พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี
พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี | |
---|---|
สิ้นพระชนม์ | ราว พ.ศ. 2370[1] |
พระภัสดา | กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ |
พระบุตร | พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนรินทรเทพ พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนเรนทรบริรักษ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก |
พระมารดา | พระน้องนางของพระอัครชายา |
พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี [อ่าน นะรินทอนเทวี] หรือ เจ้าครอกวัดโพธิ์ พระนามเดิม กุ (ไม่ปรากฏ — พ.ศ. 2370) เป็นพระธิดาลำดับที่ 6 ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติแต่พระกนิษฐาของพระอัครชายา (หยก)
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี มีพระนามเดิมว่า กุ เป็นพระกนิษฐาต่างพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น พระองค์เจ้ากุ[2] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระยศเปนพระเจ้าบรมวงษ์[3] สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีกุน จ.ศ. 1189 ตรงกับ พ.ศ. 2370 ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันอาทิตย์ แรม 14 ค่ำ เดือน 6 ปีชวด[4]
ถึงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้สถาปนาพระอัฐิเป็นกรมหลวงนรินทรเทวี[5]
กรมหลวงนรินทรเทวี มีพระสวามีชื่อหม่อมมุก ซึ่งต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ มีพระโอรส 2 พระองค์[6] คือ
และเจ้านายที่สืบเชื้อสายจากพระองค์ ถือว่าอยู่ในราชสกุลนรินทรกุล วังของพระองค์อยู่ติดกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) อีกทั้งขณะยังดำรงพระชนม์ชีพพระองค์ยังมิได้ทรงกรม ชาววังจึงเอ่ยพระนามว่า เจ้าครอกวัดโพธิ์ (เจ้าครอก เป็นคำที่ใช้เรียกเจ้านายที่ยังไม่ได้ทรงกรม)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพบบันทึกจำนวนหนึ่งเล่มสมุดไทย เมื่อ พ.ศ. 2451 โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยว่าผู้แต่งน่าจะเป็นกรมหลวงนรินทรเทวี และทรงตั้งชื่อหนังสือนี้ว่า "จดหมายเหตุความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่จุลศักราช ๑๑๒๙ ถึงจุลศักราช ๑๑๘๒ เป็นเวลา ๕๓ ปี"[7]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ กรมหลวงนรินทรเทวี | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- ไม่ปรากฏ : กุ
- พ.ศ. 2325 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้ากุ
- สมัยรัชกาลที่ 4 : พระเจ้าอัยยิกาเธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (สถาปนาพระอัฐิ)
- สมัยรัชกาลที่ 5 : พระเจ้าไปยิกาเธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (สถาปนาพระอัฐิ)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ↑ พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ : ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา (เชิงอรรถ ๑๒)
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 3-4
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๒๐. ถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมราชชนนี และกรมพระราชวังบวรที่สวรรคตแล้ว
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 8
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. สตรีสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, พ.ศ. 2547. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9527-87-9
- บรรณานุกรม
- เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) (11 สิงหาคม 2531). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2459). "พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2481). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) (11 กุมภาพันธ์ 2477). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 85. ISBN 978-974-417-594-6
ก่อนหน้า | พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช | กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี ครั้งที่ 1 (7 กันยายน พ.ศ. 2352 – 3 กันยายน พ.ศ. 2353) |
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี | ||
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี | กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี ครั้งที่ 2 (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 – พ.ศ. 2370) |
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี |