ประเทศไทยใน พ.ศ. 2550
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 226 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 62 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยในปีนั้นได้เกิดเหตุการณ์สำคัญมากมาย ทั้งงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระขนมพรรษา 80 พรรษา โดยรัฐบาลได้จัดงานยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สยามมกุฎราชกุมาร: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร)
- นายกรัฐมนตรี: สุรยุทธ์ จุลานนท์ (รัฐประหาร)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง: คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
- ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ:
- สนธิ บุญยรัตกลิน (จนถึง 1 ตุลาคม)
- ชลิต พุกผาสุข (รักษาการ) (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
- รัฐสภา: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: มีชัย ฤชุพันธุ์ (แต่งตั้ง)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 23 (เริ่ม 23 ธันวาคม)
- ประธานศาลฎีกา:
- ปัญญา ถนอมรอด (จนถึง 30 กันยายน)
- วิรัช ลิ้มวิชัย (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม – เกิดเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549
- 10 มกราคม – พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ คมช. พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้เชิญผู้บริหารสื่อซึ่งมีทั้งสื่อโทรทัศน์และวิทยุ จำนวนประมาณ 50 คน จากสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง และผู้บริหารสถานีวิทยุของรัฐรวมทั้งสถานีวิทยุชุมชน มาร่วมหารือที่กองบัญชาการกองทัพบก โดยสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่อง วิทยุทุกสถานี ไม่แพร่ภาพกระจายเสียงข้อความหรือแถลงการณ์ของอดีตนายกรัฐมนตรี และแกนนำของพรรคไทยรักไทย
กุมภาพันธ์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (July 2014) |
มีนาคม
[แก้]- 7 มีนาคม – สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ยุติการออกอากาศ
- 8 มีนาคม – สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ดำเนินการออกอากาศเป็นวันแรก โดยเปลี่ยนชื่อมาจากสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และมีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้รับโอนกิจการมาดำเนินการต่อจากบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)
- 25 มีนาคม – ท่าอากาศยานดอนเมือง ได้เปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์อีกครั้ง หลังจากที่ได้ระงับการให้บริการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ก่อนที่จะได้รับยกฐานะเป็นท่าอากาศยานนานาชาติอีกครั้ง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555
เมษายน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (July 2014) |
พฤษภาคม
[แก้]- 30 พฤษภาคม – คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้นั่งบังลังก์อ่านคำพิพากษา เพื่อพิจารณายุบพรรคการเมืองบางพรรค อันเนื่องมาจากความผิดปกติในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 โดยคณะตุลาการได้มีมติตัดสินให้พรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีความผิดแต่อย่างใดจากกรณีสืบเนื่องมาจากการเลือกตั้ง แต่ในทางกลับกัน ก็มีมติตัดสินให้ยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย พร้อมกับกำหนดให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคทั้ง 4 พรรค เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันพิพากษาแล้วเสร็จ
มิถุนายน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (July 2014) |
กรกฎาคม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (July 2014) |
สิงหาคม
[แก้]- 8–18 สิงหาคม – การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 ที่กรุงเทพมหานคร
- 19 สิงหาคม – มีการจัดการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย
- 24 สิงหาคม – ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี 2550[1]
กันยายน
[แก้]- 16 กันยายน – เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินของสายการบินวัน-ทู-โก แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่โอจี 269 ซึ่งเดินทางมาจากท่าอากาศยานดอนเมือง แต่เมื่อถึงท่าอากาศยานภูเก็ตแล้ว เครื่องบินเกิดการไถลออกนอกรันเวย์(ทางวิ่ง) ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 90 ราย บาดเจ็บ 41 ราย
ตุลาคม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (July 2014) |
พฤศจิกายน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (July 2014) |
ธันวาคม
[แก้]- 1-8 ธันวาคม – มีการจัดงานพระราชพิธีมหามงคล เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550
- 6-15 ธันวาคม – จังหวัดนครราชสีมา เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 24
- 23 ธันวาคม – การเลือกตั้งปี 2550 นายสมัคร สุนทรเวช ชนะการเลือกตั้งทำให้ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ผู้เกิด
[แก้]กุมภาพันธ์
[แก้]- 15 กุมภาพันธ์ – เดนิส เจลีลชา คัปปุน นักแสดงชาวไทย
ตุลาคม
[แก้]- 18 ตุลาคม – ณัฐพัชร์ นิมจิรวัฒน์ นักแสดงชาวไทย
ผู้เสียชีวิต
[แก้]มกราคม
[แก้]- 3 มกราคม – สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) พระราชาคณะชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2469)
- 8 มกราคม – จูหลิง ปงกันมูล ครูชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2522)
- 13 มกราคม – สุข สูงสว่าง นักธุรกิจชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2475)
- 16 มกราคม – โชคชัย โชคอนันต์ นักร้องชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2494)
- 21 มกราคม
- รักษ์ ปันยารชุน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (เกิด พ.ศ. 2457)
- ปรีชา เฉลิมวณิชย์ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (เกิด พ.ศ. 2481)
- 22 มกราคม – พระครูบรรณสารโกวิท (แป สุปญฺโญ) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2461)
- 26 มกราคม – พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน) พระราชาคณะชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2472)
- 29 มกราคม – หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร ตำรวจชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2478)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 1 กุมภาพันธ์ – เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2480)
- 7 กุมภาพันธ์ – ประมาณ ชันซื่อ อดีตประธานศาลฎีกา (เกิด พ.ศ. 2479)
- 11 กุมภาพันธ์ – วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2480)
- 19 กุมภาพันธ์ – เหี่ยวฟ้า นักแสดงตลกชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2478)
- 20 กุมภาพันธ์ – ศักดา โมกขมรรคกุล องคมนตรี (เกิด พ.ศ. 2480)
มีนาคม
[แก้]- 5 มีนาคม – สมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา นักดนตรีชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2456)
- 8 มีนาคม – หม่อมเจ้าอุษารดี สวัสดิวัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2457)
- 12 มีนาคม – สุวิทย์ วัดหนู นักพัฒนาชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2495)
- 19 มีนาคม – บุญชู โรจนเสถียร อดีตรองนายกรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2464)
- 23 มีนาคม – ปราโมทย์ สุขุม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (เกิด พ.ศ. 2483)
- 30 มีนาคม – ดีเด่น เก่งการุณ นักมวยสากลชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2521)
เมษายน
[แก้]- 15 เมษายน – สุวัฒน์ วรดิลก นักเขียนชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2466)
- 16 เมษายน – พระครูจ้อย จนฺทสุวณฺโณ พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2456)
- 18 เมษายน – กิตติ อัครเศรณี ผู้กำกับการแสดงชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2483)
พฤษภาคม
[แก้]- 12 พฤษภาคม – พูนศุข พนมยงค์ อดีตคู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (เกิด พ.ศ. 2455)
- 14 พฤษภาคม – เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2472)
- 21 พฤษภาคม – สาคร ยังเขียวสด ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2465)
- 29 พฤษภาคม – พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน) พระสงฆ์ (เกิด พ.ศ. 2472)
- 30 พฤษภาคม – เกษม ศิริสัมพันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (เกิด พ.ศ. 2475)
มิถุนายน
[แก้]- 8 มิถุนายน – เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์ พิธีกรชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2486)
- 13 มิถุนายน – สมพร อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (เกิด พ.ศ. 2484)
- 25 มิถุนายน – ธิรดา สนิทวงศ์ชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี (เกิด พ.ศ. 2508)
กรกฎาคม
[แก้]- 2 กรกฎาคม – ทองใบ เรืองนนท์ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2469)
- 13 กรกฎาคม – ท้วม ทรนง นักแสดงชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2469)
- 23 กรกฎาคม – ปรียา ฉิมโฉม นักผังเมืองชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2458)
กันยายน
[แก้]- 15 กันยายน – รัตน์ ศรีไกรวิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (เกิด พ.ศ. 2460)
- 28 กันยายน – กิตติคุณ เชียรสงค์ นักร้องชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2500)
- 29 กันยายน – ธรณิศ ศรีสุข ตำรวจชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2520)
ตุลาคม
[แก้]- 10 ตุลาคม – พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร) พระราชาคณะชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2454)
- 19 ตุลาคม – นาม พูนวัตถุ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (เกิด พ.ศ. 2453)
พฤศจิกายน
[แก้]- 3 พฤศจิกายน – สมภพ ภิรมย์ สถาปนิกชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2459)
- 18 พฤศจิกายน – ทองหล่อ ไตรรัตน์ นักฟันดาบไทยชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2463)
- 23 พฤศจิกายน – ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา นักร้องชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2478)
- 24 พฤศจิกายน
- อุเทน เตชะไพบูลย์ นักธุรกิจชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2456)
- ศุภพร มาพึ่งพงศ์ ผู้บรรยายชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2489)
ธันวาคม
[แก้]- 2 ธันวาคม – เปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2475)
- 3 ธันวาคม – พิทักษ์ รังสีธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง (เกิด พ.ศ. 2485)
- 6 ธันวาคม – วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ นักเคลื่อนไหวชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2498)
- 9 ธันวาคม – ปาณรวัฐ กิตติกรเจริญ นักร้องชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2525)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Panel passes final draft of new Thai constitution, paving way for referendum, elections Associated Press, 6 July 2007
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]