เตียวเซีย
เตียวเซีย (จาง เช่า) | |
---|---|
張紹 | |
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 263 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
รองราชเลขาธิการ (尚書僕射 ช่างชูผูเช่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 263 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
บุพการี |
|
ญาติ |
|
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | เจิ้นกั๋ว (鎮國) |
บรรดาศักดิ์ |
|
เตียวเซีย[1] หรือ เตียวเจี๋ยว[2] ((ราว ค.ศ. 222-263) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า จาง เช่า (จีน: 張紹; พินอิน: Zhāng Shào) ชื่อรอง เจิ้นกั๋ว (จีน: 鎮國; พินอิน: Zhènguó) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน
ประวัติ
[แก้]เตียวเซียเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของเตียวหุยขุนพลผู้รับใช้ขุนศึกเล่าปี่ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและเป็นขุนพลของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก เตียวเซียยังเป็นน้องชายของเตียวเปาบุตรชายคนโตของเตียวหุย[a]
เนื่องจากเตียวเปาพี่ชายของเตียวเซียเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย เตียวเซียจึงได้สืบทอดบรรดาศักดิ์ซีเซียงโหว (西鄉侯) ของเตียวหุยผู้บิดาหลังเตียวหุยเสียชีวิตในปี ค.ศ. 221 เตียวเซียรับราชการเป็นขุนนางในรัฐจ๊กก๊ก ขึ้นมามีตำแหน่งสูงสุดเป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) และรองราชเลขาธิการ (尚書僕射 ช่างชูผูเช่อ)[4]
ในปี ค.ศ. 263 เตงงายขุนพลของวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของจ๊กก๊กนำกำลังทหารโจมตีจ๊กก๊ก เตงงายเอาชนะจูกัดเจี๋ยมขุนพลจ๊กก๊กได้ในการรบที่อำเภอกิมก๊ก (緜竹 เหมียนจู๋) เล่าเสี้ยนจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กทรงตัดสินพระทัยยอมจำนนต่อเตงงาย จึงทรงส่งเตียวเซียซึ่งเวลานั้นเป็นขุนนางมหาดเล็ก, เจาจิ๋วผู้เป็นที่ปรึกษาผู้ใหญ่ราชสำนัก (光祿大夫 กวางลู่ต้าฟู) และเตงเลียงผู้เป็นนายกองทหารม้าคุ้มกัน (駙馬都尉 ฟู่หม่าตูเว่ย์) ให้นำตราพระราชลัญจกรไปมอบให้เตงงายเพื่อขอยอมจำนน[5] ภายหลังเตียวเซียติดตามเล่าเสี้ยนเดินทางไปลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) นครหลวงของวุยก๊ก และได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักวุยก๊กให้มีบรรดาศักดิ์ระดับเลี่ยโหว (列侯)[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 63 ระบุว่าเตียวเซียเป็น "น้องเตียวหุย"[1] ความจริงแล้วแล้วเตียวเซียเป็น "น้องชายของเตียวเปา" และ "บุตรชายของเตียวหุย"[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ("ครั้นเวลาเช้างอปั้นนายทหารผู้ใหญ่รู้เนื้อความว่า ฮอมเกียงเตียวตัดฆ่าเตียวหุยเสียแล้วเอาสีสะไปให้ซุนกวน จึงคุมทหารไปติดตามก็มิทัน จึงกลับมาแต่งหนังสือมอบให้คนไปแจ้งแก่พระเจ้าเล่าปี่ แล้วคิดอ่านกับเตียวเปาตกแต่งเครื่องเส้นเตียวหุยสำเร็จแล้ว จึงให้เตียวเซียน้องเตียวหุยอยู่รักษาเมืองลองจิ๋ว ให้เตียวเปาไปเมืองเสฉวน ครั้นงอปั้นจัดแจงบ้านเมืองแล้วก็ยกตามเตียวเปาไป") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 21, 2024.
- ↑ ("ฝ่ายพระเจ้าเล่าเสี้ยนก็แต่งเจียวจิ๋วเตียวเจี๋ยวเตงเลียงสามนายให้คุมเครื่องบรรณาการ แลตราหยกสำหรับว่าราชการเมือง ออกไปคำนับเตงงายณเมืองปวยเสีย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 21, 2024.
- ↑ (當下吳班先發表章,奏知天子;然後令長子張苞具棺槨盛貯,令弟張紹守閬中,苞自來報先主,時先主已擇期出師。) สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 81.
- ↑ (次子紹嗣,官至侍中尙書僕射。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
- ↑ (謹遣私署侍中張紹、光祿大夫譙周、駙馬都尉鄧良奉繼印綬,請命告誠,敬輸忠款,存亡敕賜,惟所裁之。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 33.
- ↑ (尚書令樊建、侍中張紹、光祿大夫譙周、秘書令卻正、殿中督張通並封列侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 33.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
- ล่อกวนตง (คริสต์ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้).