ยังอาจใช้เป็นสารเร่งตกตะกอนในการทำเต้าหู้[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.
  2. Ingraham, Paul. "Does Epsom Salt Work? The science of Epsom salt bathing for recovery from muscle pain, soreness, or injury". Pain Science. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2016. สืบค้นเมื่อ 29 August 2016.
  3. Eby, George A.; Eby, Karen L. (April 2010). "Magnesium for treatment-resistant depression: a review and hypothesis". Medical Hypotheses. 74 (4): 649–660. doi:10.1016/j.mehy.2009.10.051. ISSN 1532-2777. PMID 19944540.
  4. Banerjee, Srabani; Jones, Sarah (2017). Magnesium as an Alternative or Adjunct to Opioids for Migraine and Chronic Pain: A Review of the Clinical Effectiveness and Guidelines. CADTH Rapid Response Reports. Ottawa (ON): Canadian Agency for Drugs and Technologies in Health. PMID 29334449.
  5. "Magnesium sulfate asthma – Search Results – PubMed". PubMed (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
  6. "Magnesium sulfate eclampsia – Search Results – PubMed". PubMed (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
  7. "Boots Magnesium Sulfate Paste B.P. - Patient Information Leaflet (PIL) - (eMC)". www.medicines.org.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 April 2018.
  8. "Removing a splinter with Magnesium Sulphate".
  9. "Pharmaceutical Information – Magnesium Sulfate". RxMed. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-07-06.
  10. "CPR and First Aid: Antiarrhythmic Drugs During and Immediately After Cardiac Arrest (section)". American Heart Association. สืบค้นเมื่อ 29 August 2016. Previous ACLS guidelines addressed the use of magnesium in cardiac arrest with polymorphic ventricular tachycardia (ie, torsades de pointes) or suspected hypomagnesemia, and this has not been reevaluated in the 2015 Guidelines Update. These previous guidelines recommended defibrillation for termination of polymorphic VT (ie, torsades de pointes), followed by consideration of intravenous magnesium sulfate when secondary to a long QT interval.
  11. Blitz M, Blitz S, Hughes R, Diner B, Beasley R, Knopp J, Rowe BH (2005). "Aerosolized magnesium sulfate for acute asthma: a systematic review". Chest. 128 (1): 337–344. doi:10.1378/chest.128.1.337. PMID 16002955..
  12. Duley, L; Gülmezoglu, AM; Henderson-Smart, DJ; Chou, D (10 November 2010). "Magnesium sulphate and other anticonvulsants for women with pre-eclampsia". The Cochrane Database of Systematic Reviews (11): CD000025. doi:10.1002/14651858.CD000025.pub2. PMC 7061250. PMID 21069663.
  13. 13.0 13.1 "Pubchem: Magnesium Sulfate". PubChem. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2021. สืบค้นเมื่อ 13 September 2021.
  14. "Magnesium Sulphate". National Home Brew. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2016. สืบค้นเมื่อ 4 January 2019.
  15. US 6042851, Matsuura, Masaru; Masaoki Sasaki & Jun Sasakib et al., "Process for producing packed tofu", published 2000-03-28 

แห่ลงข้อมูลอื่น

[แก้]