สิปปนนท์ เกตุทัต
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
สิปปนนท์ เกตุทัต | |
---|---|
ภาพในงานวันฉลอง 72 ปี ที่สยามสมาคม วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 23 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | นายอานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
ถัดไป | พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | นายอานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | นายประมวล สภาวสุ |
ถัดไป | นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | นายแพทย์บุญสม มาร์ติน |
ถัดไป | ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (75 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางเอมิลี แอนน์ เกตุทัต (คเลเวนเจอร์) |
ศาสตราจารย์ สิปปนนท์ เกตุทัต (23 กุมภาพันธ์ 2474[1] — 16 กรกฎาคม 2549) ราชบัณฑิตกิตตมศักดิ์[2] เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ทีมีคุณูปการต่อวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการพัฒนาประเทศไทยในภาพรวม ท่านเป็นผู้บุกเบิกหลายสิ่งในประเทศ ที่เป็นรากฐานทำให้เกิดองค์กรและโครงการที่ช่วยในการยกระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา ของประเทศมาโดยลำดับ ท่านมีผลงานเขียน ที่จุดประกายให้เยาวชนไทย และผู้บริหารการพัฒนาประเทศได้ใช้นำทางจำนวนมาก และในวาระที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท่านได้กราบทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อนำเอา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เวลา 13:08 น. ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยโรคมะเร็งในกระดูก รวมอายุ 75 ปี
ประวัติ
[แก้]ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต เป็นบุตรของ นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต (ทิพย์ เกตุทัต) และคุณหญิงถนอม ทะยานพิฆาต เกตุทัต (ถนอม ภมรสูต) และสมรสกับนางเอมิลี แอนน์ เกตุทัต (นามสกุลเดิม คเลเวนเจอร์) อดีตเลขานุการ สภาสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) โดยมีบุตรธิดา ดังนี้
- นายโทนิทิพย์ เกตุทัต สมรสกับ น.ส.เบ็ทซี โอลสัน มีธิดา 1 คน
- นางสาว นารีทร เกตุทัต
- รองศาสตราจารย์ ดร.มารินา เกตุทัต คาร์นส์ รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สมรสกับ ศาสตราจารย์ ดร.เจมส์ คาร์นส์ มีธิดา 2 คน
- นางสาว เอมิลิน เกตุทัต คาร์นส์
- นางสาว เจมินา เกตุทัต คาร์นส์
- นาง ธาริสา เกตุทัต อดีตผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป ร้านภูฟ้า โครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมรส กับ นาย โมฮัมมัด อาทีฟ มาจีด มีบุตร 1 คน
- ด.ช.โอเมอร์ ไฮเดอร์ เกตุทัต
การศึกษา
[แก้]- ประถมศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- มัธยมศึกษา โรงเรียนอำนวยศิลป์ โรงเรียนนันทนศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- พ.ศ. 2491 ประกาศนียบัตรเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- พ.ศ. 2496 B.S. ฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2497 A.M. ฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2500 Ph.D. นิวเคลียร์ฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- พ.ศ. 2500-2501 นักวิจัยหลังปริญญาเอก สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (M.I.T.)
- พ.ศ. 2503-2505 นักวิจัยสมทบ สถาบันวิจัยแห่งชาติอาร์กอนน์ สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2508-2509 นักวิจัยอเล็กซานเดอร์ ฟอน ฮุมโบลต์ สถาบันเอ็ดดวดซินเติล สถาบันเทคโนโลยีดาร์มสตัทต์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
- พ.ศ. 2519 ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 18
ได้รับทุนรัฐบาล (คุรุสภา) ไปศึกษาวิชาฟิสิกส์เป็นเวลา 9 ปี ตั้งแต่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2492 จนถึง 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท และเอก
ประสบการณ์ ผลงาน และตำแหน่งต่าง ๆ ที่สำคัญ
[แก้]ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต มีประสบการณ์และผลงานหลายด้าน และดำรงตำแหน่งที่สำคัญทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งกิจกรรมด้านสังคมจำนวนมาก ได้แก่
ตำแหน่งด้านวิชาการ
[แก้]- พ.ศ. 2501-2514 อาจารย์ตรี-รองศาสตราจารย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2514-2518 ศาสตราจารย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2524-2527 ศาสตราจารย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2530 ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานภาครัฐและการศึกษาของไทย
[แก้]- เลขานุการบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2509-2510)
- ผู้อำนวยการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัย สภาการศึกษาแห่งชาติ (2510-2515)
- ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 และเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย
- ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.)
- ประธานคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ดู สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
- ประธานคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย
- ประธานคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
- กรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
- รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- นายกสภามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยทักษิณ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยรังสิต
- กรรมการการศึกษาแห่งชาติ และ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
- กรรมการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
- กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- ประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- ประธานกรรมการ โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย
- ประธานคณะศึกษา “การศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์” ธนาคารกสิกรไทย
- ประธานกรรมการอำนวยการธนาคารสมอง มูลนิธิพัฒนาไท เก็บถาวร 2006-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
งานภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
[แก้]- ผู้จัดการใหญ่ บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (2527-2534)
- ประธานกรรมการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (2535-2537)
- ประธานกรรมการบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (2535-2537)
- ประธานกรรมการบริษัทไทยโอเลฟินส์ จำกัด (2535-2537)
- ประธานกรรมการบริษัทอะโรเมติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (2535-2537)
- กรรมการ Asian Development Research Forum, International Development Research Center
- ประธานกรรมการบริษัท เอ็ฟเฟ็กทีฟ แพลนเนอร์
- ประธานกรรมการ บริษัทเงินทุนบุคคลัภย์จำกัด (มหาชน)
- ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ประธานกรรมการบริษัทซิสเต็มลิตเติ้ลเฮ้าส์จำกัด Bangkok International Preperatory & Secondary School
งานด้านการเมือง
[แก้]- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]
- กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมาธิการการศึกษา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (2516-2518)
- ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการศึกษาและสังคม สภาปฏิรูปแห่งชาติ (2519-2520)
- ที่ปรึกษา คณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (2523)
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (2523)[4]
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (2523-2524)[5]
- สมาชิกวุฒิสภา (2526-2532, 2539-2543)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (2534-2535)[6][7]
งานด้านสังคม
[แก้]- กรรมการสภาสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)
- กรรมการมูลนิธิไทยคม
- ประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
- ประธานกรรมการทุนการศึกษาธนาคารสุมิโตโม-ซากุระ ประเทศไทย
- ประธานกรรมการมูลนิธิดำรง ลัทธพิพัฒน์
- ประธานกรรมการมูลนิธิโทเรเพื่อส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย
- ประธานกรรมการมูลนิธิอีริคสัน (ประเทศไทย)
- รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิควิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาใน พระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)
- ประธานกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการสมาคมฮาร์วาร์ด ประเทศไทย
- ที่ปรึกษา คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
- กรรมการทุนการศึกษาเครือเจริญโภคภัณฑ์
งานระดับนานาชาติ
[แก้]- รองผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาแห่ง เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีเมส) (2515-2517)
- กรรมการสภาสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียและกรรมการบริหาร (2518-2524)
- กรรมการสภาการศึกษาและพัฒนานานาชาติ นิวยอร์ก (2518-2529)
- ประธานสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาและคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ สิงคโปร์ (2521-2524)
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยออโตโนมัส กัวดาลาฮารา เม็กซิโก (2521-2527)
- กรรมการสถาบันวางแผนการศึกษานานาชาติ องค์การยูเนสโก (2523-2530)
- กรรมการสมาคมเอเซีย (2531-2536)
- กรรมการสถาบันนานาชาติเพื่อการศึกษา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (2534-2536)
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (2532-2537)
งานด้านให้คำปรึกษาแนะนำ
[แก้]- กรรมการ คณะที่ปรึกษาด้านการศึกษา ธนาคารโลก (2520-2521)
- กรรมการ คณะที่ปรึกษาด้านการวางแผนพัฒนาการศึกษา มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (2522-2524)
- ที่ปรึกษาด้านนโยบายวางแผนการศึกษาและพัฒนา องค์การพัฒนานานาชาติแห่งคานาดา (2525)
- ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและการพัฒนาสังคมพื้นที่บริเวณชาย ฝั่งทะเลตะวันออก (2525)
- ประธานคณะกรรมการการประเมินผลความร่วมมือระหว่างยูเนสโกและธนาคารโลกด้านการศึกษา (2526-2527)
- ที่ปรึกษาด้านการวางแผน กระทรวงวางแผน คูเวต (2542)
ประสบการณ์อื่น ๆ ในต่างประเทศ
[แก้]- ร่วมในคณะผู้แทนไทยและเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการไปประชุมนานาชาติด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม อุตสาหกรรม และการพัฒนา เป็นจำนวนมากกว่ายี่สิบครั้ง (2508-2544)
- ศึกษา วิจัย ดำเนินงาน ดูงาน ประชุมวิชาการ รวมทั้งทัศนศึกษา (2492-2544) รวมทั้งสิ้นประมาณ 60 ประเทศ ดังนี้คือ
- แถบอาเซีย: มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินล์ ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม ฮ่องกง มาเก๊า สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา
- แถบโอเชียเนีย: ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี
- แถบตะวันออกกลาง: บาห์เรน สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรต คูเวต การ์ตา ซีเรีย อิสราเอล
- แถบยุโรป: นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ รัสเซีย ตุรกี เยอรมนี สาธารณรัฐเชค สาธารณรัฐสโลวัค ออสเตรีย ฮังการี อังกฤษ ยูโกสลาเวีย สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส สเปน เบลเยี่ยม กรีซ ลักเซมเบิร์ก เนเทอแลนด์ โปรตุเกส
- แถบแอฟริกา: อียิปต์ เคนยา ทานซาเนีย แอฟริกาใต้
- แถบอเมริกา: สหรัฐอเมริกา คานาดา เม็กซิโก ปอร์เตอริโก บราซิล เวเนซูเอล่า อาร์เจนตินา พารากวัย
ผลงานวิจัย บทความวิชาการ และหนังสือ
[แก้](รวบรวมถึง 31 มีนาคม 2545)
- เอกสารที่ตีพิมพ์เป็นภาษาไทย รวม 225 เรื่อง ซึ่งเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา เทคโนโลยี วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สังคมสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา การวิจัยปิโตรเคมี อุตสาหกรรม การจัดการ รวมทั้งหนังสือโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษา
- รายชื่อหัวข้อเอกสารที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ รวม 100 เรื่อง ซึ่งเกี่ยวกับด้านการวิจัยทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์และฟิสิกส์ว่าด้วยของแข็ง ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
รางวัลและเกียรติคุณ
[แก้]- พ.ศ. 2492-2501 ได้รับทุนรัฐบาล (คุรุสภา) ไปศึกษา ณ สหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาตรี โท เอก และหลังปริญญาเอก
- พ.ศ. 2518 นักการศึกษาดีเด่น สมาคมการศึกษาไทย
- พ.ศ. 2537 นักเรียนรัฐบาลดีเด่น สมาคมนักเรียนรัฐบาลไทย
- พ.ศ. 2538 ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- พ.ศ. 2538 รางวัลมหิดลวิทยานุสรณ์
- พ.ศ. 2539 รางวัลบุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาสังคม คณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ
- พ.ศ. 2540 นักวิทยาศาสตร์อาวุโสดีเด่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2548 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาฟิสิกส์[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]สิปปนนท์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดตระกูลต่าง ๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[12]
ปริญญากิตติมศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2525 ปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ วิทยาลัยการทัพอากาศ
- พ.ศ. 2525 กศ.ด. กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2530 กศ.ด. กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- พ.ศ. 2535 วศ.ด. กิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- พ.ศ. 2535 ทษ.ด. กิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
- พ.ศ. 2537 วท.ด. กิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- พ.ศ. 2538 วท.ด. กิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- พ.ศ. 2538 กศ.ด. กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- พ.ศ. 2540 พบ.ด. กิตติมศักดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- พ.ศ. 2544 ปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ วิทยาลัยการทัพบก
- พ.ศ. 2544 กศ.ด. กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์สนเทศและหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เก็บถาวร 2015-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติของศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ราชบัณฑิต
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี, ศาสตราจารย์สิปปนนท์ เกตุทัต)
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-05-14.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี, ศาสตราจารย์สิปปนนท์ เกตุทัต)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๘๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๔ จากเว็บไชต์ thaiscouts
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รำลึกถึง ศ. ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต ครูของผม เก็บถาวร 2006-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2474
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2549
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ
- นักการศึกษาชาวไทย
- นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- นักฟิสิกส์ชาวไทย
- นักวิชาการชาวไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยทักษิณ
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์
- ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากวิทยาลัยการทัพอากาศ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากวิทยาลัยการทัพบก
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น