ประเทศไทยใน พ.ศ. 2566
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) ในประเทศไทย
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
- นายกรัฐมนตรี:
- ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รวมไทยสร้างชาติ)[a] (จนถึง 22 สิงหาคม)
- เศรษฐา ทวีสิน (เพื่อไทย) (ตั้งแต่ 22 สิงหาคม)
- สภาผู้แทนราษฎร:
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- ชวน หลีกภัย (ประชาธิปัตย์) (จนถึง 20 มีนาคม)
- วันมูหะมัดนอร์ มะทา (ประชาชาติ) (ตั้งแต่ 5 กรกฎาคม)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 12
- ประธานวุฒิสภา: พรเพชร วิชิตชลชัย (แต่งตั้ง)
- ประธานศาลฎีกา:
- โชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ (จนถึง 30 กันยายน)
- อโนชา ชีวิตโสภณ (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 8 มกราคม – พระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 3 รอบ 8 มกราคม 2566
กุมภาพันธ์
[แก้]- 4 - 6 กุมภาพันธ์ – กองทัพบกร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, การกีฬาแห่งประเทศไทย, กระทรวงวัฒนธรรม จัดงานวันมวยไทย Amazing Muaythai Festival 2023 ณ พื้นที่อุทยานราชภักดิ์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีกิจกรรมไหว้ครูและแสดงมวยไทยด้วยจำนวนคนที่มากที่สุดในโลกและได้รับบันทึกสถิติโลกกินเนสส์[1]
- 22 กุมภาพันธ์ – ศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของกนกวรรณ วิลาวัลย์ตลอดชีวิต และพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนับตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นวันที่ศาลสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่[2]
มีนาคม
[แก้]- 10 มีนาคม – อุบัติเหตุทางรังสีที่ปราจีนบุรี: วัตถุกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” สูญหายไปจากโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในอำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี[3][4]
- 20 มีนาคม – พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรมีผลบังคับใช้ ทำให้สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง[5]
- 22 มีนาคม – เกิดเหตุกราดยิงในจังหวัดเพชรบุรีทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย[6]
พฤษภาคม
[แก้]- 4-7 พฤษภาคม – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อทรงร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสถาปนาสมเด็จพระราชินีคามิลลา[7] นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรัชสมัยของพระองค์
- 6 พฤษภาคม – วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครบ 100 ปี
- 14 พฤษภาคม – การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566[8][9]
- 18 พฤษภาคม – การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 : พรรคก้าวไกลและพรรคร่วมรัฐบาลอันได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคประชาชาติ แถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีและจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU)[10] ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่นำมาใช้ตั้งรัฐบาลในการเมืองไทย[11]
- 22 พฤษภาคม – การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 : พรรคก้าวไกลและพรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรค อันได้แก่ พรรคเพื่อไทย, พรรคไทยสร้างไทย, พรรคประชาชาติ, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคเป็นธรรม, พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคเพื่อไทรวมพลัง แถลงข่าวลงนาม MOU จัดตั้งรัฐบาล 8 พรรค
- 23 พฤษภาคม – ที่สัปปายะสภาสถาน ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมนัดประท้วง สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 เพื่อกดดันกรณีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566
- 29 พฤษภาคม – ที่อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ เกิดเหตุนักเรียนใช้มีดแทงเพื่อน[12]เสียชีวิตที่โรงเรียนศรีรัตนวิทยา นับเป็นเหตุฆาตกรรมในโรงเรียนโดยผู้ก่อเหตุอายุน้อยกว่า 15 ปี ครั้งที่สองของประเทศในรอบ 3 ปี 5 เดือน 1 สัปดาห์[13]
กรกฎาคม
[แก้]- 3 กรกฎาคม –
- รัฐพิธีเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26[14]
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ[15]
- 10 กรกฎาคม – เกิดเหตุสะพานข้ามแยกที่กำลังก่อสร้างถล่มบริเวณเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 รายและมีผู้บาดเจ็บ 13 ราย[16]
- 11 กรกฎาคม – พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศวางมือจากตำแหน่งทางการเมือง[17]
- 12–16 กรกฎาคม – ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์เอเชีย 2023 ที่สนามกรีฑาสถานแห่งชาติ
- 13 กรกฎาคม – การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 : การลงมติในครั้งแรกไม่สามารถหาบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ จึงต้องจัดการลงมติรอบที่ 2[18]
- 16 กรกฎาคม – กลุ่มคาร์ม็อบ (CarMob) นำโดยอานนท์ นำภา ได้ทำการประท้วงเพื่อกดดันสมาชิกวุฒิสภา[19]
- 19 กรกฎาคม –
- ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์หยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[20]
- การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 : การลงมติในครั้งที่ 2 ไม่สามารถหาบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ จึงต้องจัดการลงมติรอบที่ 3[21]
- กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมได้ทำการประท้วงโดยจัดกิจกรรม "19 กรกฎา วันฌาปนกิจ ส.ว." ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย[22]
- 23 กรกฎาคม – การชุมนุมประท้วงของกลุ่มม็อบพร้อม (#พร้อม) ครั้งที่ 1 ที่แยกอโศกมนตรี นำโดยสมบัติ บุญงามอนงค์[23]
- 29 กรกฎาคม –
- การชุมนุมประท้วงของกลุ่มม็อบพร้อม (#พร้อม) ครั้งที่ 2 ที่แยกอโศกมนตรีและแยกราชประสงค์[24]
- เหตุระเบิดที่โกดังดอกไม้ไฟในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส[25]
สิงหาคม
[แก้]- 2 สิงหาคม
- พรรคเพื่อไทยประกาศถอนตัวจาก MOU และได้มีแถลงการณ์ขอถอนตัวจากความร่วมมือจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคก้าวไกลและขอเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลใหม่นำโดยเศรษฐา ทวีสินและจะไม่มีพรรคก้าวไกลร่วมรัฐบาล[26]
- เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส สส.บัญชีรายชื่อ อดีตสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทยได้ให้การสนับสนุนและเข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทยเพื่อจัดตั้งรัฐบาลโดยไม่มีพรรคก้าวไกล[27] และพรรคพลังสังคมใหม่ได้ให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน
- แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมได้จัดกิจกรรม "แห่มาลัยวิวาห์คล้องใจ 8 พรรค" พร้อมกับคาร์ม๊อบเพื่อทำการประท้วงพรรคเพื่อไทย[28]
- 3 สิงหาคม – นครชัย ขุนณรงค์ สิ้นสุดสภาพผู้แทนราษฎรเนื่องจากลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26[29] ส่งผลให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในพื้นที่เขต 3 ของจังหวัดระยอง
- 6 สิงหาคม – วัชรเรศร วิวัชรวงศ์ หรืออดีตหม่อมเจ้าวัชรเรศร มหิดล พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว นิวัติประเทศไทยในรอบ 27 ปี[30] หลังจากไปพำนักในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ โดยมีกำหนดการอยู่ในประเทศไทย 1 สัปดาห์
- 12 สิงหาคม – จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ หรืออดีตหม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว นิวัติประเทศไทยในรอบ 27 ปี[31] หลังจากไปพำนักในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ
- 21 สิงหาคม – พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล 11 พรรค อันได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ, พรรครวมไทยสร้างชาติ, พรรคภูมิใจไทย, พรรคชาติไทยพัฒนา, พรรคประชาชาติ, พรรคชาติพัฒนากล้า, พรรคเพื่อไทรวมพลัง, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคพลังสังคมใหม่, พรรคท้องที่ไทย และพรรคใหม่ ได้แถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาล 11 พรรค ภายใต้การนำของเศรษฐา ทวีสินจากพรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรี[32][33]
- 22 สิงหาคม
- ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23 เดินทางกลับประเทศไทยหลังจากลี้ภัยทางการเมืองเมื่อ 15 ปีก่อน
- การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566: การลงมติครั้งที่ 3 มีผลมติให้ เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ด้วยคะแนน 482 เสียง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันเดียวกัน[34]
- 23 สิงหาคม – พิธีรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่[35]
- 24 สิงหาคม – เศรษฐา ทวีสิน เข้าพบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำเนียบรัฐบาล นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ที่นายกรัฐมนตรีซึ่งเพิ่งได้รับการแต่งตั้ง เข้าพบนายกรัฐมนตรีผู้พ้นจากตำแหน่งแล้ว[36][37]
- 31 สิงหาคม – มีพระบรมราชโองการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้อภัยโทษแก่นายทักษิณ ชินวัตร คงเหลือโทษจำคุก 1 ปี
กันยายน
[แก้]- 1 กันยายน – หนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวันยุติการพิมพ์ถาวร
- 10 กันยายน – มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2566 ผลปรากฎว่า พงศธร ศรเพชรนรินทร์ ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกลสามารถเอาชนะนายแพทย์บัญญัติ เจตนจันทร์ จากพรรคประชาธิปัตย์ไปได้ [38]
- 26 กันยายน – คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันนวมินทรมหาราช[39]
ตุลาคม
[แก้]- 3 ตุลาคม – เกิดเหตุกราดยิงที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย[40]และมีผู้บาดเจ็บ 4 ราย[41]นับเป็นเหตุฆาตกรรมในกรุงเทพมหานครที่ผู้ก่อเหตุอายุน้อยกว่า 14 ปี 2 สัปดาห์ครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ
- 7 ตุลาคม – เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงประณามกลุ่มฮะมาสผ่านเอ็กซ์[42]จากเหตุสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566
- 9 ตุลาคม
- ได้มีการปล่อยดาวเทียมธีออส-2ขึ้นสู่วงโคจร
- กองทัพบกได้จัดกิจกรรม รด. จิตอาสา 3 แสนนาย “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันนวมินทรมหาราช จัดขึ้นโดยนักศึกษาวิชาทหารที่มีจำนวน 316,000 นายทั่วประเทศ
ธันวาคม
[แก้]- 4 ธันวาคม – วัชรเรศร วิวัชรวงศ์ หรืออดีตหม่อมเจ้าวัชรเรศร มหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง[43][44][45]
- 5 ธันวาคม
- เหตุการณ์รถทัวร์กรุงเทพฯ-นาทวี ตกถนนชนต้นไม้ ในพื้นที่ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 14 คน และเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 12 ปี อีกด้วย [46]
- หนังสือพิมพ์กีฬาสยามรายวัน เริ่มจัดจำหน่าย (ใช้ทีมงานเดิมของหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน)[47]
- 13 ธันวาคม – ละครเรื่อง “พรหมลิขิต” สร้างสถิติ ยอดดูสดออนไลน์สูง 1.7 ล้านวิว ติดอันดับ 2 ของโลก[48]
- 20 ธันวาคม – ชัยธวัช ตุลาธน สส. บัญชีรายชื่อ และ หัวหน้าพรรคก้าวไกล รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร[49][50]
ผู้เสียชีวิต
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม – อุดม แดงโกเมน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2467)
- 2 มกราคม – เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เจ้านายราชวงศ์เชียงใหม่ (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2472)
- 3 มกราคม – วัยโรจน์ พิพิธภักดี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2484)
- 10 มกราคม – พระเทพมงคลวัชราจารย์ (เหลือง ฉนฺทาคโม) อดีตเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (เกิด 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2470)
- 18 มกราคม – อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนที่ 23 (เกิด 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 5 กุมภาพันธ์ – นุกูล ประจวบเหมาะ รัฐมนตรีว่าการการกระทรวงคมนาคมคนที่ 35 (เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2472)
- 14 กุมภาพันธ์ – ดวงเพชร พรหมเทพ นักฟุตบอลหนึ่งใน 13 คนในทีมหมูป่า อะคาเดมี่ ที่เคยประสบภัยในเหตุการณ์ติดถ้ำหลวงในจังหวัดเชียงราย (เกิด 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)[51]
- 17 กุมภาพันธ์ – ยุทธ อังกินันทน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนที่ 61 (เกิด 6 เมษายน พ.ศ. 2479)
มีนาคม
[แก้]- 24 มีนาคม – สุรสีห์ ผาธรรม ศิลปินมรดกอีสาน (เกิด 17 มีนาคม พ.ศ. 2491)
- 31 มีนาคม – ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ (เกิด 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511)
เมษายน
[แก้]- 16 เมษายน – บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (เกิด 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2499)
- 18 เมษายน – อำนวย วีรวรรณ รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 58 (เกิด 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2475)
- 19 เมษายน – สุพิชชา ปรีดาเจริญ นักร้อง (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2546)
พฤษภาคม
[แก้]- 5 พฤษภาคม - ธนัท ตันอนุชิตติกุล ประธานบริษัท การ์ตูนคลับมีเดีย จำกัด (เกิด 4 มีนาคม พ.ศ. 2528)
- 7 พฤษภาคม – วิจิตร สุขมาก รัฐมนตรีว่าการการกระทรวงกลาโหมคนที่ 30 (เกิด 18 มิถุนายน พ.ศ. 2476)
มิถุนายน
[แก้]- 8 มิถุนายน – พระราชวัชรรังษี (เอี่ยม สิริวณฺโณ) อดีตรักษาการเจ้าอาวาสวัดประดู่ในทรงธรรม (เกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2476)
- 13 มิถุนายน – อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนที่ 27 (เกิด 6 ตุลาคม พ.ศ. 2485)
- 21 มิถุนายน – ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีคนที่ 59 (เกิด 1 มิถุนายน พ.ศ. 2508)
- 28 มิถุนายน
- ทัศนีย์ บุณยคุปต์ อดีตครูใหญ่โรงเรียนจิตรลดา (เกิด 9 กันยายน พ.ศ. 2465)
- สนั่น ทั่วทิพย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศคนที่ 17 (เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482)
- 29 มิถุนายน
- พระพรหมวชิราลังการ (ชลอ กิตฺติสาโร) อดีตเจ้าคณะภาค 4–5–6–7 ธรรมยุต (เกิด 27 มกราคม พ.ศ. 2472)
- อรุณ สวัสดี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505)
กรกฎาคม
[แก้]- 13 กรกฎาคม – ชาตรี ชมมงคล (พนม นพพร) นักร้องเพลงลูกทุ่ง (เกิด 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2489)
- 21 กรกฎาคม – สมนึก ทองมา (ชลธี ธารทอง) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงลูกทุ่ง-ประพันธ์) (เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ. 2480)
สิงหาคม
[แก้]- 3 สิงหาคม – พูนสวัสดิ์ มูลศาสตรสาทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมคนที่ 5 (เกิด 11 ธันวาคม พ.ศ. 2482)
- 7 สิงหาคม – นิธิ เอียวศรีวงศ์ ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ไทย (เกิด 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2483)
- 12 สิงหาคม – อุเทน บุญยงค์ นักแสดง (เกิด 4 กันยายน พ.ศ. 2489)
- 14 สิงหาคม – เพชร โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพคนที่ 5 (เกิด 21 สิงหาคม พ.ศ. 2497)
- 21 สิงหาคม – จารึก อารีราชการัณย์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (เกิด 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475)
กันยายน
[แก้]- 6 กันยายน – ศิวกร สายบัว ตำรวจ (เกิด 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534)
- 8 กันยายน – สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตกรรมการป้องกันและปราปรามทุจริตแห่งชาติ (เกิด 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2483)
- 26 กันยายน – วณี สมประสงค์ นางสาวสยาม พ.ศ. 2478 (เกิด 3 เมษายน พ.ศ. 2464)
- 30 กันยายน – วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนที่ 46 (เกิด 22 ธันวาคม พ.ศ. 2477)
ตุลาคม
[แก้]- 22 ตุลาคม – อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรีคนที่ 18 (เกิด 6 มีนาคม พ.ศ. 2490)
- 28 ตุลาคม – วิริยะ จุลมกร (มานพ อัศวเทพ) นักแสดง (เกิด 16 ตุลาคม พ.ศ. 2480)
พฤศจิกายน
[แก้]- 16 พฤศจิกายน – เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่ 17 (เกิด 11 กันยายน พ.ศ. 2480)
- 17 พฤศจิกายน – ตฤณ เรืองกิจรัตนกุล นักจัดรายการวิทยุ (เกิด 30 มกราคม พ.ศ. 2530)
- 20 พฤศจิกายน – หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน คู่สมรสอดีตนายกรัฐมนตรี (เกิด 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2479)
- 23 พฤศจิกายน – อนันต์ ฉายแสง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนที่ 28 (เกิด 20 มกราคม พ.ศ. 2471)
- 24 พฤศจิกายน
- พระราชมงคลวัชราจารย์ (พัฒน์ ปุญฺญกาโม) อดีตเจ้าคณะตำบลธารทหาร (เกิด 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2465)
- พระเทพมงคลวชิรมุนี (หา สุภโร) อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธรรมยุติ) (เกิด 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2468)
- ชลอ เกิดเทศ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์คนที่ 14 (เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2481)
- 25 พฤศจิกายน – วิชัย สุริยุทธ อดีตตำรวจ (เกิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2489)
- 29 พฤศจิกายน – วิจิตร สุวิทย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481)
ธันวาคม
[แก้]- 5 ธันวาคม – กฤตไท ธนสมบัติกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เกิด 10 มิถุนายน พ.ศ. 2537)
- 24 ธันวาคม – ดารุณี กฤตบุญญาลัย นักธุรกิจและนักแสดงหญิงชาวไทย (เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2492)
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ เป็นสมาชิกพรรคระหว่างวันที่ 9 มกราคม – 11 กรกฎาคม 2566
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Amazing Muaythai Festival 2023 ไหว้ครูมวยไทย บันทึกสถิติโลก". ประชาชาติ. February 6, 2023. สืบค้นเมื่อ February 19, 2023.
- ↑ ศาลฎีกาพิพากษาให้ ‘กนกวรรณ วิลาวัลย์’ ภูมิใจไทย พ้น รมช.ศึกษาฯ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไป
- ↑ "ซีเซียม : ทำความรู้จักโรงไฟฟ้าไอน้ำในปราจีนบุรีที่ซีเซียม-137 สูญหาย แต่กลับ "ไม่แจ้งในทันที". บีบีซีไทย. March 20, 2023. สืบค้นเมื่อ March 21, 2023.
- ↑ "สรุปปมพบ 'ซีเซียม 137' ที่สูญหาย". workpointtoday. March 20, 2023. สืบค้นเมื่อ March 21, 2023.
- ↑ "ในหลวง โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร มีผลทันทีวันนี้". www.thairath.co.th. 2023-03-20.
- ↑ "สรุป 15 ชั่วโมง กราดยิงเพชรบุรี ไทม์ไลน์สังเวย 3 ศพ". ไทยรัฐออนไลน์. March 22, 2023. สืบค้นเมื่อ April 20, 2023.
- ↑ "ประกาศสำนักพระราชวัง 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2566" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-03. สืบค้นเมื่อ 2023-05-05.
- ↑ "Thailand sets May 7, 2023 as the tentative date of next general election".
- ↑ "Election Commission sets May 7 as date for next general election". Bangkok Post.
- ↑ "เลือกตั้ง 66 'พิธา' นำแถลง 8 พรรค ตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยของประชาชน 22 พ.ค.นี้ เปิด MOU". Workpoint Today. 2023-05-18. สืบค้นเมื่อ 2023-05-23.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : แก้ ม. 112-นิรโทษกรรมคดีการเมือง นโยบายก้าวไกลที่หายไปจาก MOU ตั้งรัฐบาล 8 พรรค". BBC Thai. 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-05-23.
- ↑ อัปเดต สั่งปิดโรงเรียน! คลิปว่อน นักเรียนตีกันใช้มีดแทงเพื่อน ตาย 1 เจ็บ 3
- ↑ นักเรียน ม.1 ยิงเพื่อนเสียชีวิตในโรงเรียน ปมถูกกลั่นแกล้ง
- ↑ "ราชกิจจานุเบกษา "ในหลวง" โปรดเกล้าฯ เรียกประชุมรัฐสภา 3 ก.ค. 2566". ไทยรัฐ. 2023-06-24. สืบค้นเมื่อ 2023-06-24.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เคาะเก็บค่าโดยสาร 'สายสีเหลือง' 3 ก.ค.นี้". ไทยโพสต์.
- ↑ "สะพานถล่ม: สะพานข้ามแยกถล่มย่านลาดกระบัง เสียชีวิต 2 ราย อาจสูญหายใต้ซากอีกหลายคน". BBC News ไทย. 2023-07-10.
- ↑ "Thailand caretaker PM and ex-coup leader Prayut to quit politics". CNA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-11.
- ↑ "ออกหนังสือ เรียกประชุมรัฐสภา โหวตนายกรัฐมนตรี 19 ก.ค.นี้". PPTV Online. 2023-07-15.
- ↑ "คาร์ม็อบพรึบกรุง-จี้สว.ลาออก". ข่าวสดออนไลน์ ไทย. 2023-07-10.
- ↑ "ด่วน ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องหุ้นสื่อ "พิธา" พร้อมสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ทันที". ไทยรัฐ. 2023-07-19. สืบค้นเมื่อ 2023-07-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โหวตนายก : "วันนอร์" เผย โหวตนายกครั้งต่อไป 27 ก.ค.นี้". PPTV Online. 2023-07-19.
- ↑ "ม็อบ 19 กรกฎาคม 2566 หลังศาลรัฐธรรมนูญสั่ง"พิธา"หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส." สปริงนิวส์. 2023-07-20.
- ↑ "บรรยากาศการชุมนุม "ม็อบพร้อม" ที่สี่แยกอโศก ท่ามกลางสายฝน". โพสต์ทูเดย์. 2023-07-23.
- ↑ "ม็อบปักหลักราชประสงค์ แปรอักษร 'ห' พร้อมอ่านแถลงการณ์เปิดความหมาย". เดลินิวส์. 2023-07-29.
- ↑ https://www.aljazeera.com/news/2023/7/29/several-killed-in-thailand-firework-warehouse-explosion
- ↑ "ด่วนที่สุด!'เพื่อไทย'แถลงการณ์ ฉีกMOU-ตั้งรัฐบาลใหม่ไม่มี'ก้าวไกล'!!!". มติชน. 2023-08-02.
- ↑ ""เสรีพิศุทธ์" ยินดีร่วมงาน "พท." สอน "ก้าวไกล" ต้องยอมรับ เพราะรวมเสียงข้างมากไม่ได้". ไทยรัฐ. 2023-08-02.
- ↑ ""แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" เปิดเส้นทางคาร์ม็อบ2สิงหา66". สยามรัฐ. 2023-08-02.
- ↑ 'ไอซ์ ก้าวไกล' ยื่นลาออก สส. แล้ว เคยต้องโทษคดีลักทรัพย์
- ↑ "ท่านอ้น: วัชเรศร วิวัชรวงศ์ เปิดใจสื่อต่างชาติ กลับไทยครั้งแรกใน 27 ปี "เหมือนฝันที่เป็นจริง"". BBC News ไทย. 2023-08-08.
- ↑ "'ท่านอ่อง' น้องชาย 'ท่านอ้น' เดินทางกลับไทยอีกคน มาไหว้ 'เสด็จทวด-เสด็จปู่ ร.9'". มติชน. 2023-08-13.
- ↑ ‘เพื่อไทย’ แถลงจัดตั้งรัฐบาล 11 พรรค 314 เสียง มาครบทั้ง 2 ลุง ‘พลังประชารัฐ-รวมไทยสร้างชาติ’ พร้อมเปิดโควต้ารัฐมนตรี 35 ที่นั่ง
- ↑ เริ่มแล้ว! ‘เพื่อไทย’นำ 11 พรรคร่วมรัฐบาลแถลงตั้งรัฐบาล เสนอชื่อ ‘เศรษฐา’ นั่งนายกฯ
- ↑ "โปรดเกล้าฯ เศรษฐา เป็นนายกฯคนที่ 30 เตรียมอันเชิญพระบรมราชโองการ". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-08-23.
- ↑ "นายกฯ คนที่ 30: เศรษฐา ทวีสิน รับพระราชโองการ ประกาศ "4 ปีแห่งความเปลี่ยนแปลง"". บีบีซีไทย. 2023-08-23. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "นายกฯ คนที่ 30 "เศรษฐา ทวีสิน" ถึงทำเนียบรัฐบาล เข้าพบ "พล.อ.ประยุทธ์" แล้ว". www.thairath.co.th. 2023-08-24.
- ↑ "บันทึกประวัติศาสตร์ ครั้งแรกในรอบ 91 ปี 2 นายกฯ ส่งไม้ต่อบริหารประเทศ". thansettakij. 2023-08-24.
- ↑ ""พิธา" ชี้กระดุมเม็ดแรก "ก้าวไกล" ชนะเลือกตั้งซ่อม สส.เขต 3 ระยอง". Thai PBS.
- ↑ "ครม.เห็นชอบประกาศให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็น'วันนวมินทรมหาราช'". แนวหน้า. 26 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สุดยื้อ 'หนุงหนิง' แฟนคลับ 'นนท์-GOT7' เหยื่อเด็ก 14 เสียชีวิตแล้ว". สืบค้นเมื่อ 13 October 2023.
- ↑ "เหตุยิงสยามพารากอน: เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 5 ในเหตุคนร้ายใช้อาวุธยิงกลางห้างพารากอน". BBC News ไทย. 2023-10-03.
- ↑ นายกฯ ประณามการโจมตีอิสราเอลไร้มนุษยธรรม ทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บ
- ↑ ‘ท่านอ้น’ เตรียมเดินทางมาไทยครั้งที่ 2 เป็นการส่วนตัว ‘พรุ่งนี้’ - มติชน
- ↑ “ท่านอ้น” ถึงวันนี้ ทำภารกิจวันพ่อ กลับไทยครั้ง 2 ในรอบปี พำนัก 14 วันขอท่องเที่ยว - ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ ท่านอ้น วัชเรศร เดินทางมาไทยรอบ 2 กลับมาถึงพรุ่งนี้ - ข่าวสดออนไลน์
- ↑ "รถทัวร์กรุงเทพฯ-นาทวี ตกถนนชนต้นไม้ที่ประจวบฯ ดับ 14 คน". Thai PBS.
- ↑ สยามกีฬา คัมแบ็ควางแผงในชื่อ "กีฬาสยาม" เล่มละ 20 บาท - ผู้จัดการออนไลน์
- ↑ ทุบแล้วทุบอีก! “พรหมลิขิต” สร้างสถิติ ยอดดูสดออนไลน์สูง 1.7 ล้านวิว แรงติดเทรนด์โลก อันดับ 2
- ↑ "'ชัยธวัช ตุลาธน' รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร". THE STANDARD. 2023-12-20.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ "ชัยธวัช'" ผู้นําฝ่ายค้านคนที่ 10 มติบอร์ดค่าจ้างยันขึ้นอัตราเดิม (คลิป)". www.thairath.co.th. 2023-12-21.
- ↑ "อาลัย "น้องดอม" 1 ใน 13 หมูป่า ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตที่อังกฤษ". pptvhd36. 2023-02-15. สืบค้นเมื่อ 2023-02-15.