ไตรศุลี ไตรสรณกุล
ไตรศุลี ไตรสรณกุล | |
---|---|
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 63 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | อนุทิน ชาญวีรกูล |
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ.2566 (4 ปี 12 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ รัชดา ธนาดิเรก, ทิพานัน ศิริชนะ | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค |
ถัดไป | คารม พลพรกลาง รัดเกล้า สุวรรณคีรี เกณิกา อุ่นจิตร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 เมษายน พ.ศ. 2532 อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2554–ปัจจุบัน) |
ไตรศุลี ไตรสรณกุล (เกิด 25 เมษายน พ.ศ. 2532) ชื่อเล่น: กวาง เป็นนักการเมืองชาวไทย ตําเเหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (อนุทิน ชาญวีรกูล) โฆษกกระทรวงมหาดไทย และนายทะเบียนสมาชิกพรรคภูมิใจไทย อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[1][2] ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นบุตรสาวของ นาย วิชิต ไตรสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ[3][4]
ประวัติ
[แก้]ไตรศุลี เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2532 ที่ตำบลตะดอบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ[5] เป็นบุตรสาวของนายวิชิต ไตรสรณกุล นักการเมืองท้องถิ่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จบการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3]
ในระยะแรก ไตรศุลี ไม่ได้มีความสนใจในงานการเมือง แต่ต่อมาได้รับการทาบทามจากพรรคภูมิใจไทยและการสนับสนุนจากบิดา จึงตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเป็นครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ลำดับที่ 30 แม้จะไม่ได้รับเลือกตั้งในการลงสมัครครั้งนี้ แต่ไตรศุลี ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทรโอชา ในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย[3]
ไตรศุลี จึงมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นจากการเป็นผู้แถลงข่าวหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี
ในปี 2566 ไตรศุลี ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[8]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ไร้ประท้วง บิ๊กตู่กินทุเรียน บ้านน้องกวาง
- ↑ “ไตรศุลี ไตรสรณกุล” กับภารกิจสุดท้าทาย บนเก้าอี้ “รองโฆษกรัฐบาล”
- ↑ 3.0 3.1 3.2 เปิดชีวิต ‘รองโทรโข่งลุง’ และการทำงานกับคนชื่อ ‘ประยุทธ์’
- ↑ ศรีสะเกษเปลี่ยน "เสี่ยลาว" ย้ายค่าย "ไตรศุลี" เข้าทำเนียบ
- ↑ รู้มั้ย 'ไตรศุลี' ลูกบ้านใหญ่ศรีสะเกษ
- ↑ ครม.เศรษฐา เห็นชอบตั้ง ขรก.การเมือง 34 ตำแหน่ง - ชัย วัชรงค์ โฆษกป้ายแดง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๕๒, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔