นพดล ปัทมะ
นพดล ปัทมะ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (0 ปี 158 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | นิตย์ พิบูลสงคราม |
ถัดไป | เตช บุนนาค |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 เมษายน พ.ศ. 2504 อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2530—2548) ไทยรักไทย (2548—2550) พลังประชาชน (2550—2551) เพื่อไทย (2554—2559, 2561—ปัจจุบัน) |
ลายมือชื่อ | |
นพดล ปัทมะ (เกิด 23 เมษายน พ.ศ. 2504) รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2551ได้ยุติบทบาทอาชีพทนายความเพื่อเข้ารับตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและงานในพรรคพลังประชาชนตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค แต่ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าคำแถลงการณ์ร่วมเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190[1]
ประวัติและการศึกษา
[แก้]นพดล ปัทมะ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนโยธินบูรณะ ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง)จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นเดียวกับ สุรพล นิติไกรพจน์, อภิชาติ ดำดี, วสันต์ ภัยหลีกลี้, วิฑูรย์ นามบุตร, สมคิด เลิศไพฑูรย์, อัญชลี วานิช เทพบุตร และบุญสม อัครธรรมกุล[2] และนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ โดยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล พ.ศ. 2531 ต่อมาใน พ.ศ. 2533 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล และเนติบัณฑิตอังกฤษแห่งสำนักลินคอร์นอินน์ (Lincoln’s lnn) โดยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล พ.ศ. 2534
การทำงาน
[แก้]นพดล ปัทมะ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 ถึงปี พ.ศ. 2544 เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (2538-2539) เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (2542-2544) และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (2542-2544) ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ลงสมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 17 (เขตลาดพร้าว) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้ 17,823 คะแนน เป็นอันดับที่ 2 แพ้ นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์ ซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้ง จึงได้ตัดสินใจลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์
ต่อจากนั้นได้ย้ายเข้ามาร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทย และเข้ามารับหน้าที่กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ยงยุทธ ติยะไพรัช) ใน พ.ศ. 2549 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช (6 กุมภาพันธ์ - 14 กรกฎาคม 2551) แต่ก็ต้องลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบภายหลังจากที่ได้ลงนามคำแถลงการณ์ร่วมกับประเทศกัมพูชา ที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าคำแถลงการณ์ร่วมเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 14[3]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 14[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
กรณีลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา
[แก้]นายนพดล ปัทมะ ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินคดีตาม คดีหมายเลขดำ อม.3/2556[5] โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายนพดล ปัทมะ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ในกรณีที่นายนพดลไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ที่สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาไทย[6] โดยภายหลังศาลฏีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองมมติรับฟ้อง[7] เมื่อ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556 4 กันยายน 2558 - ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดอ่านคำพิพากษาในคดี ที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เป็นโจทห์ ยื่นฟ้อง นายนพดล ปัทมะ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมัยรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช เมื่อปี 2551 เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ในกรณีที่ นายนพดล ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย - กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน ปี 2551 สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาไทย
โดยนายนพดลได้เดินทางมาฟังคำพิพากษาด้วยตนเอง เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ามีความมั่นใจแค่ไหน นายนพดลได้หันมามองและพยักหน้าด้วยสี อมยิ้มเล็กน้อยและได้เดินเข้าไปยังศาล
อย่างไรก็ตามนายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย นายชวลิต วิชัยสุทธิ์ รักษาการรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย พร้อมส.ส.พื้นที่กรุงเทพมหานครเดินทางมาร่วมรับฟังและให้กำลังใจ
ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อ่านคำพิพากษาโดยมีมติ 6 ต่อ 3 ยกฟ้องนายนพดล ไม่มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 โดยให้เหตุผลว่า จำเลยไม่ได้มีเจตนาการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การลงนามแถลงการร่วมดังกล่าวมีความสมเหตุสมผลถูกต้องตามสถานการณ์ ไม่กระทบต่อสิทธิทางเขตแดนและการทวงคืนเขาพระวิหารในอนาคต
ทั้งนี้นายนพดลได้ให้สัมภาษณ์ว่า น้ำตาไหลตั้งแต่องค์คณะตุลาการได้อ่านคำพิพากษาตั้งแต่อ่านยังไม่จบ ซึ่งคดีนี้ใช้เวลานานมากว่า7ปี ที่ความจริงจะปรากฏ ตนรู้สึกดีใจและตื้นตันที่ได้รับความเป็นธรรมจากศาล และขอบคุณทุกคนที่มาให้กำลังใจ ขออโหสิกรรมให้ทุกคนที่เข้าใจตนผิดมาตลอด ว่ากล่าวหาตนขายชาติทำให้เสียดินแดนเขาพระวิหารไป และตนขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ จะไม่มีการฟ้องกลับ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรวมถึงนางรสนา โตสิตระกูล ทั้งยังนายสมชาย แสวงการที่กล่าวหาว่าตนและพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับประเทศกัมพูชา
นอกจากนี้จะไม่นำคำพิพากษาของศาลไปใช้ผลประโยชน์ทางการเมือง และตนไม่ได้คุยกับ พันตำรวจโททักษิณมาเป็นเวลานานแล้ว ไม่ได้คุยกันคดีนี้ จากนี้จะกลับไปพักผ่อนที่บ้านและไปทำบุญ ส่วนการเดินทางไปต่างประเทศนั้นยังไม่สามารถเดินทางไปได้เนื่องจากติดคำสั่ง พร้อมขอบคุณข้าราชการกระทรวงต่างประเทศที่มาเป็นพยานในคดี ซึ่งคำแถลงการณ์ร่วมแม้ว่าจะถูกโจมตีอย่างไรก็ตาม ก็พิสูจน์ได้ว่าคำแถลงการณ์ร่วมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสู้คดีที่ศาลโลก
อีกทั้ง วินิจฉัยว่าหนังสือแถลงการณ์ร่วมไม่ใช่หนังสือสัญญา หรือสนธิสัญญาจึงไม่อาจบอกได้ว่าจำเลยหลีกเลี่ยงการนำหนังสือไปให้รัฐสภาพิจารณา และอีกทั้งยังไม่ปรากฏหลังฐานว่านายนพดล และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับประโยชน์หนังสือสนธิสัญญานี้[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าคำแถลงการณ์ร่วมเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190[ลิงก์เสีย]
- ↑ มติชน. (2552). สมคิด เลิศไพฑูรย์ ผู้ชายคิดบวก. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินคดีตาม คดีหมายเลขดำ อม.3/2556
- ↑ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ในกรณีที่นายนพดลไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ศาลฏีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองมมติรับฟ้อง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-02. สืบค้นเมื่อ 2013-11-18.
- ↑ นพดล และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับประโยชน์หนังสือสนธิสัญญา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักวิชาการชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- บุคคลจากโรงเรียนโยธินบูรณะ
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์