ข้ามไปเนื้อหา

พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาโกมารกุลมนตรี
(ชื่น โกมารกุล ณ นคร)
รองประธานวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พระยาสีหราชเดโชไชย
ก่อนหน้าพระยาอภิบาลราชไมตรี
ถัดไปพระยาอัชราชทรงสิริ
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม พ.ศ. 2472 – 9 เมษายน พ.ศ. 2475
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม
ถัดไปพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
ดำรงตำแหน่ง
21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2477
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา
ก่อนหน้าเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์
ถัดไปพระสารสาสน์พลขันธ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 สิงหาคม พ.ศ. 2434
เสียชีวิต31 มกราคม พ.ศ. 2504 (69 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงโสภาพรรณ โกมารกุล ณ นคร
บุตร10 คน
ลายมือชื่อ

มหาอำมาตย์เอก พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) (16 สิงหาคม พ.ศ. 2434 - 31 มกราคม พ.ศ. 2504) เป็นอดีตเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) มีศักดิ์เป็นหลานอาของเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร)

ประวัติ

[แก้]

พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2434 เป็นบุตรของนายพลพ่าย (ชวน โกมารกุล ณ นคร) และคุณจวง บุนนาค จบการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนสุขุมาลัย และที่โรงเรียนอุดมวิทยายน วัดอนงคาราม

รับราชการ

[แก้]

พระยาโกมารกุลมนตรี ได้เข้าฝึกราชการในกรมตรวจและกรมสารบาญชี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ต่อมาใน พ.ศ. 2452 ได้เป็นเสมียนในกรมตรวจและกรมสารบาญชี จากนั้นจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านวิชากฎหมายที่ประเทศอังกฤษจนจบการศึกษาและกลับเข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2460[1] และได้รับราชการในตำแหน่งพนักงานอัยการ สังกัดกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2462 โอนไปรับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในวันที่ 24 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2469 พระยาโกมารกุลมนตรีได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมบาญชีกลางแทน พระยาอนุรักษ์โกษา (ประเวศ อมาตยกุล) ที่ถึงแก่อนิจกรรมระหว่างดำรงตำแหน่ง[2]ภายหลังที่ได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมบาญชีกลางอยู่ประมาณ 3 ปี ก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2472 ต่อมา 1 เมษายน พ.ศ. 2473 ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังสมบัติ ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2475 จึงได้กราบถวายบังคมลาออก[3]

งานการเมือง

[แก้]

พ.ศ. 2476 ได้มีการก่อตั้งกระทรวงเศรษฐการ พระยาโกมารกุลมนตรีจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)[4] จนกระทั่งพ.ศ. 2477 ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง โดยอ้างเหตุผลว่าป่วย ไม่สามารถรับราชการได้เต็มที่[5]

ครอบครัว

[แก้]

พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) สมรสกับคุณหญิงโสภาพรรณ โกมารกุล ณ นคร เมื่อพ.ศ. 2461 มีบุตรธิดา 10 คน[6]

พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ 31 มกราคม พ.ศ. 2504 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 23 มีนาคม พ.ศ. 2504[7]

ยศ ตำแหน่ง และบรรดาศักดิ์

[แก้]
  • – อำมาตย์ตรี
  • – หลวงอรรถโกมลภารดี
  • 22 ธันวาคม 2463 – อำมาตย์เอก[8]
  • 13 กันยายน พ.ศ. 2467 มหาอำมาตย์ตรี พระยาโกมารกุลมนตรี[9]
  • 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 - อธิบดีกรมบัญชีกลาง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. นักเรียนหลวงเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
  2. แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (หน้า ๑๐๐๗)
  3. "มหาอำมาตย์เอก พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว. (สายโกมารกุล ณ นคร)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-16. สืบค้นเมื่อ 2015-05-12.
  4. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-12.
  5. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-12.
  6. "สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ ๗ สายพระยาประภากรวงศ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-17. สืบค้นเมื่อ 2015-05-12.
  7. "ประมวลโวหาร ของ พระยาโกมารกุลมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-12.
  8. พระราชทานยศ
  9. พระราชทานยศ
  10. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (74): 5655. 11 ธันวาคม 2494. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-28. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ง): 3099. 15 พฤศจิกายน 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2552. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (53 ง): 1399. 19 พฤษภาคม 2502. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-28. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2552. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
ก่อนหน้า พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) ถัดไป
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์
(หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ คนที่ 4
(21 มิถุนายน 2476 – 29 มีนาคม 2476)
พระสารสาสน์พลขันธ์
(ลอง สุนทานนท์)