วัฒนา เมืองสุข
วัฒนา เมืองสุข | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | อดิศัย โพธารามิก |
ถัดไป | ทนง พิทยะ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล |
ถัดไป | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ประชา มาลีนนท์ |
ถัดไป | ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา (2539-2543) ไทยรักไทย (2543-2550) เพื่อไทย (2554-2563) ไทยสร้างไทย (2564-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | พัชรา เจียรวนนท์ (แยกกันอยู่) |
สถานะทางคดี | ถูกคุมขัง |
พิพากษาลงโทษฐาน | ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่นและผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ[1] |
บทลงโทษ | จำคุก 50 ปี |
จำคุกที่ | เรือนจำกลางคลองเปรม |
วัฒนา เมืองสุข (เกิด 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2500) เป็นนักการเมืองและทนายความชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันต้องโทษจำคุก
ประวัติ
[แก้]วัฒนา เมืองสุข ชื่อเล่น ไก่ เกิดที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี บุตรของนายย้อม และ นางนวรัตน์ เมืองสุข ในครอบครัวของชนชั้นกลางที่พ่อแม่ประกอบอาชีพค้าขายและเกษตรกร และมีกิจการวิ่งรถโดยสารระหว่างจังหวัดนครนายกกับปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต เนติบัณฑิตไทย และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขากฎหมายเศรษฐกิจ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครด้วยการเป็นเด็กวัด ที่วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร[2] เขามีลูกนอกสมรส 4 คน[3]
ปัจจุบันผู้ต้องหา ตามคำตัดสินของ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง
ชีวิตครอบครัว
[แก้]วัฒนา สมรส กับ พัชรา เจียรวนนท์ บุตรสาวของนายสุเมธ เจียรวนนท์ ผู้บริหารเครือบริษัทซีพี ในขณะที่ประกอบอาชีพเป็นทนายความอยู่ โดยที่นางพัชราเป็นลูกความ ทำการสู่ขอถึงที่อาคารซีพีทาวเวอร์ ที่ถนนสีลม โดยที่นายวัฒนาเป็นเถ้าแก่เอง เมื่อปี พ.ศ. 2535 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 3 คน เป็นชาย 1 หญิง 2 [2]
การทำงาน
[แก้]วัฒนา เมืองสุข เริ่มทำงานเป็นทนายความ ประจำสำนักกฎหมายดิศญุตม์และวัฒนา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคชาติพัฒนา และปี พ.ศ. 2543 สังกัดพรรคไทยรักไทย จนได้รับตำแหน่งทางการเมือง ดังนี้
- พ.ศ. 2541 - 2542 เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์)
- พ.ศ. 2544 -2545 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
- พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[4]
- พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- พ.ศ. 2554 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 22 สังกัดพรรคเพื่อไทย[5]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 58[6]
- พ.ศ. 2562 ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส)[7]
ข้อวิจารณ์
[แก้]ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 เขาเสนอให้ยุบ ศาลปกครองศาลรัฐธรรมนูญ ให้กลายไปเป็นแผนกหนึ่งในศาลฎีกาเท่านั้น[8]โดยประเด็นนี้ทำให้สื่อมวลชนมองว่าพรรคเพื่อไทยมีความเป็นศัตรูกับ หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล
ในวันที่ 11 สิงหาคม 2557 ประยุทธ์ จันทร์โอชา พูดโดยระบุว่า รู้ไหมเมื่อปี 2553 วัฒนา อยู่ตรงกลางราชประสงค์ ประตูน้ำ เขานี่เหละเป็นคนต่อรองมาตลอดกับศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) อย่างงี้ อย่างงั้น เดี่ยวผมจะเลิก นั้นแหละคือเขา รู้ซะบ้าง ทั้งแก๊งนั้นแหละ เราก็โอเค ใครจะป่วยจะไข้ก็ดูแล หวังว่ามันคงจะเรียบร้อย ปรากฏว่า ความรุนแรงก็เกิดขึ้น ก็คนเหล่านี้รู้เรื่องทั้งหมด ผมถามว่าคุณจะเชื่อใคร เชื่อเขาหรือเชื่อผม ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าว[9]
ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559 เขาตกเป็นผู้ต้องหาในคดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยเจ้าหน้าที่ทหารเป็นผู้สั่งฟ้องและจับกุมในวันดังกล่าวก่อนที่จะนำตัวขึ้นศาลในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559[10] ศาลอนุมัติฝากขัง 12 วัน ก่อนที่เขาจะขอประกันตัวโดยวางเงินหนึ่งแสนบาท ศาลอนุญาตแต่ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ
ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559 ที่ จรัญ สังข์ศิริ คณะทำงานด้านกฎหมาย รับมอบอำนาจจากหัวหน้าคณะทำงานด้านกฎหมายส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย สำนักงานเลขาธิการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.สมนึก สันติภาคะนันท์ เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับนายวัฒนา เมืองสุข ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งที่ 39/2557 ว่าด้วยเรื่องห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่นายวัฒนาผิดเงื่อนไข เนื่องจากพยายามออกมาโพสต์เฟซบุ๊กตอบโต้การบริหารงานของรัฐบาลหลายครั้ง มีโทษจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[11] วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เขาเข้าร่วมกับกลุ่มนปช. สหรัฐอเมริกา[12] ในปีเดียวกัน ปปช.มีความเห็นให้ไต่สวนกรีณีทุจริตต่อหน้าที่ คดีบ้านเอื้ออาทร[13]ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560 ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี แจ้งความดำเนินคดี ตามพระราชบัญญัติ คอมพิวเตอร์ โดยกล่าวหาว่าเขานำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ[14]
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2560 มีบุคคลจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดนายวัฒนา เมืองสุข เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สมัยรัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร และอดีตรัฐมนตรีหลายสมัย กับพวก กรณีถูกกล่าวหาว่า ทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทร[15] วันที่ 21 ธ.ค. มีข่าวฉาวกับนักกิจกรรมทางสังคม ได้ฉายา พระเอกหนังเอ๊กซ์แห่งพรรคเพื่อไทย ภายใต้การสนับสนุน โดย บุญยอด สุขถิ่นไทย สมาชิก พรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศาลฎีกาฯ พิพากษายืนจำคุก "วัฒนา" 50 ปี คดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร
- ↑ 2.0 2.1 'ทนายไก่'คนเลือดร้อน
- ↑ เรื่องของคนโสดและรักนอกสมรสของ'ไก่เอื้ออาทร'ภรรยาผมชื่อ'พัชรา'
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ วัฒนา เมืองสุข โต้อภิสิทธิ์
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ มติชนออนไลน์ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 12:53 น.
- ↑ ยุบศาลปกครอง องค์กรอิสระ 'ระเบิดลูกใหม่' รัฐบาล
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-19. สืบค้นเมื่อ 2016-10-14.
- ↑ "ศาลให้'วัฒนา'ประกันตัว 1 แสนห้ามออกนอกประเทศ - คมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-03-03.
- ↑ ""วัฒนา" จ่อเจอคุก! คสช.แจ้งจับข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-21. สืบค้นเมื่อ 2016-04-21.
- ↑ "น.ป.ช. สหรัฐ-เยอรมัน-สวีเดนร่วมแถลงค้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-15. สืบค้นเมื่อ 2016-10-14.
- ↑ จ่อฟัน 'วัฒนา' เอี่ยวทุจริตบ้านเอื้ออาทร
- ↑ ‘ปอท.’เล็งดำเนินคดีพ.ร.บ.คอมพ์’วัฒนา เมืองสุข’ หลังโพสต์เฟซบุ๊กชี้’หมุดคณะราษฎรเป็นโบราณวัตถุ’
- ↑ ป.ป.ช.ฟันเงียบ‘วัฒนา’คดีบ้านเอื้ออาทร-อัยการยังไม่ฟ้องสำนวนไม่สมบูรณ์ตั้ง กก.ร่วม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
ก่อนหน้า | วัฒนา เมืองสุข | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อดิศัย โพธารามิก | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 54) (8 พฤศจิกายน 2546 – 11 มีนาคม 2548) |
ทนง พิทยะ | ||
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ครม. 55) (11 มีนาคม 2548 - 2 สิงหาคม 2548) |
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอประจันตคาม
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคไทยสร้างไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.