ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์เสือและแมว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วงศ์เสือและแมว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โอลิโกซีน - ปัจจุบัน
25–0Ma
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: สัตว์กินเนื้อ
Carnivora
อันดับย่อย: เฟลิฟอเมีย
Feliformia
วงศ์ใหญ่: Feloidea
Feloidea
วงศ์: เสือและแมว
Felidae
สกุลต้นแบบ
Felis
Linnaeus, 1758
วงศ์ย่อย
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วโลก
ชื่อพ้อง[2]
  • Euailuroida Kretzoi, 1929
  • Felinoidea Brunet, 1979
  • Feloidae Hay, 1930
  • Feloidea Simpson, 1931
  • Lyncina Gray, 1867

วงศ์เสือและแมว[3] เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภท เสือ, สิงโต, ลิงซ์ และแมว โดยทั้งหมดอยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) โดยปรากฏครั้งแรกในสมัยโอลิโกซีน เมื่อประมาณ 30 ล้านปีก่อน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Felidae[4]

ลักษณะ

[แก้]

ลักษณะเด่นของสัตว์ในวงศ์นี้ ตามลำดับตัวประกอบไปด้วยมัดกล้ามเนื้อที่ยืดหยุ่นและแข็งแรง หัวกลม ฟันพัฒนามาเพื่อเหมาะแก่การกัดกินเนื้อสัตว์ มีเขี้ยวขนาดใหญ่ยาวและแหลมคม 2 คู่ ใช้กัดสังหารเหยื่อ ส่วนฟันกรามมีลักษณะคมคล้ายใบมีดใช้สำหรับกัดฉีกเนื้อ สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า มีเล็บแหลมคมทุกนิ้ว ปกติเล็บจะถูกเก็บไว้ในซองเล็บ เวลาเดินเล็บจึงไม่สัมผัสกับพื้นดิน ครั้นเวลาจะใช้ต่อสู้หรือล่าเหยื่อ เล็บจะกางออกเป็นกรงเล็บได้ โดยอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อที่นิ้วเท้า ทำให้เล็บมีความแหลมคมใช้เป็นอาวุธได้ดีมาก ส่วนของเท้ามีการพัฒนา เพื่อการเดินด้วยปลายนิ้ว คล้ายกับการเต้นบัลเลต์ นิ้วเท้าและฝ่าเท้าเปลี่ยนรูปร่างเป็นปุ่มนิ้วและปุ่มฝ่าเท้า ซึ่งจะมีแผ่นหนังหนา ๆ หุ้มรองอยู่ ใช้สำหรับรับน้ำหนักตัว ส่วนส้นเท้าและข้อเท้ายกสูงเหนือพื้น เท้าหน้ามี 5 นิ้ว แต่นิ้วโป้งสั้นแบะแยกสูงกว่าอีก 4 นิ้ว คล้ายมือ จึงเหมาะต่อการตะปบคว้าเหยื่อ เท้าหลังมี 4 นิ้ว ขนาดเท่าๆ กัน รอยเท้าของสัตว์ในวงศ์นี้จึงปรากฏให้เห็นแต่รอยปุ่มนิ้ว และปุ่มกลม ๆ ข้างละ 4 นิ้วคล้ายกันเท้าหน้าและเท้าหลัง นอกจากนี้ใต้ฝ่าเท้า และร่องนิ้ว จะมีขนนุ่มปกคลุมทั่ว ทำให้การเคลื่อนที่เป็นไปได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็วและเงียบ ตามีขนาดใหญ่ ตำแหน่งของตาอยู่ด้านหน้าและใกล้กัน ทำให้การมองภาพ มีประสิทธิภาพสูง และการกะระยะแม่นยำ ใบหูกลมมีกล้ามเนื้อสำหรับขยับใบหู เพื่อปรับทิศทาง รับเสียงได้ และมีประสาทรับฟังเสียงดีมากการดำรงชีวิตของสัตว์วงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงอาศัยตากับหู เป็นสำคัญมากกว่าใช้จมูกดมกลิ่นอย่างสัตว์กินเนื้อประเภทอื่น นอกจากนี้ยังมีขนหนวดยาว และขนยาวที่ฝ่าเท้า ซึ่งเป็นเส้นขนที่มีเส้นประสาทควบคุม จึงรับความรู้สึกสัมผัสได้ดี ใช้ในการหาทิศทางในที่มืดได้เป็นอย่างดี [4]

กะโหลกของสิงโต ที่แสดงให้เห็นถึงเขี้ยวที่แหลม

การอนุกรมวิธานสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (บางข้อมูลแบ่งเป็น 3)[4] โดยแบ่งออกได้เป็น เสือขนาดเล็ก (Felinae) และเสือขนาดใหญ่ (Pantherinae) โดยแบ่งตามกล่องเสียงในลำคอ ซึ่งสามารถใช้เปล่งเสียงดังที่เรียกว่า คำราม ได้ และแรกเริ่มสัตว์ในวงศ์นี้ จะใช้สกุล Felis เป็นส่วนใหญ่ ก่อนที่จะแตกแขนงออกไปเป็นสกุลใหม่ตามการศึกษาเพิ่มเติม[4]

อนุกรมวิธาน

[แก้]
Felidae
Panthera lineage
Pantherinae
Felinae
Bay cat lineage
Caracal lineage
Ocelot lineage
Leopardus

Geoffroy's cat (L. geoffroyi)

Kodkod (L. guigna)

Oncilla (L. tigrina)

Andean mountain cat (L. jacobita)

Pampas cat (L. colocola)

Ocelot (L. pardalis)

Margay (L. wiedii)

Lynx lineage
Lynx
 †Machairodontinae 
 †Metailurini 
 †Dinofelis 

Dinofelis paleoonca

Dinofelis petteri

Dinofelis aronoki

Dinofelis barlowi

Dinofelis cristata

Dinofelis darti

Dinofelis diastemata

Dinofelis piveteaui

 †Metailurus 

Metailurus boodon

Metailurus major

Metailurus mongoliensis

Metailurus ultimus

 †Adelphailurus 

Adelphailurus kansensis

 †Stenailurus 

Stenailurus teilhardi

 †Yoshi[6] 

Yoshi garevskii

Yoshi minor

 †Tchadailurus 

Tchadailurus adei

 †Smilodontini 
 †Megantereon 

Megantereon cultridens

Megantereon ekidoit

Megantereon whitei

Megantereon hesperus

Megantereon inexpectatus

Megantereon microta

Megantereon nihowanensis

Megantereon vakhshensis

 †Smilodon 

Smilodon fatalis

Smilodon gracilis

Smilodon populator

 †Rhizosmilodon 

Rhizosmilodon fiteae[7]

 †Paramachairodus 

Paramachairodus maximiliani

Paramachairodus orientalis

Paramachairodus transasiaticus

 †Promegantereon 

Promegantereon ogygia[8]

 †Machairodontini 
 †Machairodus 

Machairodus alberdiae

Machairodus aphanistus

Machairodus horribilis

Machairodus laskerevi

Machairodus pseudaeluroides

Machairodus robinsoni

 †Miomachairodus 

Miomachairodus pseudaeluroides

 †Hemimachairodus 

Hemimachairodus zwierzyckii

 †Homotherini 
 †Amphimachairodus[8] 

Amphimachairodus kurteni

Amphimachairodus alvarezi

Amphimachairodus coloradensis

Amphimachairodus giganteus

Amphimachairodus kabir

 †Nimravides[8] 

Nimravides catacopsis

Nimravides galiani

Nimravides hibbardi

Nimravides pedionomus

Nimravides thinobates

 †Lokotunjailurus[8] 

Lokotunjailurus emageritus

Lokotunjailurus fanonei

 †Xenosmilus 

Xenosmilus hodsonae

 †Homotherium 

Homotherium ischyrus

Homotherium latidens

Homotherium serum

Homotherium venezuelensis

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 McKenna, Malcolm C.; Susan K. Bell (2000-02-15). Classification of Mammals. Columbia University Press. pp. 631. ISBN 978-0-231-11013-6.
  2. Mammal Species of the World, A Taxonomic and Geographic Reference, 3rd edition, 2005 ISBN 0801882214
  3. "บัญชีแนบท้าย ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-03-17. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "แมวลายหินอ่อน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-10-16.
  5. ชื่อไทยบางส่วนจาก รายชื่อเสือและแมว
  6. Spassov, Nikolai; Geraads, Denis (2015). "A New Felid from the Late Miocene of the Balkans and the Contents of the Genus Metailurus Zdansky, 1924 (Carnivora, Felidae)". Journal of Mammalian Evolution. 22: 45–56. doi:10.1007/s10914-014-9266-5.
  7. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-04. สืบค้นเมื่อ 2016-10-04.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Anton, Mauricio (2013). Sabertooth. Bloomington, Indiana: University of Indiana Press. ISBN 9780253010421.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]