สยามใน พ.ศ. 2475
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ประเทศไทยใน พ.ศ. 2475)
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 151 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 8 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับเป็นปี พ.ศ. 2474 (1 มกราคม - 31 มีนาคม) และ 2475 (1 เมษายน - 31 ธันวาคม) ในแบบปัจจุบัน ปีนี้เป็นปีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นปีที่มีการยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์: สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (9 เมษายน – 8 พฤษภาคม)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง: คณะราษฎร (24 – 28 มิถุนายน)
- หัวหน้าคณะราษฎร: พระยาพหลพลพยุหเสนา (24 – 28 มิถุนายน)
- ประธานคณะกรรมการราษฎร: พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (อิสระ) (28 มิถุนายน – 10 ธันวาคม)
- นายกรัฐมนตรี: พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (อิสระ) (ตั้งแต่ 10 ธันวาคม)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชั่วคราว (เริ่ม 28 มิถุนายน)
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (แต่งตั้ง) (28 มิถุนายน – 1 กันยายน)
- เจ้าพระยาพิชัยญาติ (แต่งตั้ง) (ตั้งแต่ 2 กันยายน)
- อธิบดีศาลฎีกา: พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี
- เจ้าผู้ครองประเทศราช
- นครเชียงใหม่: เจ้าแก้วนวรัฐ
- นครลำพูน: เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
เหตุการณ์
[แก้]มิถุนายน
[แก้]- 12 มิถุนายน – คณะราษฎรประชุมวางแผนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ที่บ้านร้อยโทประยูร ภมรมนตรี โดยมีเป้าหมายควบคุมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร
- 24 มิถุนายน – การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475: คณะราษฎรดำเนินการปฏิวัติยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะราษฎร
- 27 มิถุนายน – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
- 28 มิถุนายน
- มีการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามธรรมนูญการปกครองประเทศชั่วคราวครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม โดยมีสมาชิก 70 คน โดยแต่งตั้งจากคณะราษฎร 31 คน และจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในระบอบเดิม 39 คน
- พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานคณะกรรมการราษฎรคนแรกของไทย
- เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานสภาผู้แทนราษฎร คนแรกของไทย
- หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ดำรงตำแหน่งเป็น เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร คนแรกของไทย
- มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 7 นาย ซึ่งในคณะกรรมการมีเพียงหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นสมาชิกในคณะราษฎรเพียงคนเดียว
สิงหาคม
[แก้]- 25 สิงหาคม – พระยานิติศาสตร์ไพศาล จดทะเบียนจัดตั้ง "สมาคมคณะราษฎร" อาจถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองแรกของไทย
ธันวาคม
[แก้]- 9 ธันวาคม – พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ลาออกจากตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการราษฎร
- 10 ธันวาคม
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 แก่คณะราษฎร (ฉบับชั่วคราวประกาศใช้เมื่อ 27 มิถุนายน 2475)
- พระยามโนปกรณ์นิติธาดา กลับมาดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการราษฎร (นายกรัฐมนตรี) ตามรัฐธรรมนูญ
- นิยายเรื่องผู้ชนะสิบทิศของยาขอบลงตีพิมพ์ครั้งแรก ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติ
วันเกิด
[แก้]มีนาคม
[แก้]- 1 มีนาคม - สุวรรณี สุคนธา นักเขียนชาวไทย (ถึงแก่กรรม 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527)
- 24 มีนาคม - พระญาณสิทธาจารย์ (วิ.) พระสงฆ์ชาวไทย (มรณภาพ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558)
- 27 มีนาคม - สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักวิชาการชาวไทย
เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน - นิสสัย เวชชาชีวะ นักการเมืองชาวไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)
- 5 เมษายน - อดุลย์ ดุลยรัตน์ นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย (ถึงแก่กรรม 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)
- 8 เมษายน - นคร ถนอมทรัพย์ ศิลปินแห่งชาติ
- 11 เมษายน - วุฒิ สุโกศล นักการเมืองชาวไทย
- 28 เมษายน
- พระญาณวิศิษฏ์ (ทอง จนฺทสิริ) พระสงฆ์ชาวไทย (มรณภาพ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559)
- สกุล ศรีพรหม นักการเมืองชาวไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2547)
พฤษภาคม
[แก้]- 5 พฤษภาคม - วัชรินทร์ เกตะวันดี นักการเมืองชาวไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557)
- 15 พฤษภาคม - ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย
- 20 พฤษภาคม - ณรงค์ วงษ์สวรรค์ ('รงค์ วงษ์สวรรค์) นักเขียนชาวไทย (ถึงแก่กรรม 15 มีนาคม พ.ศ. 2552)
- 21 พฤษภาคม
- สมบุญ ระหงษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 23 กันยายน พ.ศ. 2556)
- สำเภา ประจวบเหมาะ นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
มิถุนายน
[แก้]- 7 มิถุนายน - สีเทา เพ็ชรเจริญ นักแสดงตลกชาวไทย (ถึงแก่กรรม 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- 24 มิถุนายน - สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม 6 มกราคม พ.ศ. 2562)
- 30 มิถุนายน - บุญยง วัฒนพงศ์ นักการเมืองชาวไทย (ถึงแก่อนิจกรรม พ.ศ. 2539)
กรกฎาคม
[แก้]- 1 กรกฎาคม - อำนวย วีรวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี (ถึงแก่อนิจกรรม 18 เมษายน พ.ศ. 2566)
- 12 กรกฎาคม - หม่อมเจ้าเมรี สวัสดิวัตน์ (สิ้นชีพิตักษัย 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561)
- 17 กรกฎาคม - เกษม ศิริสัมพันธ์ นักการเมืองชาวไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550)
- 21 กรกฎาคม
- สมชัย วุฑฒิปรีชา นักการเมืองชาวไทย
- ชนะ ศรีอุบล นักแสดงชาวไทย (ถึงแก่กรรม 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539)
- 23 กรกฎาคม - อุทัย แก้วละเอียด ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563)
สิงหาคม
[แก้]- 5 สิงหาคม - ประเวศ วะสี นักวิชาการไทยและผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ
- 9 สิงหาคม - อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีไทยและผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ
- 10 สิงหาคม - อารีย์ นักดนตรี ศิลปินแห่งชาติ
- 12 สิงหาคม - สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็น สมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- 19 สิงหาคม - บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 23 เมษายน พ.ศ. 2559)
- 29 สิงหาคม - ดำรง ลัทธพิพัฒน์ นักการเมืองชาวไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528)
กันยายน
[แก้]- 6 กันยายน - พิจิตร กุลละวณิชย์ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- 24 กันยายน - หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี (ถึงแก่อนิจกรรม 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543)
- 25 กันยายน - รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง (ถึงแก่กรรม 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549)
- 29 กันยายน - พนัส สิมะเสถียร นักการเมืองชาวไทย
ตุลาคม
[แก้]- 18 ตุลาคม
- วีระ ปิตรชาติ นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 19 มีนาคม พ.ศ. 2544)
- เปี๊ยก โปสเตอร์ ศิลปินแห่งชาติปี พ.ศ. 2558
- 25 ตุลาคม - เปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติปี พ.ศ. 2529 (ถึงแก่กรรม 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550)
พฤศจิกายน
[แก้]- 4 พฤศจิกายน - ท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ นักการเมืองและนักธุรกิจชาวไทย (ถึงแก่กรรม 5 เมษายน พ.ศ. 2545)
- 10 พฤศจิกายน - พิศิษฐ์ ศาลิคุปต์ นักการเมืองชาวไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)
ธันวาคม
[แก้]- 25 ธันวาคม - พจน์ สะเพียรชัย นักการเมืองชาวไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
ผู้เสียชีวิต
[แก้]มกราคม
[แก้]- 16 มกราคม - หลวงปู่ไข่ อินทสโร พระคณาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเชิงเลน
- 28 มกราคม - หม่อมเจ้าสวัสดิ์ นิลรัตน พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา
เมษายน
[แก้]- 8 เมษายน - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ พระราชโอรสพระองค์ที่ 44 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
พฤษภาคม
[แก้]- 5 พฤษภาคม - หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ ประสูติแต่ หม่อมเสงี่ยม บุตรีพระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร)
- 18 พฤษภาคม - หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
มิถุนายน
[แก้]- 4 มิถุนายน - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยาลังการ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแส
- 18 มิถุนายน - หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ กิติยากร พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
กรกฎาคม
[แก้]- 14 กรกฎาคม - พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ จางวางพิเศษพระราชวังบางปะอิน พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์
- 19 กรกฎาคม - พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) พระภิกษุฝ่ายเถรวาท คณะธรรมยุติกนิกาย
- 21 กรกฎาคม - เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ข้อ ในรัชกาลที่ 5
กันยายน
[แก้]- 7 กันยายน - พระยาราชสีหยศ (หม่อมราชวงศ์เพิก ดารากร) พระโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ
- 20 กันยายน - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญจนากร พระราชธิดาพระองค์ที่ 64 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสังวาลย์
ตุลาคม
[แก้]- 10 ตุลาคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา พระราชโอรสพระองค์ที่ 51 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด
- 30 ตุลาคม - เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5 บุตรีคนที่ 6 ของเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ที่เกิดแต่ท่านผู้หญิงสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (อิ่ม)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- แม่เจ้าบัวไหล - ราชเทวีในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 22 และแม่เจ้าหลวงแห่งนครแพร่