วิชาญ มีนชัยนันท์
วิชาญ มีนชัยนันท์ | |
---|---|
วิชาญ ใน พ.ศ. 2561 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤษภาคม – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล |
ถัดไป | มานิต นพอมรบดี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2525–2543) ไทยรักไทย (2543–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | จินตนา มีนชัยนันท์ |
ญาติ | สุธี มีนชัยนันท์ (ลุง) ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ (หลาน) |
วิชาญ มีนชัยนันท์ (เกิด 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2503) อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 4 สมัย สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี 2 สมัย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ประวัติ
[แก้]นาย วิชาญ มีนชัยนันท์ เกิดวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 ที่เขตมีนบุรี (อำเภอมีนบุรีของจังหวัดพระนครในขณะนั้น) เป็นบุตรของนายไพฑูรย์-นางสุพัตรา มีนชัยนันท์ และหลานของ ดร.สุธี มีนชัยนันท์ มหาเศรษฐีที่ดินมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทของประเทศไทย ผู้นำชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน คหบดีเมืองมีนบุรี ประธานมูลนิธิกู้ภัยร่มไทร และ ประธานกิตติมศักดิ์ผู้ทรงเกียรติถาวรหอการค้าไทย-จีน[1]
นาย วิชาญ เป็นพี่ชายของ นาย วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 22[2] และ สก.มีนบุรี 4 สมัย และเป็นลุงของ นาย ศุภณัฐ มีนชัยนันท์[3] สส.กทม.เขต 9 พรรคประชาชน (อดีต พรรคก้าวไกล)
การศึกษา
[แก้]- ปริญญาโท - รัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาตรี - ศิลปศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ เอกบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ระดับมัธยมศึกษา - โรงเรียนเทพลีลา กรุงเทพมหานคร
- ประกาศนียบัตรหลักสูตรสถาบันพระปกเกล้า รุ่น 7 (ป.ป.ร.7)
- ประกาศนียบัตรหลักสูตรการจัดการมหานคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เข้าสู่งานการเมือง
[แก้]วิชาญเริ่มเข้าสู่การเมืองในระดับท้องถิ่น โดยรับตำแหน่งสมาชิกสภาเขตมีนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2528 - 2532 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2537 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตมีนบุรี 2 สมัยซ้อน (คะแนนสูงสุดในกรุงเทพฯ) และได้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 1 ในปี พ.ศ. 2541 ภายหลังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตมีนบุรีถึง 4 สมัย
พ.ศ. 2544 วิชาญลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 26 (เขตมีนบุรี-เขตคลองสามวา) ในนามพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.กทม. สมัยแรก
พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.กทม. เขต มีนบุรี สมัยที่ 2 และได้ทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2550 วิชาญได้รับเลือกเป็น ส.ส.กทม. เขต มีนบุรี สมัยที่ 3 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พรรคพลังประชาชน รวมทั้งรับตำแหน่ง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แทนนายไชยา สะสมทรัพย์ เนื่องจากนายไชยาถูกศาลตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี กรณีปิดบังบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของภรรยา
พ.ศ. 2554 วิชาญได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.กทม. เขต มีนบุรี สมัยที่ 4 พรรคเพื่อไทย
วิชาญ มีนชัยนันท์ ดำรงตำแหน่งประธานสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย และเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค[4]
การทำงาน
[แก้]ประสบการณ์ด้านการเมือง
[แก้]รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย
[แก้]- 24 กันยายน 2551 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในครม.ของ นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี (พ้นตำแหน่ง 2 ธันวาคม 2551)[5]
- 23 พฤษภาคม 2551 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในครม.ของ นาย สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี (พ้นตำแหน่ง 9 กันยายน 2551)[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี 4 สมัย (2544, 2548, 2550, 2554)
[แก้]สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี 4 สมัย (2544, 2548, 2550, 2554)
[แก้]รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕
- 3 กรกฎาคม 2554 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 17 สมัยที่4 พรรคเพื่อไทย
- 14 กันยายน 2553 รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (ลาออก เม.ย. 2554) ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย
- 7 ธันวาคม 2551 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย (ย้ายพรรค เนื่องจากพรรคพลังประชาชนถูกตัดสินยุบพรรค) และ ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย
- 23 ธันวาคม 2550 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 7 สมัยที่ 3 พรรคพลังประชาชน (102,247 คะแนน)
- 2 เมษายน 2549 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 25 พรรคไทยรักไทย (56,316 คะแนน) (โมฆะ)
- 22 เมษายน 2548 ประธานคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร
- 6 กุมภาพันธ์ 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต26 สมัยที่ 2 พรรคไทยรักไทย (73,744 คะแนน)
- 2547-2548 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอารีย์ วงศ์อารยะ)
- 2544-2548 รองประธานคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณประจำสภาผู้แทนราษฎร
- 2545 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
- 6 มกราคม 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 26 สมัยที่ 1 พรรคไทยรักไทย (43,274 คะแนน)
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตมีนบุรี 2 สมัย (2537-2542)
[แก้]- 2542 ประธานคณะอนุกรรมการวิสามัญเพื่อพิจารณางบประมาณของสำนักงาน เขตมีนบุรี, หนองจอก, ลาดกระบัง , คลองสามวา
- ประธานอนุกรรมการยกร่างกฎหมายบริหารส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร
- 2541-2542 อนุกรรมการช่วยเหลือประชาชนระดับเขตมีนบุรี
- 2541-2542 ประธานอนุกรรมการพิจารณางบประมาณสำนักระบายน้ำ
- 5 พฤษภาคม 2541 รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 1
- 26 เมษายน 2541 สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี สมัยที่ 2 พรรคประชาธิปัตย์
- 2539-2540 ประธานคณะทำงานติดตามงบประมาณ กรุงเทพมหานคร
- ประธานคณะอนุกรรมการวิสามัญเพื่อพิจารณางบประมาณของสำนักงาน เขตมีนบุรี, หนองจอก, ลาดกระบัง 1 (2539-2540)
- 6 มีนาคม 2537 สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี สมัยที่ 1 พรรคประชากรไทย
สมาชิกสภาเขต (ส.ข.) เขตมีนบุรี 2 สมัย (2528-2536)
[แก้]- 2528-2532 ประธานสภาเขตมีนบุรี
- 21 พฤศจิกายน 2528 สมาชิกสภา เขตมีนบุรี
ตำแหน่งหน้าที่
[แก้]- อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท พี วาย วิลล่า จำกัด
- อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนวงศ์ชัยนันท์ จำกัด
ประสบการณ์ด้านสังคม
[แก้]- ประธานอำนวยการรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธียกช่อฟ้าศาลาประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์จำลอง ณ วัดใหม่ลำนกแขวก กรุงเทพมหานคร
- ประธานคณะทำงาน TO BE NUMBER ONE
- อุปนายกสภากรรมการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ประธานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรม สน.มีนบุรี
- รองประธานมูลนิธิกู้ภัย ร่มไทร
- ประธานมูลนิธิคนรักเมืองมีน
- นายกสมาคมครูผู้ปกครองโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
- นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเทพลีลา
- กรรมการสมาคมครูผู้ปกครอง โรงเรียนเทพลีลา
- รองประธานคณะกรรมการการศึกษา โรงเรียนเทพลีลา
- อดีตประธานสภาวัฒนธรรมเมืองมีนบุรี
- อดีตประธานสภาวัฒนธรรมกลุ่มศรีนครินทร์
- ประธานจัดงานพิธีเบิกพระเนตรพระพุทธรูปจำลอง, พระพุทธรังสี สวัสดิรังสรรค์ ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 สำนักงานเขตมีนบุรี
- ประธานคณะกรรมการจัดงาน 100 ปี จังหวัดมีนบุรี
ประสบการณ์ด้านการต่างประเทศ
[แก้]- การบริหารจัดการระบบ ประเทศอเมริกา
- มลภาวะ, เตาเผาขยะ เนเธอร์แลนด์, ฟินแลนด์
- ด้านการบริหารเมืองนคร คุนหมิง ประเทศจีน
- การบริหารนคร ประเทศสแกนดิเนเวีย
- ระบบผังเมือง ออสเตรีย, เยอรมัน
- การบริหารเมือง ประเทศญี่ปุ่น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.thaicc.org/presidents/ดร-สุธี-มีนชัยนันท์/?lang=th
- ↑ [1]
- ↑ [2]
- ↑ คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย เก็บถาวร 2010-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แต่ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ได้ยื่นขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- http://politicalbase.in.th เก็บถาวร 2012-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.parliament.go.th เก็บถาวร 2010-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- [3][ลิงก์เสีย]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2503
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคประชากรไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเทพลีลา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์