ข้ามไปเนื้อหา

ตะกั่ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตะกั่ว
แทลเลียม ← → บิสมัท
Sn

Pb

Fl
ไฮโดรเจน (อโลหะวาเลนซ์เดียว)
ฮีเลียม (แก๊สมีตระกูล)
ลิเทียม (โลหะแอลคาไล)
เบริลเลียม (โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท)
โบรอน (ธาตุกึ่งโลหะ)
คาร์บอน (อโลหะหลายวาเลนซ์)
ไนโตรเจน (อโลหะวาเลนซ์เดียว)
ออกซิเจน (อโลหะวาเลนซ์เดียว)
ฟลูออรีน (อโลหะวาเลนซ์เดียว)
นีออน (แก๊สมีตระกูล)
โซเดียม (โลหะแอลคาไล)
แมกนีเซียม (โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท)
อะลูมิเนียม (โลหะหลังทรานซิชัน)
ซิลิกอน (ธาตุกึ่งโลหะ)
ฟอสฟอรัส (อโลหะหลายวาเลนซ์)
กำมะถัน (อโลหะหลายวาเลนซ์)
คลอรีน (อโลหะวาเลนซ์เดียว)
อาร์กอน (แก๊สมีตระกูล)
โพแทสเซียม (โลหะแอลคาไล)
แคลเซียม (โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท)
สแกนเดียม (โลหะทรานซิชัน)
ไทเทเนียม (โลหะทรานซิชัน)
วาเนเดียม (โลหะทรานซิชัน)
โครเมียม (โลหะทรานซิชัน)
แมงกานีส (โลหะทรานซิชัน)
เหล็ก (โลหะทรานซิชัน)
โคบอลต์ (โลหะทรานซิชัน)
นิกเกิล (โลหะทรานซิชัน)
ทองแดง (โลหะทรานซิชัน)
สังกะสี (โลหะทรานซิชัน)
แกลเลียม (โลหะหลังทรานซิชัน)
เจอร์เมเนียม (ธาตุกึ่งโลหะ)
สารหนู (ธาตุกึ่งโลหะ)
ซีลีเนียม (อโลหะหลายวาเลนซ์)
โบรมีน (อโลหะวาเลนซ์เดียว)
คริปทอน (แก๊สมีตระกูล)
รูบิเดียม (โลหะแอลคาไล)
สตรอนเชียม (โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท)
อิตเทรียม (โลหะทรานซิชัน)
เซอร์โคเนียม (โลหะทรานซิชัน)
ไนโอเบียม (โลหะทรานซิชัน)
โมลิบดีนัม (โลหะทรานซิชัน)
เทคนีเชียม (โลหะทรานซิชัน)
รูทีเนียม (โลหะทรานซิชัน)
โรเดียม (โลหะทรานซิชัน)
แพลเลเดียม (โลหะทรานซิชัน)
เงิน (โลหะทรานซิชัน)
แคดเมียม (โลหะทรานซิชัน)
อินเดียม (โลหะหลังทรานซิชัน)
ดีบุก (โลหะหลังทรานซิชัน)
พลวง (ธาตุกึ่งโลหะ)
เทลลูเรียม (ธาตุกึ่งโลหะ)
ไอโอดีน (อโลหะวาเลนซ์เดียว)
ซีนอน (แก๊สมีตระกูล)
ซีเซียม (โลหะแอลคาไล)
แบเรียม (โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท)
แลนทานัม (แลนทานอยด์)
ซีเรียม (แลนทานอยด์)
เพรซีโอดิเมียม (แลนทานอยด์)
นีโอดิเมียม (แลนทานอยด์)
โพรมีเทียม (แลนทานอยด์)
ซาแมเรียม (แลนทานอยด์)
ยูโรเพียม (แลนทานอยด์)
แกโดลิเนียม (แลนทานอยด์)
เทอร์เบียม (แลนทานอยด์)
ดิสโพรเซียม (แลนทานอยด์)
โฮลเมียม (แลนทานอยด์)
เออร์เบียม (แลนทานอยด์)
ทูเลียม (แลนทานอยด์)
อิตเทอร์เบียม (แลนทานอยด์)
ลูทีเทียม (แลนทานอยด์)
ฮาฟเนียม (โลหะทรานซิชัน)
แทนทาลัม (โลหะทรานซิชัน)
ทังสเตน (โลหะทรานซิชัน)
รีเนียม (โลหะทรานซิชัน)
ออสเมียม (โลหะทรานซิชัน)
อิริเดียม (โลหะทรานซิชัน)
แพลตทินัม (โลหะทรานซิชัน)
ทองคำ (โลหะทรานซิชัน)
ปรอท (โลหะทรานซิชัน)
แทลเลียม (โลหะหลังทรานซิชัน)
ตะกั่ว (โลหะหลังทรานซิชัน)
บิสมัท (โลหะหลังทรานซิชัน)
พอโลเนียม (โลหะหลังทรานซิชัน)
แอสทาทีน (ธาตุกึ่งโลหะ)
เรดอน (แก๊สมีตระกูล)
แฟรนเซียม (โลหะแอลคาไล)
เรเดียม (โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท)
แอกทิเนียม (แอกทินอยด์)
ทอเรียม (แอกทินอยด์)
โพรแทกทิเนียม (แอกทินอยด์)
ยูเรเนียม (แอกทินอยด์)
เนปทูเนียม (แอกทินอยด์)
พลูโทเนียม (แอกทินอยด์)
อะเมริเซียม (แอกทินอยด์)
คูเรียม (แอกทินอยด์)
เบอร์คีเลียม (แอกทินอยด์)
แคลิฟอร์เนียม (แอกทินอยด์)
ไอน์สไตเนียม (แอกทินอยด์)
เฟอร์เมียม (แอกทินอยด์)
เมนเดลีเวียม (แอกทินอยด์)
โนเบเลียม (แอกทินอยด์)
ลอว์เรนเซียม (แอกทินอยด์)
รัทเทอร์ฟอร์เดียม (โลหะทรานซิชัน)
ดุบเนียม (โลหะทรานซิชัน)
ซีบอร์เกียม (โลหะทรานซิชัน)
โบห์เรียม (โลหะทรานซิชัน)
ฮัสเซียม (โลหะทรานซิชัน)
ไมต์เนเรียม (ไม่มีกลุ่มตามสมบัติทางเคมี)
ดาร์มสตัดเทียม (ไม่มีกลุ่มตามสมบัติทางเคมี)
เรินต์เกเนียม (ไม่มีกลุ่มตามสมบัติทางเคมี)
โคเปอร์นิเซียม (โลหะทรานซิชัน)
นิโฮเนียม (ไม่มีกลุ่มตามสมบัติทางเคมี)
ฟลีโรเวียม (โลหะหลังทรานซิชัน)
มอสโกเวียม (ไม่มีกลุ่มตามสมบัติทางเคมี)
ลิเวอร์มอเรียม (ไม่มีกลุ่มตามสมบัติทางเคมี)
เทนเนสซีน (ไม่มีกลุ่มตามสมบัติทางเคมี)
ออกาเนสซอน (ไม่มีกลุ่มตามสมบัติทางเคมี)
อูนอูนเอนเนียม (โลหะแอลคาไล (ทำนายไว้))
อูนไบนิลเลียม (โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท (ทำนายไว้))
อูนควอดอันเนียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนควอดเบียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนควอดเทรียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนควอดควอเดียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนควอดเพนเทียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนควอดเฮกเซียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนควอดเซปเทียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนควอดออกเทียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนควอดเอนเนียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเพนท์นิลเลียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเพนท์อันเนียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเพนท์เบียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเพนท์เทรียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเพนท์ควอเดียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเพนท์เพนเทียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเพนท์เฮกเซียม (โลหะทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเพนท์เซปเทียม (โลหะทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเพนท์ออกเทียม (โลหะทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเพนท์เอนเนียม (โลหะทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเฮกซ์นิลเลียม (โลหะทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเฮกซ์อันเนียม (โลหะทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเฮกซ์เบียม (โลหะทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเฮกซ์เทรียม (โลหะทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเฮกซ์ควอเดียม (โลหะทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเฮกซ์เพนเทียม (โลหะแอลคาไล (ทำนายไว้))
อูนเฮกซ์เฮกเซียม (โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท (ทำนายไว้))
อูนเฮกซ์เซปเทียม (โลหะหลังทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเฮกซ์ออกเทียม (โลหะหลังทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเฮกซ์เอนเนียม (โลหะหลังทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเซปท์นิลเลียม (โลหะหลังทรานซิชัน (ทำนายไว้))
อูนเซปท์อันเนียม (อโลหะวาเลนซ์เดียว (ทำนายไว้))
อูนเซปท์เบียม (แก๊สมีตระกูล (ทำนายไว้))
อูนไบอันเนียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไบเบียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไบเทรียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไบควอเดียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไบเพนเทียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไบเฮกเซียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไบเซปเทียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไบออกเทียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไบเอนเนียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไทรนิลเลียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไทรอันเนียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไทรเบียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไทรเทรียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไทรควอเดียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไทรเพนเทียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไทรเฮกเซียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไทรเซปเทียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไทรออกเทียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนไทรเอนเนียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนควอดนิลเลียม (ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเซปท์เทรียม (เอคา-ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเซปท์ควอเดียม (เอคา-ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเซปท์เพนเทียม (เอคา-ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเซปท์เฮกเซียม (เอคา-ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเซปท์เซปเทียม (เอคา-ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเซปท์ออกเทียม (เอคา-ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนเซปท์เอนเนียม (เอคา-ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนออกท์นิลเลียม (เอคา-ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนออกท์อันเนียม (เอคา-ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนออกท์เบียม (เอคา-ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนออกท์เทรียม (เอคา-ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
อูนออกท์ควอเดียม (เอคา-ซูเปอร์แอกทิไนด์ (ทำนายไว้))
ทั่วไป
ชื่อ, สัญลักษณ์, เลขอะตอม ตะกั่ว, Pb, 82
อนุกรมเคมี โลหะหลังทรานซิชัน
หมู่, คาบ, บล็อก 14, 6, p
ลักษณะ สีขาวอมน้ำเงิน
มวลอะตอม 207.2 (1) กรัม/โมล
การจัดเรียงอิเล็กตรอน [Xe] 4f14 5d10 6s2 6p2
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน 2, 8, 18, 32, 18, 4
คุณสมบัติทางกายภาพ
สถานะ ของแข็ง
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) 11.34 ก./ซม.³
ความหนาแน่นของของเหลวที่m.p. 10.66 ก./ซม.³
จุดหลอมเหลว 600.61 K
(327.46 °C)
จุดเดือด 2022 K(1749 °C)
ความร้อนของการหลอมเหลว 4.77 กิโลจูล/โมล
ความร้อนของการกลายเป็นไอ 179.5 กิโลจูล/โมล
ความร้อนจำเพาะ (25 °C) 26.650 J/(mol·K)
ความดันไอ
P/Pa 1 10 100 1 k 10 k 100 k
ที่ T K 978 1088 1229 1412 1660 2027
คุณสมบัติของอะตอม
โครงสร้างผลึก cubic face centered
สถานะออกซิเดชัน 4, 2
(amphoteric oxide)
อิเล็กโตรเนกาติวิตี 2.33 (พอลิงสเกล)
พลังงานไอออไนเซชัน
(เพิ่มเติม)
ระดับที่ 1: 715.6 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 2: 1450.5 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 3: 3081.5 กิโลจูล/โมล
รัศมีอะตอม 180 pm
รัศมีอะตอม (คำนวณ) 154 pm
รัศมีโควาเลนต์ 147 pm
รัศมีวานเดอร์วาลส์ 202 pm
อื่น ๆ
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก diamagnetic
ความต้านทานไฟฟ้า (20 °C) 208 nΩ·m
การนำความร้อน (300 K) 34.7W/(m·K)
การขยายตัวจากความร้อน (25 °C) 28.9 µm/(m·K)
อัตราเร็วของเสียง (แท่งบาง) (r.t.) (annealed)
1190 m/s
มอดุลัสของยัง 16 GPa
โมดูลัสของแรงเฉือน 5.6 GPa
โมดูลัสของแรงบีบอัด 46 GPa
อัตราส่วนปัวซง 0.44
ความแข็งโมส 1.5
ความแข็งบริเนล 38.3 MPa
เลขทะเบียน CAS 7439-92-1
ไอโซโทปเสถียรที่สุด
บทความหลัก: ไอโซโทปของตะกั่ว
iso NA ครึ่งชีวิต DM DE (MeV) DP
204Pb 1.4% >1.4 E17 y Alpha 2.186 200Hg
205Pb syn 1.53 E7 y Epsilon 0.051 205Tl
206Pb 24.1% Pb เสถียร โดยมี 124 นิวตรอน
207Pb 22.1% Pb เสถียร โดยมี 125 นิวตรอน
208Pb 52.4% Pb เสถียร โดยมี 126 นิวตรอน
210Pb trace 22.3 y Alpha 3.792 206Hg
Beta 0.064 210Bi
แหล่งอ้างอิง

ตะกั่ว (อังกฤษ: Lead) เป็นธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 82 และสัญลักษณ์ธาตุ Pb (จากภาษาละติน: plumbum) ตะกั่วเป็นโลหะหนัก (heavy metals) ซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าวัสดุทั่วไป มีเนื้ออ่อนนุ่มสามารถดึงยืดได้ (ductility) และมีจุดหลอมเหลวที่ต่ำพอสมควร เมื่อตัดใหม่ ๆ จะมีสีขาวอมน้ำเงิน แต่เมื่อถูกกับอากาศสีจะเกิดการหมอง (tarnish) เป็นสีขุ่นเทา ตะกั่วเป็นธาตุเสถียรที่มีหมายเลขอะตอมสูงที่สุด และทั้งสามไอโซโทปของมันเป็นจุดจบของห่วงโซ่การสลายนิวเคลียร์หลัก ๆ ของธาตุที่หนักกว่า

ตะกั่วเป็นโลหะหลังทรานซิชันที่ไม่ค่อยไวปฏิกิริยา ความที่เป็นได้ทั้งกรดและเบส (amphoterism) แสดงให้เห็นถึงลักษณะความเป็นโลหะที่อ่อน ตะกั่วและออกไซด์ของตะกั่ว (lead oxide) ทำปฏิกิริยากับกรดและเบส และมักจะสร้างพันธะโคเวเลนต์ ตะกั่วในสารประกอบตะกั่ว (lead compounds) มักมีสถานะออกซิเดชันเท่ากับ +2 มากกว่าสถานะ +4 ซึ่งพบเจอได้บ่อยกว่าในธาตุหมู่คาร์บอนธาตุอื่นที่เบากว่า ข้อยกเว้นส่วนมากเป็นสารประกอบตะกั่วอินทรีย์ (organolead compound) ตะกั่วมักจะสร้างพันธะกับตัวเองเช่นเดียวกับธาตุอื่นในหมู่เดียวกันที่เบากว่า และสามารถสร้างโครงสร้างแบบโซ่และหลายหน้าได้

เพราะตะกั่วสามารถถูกสกัดจากสินแร่ของมันได้อย่างง่าย จึงเป็นที่รู้จัก (Metals of antiquity) ท่ามกลางผู้คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ในแถบตะวันออกใกล้ กาลีนาเป็นสินแร่สำคัญของตะกั่วและเงิน ความสนใจในธาตุเงินส่งเสริมให้เริ่มมีการสกัดและการใช้สอยตะกั่วอย่างกว้างขวางในโรมโบราณ การผลิตตะกั่วเริ่มลดลงหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก และไม่กลับมาในระดับที่เทียบกันได้เลยจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ตะกั่วมีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของแท่นพิมพ์ เพราะตัวเรียงพิมพ์ (movable type) สามารถถูกหล่อขึ้นจากโลหะเจือตะกั่วได้ง่ายพอสมควร[1]

ใน พ.ศ. 2557 ผลผลิตของตะกั่วทั่วโลกนั้นมากถึงสิบล้านตันต่อปี มากกว่าครึ่งมาจากการแปรใช้ใหม่[2] ความหนาแน่นสูง จุดหลอมเหลวต่ำ ความสามารถดึงยืด และความเฉื่อยในระดับหนึ่งต่อออกซิเดชันของตะกั่วทำให้มันมีประโยชน์ใช้สอย คุณสมบัติเหล่านี้ พร้อมกับที่มันมีอยู่มากพอสมควรและมีราคาที่ต่ำ ส่งผลให้มันถูกใช้อย่างแพร่หลายในการก่อสร้าง การเดินท่อ แบตเตอรี่ กระสุนปืนกับลูกปราย (Shot (pellet)) น้ำหนัก โซลเดอร์ (solder) พิวเตอร์ (pewter) โลหะเจือหลอมเหลวได้ (fusible alloy) สีขาว (lead paint) แกโซลีนมีสารตะกั่ว (Tetraethyllead) และเกราะกันรังสี (Radiation protection)

ความเป็นพิษของตะกั่ว (lead poisoning) ได้กลายเป็นที่รู้จักในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แม้ว่านักเขียนที่มีการศึกษาชาวกรีกและโรมันโบราณจำนวนหนึ่งนั้นจะรู้จักอาการบางส่วนของพิษจากตะกั่วอยู่แล้วก็ตาม ตะกั่วเป็นสารพิษต่อระบบประสาทที่สะสมตัวอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อนและกระดูก ทำลายระบบประสาทและขัดขวางการทำงานของเอ็นไซม์ทางชีวภาพ ก่อให้เกิดโรคทางประสาท (Neurological disorder) ตั้งแต่ปัญหาทางพฤติกรรมจนถึงสมองบาดเจ็บ และยังส่งผลถึงสุขภาพทั่วไป ระบบหัวใจหลอดเลือด และระบบไต

แหล่งและปรากฏการณ์

[แก้]

บนโลก

[แก้]

มีกำเนิดทั้งแบบ[3]

1. แหล่งแร่ปฐมภูมิซึ่งให้สินแร่ที่เป็นสารประกอบซัลไฟด์
เช่น แร่ตะกั่ว-กาลีนา แหล่งแร่ปฐมภูมิ ได้แก่
  1. แหล่งแร่สะสมตัวในชั้นหินอุ้มแร่ (stratabound-massive sulfide deposit)
  2. แหล่งแร่แบบสการ์น (skarn deposit) ซึ่งเกิดจากกระบวนการแปรสภาพโดยการแทนที่ ระหว่างหินอัคนีแทรกซอน เช่น หินไดออไรต์พอฟีรี กับหินคาร์บอเนต เช่น หินปูน
  3. แหล่งแร่แบบสายแร่ (vein-type deposit) ส่วนใหญ่เป็นแร่ตะกั่ว-สังกะสีซัลไฟด์ ซึ่งเกิดในสายแร่ที่น้ำแร่แยกตัวออกจากหินอัคนี
2. แหล่งแร่ทุติยภูมิ
เป็นแหล่งแร่ที่เกิดจากกระบวนการแปรสภาพของแร่ปฐมภูมิซึ่งส่วนใหญ่เป็นแร่ซัลไฟด์ เป็นแร่ที่เป็นสารประกอบของออกไซด์ คาร์บอเนต และซิลิเกต เช่นแหล่งแร่ตะกั่วคาร์บอเนต-เซรัสไซต์ และแหล่งแร่สังกะสีซิลิเกต-เฮมิมอร์ไฟต์ สังกะสีออกไซด์-ซิงค์ไคต์ และสังกะสีคาร์บอเนต-สมิทซอไนต์

แหล่งในประเทศไทย

[แก้]

แร่ตะกั่ว-สังกะสีพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน แพร่ เพชรบูรณ์ เลย เพชรบุรี นครศรีธรรมราช พัทลุง และยะลา[3]

แหล่งแร่สะสมตัวในชั้นหินอุ้มแร่ เช่น แหล่งแร่ตะกั่ว-สังกะสี บ้านสองท่อ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี แหล่งแร่แบบสการ์น เช่น ที่แหล่งตะกั่ว-สังกะสีซัลไฟด์ ภูขุม บ้านโคกมน อำเภอเมือง จังหวัดเลย ที่บ้านเมืองกี๊ด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และที่เขาถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา แหล่งแร่แบบสายแร่ เช่นที่ภูช้าง บ้านโคกใหญ่ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ที่บ้านแม่กะใน บ้านดงหลวง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน[3]

แหล่งแร่ทุติยภูมิ เช่นแหล่งแร่ตะกั่วคาร์บอเนต-เซรัสไซต์ ที่บ้านบ่องาม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และแหล่งแร่สังกะสีซิลิเกต-เฮมิมอร์ไฟต์ สังกะสีออกไซด์-ซิงค์ไคต์ และสังกะสีคาร์บอเนต-สมิทซอไนต์ ที่ดอยผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก[3]

การประยุกต์ใช้

[แก้]

สินแร่ตะกั่วถลุงได้โลหะตะกั่วที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ภายในประเทศ ดังนี้[3]

โลหะตะกั่ว
เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ อุตสาหกรรมโลหะบัดกรี ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างดีบุกกับตะกั่วในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน โลหะบัดกรีใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หม้อน้ำรถยนต์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์และแผงวงจรไฟฟ้า นอกจากนี้ยังใช้โลหะตะกั่วในโรงชุบเคลือบเหล็กด้วยสังกะสี ลูกแหลูกอวนที่ใช้ในอุตสาหกรรมประมง ใช้ในการทำกระดาษตะกั่ว ท่อน้ำ แผ่นตะกั่ว ตัวพิมพ์ กระสุนปืน สะพานไฟฟ้า ทำผนังกั้นรังสีในเครื่องหรือห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับปฏิกรณ์ปรมาณู ใช้ตะกั่วในการทำสี และทำผงตะกั่วแดงตะกั่วเหลือง สำหรับเคลือบภาชนะต่าง ๆ
โลหะและโลหะผสมสังกะสี
ใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กชุบ โดยการใช้โลหะสังกะสีเป็นตัวเคลือบชุบเหล็กกล้า เช่น อุตสาหกรรมแผ่นเหล็กชุบสังกะสี ข้อต่อท่อเหล็กชุบสังกะสี ลวดเหล็กชุบสังกะสี เป็นต้น ใช้ในอุตสาหกรรมทองเหลืองซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี เป็นโลหะที่มีความแข็งแรงทนต่อการผุกร่อน ใช้ขึ้นรูปหรือหล่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ภาชนะและเครื่องประดับต่าง ๆ ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะสังกะสีผสม เช่น ผสมอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม ทำให้มีความแข็งแกร่งและทนต่อการผุกร่อนได้ดี นำมาหล่อเป็นรูปต่างๆ ได้ง่าย และคงขนาดแม่นยำ จึงใช้มากในอุตสาหกรรมหล่อผลิตภัณฑ์ เช่น คาร์บูเรเตอร์ มือจับประตู บานพับประตู ของเด็กเล่น เป็นต้น ใช้ในอุตสาหกรรมสังกะสีออกไซด์ ซึ่งเป็นสารประกอบของสังกะสีที่มีสภาพเป็นแป้งหรือผง ใช้ในอุตสาหกรรมยาง สี เซรามิก ยา เครื่องสำอาง และอาหารสัตว์ และใช้ในอุตสาหกรรมถ่านไฟฉาย

การผลิต

[แก้]

จังหวัดที่เคยมีการผลิตแร่ตะกั่ว ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ยะลา ลำพูน และแพร่ จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดเดียวในปัจจุบันที่ยังคงมีการผลิตแร่ตะกั่วคาร์บอเนต และตะกั่วซัลไฟด์ที่มีแร่สังกะสีปนอยู่ด้วย โดยแหล่งผลิตที่สำคัญคือที่แหล่งสองท่อ บ่องาม บ่อใหญ่ และบ่อน้อย อำเภอทองผาภูมิ สินแร่ตะกั่วคาร์บอเนตจะส่งไปถลุงยังบริษัทโลหะตะกั่วไทย ที่อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นผู้ผลิตโลหะตะกั่วจากสินแร่ตะกั่วคาร์บอเนตเพียงรายเดียวของประเทศ สินแร่ตะกั่วของประเทศในปี 2539 – 2541 ผลิตได้ 49,243; 12,438 และ 15,146 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 346.4; 79.9; และ 108.1 ล้านบาท ตามลำดับ[3]


อ้างอิง

[แก้]
  1. De Vinne, Theodore Low (1902). The Practice of Typography: A Treatise on the Processes of Type-making, the Point System, the Names, Sizes, Styles, and Prices of Plain Printing Types. Century Company. pp. 9–36.
  2. Guberman 2016, pp. 42.14–15.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 กรมทรัพยากรธรณี 2007.

บรรณานุกรม

[แก้]