ประเสริฐ จันทรรวงทอง
ประเสริฐ จันทรรวงทอง | |
---|---|
ประเสริฐ ใน พ.ศ. 2567 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 74 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พัชรวาท วงษ์สุวรรณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 76 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (0 ปี 246 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ |
ก่อนหน้า | ชัจจ์ กุลดิลก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ |
ถัดไป | พ้อง ชีวานันท์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – 9 มกราคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 240 วัน) | |
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 26 วัน) | |
ก่อนหน้า | อนุดิษฐ์ นาครทรรพ |
ถัดไป | สรวงศ์ เทียนทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2503 อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
ลายมือชื่อ | |
ประเสริฐ จันทรรวงทอง ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2503) ชื่อเล่น เอ๋อ เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต 3 สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตสมาชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา 2 สมัย
ประวัติ
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง มีชื่อเล่นว่า "เอ๋อ" หรือ "อะตอม" เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2503 ที่ตำบลจันทึก อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา[2] จบการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร จบปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบปริญญาโท มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2566 พชร จันทรรวงทอง บุตรชายของเขาชนะการเลือกตั้งในจังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้นาย ปรีชา จันทรรวงทอง พี่ชายของนายประเสริฐ ยังดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นนายกเทศมนตรีเมืองสีคิ้วในขณะที่นายประเสริฐเป็นรัฐมนตรี
การทำงาน
นายประเสริฐเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา 2 สมัย ต่อมาได้เป็น ส.ส.พรรคไทยรักไทยในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ก่อนที่พรรคจะถูกยุบ และย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน นายประเสริฐลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งและได้รับเลือก ก่อนที่พรรคพลังประชาชนจะถูกตัดสินยุบพรรค ทำให้นายประเสริฐต้องย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทยในเวลาต่อมา โดยนายประเสริฐเป็นหนึ่งในผู้ที่ร่วมการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะด้วย
ต่อมาวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงผลการประชุมคณะทำงานโฆษกพรรคว่า การประชุมเป็นการแบ่งหน้าที่การทำงานของรองโฆษกพรรคที่มีการตั้งขึ้นเพิ่มเติมอีก 8 คน จากเดิมที่มีรองโฆษกเพียงคนเดียว โดยเป็น ส.ส.ถึง 6 คน คือ นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา นางฐิติมา ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย สำหรับคนนอกที่มารับตำแหน่งรองโฆษกอีก 2 คนคือ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ และนายพิทยา พุกกะมาน อดีตผู้สมัคร ส.ส.สัดส่วน รวมขณะนี้พรรคเพื่อไทยมีรองโฆษก 9 คน เพื่อต้องการให้มีการประสานเชื่อมโยงกับการทำงานในสภาฯของ ส.ส.ด้วยกันให้มากขึ้น เพราะบางครั้งข้อมูลที่พรรคได้รับมานั้นมาจากคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทน ราษฎร ที่มี ส.ส.พรรคเพื่อไทยเป็นคณะกรรมาธิการ[3]
ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) [4] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[5]
ในปี พ.ศ. 2563 นายประเสริฐ ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคเพื่อไทย รวมทั้งทำหน้าที่ประสานงานในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566 ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในปี พ.ศ. 2566[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง[7]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งมาอีก 5 สมัยต่อกันเป็นลำดับ คือ
1.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคไทยรักไทย
2.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคไทยรักไทย
3.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคพลังประชาชน → พรรคเพื่อไทย
4.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อไทย
5.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อไทย
6.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
- ↑ เปิดใจ “เลขาฯเพื่อไทยคนใหม่” “ประเสริฐ จันทรรวงทอง”
- ↑ ชีวประวัติ ประเสริฐ จันทรรวงทอง
- ↑ พท.ตั้งทีมโฆษกฯพร้อมแบ่งงาน[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
- ↑ "โปรดเกล้าฯ ครม.แพทองธาร แล้ว "ภูมิธรรม" รองนายกฯ ควบ กห. , "เฉลิมชัย" รมว.ทส". ไทยพีบีเอส. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
ก่อนหน้า | ประเสริฐ จันทรรวงทอง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ | ||
ชัจจ์ กุลดิลก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 60) (27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556) |
พ้อง ชีวานันท์ | ||
อนุดิษฐ์ นาครทรรพ | เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566) |
สรวงศ์ เทียนทอง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2503
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอสีคิ้ว
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.