เล่าตำ
เล่าตำ (หลิว เหยี่ยน) | |
---|---|
劉琰 | |
ขุนพลทหารม้าและรถรบ (車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 230 – ค.ศ. 234 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
เสนาบดีรักษาราชวัง (衛尉 เว่ย์เว่ย์) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 223 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ที่ปรึกษาการทหารส่วนกลาง (中軍師 จงจฺวินซือ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 223 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ขุนพลทัพหลัง (後將軍 โฮ่วเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 223 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
เจ้าเมืองกู้หลิง (固陵太守 กู้หลิงไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 214 – ค.ศ. 223 | |
กษัตริย์ | เล่าปี่ |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ นครชฺวีฟู่ มณฑลชานตง |
เสียชีวิต | ค.ศ. 234 นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน |
คู่สมรส | หูชื่อ |
อาชีพ | ขุนพล |
ชื่อรอง | เวย์ชั่ว (威碩) |
บรรดาศักดิ์ | ตูเซียงโหว (都鄉侯) |
เล่าตำ[1] หรือ เล่าต้าย[2] (เสียชีวิต ค.ศ. 234) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หลิว เหยี่ยน (จีน: 劉琰; พินอิน: Liú Yǎn) ชื่อรอง เวย์ชั่ว (จีน: 威碩; พินอิน: Wēishuò) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีนที่รับราชการมาอย่างยาวนาน โดยรับใช้ขุนศึกเล่าปี่ตั้งแต่ช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เล่าตำเป็นผู้มีหน้าตาดีและพูดเก่ง มีตำแหน่งราชการสูงและเป็นที่ชื่นชมอย่างมาก แต่เป็นที่สงสัยในเรื่องความสามารถเพราะมีตำแหน่งสูงส่งเกินกว่าผลงานที่ปฏิบัติและมีปัญหาในเรื่องการเมาสุรา เคยเกือบถูกไล่ออกจากราชการหลังมีเรื่องราววิวาทกับอุยเอี๋ยน ต่อมาเล่าตำมีปัญหากับหูชื่อผู้เป็นภรรยาและทำร้ายหูชื่อโดยการให้ทหารใช้รองเท้าฟาดหน้าเพราะสงสัยว่าหูชื่อลอบมีความสัมพันธ์กับจักรพรรดิเล่าเสี้ยน หูชื่อจึงฟ้องร้องเรื่องพฤติกรรมของเล่าตำ จักรพรรดิเล่าเสี้ยนจึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตเล่าตำ[3][4]
การรับราชการช่วงต้นกับเล่าปี่
[แก้]เล่าตำเกิดในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในราชรัฐโลก๊ก (魯國 หลู่กั๋ว) ซึ่งอยู่บริเวณนครชฺวีฟู่ มณฑลชานตงในปัจจุบัน[5] เมื่อขุนศึกเล่าปี่ดำรงตำแหน่งข้าหลวงมณฑลในนามของมณฑลอิจิ๋วในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 190 ภายใต้โตเกี๋ยม เล่าปี่ได้พบกับเล่าตำและรับเล่าตำมารับราชการกับตนในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ช่วย (從事 ฉงชื่อ) เล่าตำเป็นชายที่มีเสน่ห์ รูปงาม และมีวาทศิลป์ มีทักษะในการโต้วาทีและยังเป็นเชื้อพระวงศ์ เล่าตำกลายเป็นคนสนิทของเล่าปี่และติดตามเล่าปี่ในการเดินทางข้ามแผ่นดิน[6]
ในปี ค.ศ. 214 ภายหลังเล่าปี่เข้ายึดมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) จากขุนศึกเล่าเจี้ยง[7] เล่าปี่แต่งตั้งให้เล่าตำเป็นเจ้าเมืองของเมืองกู้หลิง (固陵郡 กู้หลิงจฺวิ้น; หรือเมืองปาตง 巴東郡 ปาตงจฺวิ้น; ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของนครฉงชิ่งในปัจจุบัน)[8]
รับราชการกับเล่าเสี้ยน
[แก้]ในปี ค.ศ. 223[9] หลังจากที่เล่าเสี้ยนโอรสและรัชทายาทของเล่าปี่ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก พระองค์ทรงแต่งตั้งให้เล่าจำมีบรรดาศักดิ์เป็นตูเซียงโหว (都鄉侯) และพระราชทานเกียรติและเอกสิทธิ์เป็นรองจากลิเงียม พระองค์ยังทรงแต่งตั้งเล่าตำให้เป็นเสนาบดีรักษาราชวัง (衛尉 เว่ย์เว่ย์), ที่ปรึกษาการทหารส่วนกลาง (中軍師 จงจฺวินซือ) และขุนพลทัพหลัง (後將軍 โฮ่วเจียงจฺวิน) ภายหลังเล่าตำได้เลื่อนตำแหน่งเป็นขุนพลทหารม้าและรถรบ (車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน)[10]
แม้ว่าเล่าตำดำรงตำแหน่งสำคัญ แต่ก็ไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในราชการของรัฐและราชการทหาร ในขณะที่แสดงความสามารถด้านราชการเพียงเล็กน้อย เล่าตำมีทหารใต้บังคับบัญชาเพียงพันคน จูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กจึงเยาะเย้ยว่าเล่าตำเป็นผู้วิจารณ์ที่เป็นเพียงผู้ชม[11] ในช่วงนอกเวลาราชการ เล่าตำดำเนินชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยและโอ้อวด เล่าตำยังมีหญิงรับใช้หลายสิบคนช่วยดูแล หญิงรับใช้หลายคนสามารถร้องและเล่นดนตรี เล่าตำยังสอนหญิงรับใช้เหล่านี้ให้ท่อง "หลู่หลิงกวางเตี้ยนฟู่" (魯靈光殿賦) ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์ที่ประพันธ์โดยหวาง เหยียนโช่ว (王延壽)[12]
ในปี ค.ศ. 232 เล่าตำเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทกับอุยเอี๋ยนขุนพลจ๊กก๊ก และกล่าวหาอุยเอี๋ยนด้วยข้อหาที่ไม่มีมูลความจริง หลักจากจูกัดเหลียงปลดเล่าตำออกจากตำแหน่ง[13] เล่าตำเขียนหนังสือขอขมาถึงจูกัดเหลียงความว่า:
"ข้าพเจ้ามีนิสัยไปในทางโอ้อวดและเสแสร้ง ข้าพเจ้าไม่เคยได้ใส่ใจพฤติกรรมของตนเลย ที่เลวร้ายกว่านั้นคือข้าพเจ้ามักจะพูดไร้สาระเวลาเมาสุรา ตั้งแต่ข้าพเจ้าเริ่มติดตามจักรพรรดิองค์ก่อน ก็ได้พูดเรื่องเหลวไหลมากมายที่เป็นอันตรายต่อชะตากรรมของรัฐ ข้าพเจ้ารู้สึกขอบคุณต่อท่านที่เห็นว่าข้าพเจ้าซื่อสัตย์ภักดีต่อรัฐ ที่ให้อภัยข้าพเจ้าในเรื่องข้อบกพร่องจำนวนมาก ที่ให้การสนับสนุนข้าพเจ้าอย่างมาก และที่อนุญาตให้ข้าพเจ้าได้รับตำแหน่งสูงอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ข้าพเจ้าชอบเสพสุราและไม่ระวังคำพูดของตนเอง ท่านใจดีและใจกว้างเพียงพอที่จะให้อภัยการกระทำผิดของข้าพเจ้าและไม่เอาเรื่องเอาราวสืบไป ทำให้ข้าพเจ้ารักษาชีวิตไว้ได้ ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่อย่างระมัดระวังยิ่งขึ้น จูงใจตนเองให้กระทำการดี และแก้ไขความผิดพลาดของตัวข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าขอสาบานต่อเทพยดาว่าข้าพเจ้าจะกระทำเช่นนี้ หากข้าพเจ้าไม่อาจรับใช้รัฐด้วยชีวิตของข้าพเจ้าได้ เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้าก็จะรู้สึกละอายใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป"[14]
จูกัดเหลียงจึงส่งเล่าตำกลับไปเซงโต๋ (成都 เฉิงตู) นครหลวงของจ๊กก๊ก และคืนตำแหน่งเดิมให้เล่าตำ[15]
ความล่มจมและการถูกประหารชีวิต
[แก้]เล่าตำไม่สามารถรักษาคำมั่นที่จะแก้ไขข้อบกพร่องและควบคุมการดื่มสุราของตน ความคิดของเล่าตำสับสน เรฟ เดอ เครสพิกนีมีความเห็นว่าเล่าตำอาจมีอาการป่วยทางจิต[4] ในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ค.ศ. 234 หูชื่อ (胡氏) ภรรยาของเล่าตำเข้าไปในพระราชวังเพื่อถวายบังคมต่องอซีผู้เป็นพระพันปีหลวงและเป็นพระมเหสีของเล่าปี่อดีตจักรพรรดิของจ๊กก๊ก งอซีทรงมีรับสั่งให้หูชื่อยังคงพำนักอยู่ในพระราชวัง หูชื่อกลับไปบ้านหลังพำนักในพระราชวังเป็นเวลาหนึ่งเดือน[16]
เนื่องจากหูชื่อมีรูปโฉมงดงาม เล่าตำจึงสงสัยว่าหูชื่อลอบมีความสัมพันธ์ลับกับจักรพรรดิเล่าเสี้ยนในช่วงหนึ่งเดือนที่หูชื่อพำนักในพระราชวัง เล่าตำจึงสั่งทหารของคน 500 ตนให้ทำร้ายหูชื่อโดยการใช้รองเท้าฟาดใส่หน้า จากนั้นจึงหย่ากับหูชื่อและขับไล่ออกจากบ้านให้กลับไปหาครอบครัวเดิม[17]
หูชื่อฟ้องร้องต่อราชสำนักเรื่องพฤติกรรมทารุณของเล่าตำ เป็นผลทำให้เล่าตำถูกจับกุมและถูกขังคุก[18] เจ้าหน้าที่สอบสวนให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "ทหารไม่ควรช่วยผู้ใดทำร้ายภรรยาของคนผู้นั้น รองเท้าไม่ควรใช้ในการฟาดใส่หน้าผู้ใด"[19] เล่าตำจึงถูกประหารชีวิต และศพถูกทิ้งข้างถนน หลังเรื่องอื้อฉาวนี้ ราชสำนักจ๊กก๊กจึงมีคำสั่งห้ามการอนุญาตให้ภรรยาและมารดาของข้าราชการใด ๆ เข้ามาในพระราชวังในช่วงการเฉลิมฉลอง[20]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("แล้วขงเบ้งก็ถวายบังคมลามาที่อยู่ จึงจัดแจงนายทหารสามสิบคน อุยเอี๋ยน เตียวเอ๊ก อองเป๋ง ลิอิ๋น ลิหงี ม้าต้าย เลียวฮัว ม้าตง เตียวหงี เล่าตำ เปงจี๋ ม้าเจ๊ก อ้วนหลิม งออี้ โกเสียง งอปัน เอียวหงี เล่าเป๋า เคาอิ้น เตงหำ เล่าปิ้น กัวหยง ออจี้ เงี้ยมอ้าน เหียนสิบ ตอหงี ตอกี๋ เซงฮู ฮวนกี๋ อวนเกี๋ยน ตังควด กวนหิน เตียวเปา จะยกไปตีเมืองฮูโต๋") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 17, 2023.
- ↑ ("ขงเบ้งจึงว่า บัดนี้การในเมืองลำอั๋นเราก็ทำสำเร็จแล้ว แต่ทหารซึ่งเราใช้ให้ถือหนังสือไปเมืองเทียนซุยนั้นยังไม่กลับมา จะเปนประการใดก็มิได้แจ้ง จำเราจะยกกองทัพไปตีเอาเมืองเทียนซุยให้ได้ แล้วจึงให้เล่าต้ายอยู่รักษาเมือง ให้อุยเอี๋ยนคุมทหารเปนกองหน้ายกล่วงไปก่อน ตัวขงเบ้งก็ยกไปภายหลัง") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 12, 2023.
- ↑ สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ 4.0 4.1 De Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD) (ภาษาอังกฤษ). Boston: Brill. p. 573. ISBN 9789004156050.
- ↑ (劉琰字威碩,魯國人也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (先主在豫州,闢為從事,以其宗姓,有風流,善談論,厚親待之,遂隨從周旋,常為賓客。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ Sima (1084), vol. 67.
- ↑ (先主定益州,以琰為固陵太守。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ Sima (1084), vol. 70.
- ↑ (後主立,封都鄉侯,班位每亞李嚴,為衛尉中軍師後將軍,遷車騎將軍。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (然不豫國政,但領兵千餘,隨丞相亮諷議而已。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (車服飲食,號為侈靡,侍婢數十,皆能為聲樂,又悉教誦讀魯靈光殿賦。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (建興十年,與前軍師魏延不和,言語虛誕,亮責讓之。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (琰與亮箋謝曰:「琰稟性空虛,本薄操行,加有酒荒之病,自先帝以來,紛紜之論,殆將傾覆。頗蒙明公本其一心在國,原其身中穢垢,扶持全濟,致其祿位,以至今日。間者迷醉,言有違錯,慈恩含忍,不致之於理,使得全完,保育性命。雖必克己責躬,改過投死,以誓神靈;無所用命,則靡寄顏。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (於是亮遣琰還成都,官位如故。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (琰失志慌惚。[建興]十二年正月,琰妻胡氏入賀太后,太后令特留胡氏,經月乃出。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (胡氏有美色,琰疑其與後主有私,呼(卒)五百撾胡,至於以履搏面,而後棄遣。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (胡具以告言琰,琰坐下獄。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (有司議曰:「卒非撾妻之人,面非受履之地。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (琰竟棄市。自是大臣妻母朝慶遂絕。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.