จรัส พั้วช่วย
จรัส พั้วช่วย | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
ก่อนหน้า | ถวิล ไพรสณฑ์ |
ถัดไป | สุธรรม แสงประทุม |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | อำนวย ยศสุข |
ถัดไป | ศาสตราจารย์พิเศษ วิเชียร วัฒนคุณ |
ดำรงตำแหน่ง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | สุรินทร์ พิศสุวรรณ |
ถัดไป | ตนเอง |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 – 1 กรกฎาคม พ.ศ 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | ตนเอง |
ถัดไป | ประชา คุณะเกษม |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู |
ถัดไป | คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กันยายน พ.ศ. 2492 อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ |
เสียชีวิต | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (60 ปี) ประเทศลาว |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | มัชฌิมาธิปไตย |
คู่สมรส | สุชาดา พั้วช่วย |
จรัส พั้วช่วย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงคมนาคม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ 9 สมัย
ประวัติ
[แก้]จรัส พั้วช่วย เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2492 ที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จรัส พั้วช่วย เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุตกจากรถไถในฟาร์มของตนเอง ที่ประเทศลาว เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[1]
จรัส พั้วช่วย มีพี่สาวเป็นนักการเมืองคนหนึ่ง คือ ฐิตินันท์ พั้วช่วย อดีตนายกเทศมนตรีเมืองหล่มสัก ซึ่งเป็นมารดาของ จักรัตน์ พั้วช่วย ส.ส.เพชรบูรณ์
การทำงาน
[แก้]จรัส พั้วช่วย เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบูรณ์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งติดต่อกันมาหลายสมัยและหลายพรรคการเมือง อาทิ พรรคกิจประชาคม พรรคเอกภาพ พรรคพลังธรรม และพรรคประชาธิปัตย์ตามลำดับ นอกจากนี้ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน พ.ศ. 2526 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ใน พ.ศ. 2533[2] เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ใน พ.ศ. 2535[3] ต่อมาใน พ.ศ. 2537 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2538 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยที่ 2 ใน พ.ศ. 2539
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัคร ส.ส.ในสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ญาตินำศพ"จรัส พั้วช่วย"อดีตส.ส.กลับจากลาว
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ ศพจรัสกลับถึงเพชรบูรณ์แล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2553
- บุคคลจากอำเภอหล่มสัก
- นักการเมืองจากจังหวัดเพชรบูรณ์
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์
- พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
- นักการเมืองพรรคกิจสังคม
- พรรคกิจประชาคม
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคพลังธรรม
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศลาว
- เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุจากการตก