ข้ามไปเนื้อหา

การจมของเรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์และรีพัลส์

พิกัด: 3°34′N 104°26′E / 3.567°N 104.433°E / 3.567; 104.433
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การจมของเรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์และรีพัลส์
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง

ปรินส์ออฟเวลส์ (ซ้าย, ด้านหน้า) และ รีพัลส์ (ซ้าย, ด้านหลัง) หลังจากถูกโจมตีโดยตอร์ปิโดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยมีเรือพิฆาตหลวงเอ็กซ์เพรส ที่กำลังเคลื่อนที่อยู่เบื้องหน้า
วันที่10 ธันวาคม ค.ศ. 1941
สถานที่
ผล ญี่ปุ่นได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด
คู่สงคราม

 สหราชอาณาจักร

 ญี่ปุ่น

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร Sir Tom Phillips 
สหราชอาณาจักร John Leach 
สหราชอาณาจักร William Tennant
จักรวรรดิญี่ปุ่น Niichi Nakanishi
จักรวรรดิญี่ปุ่น Shichizo Miyauchi
จักรวรรดิญี่ปุ่น Hachiro Shoji
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
Force Z Genzan Air Group
Kanoya Air Group
Mihoro Air Group
กำลัง
เรือประจัญบาน 1 ลำ
เรือลาดตระเวนประจัญบาน 1 ลำ
เรือพิฆาต 4 ลำ
อากาศยาน 88 ลำ
(เครื่องบินตอร์ปิโด 34 ลำ,
เครื่องบินทิ้งระเบิดสูง 51 ลำ,
เครื่องบินชี้เป้า 3 ลำ)
ความสูญเสีย
เรือประจัญบาน 1 ลำถูกจม
เรือลาดตระเวนประจัญบาน 1 ลำถูกจม
เสียชีวิต 840 นาย
อากาศยาน 4 ลำถูกทำลาย
อากาศยาน 28 ลำมีความเสียหาย[1]
เครื่องบินทะเล 2 ลำสูญหาย
เสียชีวิต 18 นาย[2]
ปรินส์ออฟเวลส์
รีพัลส์
ปรินส์ออฟเวลส์ (ซ้าย) และ รีพัลส์ (ขวา) ออกเดินทางจากสิงคโปร์ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941

การจมของเรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์และรีพัลส์ (อังกฤษ: Sinking of Prince of Wales and Repulse) เป็นการสู้รบทางเรือในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นส่วนหนึ่งของสงครามในแปซิฟิก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ในทะเลจีนใต้ใกล้กับชายฝั่งตะวันออกของอาณานิคมมาลายาของอังกฤษ (มาเลเซียในปัจจุบัน) และสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (สิงคโปร์และเมืองชายฝั่งในปัจจุบัน) 70 ไมล์ (61 ไมล์ทะเล 110 กิโลเมตร) ทางตะวันออกของกวนตัน รัฐปะหัง เรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์ที่เป็นเรือประจัญบานและเรือหลวงรีพัลส์ที่เป็นเรือลาดตระเวณประจัญบานของราชนาวีถูกจมโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดภาคพื้นดินและเครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์บิโดของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ในญี่ปุ่น การสู้รบครั้งนี้ถูกเรียกว่า ยุทธนาวีที่มาลายา (マレー沖海戦, Marē-oki kaisen)

เป้าหมายของกองกำลังแซด ซึ่งประกอบไปด้วยเรือรบประจัญบานหนึ่งลำ เรือลาดตระเวณประจัญบานหนึ่ง และเรือพิฆาต 4 ลำ เพื่อขัดขวางกองเรือรุกรานของญี่ปุ่นในทะเลจีนใต้ทางเหนือของมาลายา กองกำลังปฏิบัติการเฉพาะกิจได้แล่นเรือโดยปราศจากการสนับสนุนทางอากาศ แม้ว่าอังกฤษได้ประจันหน้าอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มเรือผิวน้ำหนักของญี่ปุ่น กองกำลังได้ล้มเหลวในการค้นหาและทำลายกลุ่มเรือหลัก เมื่อพวกเขากลับมาถึงสิงคโปร์ พวกเขาถูกโจมตีในน้ำเปิดและจมลงโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์บิโดพิสัยไกล ผู้บัญชาการแห่งกองกำลังแซด พลเรือเอก เซอร์ ทอม ฟิลิป ได้เลือกให้คงวิทยุเงียบและไม่ส่งสัญญาณแจ้งเตือน(โดยรีพัลส์) จนกระทั่งหนึ่งชั่วโมงภายหลังการโจมตีครั้งแรกของญี่ปุ่น

ด้วยการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เพียงสองวันก่อนหน้า อีกด้านหนึ่งของเส้นแบ่งเขตวันสากล การสู้รบมาลายันได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการโจมตีทางอากาศต่อทรัพย์สินทางกองทัพเรือที่หนักที่สุด ถ้าพวกเขาไม่ได้รับการคุ้มกันทางอากาศ สิ่งนี้ได้เพิ่มความสำคัญให้กับเรือบรรทุกเครื่องบินสามลำของกองทัพเรือสหรัฐของฝ่ายสัมพันธมิตรในทะเลแปซิฟิก: ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์ เล็กซิงตัน และซาราโตกา การจมของเรือทั้งสองลำได้ทำให้กองเรือตะวันออกของอังกฤษในสิงคโปร์อ่อนแอลงอย่างหนัก และกองเรือญี่ปุ่นได้เข้าต่อสู้รบโดยเรือดำน้ำเท่านั้น จนกระทั่งยุทธนาวีที่เอ็นเดา วันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1942 สิงคโปร์เองได้ตกเป็นของญี่ปุ่นเพียงหนึ่งเดือนต่อมาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ นำไปสู่การยอมจำนนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Paul S. Dull (2007), page 40
  2. 3 aircraft were shot down in the attack, 1 crash-landed later, and 2 scout aircraft failed to return from their missions.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

3°34′N 104°26′E / 3.567°N 104.433°E / 3.567; 104.433