วงศ์อ้น
วงศ์อ้น ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนยุคต้น-ปัจจุบัน | |
---|---|
อ้นใหญ่ (Rhizomys sumatrensis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Rodentia |
วงศ์ใหญ่: | Muroidea |
วงศ์: | Spalacidae Gray, 1821 |
วงศ์ย่อยและสกุล | |
วงศ์อ้น (อังกฤษ: Bamboo rat) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์ฟันแทะวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Spalacidae (/สปา-ลา-ซิ-ดี/)
จัดเป็นสัตว์ฟันแทะขนาดกลาง มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับหนูตะเภาหรือตุ่น ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ต่างอันดับกัน มีการดำรงชีวิตคล้ายกับตุ่น คือ ขุดโพรงอยู่ใต้ดิน ในโพรงมีทางเข้าออกหลายทาง ซึ่งในโพรงนั้นเป็นแบ่งเป็นห้อง ๆ ทั้งที่อยู่อาศัย, เลี้ยงดูลูกอ่อน และเก็บสะสมอาหาร และไม่รวมฝูงกับสัตว์ฟันแทะในวงศ์อื่น กินอาหารจำพวกรากพืชชนิดต่าง ๆ และพืชบางประเภท เช่น ไผ่ ในเวลากลางคืน
มีลักษณะโดยรวม คือ มีขาสั้น มีหัวกะโหลกที่กลมสั้น มีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรง ฟันหน้าใหญ่ และดวงตาเรียวเล็ก กรงเล็บหน้าขยายใหญ่โตมากใช้สำหรับขุดดิน หูและหางมีขนาดเล็กมาก หรือบางชนิดไม่มีเลย
สัตว์ในวงศ์นี้ มีอายุการตั้งท้องแตกต่างออกไปตามแต่ละชนิด แต่ลูกอ่อนเมื่อเกิดออกมาตาจะยังไม่ลืม และขนจะยังไม่ปกคลุมลำตัว จะยังดูดนมแม่เป็นเวลาหลายเดือน ก่อนจะแยกออกไป แต่ในบางชนิด ก็จะแยกตัวออกไปทันที
พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ไซบีเรีย, เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออก, เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในทวีปแอฟริกา[1] [2]
แบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้ 3 วงศ์ 6 สกุล (ดูในตาราง) พบประมาณ 37 ชนิด[1] ในประเทศไทย พบทั้งหมด 3 ชนิด คือ อ้นใหญ่ (Rhizomys sumatrensis), อ้นกลาง (R. pruinosus) และอ้นเล็ก (Cannomys badius) ซึ่งทั้งหมดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[3] และอยู่ในวงศ์ย่อย Rhizomyinae[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Corbet, Gordon (1984). Macdonald, D., ed. The Encyclopedia of Mammals. New York: Facts on File. pp. 666–671. ISBN 0-87196-871-1.
- ↑ Norris, R.W. et al. (2004). "The phylogenetic position of the zokors (Myospalacinae) and comments on the families of muroids (Rodentia)". Molecular Phylogenetics and Evolution 31 (3): 972–978. doi:10.1016/j.ympev.2003.10.020. PMID 15120394.
- ↑ "สัตว์ป่าคุ้มครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-04. สืบค้นเมื่อ 2012-03-29.
- ↑ อ้น ๑ น.ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542