จิรายุ ห่วงทรัพย์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน (กันยายน 2024) |
จิรายุ ห่วงทรัพย์ | |
---|---|
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 38 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | แพทองธาร ชินวัตร |
รอง | คารม พลพรกลาง ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ ว่าง |
ก่อนหน้า | ตนเอง (ในฐานะปฏิบัติหน้าที่แทน) |
ปฏิบัติหน้าที่แทน | |
ดำรงตำแหน่ง 30 กันยายน พ.ศ. 2567 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 8 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ชัย วัชรงค์ (โฆษก) |
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะโฆษก) |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (11 ปี 260 วัน) | |
ถัดไป | พิมพ์กาญจน์ กีรติวิราปกรณ์ |
เขตเลือกตั้ง | เขตคลองสามวา ยกเว้น แขวงสามวาตะวันออก และ แขวงทรายกองดิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน) |
ลายมือชื่อ | |
จิรายุ ห่วงทรัพย์ เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล นางสาว แพทองธาร ชินวัตร โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) อดีตโฆษกกระทรวงกลาโหม ฝ่ายการเมือง อดีตประธานคณะกรรมาธิการ กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร[1] และอดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร หลายสมัย อดีตผู้ประกาศข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
ประวัติ
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ มีชื่อเล่นว่า "ยุ " เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ที่เขตคลองสามวา (เดิมเป็นส่วนหนึ่งในเขตมีนบุรีของกรุงเทพมหานคร หรือ จังหวัดพระนคร ในขณะนั้น) จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียน St John's College และจบ ปริญญาโท สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบออกแบบที่ University of Canberra ออสเตรเลีย
นายจิรายุเริ่มต้นงานจาก บริษัท โฆษณา เขาเป็น Creative Director และเป็นนักเขียนคำโฆษณาที่คุ้นเคย “ก็ลมมันเย็น” ต่อมานายจิรายุไปเป็นนักข่าวที่หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ยุคแรก เขามีความเชี่ยวชาญเรื่อง ระบบการสื่อสาร คมนาคม มี Calln Sign ว่า HSOYY โดยนายจิรายุได้ทำงานนานถึง 8 ปี เขาเป็นนักข่าวและช่างภาพภาคสนามฝีมือดี และอยู่ในเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 35 เขาเคยได้รางวัล ภาพถ่ายการสลายการชุมนุม จากนั้น 2 ปี นายจิรายุ ย้ายไปเป็น บก.หน้า 1 นสพ.ไทยไฟแนนเชียล ก่อนที่จะย้ายไปเป็นดีเจที่วิทยุ อสมท. FM 99 Mhz และเข้าทำงานที่สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่สถานียังไม่ออกอากาศ นายจิรายุ เริ่มต้นงาน ในตำแหน่งผู้สื่อข่าว เศรษฐกิจ ผู้สื่อข่าวเหตุการณ์ และได้เป็นผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจ คู่กับจิระ ห้องสำเริง และณัฏฐา โกมลวาทิน รวมถึงอ่านข่าวในรายการข่าวเช้าไอทีวี
ด้วยความชอบการ ผจญภัย นายจิรายุ ได้เลื่อนขั้นไปเป็นผู้ประกาศข่าวภาคสนามแถวหน้าของ itv ในยุคที่ itv โดดเด่นในสังคมไทย อาทิข่าว ยึดสถานทูตพม่า ,ข่าวไฟไหม้รอยัลพล่าซ่าพัทยา, ม็อบไทยซัมมิต, เหตุการณ์สังหารป่าไม้เขาใหญ่, น้ำป่าถล่มเมืองลับแล, รถไฟตกรางที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่, เหตุการณ์ม็อบสีลม และเหตุการณ์สึนามิในภาคใต้ ฯลฯ อีกทั้งได้รับการแต่งตั้งเป็นบรรณาธิการข่าว ทางอากาศ (Sky News)
บทบาท พิธีกร ผู้ประกาศข่าว
หลังการรัฐประหาร ปี 2549 จนถึงรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในปี 2550 เกิดวิกฤติ ITV จน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ต่อมาแปรสภาพเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส นายจิรายุ ปฏิเสธที่จะทำงาน กับ TPBS จนกระทั่งในปี 2551 นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์) มา เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ในสมัยที่จักรภพ เพ็ญแข เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ทีมงาน ITV เดิมที่ไม่ไปทำงานกับ TPBS เข้ามาบริหารงาน
นายจิรายุ ได้รับการชักชวน จาก นายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ (ผอ.ไทยรัฐทีวี 2560) นายจิรายุ จึงไปเป็นผู้ประกาศข่าวที่เอ็นบีที พร้อมกับผู้ประกาศข่าวอีกหลายคน อาทิ ปนัดดา วงศ์ผู้ดี, ตวงพร อัศววิไล และจอม เพชรประดับ เป็นต้น
ในปี 2552 ในยุคนายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เอ็นบีที ถูกเปลี่ยนกลับมาเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) ในสมัยที่สาทิตย์ วงศ์หนองเตย เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยใช้สัญลักษณ์ ใหม่เป็นรูปแบบปัจจุบันซึ่งมีชื่อเรียกติดปากว่า "หอยสีม่วง" นายจิรายุถูกปลดออกตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552 พร้อมกับ ปนัดดา วงศ์ผู้ดี, ตวงพร อัศววิไล และจอม เพชรประดับ ด้วยเหตุที่พวกเขาประกาศข่าว อยู่ในช่วงเวลาที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบุกยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
บทบาททางการเมือง
นายจิรายุจึงตัดสินใจลงเล่นการเมืองโดยเข้าร่วมเป็นคณะทำงานโฆษกพรรคเพื่อไทย[2] และในการเลือกตั้งปี 2554 นายจิรายุ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 18 (เขตคลองสามวา) โดยสามารถเอาชนะคู่แข่งจากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็น ส.ส.หลายสมัย อย่างนายสมัย เจริญช่าง และการเลือกตั้งครั้งล่าล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายจิรายุ ยังรักษาแชมป์ไว้ได้สำเร็จ เอาชนะคู่แข่งจากพรรคพลังประชารัฐ อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ในเขตเลือกตั้งที่ 16 คลองสามวา กรุงเทพมหานคร
ในวงการการเมือง นายจิรายุ เป็นนักตีแผ่ทางสังคมหลายเรื่อง ทั้ง การเปิดโปงทุจริต โครงการชุมชนพอเพียง, การจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง และที่โด่งดัง คือ การตรวจสอบ กล้องดัมมี่ CCTV ของ กทม. และสนามฟุตซอล ที่หนองจอก ในการยึดอำนาจปฏิวัติ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ได้ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ให้ไปรายงานตัวตามประกาศฉบับที่ 14/2557 และถูกควบคุมตัวโดยทหารติดอาวุธ และนำไปควบคุมตัวไว้ในค่ายทหารแห่งหนึ่งที่จังหวัดสระบุรี โดยไม่ให้ติดต่อสื่อสารหรือเข้าเยี่ยมแต่อย่างใด
ความรู้ความสามารถด้านยานยนต์
ในด้านความรู้ความสามารถ นอกจากจะชอบการแข่งขันรถยนต์เป็นชีวิตจิตใจแล้ว เขายังเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ และเป็นผู้สะสมป้ายทะเบียนรถยนต์ต่างประเทศมากที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นนักแข่งรถยนต์ ทั้งทางเรียบ และทางฝุ่น และผู้จัดการแข่งขันรถยนต์ หลากหลายรายการ อาทิ OFFROAD TROPHY
เขาเคยประสบอุบัติเหตุจากรถคว่ำถึงสองครั้งในการแข่งขันรถยนต์ ครอสคันทรี่ชิงแชมป์ประเทศไทยฯ ภายใต้สังกัดทีมโตโยต้า ในปี 2543 และในปี 2544 นายจิรายุ คว้าตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งขัน มีเดียชาเร้นท์ เรซซิ่ง ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และแชมป์ประหยัดนำมันรถยนต์สโกด้า และยังได้รับรางวัลจากการแข่งขันอีกจำนวนมาก จนติดทำเนียบนักแข่งระดับประเทศของ รยสท.
เขาเคยได้รับทุนไปฝึกอบรมการขับรถภายใต้สถานการณ์จาก สำนักรอดฮอลเทคนิเชียลของ FBI สหรัฐอเมริกา ที่รัฐเนวาดา ในปี 2538 และยังเป็นผู้บุกเบิกในการเดินทางในอินโดจีน ด้วยรถยนต์เคยเดินทางสำรวจเส้นทางไปยังเมืองมัณฑะเลย์และถูกกักขังบริเวณที่เมืองเชียงตุงพม่าในปี 2537
ในงานการทดสอบรถยนต์ จิรายุเดินทางไปทดสอบรถยนต์ที่ประเทศอเมริกา, ออสเตรเลีย, ทัสมาเนีย, สวีเดน, นอร์เวย์, เบลเยี่ยม, เยอรมนี, สเปน, โปรตุเกส, ฝรั่งเศส, อิตาลี, อังกฤษ, สวิตเซอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, UAE, เกาหลีใต้, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, บรูไน ฯลฯ
ประวัติการทำงานด้านสื่อสารมวลชน
- ก๊อปปี้ ไรท์เตอร์ บจ.ทีเอสเคบรอดคาสติ้ง
- ครีเอทีฟ ไดเร็คเตอร์ บจ.ทีเอสเคบรอดคาสติ้ง
- ผู้สื่อข่าว เศรษฐกิจ, นสพ.ไทยไฟแนนลเชียล, นสพ.ข่าวหุ้น, นสพ.ฐานเศรษฐกิจ (รางวัลภาพถ่ายเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ)
- ดีเจวิทยุ อสมท เอฟเอ็ม 99
- ผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
- ผู้ประกาศข่าวกีฬา สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
- ผู้ประกาศข่าวเหตุการณ์ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (สึนามิ, เครื่องบินตก, ม็อบไทยซัมมิท, ม็อบมือถือ, น้ำท่วม ฯลฯ)
- บรรณาธิการข่าว สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี
- ผู้ประกาศข่าวสกายนิวส์ สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี
- พิธีกรรายการออโต้แจม ทางไอทีวี
- พิธีกรรายการไปใหนไปกัน ทางไอทีวี
- ผู้ประกาศข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที)
- ดีเจวิทยุเอฟเอ็ม 89.5
- คอลัมนิสต์ นสพ.สยามธุรกิจ
- คอลัมนิสต์ นสพ.สร้างชาติ
- คอลัมนิสต์ นสพ.ธุรกิจภาคเหนือ
- คอลัมนิสต์ นิตยสารวอยซ์
- คอลัมนิสต์ นิตยสารซีแม็กซ์คาร์
- พิธีกรรายการ ขับปลอดภัย ทางช่อง 7
- พิธีกรรายการ บางกอกออโต้แจม ทางช่อง 9
- พิธีกรรายการ แม็กซ์มอเตอร์สปอร์ต ทางเอ็นบีที
- พิธีกรรายการ ประเทศไทยก็ของเรา ทางสถานีประชาชน
- พิธีกรรายการ การเมืองเรื่องจริง ทางสถานีประชาชน
- พิธีกรรายการ รู้ทันอภิสิทธิ์ คิดทันกัน ทางสถานีประชาชน
- พิธีกรรายการ ดับเครื่องชน ทางเอเชียอัปเดต (คู่กับ การุณ โหสกุล ภายหลังจิรายุดำเนินรายการด้วยตนเองจนกระทั่งลาออกไปลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)
- ผู้บรรยายกีฬา มอเตอร์สปอร์ต, แข่งขันเรือ, ฟุตบอล ฯลฯ
- พิธีกร รายการ 1 ล้านไมล์ไปกับ จิรายุ ห่วงทรัพย์ ทาง วอยซ์ทีวี
ประวัติการทำงานสังคม/รางวัล
- อุปนายกสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย 2 สมัย
- กรรมการ ราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมณราชูปถัมป์ (รยสท)
- รางวัล "พระกินรี "คนดีของแผ่นดิน สาขา ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ 2565
- (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานตราสัญลักษณ์พระนามย่อ บนโล่ห์รางวัล)
ผลงานทางการเมืองที่สำคัญ
- ตรวจสอบทุจริตที่สำคัญ ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (2552-54)
- ตรวจสอบทุจริตในโครงการชุมชนพอเพียง (2552-54)
- เปิดโปงทุจริต กล้อง ดัมมี่ CCTV กทม ที่โด่งดัง (2555)
- ตรวจสอบทุจริต กคช นำไปสู่การฟ้องร้องต่อปปช. (2562-64)
- ตรวจสอบทุจริต องค์การสะพานปลา (2563)
- ตรวจสอบทุจริต องค์การสวนสัตว์ (2564)
- ตรวจสอบทุจริต การนิคมอุตสาหกรรมฯ (2564)
- ตรวจสอบทุจริต กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2564-65)
- เปิดโปงทุจริต การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม (2564)
- เปิดโปง ความไม่ชอบมาพากล กรณีท่อก๊าช ปตท ระเบิดที่สมุทรปราการ (2564)
- ตรวจสอบการทุจริต การใช้เงินงบประมาณแผ่นดินของกองทุนพัฒนากีฬา (2564)
- ตรวจสอบการทุจริต การประมูลป้ายทะเบียนของ กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กปถ.กรมการขนส่งทางบก (2564)
- ตรวจสอบการทุจริต การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กทพ.กรณีนำที่ดินให้เอกชนใช้โดยมิชอบ (2464)
- ตรวจสอบการทุจริต การประมูลคอมพิวเตอร์ของ สนง.ประกันสังคม ก.แรงงาน (2564)
- อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (ครั้งที่ 1/2563 2/2564)
- ตรวจสอบการทุจริต ในคดี นายวรยุทธ อยู่วิทยา (บอส) (2564)
- ตรวจสอบการทุจริต ของการไฟฟ้าฝ่ายผลืตกรณี จัดซื้อปาล์ม (2563-64)
- ตรวจสอบ คดีท่อก๊าซของ ปตท.ระเบิด
- ผลงานอาจารย์
- อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยสยาม
- อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาจารย์พิเศษ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
ประสบการณ์ทางการเมือง
- คณะทำงานโฆษกพรรคเพื่อไทย ( 2550)
- รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (2551-2552)
- คณะทำงานรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 (นายสามารถ แก้วมีชัย) (2551)
- ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการการทหาร (2552)
- กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบฯ
- โฆษกกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ.งานทำที่บ้าน สภาฯ
- โฆษก สำนักงานปราบโกง สปก.401 พรรคเพื่อไทย
- ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการทหาร
- กรรมาธิการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาฯ (2554-57)
- รองประธาน คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรการมหาชน และกองทุน สภาฯ (2554-57)
- กรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาฯ (2554-57)
- คณะกรรมการสถานีโทรทัศน์วิทยุรัฐสภา (2556)
- คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล วิปรัฐบาล (2554-2557)
- รองประธานกรรมาธิการวิสามัญคนที่ 1 เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีกล้องซีซีทีวีของกรุงเทพมหานคร (2554)
- กรรมาธิการวิสามัญจัดตั้งกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (2553)
- กรรมาธิการวิสามัญ พรบ.ศุลกากร (2555)
- กรรมาธิการวิสามัญ พรบ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (2555)
- รองประธานกรรมาธิการวิสามัญ รถไฟฟ้าสายสีชมพู (2556)
- ประธานสภาวัฒนธรรม 3 สมัย (2554-ปัจจุบัน)
- รองประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการขุด คลองไทย (2563)
- รองประธานคณะกรรมการวิสามัญ พรบ.งบประมาณ 2565
- กรรมการและเลขานุการ สภามิตรภาพไทย-เบลเยี่ยมชุดปัจจุบัน (2565)
- รองเลขาธิการ พรรคเพื่อไทย (2562-64)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร กรุงเทพมหานคร 3 สมัย (2565)
- ประธานคณะกรรมาธิการ กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน กองทุน (2562-2566)
- โฆษกกระทรวงกลาโหม ฝ่ายการเมือง (3 ตุลาคม 2566- 3 กันยายน 2567 )
- ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ด้านการประชาสัมพันธ์ (แพทองธาร ชินวัตร)
- โฆษกประจําสำนักนายกรัฐมนตรี สํานักนายกรัฐมนตรี
- โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม
การฝึกอบรม
- พ.ศ. 2554 หลักสูตร การเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่16 (ปปร.16) สถาบันพระปกเกล้า
(เพื่อนร่วมรุ่น อาทิ พลเอกชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (2565) นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น) - พ.ศ. 2558 หลักสูตร ผู้บริหารการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูงรุ่น6 (พตส.6) สถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง กกต.
- พ.ศ. 2559 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารเมือง รุ่น1 (ผู้นำเมืองรุ่นที่1)
- พ.ศ. 2559 หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 8 (4ส8)
- พ.ศ. 2560 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารพัฒนาเมืองรุ่นที่6 (มหานคร6)
- พ.ศ. 2563 หลักสูตร การบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 19 สถาบันพระปกเกล้า
- พ.ศ. 2565 หลักสูตร วิทยาการเกษตรระดับสูงรุ่นที่ 1 (วกส1)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
อ้างอิง
- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ “ปลด”ผู้สื่อข่าวเอ็นบีที นั่งแท่นโฆษกพรรค “เพื่อไทย”
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
ก่อนหน้า | จิรายุ ห่วงทรัพย์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ตนเอง (ในฐานะตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่แทน) |
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (8 ตุลาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ | ||
ชัย วัชรงค์ | ปฏิบัติหน้าที่แทนโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (30 กันยายน พ.ศ. 2567 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2567) |
ตนเอง (ในฐานะตำแหน่งโฆษก) |
- บทความเหมือนเรซูเมตั้งแต่กันยายน 2024
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2512
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ผู้ประกาศข่าวไอทีวี-ทีไอทีวี-ทีวีไทย
- ผู้ประกาศข่าวช่อง 11-เอ็นบีที-สทท.
- ผู้ประกาศข่าวช่อง 3
- ผู้ประกาศข่าวเนชั่นทีวี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.