ยงยุทธ มัยลาภ
ยงยุทธ มัยลาภ | |
---|---|
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 (0 ปี 358 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี |
ถัดไป | ไชยา ยิ้มวิไล |
ดำรงตำแหน่ง 16 กันยายน พ.ศ. 2557 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (0 ปี 240 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ธีรัตถ์ รัตนเสวี |
ถัดไป | วิลาศ อรุณศรี (ผู้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกฯ) พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด(โฆษกฯ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2501 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ชลดา ศิวแดนจันทร์ พิชญา พิบูลเวช |
ร้อยเอก นายแพทย์ ยงยุทธ มัยลาภ (เกิด 1 มิถุนายน พ.ศ. 2501) เป็น กรรมการ[1]มูลนิธิสุรเกียรติ์ - ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย[2] อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[3] อดีตคณะโฆษกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และผู้ประกาศข่าวช่อง 5
ประวัติ
[แก้]ยงยุทธ มัยลาภ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต และวุฒิบัตรสาขาเวชศาสตร์เขตร้อนคลินิก จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2530 ตามลำดับ
การทำงาน
[แก้]ยงยุทธ มัยลาภ ทำงานเป็นแพทย์ ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ใช้เวลาว่างในการเป็นผู้ประกาศข่าว พิธีกรรายการโทรทัศน์ ทางช่อง 5 จนได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขาผู้อ่านข่าวดีเด่นชาย ปี พ.ศ. 2537 รางวัลเมขลา (รายการคลินิกวันหยุด) รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2544
ด้านการเมือง เคยสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 5 สังกัดพรรคนำไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[4] ต่อมาได้เข้ามารับตำแหน่ง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และได้ลาออกจาตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยให้เหตุผลว่าไม่อยากเป็นที่ครหากรณีการถือครองหุ้น[5] จากนั้นจึงได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษาสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลพญาไท 2[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้เข้ารับตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งที่สอง ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[7] ต่อมาเขาได้ขอลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากปัญหาสุขภาพ
นอกจากนั้นแล้วยงยุทธ มัยลาภ ยังเคยทำงานเป็นผู้ประกาศข่าว ประจำสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) และเคยเป็นประธานและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดี.เอ็ม.อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด อีกด้วย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[8]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ฐานข้อมูลประวัติย่อ
- ↑ ฐานข้อมูลคู่สมรส
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑o๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ยงยุทธ มัยลาภ ตัวเต็งโฆษกรัฐบาล[ลิงก์เสีย]
- ↑ รัฐบาลขิงแก่ กับ แฟชั่นไขก๊อก เพราะพิษหุ้น! อีกบททดสอบความสั่นครอน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ข้อมูลแพทย์โรงพยาบาลพญาไท 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-22. สืบค้นเมื่อ 2010-08-03.
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๒๗ ราย ๑. พลเอก วิลาศ อรุณศรี ฯลฯ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๘๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
ก่อนหน้า | ยงยุทธ มัยลาภ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี | โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (10 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 (สมัยที่ 1) 16 กันยายน พ.ศ. 2557 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (สมัยที่ 2)) |
ไชยา ยิ้มวิไล | ||
ธีรัตถ์ รัตนเสวี | พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด |