พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช | |
---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 7 กันยายน พ.ศ. 2428 |
สิ้นพระชนม์ | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2477 (48 ปี) |
ภรรยา | ชายา หม่อมเจ้าวิไลกัญญา ภาณุพันธุ์ หม่อม หม่อมแผ่ว หม่อมมาลี หม่อมอรุณ หม่อมพเยาว์ |
ราชสกุล | ภาณุพันธุ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช |
พระมารดา | หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา |
รับใช้ | กองทัพบกสยาม |
---|---|
ชั้นยศ | ร้อยโท |
นายร้อยโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช (7 กันยายน พ.ศ. 2428 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2477) อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระโอรสในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประสูติแต่หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประสูติแต่หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2428 เมื่อประสูติมีพระอิสริยยศที่ หม่อมเจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ ทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนรอตทิงดีน ระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์ และระดับปริญญาตรี สาขาวิชากฎหมายและการปกครองที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แล้วเสด็จกลับมาทรงรับราชการที่กรมเสนาธิการทหารบก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา หม่อมเจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ และเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2443 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ จากนั้นพระองค์ทรงย้ายไปรับราชการที่กรมยุทธศึกษาทหารบก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี[1][2] และวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช ทรงศักดินา 11000[3]
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีต่อไป[4] โดยทรงดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[5]
พระองค์ประชวรด้วยพระโรคพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2477 สิริพระชันษา 48 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศมณฑป แว่นฟ้า 2 ชั้นเป็นเกียรติยศ[6] และพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2478[7]
พระโอรส-ธิดา
[แก้]พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวิไลกัญญา ภาณุพันธุ์ (ราชสกุลเดิม เทวกุล; พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2460 โดยรับพระราชทานน้ำมหาสังข์จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[8] นอกจากนี้ยังมีหม่อมอีกหลายคน ได้แก่ หม่อมแผ่ว, หม่อมอรุณศรี (สกุลเดิม เพ็งเอี่ยม), หม่อมมาลี (สกุลเดิม สุขเจริญ), หม่อมพเยาว์ (สกุลเดิม นายนันท์) มีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้
- สวรรณา วิชัยรัตน์ (7 เมษายน พ.ศ. 2460 – 6 กันยายน พ.ศ. 2559) ประสูติแต่หม่อมแผ่ว ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อสมรสกับเจริญ วิชัยรัตน์
- หม่อมเจ้าภาณุเทวัญ (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2464)[9] ประสูติแต่หม่อมเจ้าวิไลกัญญา
- หม่อมเจ้าพันธุ์ภาณุ ภาณุพันธุ์ (ประสูติ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2467; สิ้นชีพิตักษัยแล้ว) ประสูติแต่หม่อมอรุณ
- รองศาสตราจารย์ประภาพันธุ์ กรโกสียกาจ (3 ธันวาคม พ.ศ. 2472 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2563) ประสูติแต่หม่อมมาลี ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อสมรสกับพลอากาศตรีโกสีย์ กรโกสียกาจ
- หม่อมเจ้าอรุณแสงไข ภาณุพันธุ์ (2 มิถุนายน พ.ศ. 2474 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556) ประสูติแต่หม่อมอรุณ
- หม่อมเจ้าสุริยพันธุ์ ภาณุพันธุ์ (ประสูติ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2474; สิ้นชีพิตักษัยหลังจบชั้นมัธยมปลายได้ไม่นาน) ประสูติแต่หม่อมมาลี
- หม่อมเจ้านิพัทธพันธุพงศ์ ภาณุพันธุ์ (ประสูติ 11 กันยายน พ.ศ. 2475; สิ้นชีพิตักษัยแล้ว) ประสูติแต่หม่อมพเยาว์
- แพทย์หญิงพันธุ์วโรภาส เศวตรุนทร์ (ประสูติ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2476) ประสูติแต่หม่อมมาลี ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อสมรสกับนายแพทย์ชูช่วง เศวตรุนทร์
- หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ (ประสูติ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2476) ประสูติแต่หม่อมพเยาว์
พระเกียรติยศ
[แก้]พระอิสริยยศ
[แก้]- หม่อมเจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ (7 กันยายน พ.ศ. 2428 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 – 12 เมษายน พ.ศ. 2443)[10]
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ (12 เมษายน พ.ศ. 2443 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466)[11]
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 – 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2477)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2466 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[12]
- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2451 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 5 (ร.จ.ท.5)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
เข็มพระราชทาน
[แก้]- พ.ศ. 2454 - เข็มข้าหลวงเดิม[15]
ราชตระกูล
[แก้]พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช |
พระชนก: สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา | |||
พระชนนี: หม่อมแม้น บุนนาค |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ท่านผู้หญิงกลิ่น | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ท่านผู้หญิงอ่วม |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ไมมีข้อมูล | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล |
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชพิธีตั้งองคมนตรี เล่ม ๓๓ หน้า ๑๑๓ วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,รายพระนามแลนามผู้ซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้งเปนองคมนตรี เล่ม ๓๓ หน้า ๑๑๕ วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๕๙
- ↑ "ประกาศสถาปนา เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (ง): 2604–2606. 25 พฤศจิกายน 2466. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี เล่ม ๔๒ หน้า ๒๗๑๔ วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๔๖๘
- ↑ ประกาศยกเลิก พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 200 วันที่ 17 กรกฎาคม 2475
- ↑ "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 51 (0 ง): 1606. 26 สิงหาคม 2477. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า 203
- ↑ สุรวงศ์ วัฒนศักดิ์, บรรณาธิการ. ๖๖ เจ้าฟ้าและสายราชสกุลแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล, 2548. 413 หน้า.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นชีพิตักษัย เล่ม 38 ตอน ง หน้า 762 วันที่ 19 มิถุนายน 2464
- ↑ "เลื่อนพระเกียรติยศหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10 (36): 394. 3 ธันวาคม 2436. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) (ความจริง พระองค์น่าจะได้รับการสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ ก่อน พ.ศ. 2436 แต่ยังไม่มีหลักฐานอ้างอิง) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศคำนำพระนามพระเจ้าวรวงษเธอ เล่ม ๑๗ แผ่นที่ ๓ หน้า ๑๗ วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๓
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๐ หน้า ๒๖๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ง, ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๑๘๙๕
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า เล่ม ๒๕ หน้า ๑๐๑๐ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๕๑
- ↑ พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ หน้า ๓๕๐ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔
- บรรณานุกรม
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดาใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 203. ISBN 974-221-818-8
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2428
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2477
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- ทหารบกชาวไทย
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ
- พระองค์เจ้าชาย
- พระองค์เจ้ายก
- กรมหมื่น
- ราชสกุลภาณุพันธุ์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- เสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินอาหาร
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์