เทกกิงแชนเซส
เทกกิงแชนเซส Taking Chances | ||||
---|---|---|---|---|
ภาพปกอัลบั้ม เทกกิงแชนเซส | ||||
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (ดูประวัติการจำหน่าย) | |||
บันทึกเสียง | 2 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 | |||
แนวเพลง | ป็อป ร็อก อาร์แอนด์บี | |||
ความยาว | ซีดี 73:39 ดีวีดี 25:00 | |||
ค่ายเพลง | โคลัมเบีย อีพิก | |||
โปรดิวเซอร์ | Peer Astrom, Anders Bagge, Kara DioGuardi, The-Dream, David Hodges, R. Kelly, Emanuel "Eman" Kiriakou, Kristian Lundin, Ben Moody, Ne-Yo, Linda Perry, John Shanks | |||
อันดับความนิยมจากนักวิจารณ์ดนตรี | ||||
ลำดับอัลบั้มของเซลีน ดิออน | ||||
| ||||
ภาพปกอื่นๆของอัลบั้ม | ||||
กล่องนักสะสม | ||||
ภาพปกเพิ่มเติม | ||||
ภาพปกเพิ่มเติม | ||||
ฉบับจำหน่ายในวอลมาร์ท | ||||
ซิงเกิลจากเทกกิงแชนเซส | ||||
|
เทกกิงแชนเซส (อังกฤษ: Taking Chances) คืออัลบั้มภาษาอังกฤษของเซลีน ดิออน ออกจำหน่ายในวันที่ 7 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ทั่วโลก[1] เป็นอัลบั้มภาษาอังกฤษชุดที่ 13 และเมื่อนับรวมอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสแล้ว อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่ 35 ในส่วนของรูปแบบกล่องนักสะสมอันประกอบไปด้วยซีดี, ดีวีดี และน้ำหอม ออกจำหน่ายในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในอเมริกาเหนือ [2] และระหว่างวันที่ 8 และ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ในยุโรป[3]
เทกกิงแชนเซส เริ่มบันทึกเสียงในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่สตูดิโอปาล์มส์[4] ในเบื้องต้นได้มีการกำหนดชื่ออัลบั้มว่า เดอะวูแมนอินมี (อังกฤษ: The Woman in Me) แต่เนื่องจากมีชื่อซ้ำกับอัลบั้มฮิตของชาเนีย ทเวนอันออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2538 จึงได้มีการทำสำรวจจากผู้ชมคอนเสิร์ตของเธอที่ลาส เวกัส และได้ใช้ชื่ออัลบั้มใหม่นี้ว่า เทกกิงแชนเซส[5]
อัลบั้มนี้ใช้เพลง "เทกกิงแชนเซส" เป็นซิงเกิลแรก[6] และออกจำหน่ายซิงเกิลดังกล่าวในรูปธรรมเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยมีเพลง "แมปทูมายฮาร์ต" (อังกฤษ: Map to My Heart) บรรจุในแผ่นซิงเกิลดังกล่าว และไม่มีการบรรจุเพลงนี้ลงในอัลบั้มแต่อย่างใด ยกเว้นฉบับในประเทศญี่ปุ่นอันมีเพลงพิเศษ 2 เพลง คือ "แมปทูมายฮาร์ต" และ "เดอะรีซันไอโกออน"
เซลีนประชาสัมพันธ์อัลบั้มนี้ผ่านรายการโทรทัศน์หลายรายการ ทั้งในอเมริกา และยุโรป ได้แก่ สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, อิตาลี และเยอรมนี นอกจากนี้เซลีนยังจัด คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซส ไปยังเมืองสำคัญทั่วโลก เพื่อประชาสัมพันธ์อัลบั้มนี้อีกด้วย
การสร้างและอำนวยการผลิต
[แก้]การบันทึกเสียง
[แก้]ภายหลังว่างเว้นการออกอัลบั้มภาษาอังกฤษกว่า 3 ปี เซลีนได้กลับเข้าสู่สตูดิโอเพื่อบันทึกเสียงอีกครั้ง โดยใช้ช่วงเวลาวันหยุดพักผ่อนของเธอจากการแสดงชุด อะนิวเดย์... ระหว่างวันที่ 2 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550[7] โดยมี 4 เพลงได้บันทึกเสียงก่อนหน้าเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 แล้ว[8] เซลีนบันทึกเสียงอัลบั้มนี้ที่สตูดิโอปาล์มส[4] ในลาสเวกัส เรอเน อองเชลลีล สามีและผู้จัดการส่วนตัวของเซลีนได้กล่าวว่าอัลบั้มนี้จะมีความเป็นร็อกมากขึ้น[8]
อัลบั้มนี้เซลีนได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์ใหม่ๆหลายคน อาทิจอห์น แชงส์ โปรดิวเซอร์เจ้าของรางวัลแกรมมีด้านอำนวยการผลิตในเพลงเปิดตัวอัลบั้ม "เทกกิงแชนเซส" และเพลง "อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน", เบ็น มูดดี อดีตสมาชิกวงอีวานเอสเซนและเดวิด ฮอดเจส ในเพลง "อะโลน" เป็นต้น
ช่วงการบันทึกเสียงอัลบั้มนี้ทั้งหมดได้บันทึกเพลงทั้งสิ้น 19 เพลง โดยบรรจุลงในอัลบั้มนี้ 16 เพลง ยกเว้นฉบับของประเทศญี่ปุ่นและไอทูนส์ที่ได้เพิ่มเพลง "แมปทูมายฮาร์ต" (อังกฤษ: Map to My Heart) และ "เดอะรีซันไอโกออน" (อังกฤษ: The Reason I Go On) นอกจากนี้ยังได้บันทึกเสียงเพลง "เล็ตมีบียัวร์โซลเดอร์" (อังกฤษ: Let Me Be Your Soldier) แต่มิได้นำลงบรรจุในอัลบั้มนี้ ต่อมาได้บรรจุเพลงนี้ลงในอัลบั้มเพลงฮิต มายเลิฟ: เอสเซนเชียลคอลเลกชัน (อังกฤษ: My Love: Essential Collection) โดยใช้ชื่อใหม่ว่า "แดร์คัมส์อะไทม์" (อังกฤษ: There Comes a Time) ผลงานอำนวยการสร้างของ Emanuel Kiriakou
ดนตรีและบทเพลง
[แก้]เทกกิงแชนเซส เป็นอัลบั้มที่มีเพลงแนวร็อกมากขึ้น นับเป็นการเปลี่ยนแนวเพลงของเซลีนไปจากเดิม เห็นได้จากการร่วมงานกับโปรดิวเซอร์ใหม่ๆ อาทิ จอห์น แชงส์, เบ็น มูดดี, เดวิด ฮอดเจส เป็นต้น และการนำเพลงเก่าในแนวร็อกมาขับร้องใหม่หลายเพลง อาทิ "แคนต์ไฟต์เดอะฟิลลิน" (อังกฤษ: Can't Fight the Feelin'), เพลง "อะโลน" (อังกฤษ: Alone) ผลงานการประพันธ์ของบิลลี สตีนเบิร์ก และทอม เคลลี อันเป็นเพลงเดิมของวงฮาร์ต, เพลง "นิวดอร์น" (อังกฤษ: New Dawn) เพลงเดิมของลินดา เพอร์รี ผู้ประพันธ์เพลง และอำนวยการสร้างเพลง "มายเลิฟ" (อังกฤษ: My Love) ในอัลบั้มนี้ เพลง "ไรต์เน็กซ์ทูเดอะไรต์วัน" (อังกฤษ: Right Next to The Right One) ผลงานการประพันธ์และขับร้องโดยทิม คริสเทนเซน เป็นต้น
อย่างไรก็ดี อัลบั้มชุดนี้ยังคงบรรจุเพลงป็อป อันเป็นแนวเพลงของเซลีนเอง อาทิ เพลง "มายเลิฟ", เพลง "อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน" ซึ่งภายหลังได้ขับร้องร่วมกับยูนะ อิโตะ นักร้องสาวชาวญี่ปุ่น
การออกจำหน่าย
[แก้]การประชาสัมพันธ์
[แก้]ในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เซลีนเริ่มต้นการประชาสัมพันธ์อัลบั้ม เทกกิงแชนเซส ในยุโรป (สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, อิตาลี และเยอรมนี) [9] และอเมริกาเหนือ ผ่านรายการโทรทัศน์หลายรายการ อาทิ ดิโอปราห์วินฟรีย์โชว์ (อังกฤษ: The Oprah Winfrey Show), "The Ellen DeGeneres Show", "ทูเดย์โชว์" (อังกฤษ: Today Show), "เดอะวิว" (อังกฤษ: The View)", "เออร์ลีมอร์นิงโชว์" (อังกฤษ: Early Morning Show)", "แดนซิงวิธเดอะสตาร์ส" (อังกฤษ: Dancing With the Stars)" และ "ออลมายชิลเดรน" (อังกฤษ: All My Children) ในอเมริกา และรายการในสหราชอาณาจักรได้แก่รายการ "ดิเอกซ์แฟกเตอร์" (อังกฤษ: The X Factor), "BAFTA", "แซตเทอร์เดย์ไนต์ดีวา" (อังกฤษ: Saturday Night Diva) และ "แอนออเดียนวิธเซลีนดิออน" (อังกฤษ: An Audience with Celine Dion) แสดงในปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในรายการ "สตาร์อะเคดิมี" (อังกฤษ: Star Academy) และ "Vivement dimanche" ในโรม ประเทศอิตาลี ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และในเยอรมนี ในรายการ "Wetten Dass...?" หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อประชาสัมพันธ์อัลบั้มเธอต่อไป[10]
ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สถานีโทรทัศน์ไอทีวีของสหราชอาณาจักรได้แพร่ภาพโทรทัศน์รายการพิเศษ "แอนออเดียนวิธเซลีน ดิออน"[11] ความสำเร็จของโทรทัศน์รายการพิเศษนี้ทำให้ได้จัดรายการโทรทัศน์พิเศษ แดตส์จัสต์เดอะวูแมนอินมี[12] ออกอากาศเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ทางช่องซีบีเอส ในสหรัฐอเมริกา และแคนาดาทางช่องซีทีวี
ในประเทศไทยได้มีการจัดงาน "เซลีน ดิออนเพื่อเด็ก และสตรี" ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชิดลม บริเวณลานหน้าร้านบีทูเอส เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[13][14] และจัดโทรทัศน์รายการพิเศษ "เทกกิงแชนเซส ทีวีสเปเชียล" ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยมีการแพร่ภาพจากการแสดงชุด อะนิวเดย์... ของเซลีน ดิออน ในเพลง "แอมอะไลฟ์", "มายฮาร์ตวิลโกออน" และมิวสิกวิดีโอเพลง "เทกกิงแชนเซส"
นอกจากนี้เซลีนยังจัด คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซส เพื่อประชาสัมพันธือัลบั้มนี้อีกทางหนึ่ง โดยเป็นการจัดคอนเสิร์ตทัวร์ทั่วโลกไปยังเมืองสำคัญๆ ทั้ง 5 ทวีป โดยเริ่มต้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ณ เดอะโคคา-โคลาโดม เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้[15] และสิ้นสุดในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ณ Qwest Center Omaha เมือง Omaha ประเทศสหรัฐอเมริกา[16]
อัลบั้มและซิงเกิล
[แก้]อัลบั้ม เทกกิงแชนเซส ออกจำหน่ายทั่วโลก โดยเริ่มจำหน่ายวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ในประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก โดยมีซิงเกิลประชาสัมพันธ์อัลบั้มซิงเกิลแรกคือ "เทกกิงแชนเซส" เพลงนี้เริ่มต้นการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสถานีวิทยุแล้วตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550 และออกจำหน่ายในรูปแบบซิงเกิลซีดีเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ในประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก เพลงนี้ขึ้นชาร์ตเพลงร่วมสมัยผู้ใหญ่ของแคนาดา (Canadian Adult Contemporary Chart) และชาร์ตบิลบอร์ดแดนซ์คลับเพลย์ (Billboard Hot Dance Club Play) ของสหรัฐอเมริกาในอันดับสูงสุดคืออันดับที่ 1[17][18]
ซิงเกิลที่ 2 จากอัลบั้มนี้แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลก อันได้แก่ ในสหราชอาณาจักรได้ประชาสัมพันธ์เพลง "อายส์ออนมี" เป็นซิงเกิลที่ 2 โดยขึ้นชาร์ตอันดับสูงสุดในชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร (UK Singles Chart) ในอันดับสูงสุดเพียงอันดับที่ 113[19] ส่วนในยุโรปและอเมริกาเหนือ และไทยได้ประชาสัมพันธ์เพลง "อะโลน" ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ 2 ยกเว้นในสหราชอาณาจักรที่ประชาสัมพันธ์เพลงนี้เป็นซิงเกิลที่ 3 โดยขึ้นชาร์ตเพลงร่วมสมัยผู้ใหญ่ของแคนาดาสูงสุดในอันดับที่ 7 เท่านั้น[17] และญี่ปุ่นประชาสัมพันธ์เพลง "อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน" เป็นซิงเกิลที่ 2 โดยเผยแพร่ในฉบับที่เซลีน ร้องคู่กับยูนะ อิโตะ นักร้องสาวชาวญี่ปุ่น ในชื่อเพลงใหม่ว่า "อะนะตะ กะ อิรุ คะงิริ~อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน~" ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551 ซิงเกิลนี้เปิดตัวในอันดับที่ 8 ชาร์ตออริกอนของประเทศญี่ปุ่น ด้วยยอดขาย 11,778 ชุด[20]
การตอบรับ
[แก้]ความสำเร็จในชาร์ต
[แก้]จากรายงานของ IFPI อัลบั้ม เทกกิงแชนเซส มียอดขายกว่า 3.1 ล้านชุดในสิ้นปี พ.ศ. 2550 และเป็นอัลบั้มขายดีที่สุดลำดับที่ 19 แห่งปี แม้ว่าจะออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายนก็ตาม[21] ปัจจุบันอัลบั้มนี้มียอดขายกว่า 3,500,000 ชุดทั่วโลก และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำในหลายประเทศ รวมถึงรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว และรางวัลอื่นๆอีกมากมาย ความสำเร็จของอัลบั้มนี้เห็นได้ชัดจากยอดจำหน่ายในแคนาดา ซึ่งอัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตอันดับที่ 1 มียอดขายในสัปดาห์แรกสูงสุดในปี พ.ศ. 2550 คือ 79,354 ชุด และกลายเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในแคนาดาในปีนั้น (340,000 ชุด) ปัจจุบันมียอดการจำหน่ายกว่าอีก 400,000 ชุด แล้วได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว 4 แผ่น
เทกกิงแชนเซส ขึ้นชาร์ต 1 ใน 10 ในหลายประเทศ และมียอดจำหน่ายทั่วโลกเป็นที่น่าพึงพอใจ อาทิ สหราชอาณาจักร มียอดจำหน่ายกว่า 365,000 ชุด และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว[22] ในประเทศญี่ปุ่น อัลบั้มนี้กลายเป็นอัลบั้มของเซลีนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดหลังจากอัลบั้ม อะนิวเดย์แฮสคัม ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 125,000 ชุด และในสหรัฐอเมริกาขึ้นชาร์ตครั้งแรกในอันดับที่ 3 ด้วยยอดขาย 214,556 ชุด และมียอดขายรวมกว่า 1,000,000 ชุด ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว[23]
บทวิพากษ์วิจารณ์
[แก้]เทกกิงแชนเซส ได้เปลี่ยนแนวการร้องเพลงของเซลีน จากเพลงป็อป บัลลาด สู่แนวเพลงร็อก เพื่อขยายฐานแฟนเพลงมากขึ้น โดยได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อหลายแขนงทั้งในด้านบวก และด้านลบ อาทิ เว็บไซต์เดอะสตาร์ กล่าวว่า "อัลบั้มร็อกนี้ไม่ได้ทำให้แฟนเพลงพันธุ์แท้ห่างเหินนัก แต่อาจทำให้ได้แฟนเพลงใหม่ๆอีกด้วย"[24] นพปฏล พรศิลป์ จากนิตยสาร เอนเตอร์เทน กล่าวว่าอัลบั้มนี้โดยรวมออกมาดี แต่เซลีนไม่สามารถสร้างความเป็นตัวของตัวเองได้ในทางดนตรี และกล่าวว่า " เทกกิงแชนเซส ไม่มีอะไรให้นึกถึงมากนัก ก็แค่อีกหนึ่งอัลบั้มที่เซลีนโชว์ของให้เห็นว่าเธอก็ร้องเพลงแบบนี้ได้ก็เท่านั้น"[25] รอบ เชฟฟิลด์ จากนิตยสาร โรลลิงสโตน กล่าวว่าเสียงของเซลีนยังคง "น่าเกลียดอย่างไม่ธรรมดา" และการที่เธอร่วมงานกับนี-โย ในเพลง "ไอก็อตนอตติงเลฟ" และเดอะดรีม ในเพลง "สกายส์ออฟแอล.เอ." ได้ผลลัพธ์ที่แย่มาก[26] Sal Cinquemani จากนิตยสาร สแลนต์ วิจารณ์ภาพปกของเซลีนว่า "น่าหวาดกลัว"[27]
รายชื่อเพลง
[แก้]ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "เทกกิงแชนเซส" | คารา ดิโอกัวร์ดิ, เดวิด เอ. สจ๊วต | 4:07 |
2. | "อะโลน" | บิลลี สตีนเบิร์ก, ทอม เคลลี | 3:23 |
3. | "อายส์ออนมี" | คริสเตียน ลันดิน, ซาแวน โคทีชา, เดลตา กูดเดร็ม | 3:53 |
4. | "มายเลิฟ" | ลินดา เพอร์รี | 4:08 |
5. | "แชโดวออฟเลิฟ" | แอนเดอร์ส แบ็กเก, อัลโด โนวา | 4:10 |
6. | "เซอร์ไพรส์ เซอร์ไพรส์" | ดิโอกัวร์ดิ, มาร์ติน ฮาร์ริงตัน, แอช โฮเวส | 5:14 |
7. | "ดิสไทม์" | เดวิด ฮอดเจส, เบ็น มูดดี, สตีเวน แม็กมอร์แรน | 3:47 |
8. | "นิวดาวน์" | เพอร์รี | 4:45 |
9. | "อะซองฟอร์ยู" | แบ็กเก โนวา โรเบิร์ต เวลส์ | 3:27 |
10. | "อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน" | ทิโน อิสโซ, โรซานนา ซิซิโอลา | 4:08 |
11. | "แคนต์ไฟต์เดอะฟิลลิน" | โนวา | 3:51 |
12. | "ไอก็อดน็อตติงเล็ฟต์" | เน-โย, ชาร์ลส์ ฮาร์มอน | 4:20 |
13. | "ไรตเน็กส์ทูเดะไรต์วัน" | ทิม คริสเตียนเซ็น | 4:20 |
14. | "เฟดอะเวย์" | เพียร์ แอสตรอม, ดิวิด สเต็นมาร์ค, โนวา | 3:17 |
15. | "แดตส์จัสเดอะวูแมนอินมี" | คิมเบอร์ลี ริว | 4:33 |
16. | "สกายส์ออฟแอล.เอ." | คริสโตเฟอร์ สจ๊วต, เดอะ-ดรีม, คุก ฮาร์เรลล์ | 4:24 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | ยาว |
---|---|---|---|
17. | "แมปทูมายฮาร์ต" | กาย โรช, เชลลี พีเคน | 4:15 |
18. | "เดอะรีซันไอโกออน" | คริสเตียนเซน ลูสซี, โนวา, เอ. มาร์เจียส | 3:42 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | ยาว |
---|---|---|---|
17. | "อิมมองซีเต" | ชาร์ก เวอร์เนอรุสโซ | 4:34 |
18. | "แมปทูมายฮาร์ต" | กาย โรช, เชลลี พีเคน | 4:15 |
19. | "เทกกิงแชนเซส (I-Soul extended remix)" | ดิโอกัวร์ดิ, สจ๊วต | 7:33 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "ตัวอย่างการแสดงจากดีวีดี ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์..." | |
2. | "เดอะพาวเวอร์ออฟเลิฟ" | |
3. | "ไอโดรฟออลไนต์" | |
4. | "ไอเซอร์เรนเดอร์" | |
5. | "ไอวิช" |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "แดตส์จัสเดอะวูแมนอินมี" | |
2. | "อะโลน" | |
3. | "อายส์ออนมี" | |
4. | "อะซองฟอร์ยู" | |
5. | "เซอร์ไพรส์ เซอร์ไพรส์" | |
6. | "อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน" |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "อิฟยูอาสด์มีทู" | ไดแอน วาร์เร็น | 3:55 |
2. | "เดอะพาวเวอร์ออฟเลิฟ" | Candy DeRouge, Gunther Mende, Mary Susan Applegate, Jennifer Rush | 5:43 |
3. | "บีคอสยูเลิฟด์มี" | วาร์เร็น | 4:35 |
4. | "อิตส์ออลคัมมิงแบ็กทูมีนาว" | Jim Steinman | 7:37 |
5. | "ออลบายมายเซลฟ์" | อีริก คาร์เม็น, Sergei Rachmaninoff | 5:12 |
6. | "มายฮาร์ตวิลโกออน" | เจมส ฮอร์เนอร์, วิลล์ เจ็นนิงส์ | 4:41 |
7. | "แดตส์เดอะเวย์อิตอิส" | ลันดิน, แม็กส์ มาร์ติน, อันเดรส์ คราลส์ซันส์ | 4:03 |
8. | "ไอโดรฟออลไนต์" | สตีนเบิร์ก, เคลลี | 4:00 |
ชาร์ต
[แก้]ชาร์ต | อันดับ สูงสุด |
สถานะ | ยอดขาย |
---|---|---|---|
ชาร์ตอัลบั้มอาร์เจนตินา[28] | 4 | ||
ชาร์ตอัลบั้มออสเตรเลีย[29] | 12 | พลาตินัม | 70,000[30] |
ชาร์ตอัลบั้มออสเตรีย[31] | 3 | โกลด์ | 10,000[32] |
ชาร์ตอัลบั้มเบลเยี่ยมแฟลนเดอร์[33] | 7 | โกลด์ | 15,000[34] |
ชาร์ตอัลบั้มเบลเยี่ยมวอลโลเนีย[35] | 3 | ||
ชาร์ตอัลบั้มแคนาดา[36] | 1 | 4x พลาตินัม | 400,000[37] |
ชาร์ตอัลบั้มสาธารณรัฐเชค[38] | 17 | ||
ชาร์ตอัลบั้มเดนมาร์ก[39] | 2 | พลาตินัม | 40,000[40] |
ชาร์ตอัลบั้มดัช (เนเธอร์แลนด์) [41] | 4 | โกลด์ | 45,000[42] |
ชาร์ตอัลบั้มเอสโตเนีย[43] | 19 | ||
ชาร์ตอัลบั้มยุโรปt[44] | 1 | 1,000,0001[45] | |
ชารืตอัลบั้มฟินแลนด์[46] | 13 | 15,0002[47] | |
ชาร์ตอัลบั้มฝรั่งเศส[48] | 2 | โกลด์ |
110,500[49] |
ชาร์ตอัลบั้มเยอรมัน[50] | 5 | ||
ชาร์ตอัลบั้มกรีซ[51] | 10 | ||
ชาร์ตอัลบั้มสากลกรีซ[52] | 2 | ||
ชาร์ตอัลบั้มฮังการี[53] | 12 | โกลด์ | 3,000[54] |
ชาร์ตอัลบั้มไอริช[55] | 6 | 2x พลาตินัม | 30,000[56] |
ชาร์ตอัลบั้มอิตาลี[57] | 5 | พลาตินัม | 100,000[58] |
ชาร์ตอัลบั้มญี่ปุ่น[59] | 6 | โกลด์ | 125,000[60] |
ชาร์ตอัลบั้มสากลญี่ปุ่น[61] | 2 | ||
ชาร์ตอัลบั้มแม็กซิโก[62] | 40 | ||
ชาร์ตอัลบั้มนิวซีแลนด์[63] | 4 | โกลด์ | 7,500[64] |
ชาร์ตอัลบั้มนอร์เวย์[65] | 7 | ||
ชาร์ตอัลบั้มโปแลนด์[66] | 21 | โกลด์ | 10,000[67] |
ชาร์ตอัลบั้มโปรตุเกส[68] | 9 | โกลด์ | 10,000[69] |
ชาร์ตอัลบั้มสิงคโปร์[70] | โกลด์ | 8,000[70] | |
ชาร์ตอัลบั้มแอฟริกาใต้[71] | 1 | 2x พลาตินัม | 120,000[72] |
ชาร์ตอัลบั้มสเปน[73] | 8 | โกลด์ | 40,000[74] |
ชาร์ตอัลบั้มสวีเดน[75] | 8 | โกลด์ | 20,000[76] |
ชาร์ตอัลบั้มสวิตเซอร์แลนด์[77] | 1 | พลาตินัม | 30,000[78] |
ชาร์ตอัลบั้มสหราชอาณาจักร[79] | 5 | พลาตินัม | 380,000[80] |
ชาร์ต บิลบอร์ด 200 สหรัฐอเมริกา[81] | 3 | พลาตินัม | 1,010,000[82] |
ชาร์ตอัลบั้ม บิลบอร์ด อินเทอร์เน็ต สหรัฐอเมริกา[83] | 1 |
- 1 ควรได้รับพลาตินัม (ยอดขาย 1,000,000 ชุด)
- 2 ควรได้รับโกลด์ (ยอดขาย 15,000 ชุด)
ประวัติการจำหน่าย
[แก้]- การจำหน่ายรูปธรรม:
- ซีดีเพลง 16 เพลง [84]
- ซีดีเพลง 18 เพลง (เฉพาะในญี่ปุ่น) [85]
- ซีดีและดีวีดีฉบับดีลักซ์ (ดีวีดีเป็นการแนะนำดีวีดีบันทึกการแสดงสด ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์...) [86]
- ซีดีและดีวีดี (ไต้หวัน) (ดีวีดีเป็นการแนะนำดีวีดีบันทึกการแสดงสด ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์...) และภายในบรรจุโปสการ์ด 5 ใบ
- ซีดี, ดีวีดี และน้ำหอม (กล่องนักสะสม) (ดีวีดีเป็นการแนะนำดีวีดีบันทึกการแสดงสด ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์... ประกอบด้วยรูป 16 รูปและน้ำหอมเอนแชนธิง ของเซลีน ดิออนออกแบบโดยเซลีน ดิออน [87]
- ซีดีและดีวีดี (วอล-มาร์ต) ซีดี 16 เพลง และดีวีดี เทกกิงแชนเซส เดอะเซสชัน เบื้องหลังการบันทึกเสียงและสร้างสรรค์อัลบั้ม [88]
- ซีดี 2 แผ่น (คอสต์โค) กล่องยาว ซีดีเพลง 16 เพลง และเพลงยอนิยม อีก 8 เพลง [89]
- ซีดีฉบับจีน ในกล่องแบบดีวีดี
- การจำหน่ายดิจิตอล:
- ไอทูนส์ ฉบับธรรมดา 16 เพลง
- ไอทูนส์ ฉบับมีเพลงเสริม "แมปทูมายฮาร์ต" และหนังสือดิจิตอลเล่มเล็ก สำหรับผู้สั่งจองล่วงหน้า)
- ไอทูนส์ ฉบับดีลักซ์พร้อมเพลง "แมปทูมายฮาร์ต" และวิดีโอ 4 เพลงจากไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์... และเพลง "เดอะรีซั่นไอโกออน" สำหัรบผู้สั่งจองล่วงหน้า
ประเทศ | วันจำหน่าย | ค่าย | รูปแบบ | เลขที่ในรายการสินค้า |
---|---|---|---|---|
ญี่ปุ่น | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | โซนีมิวสิกญี่ปุ่น | ซีดี | 4547366034202 |
ออสเตรีย, เยอรมนี | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | โซนีบีเอ็มจี | ซีดี | 88697081142 |
สวิตเซอร์แลนด์ | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | โซนีบีเอ็มจี | ซีดี | 88697081142 |
ซีดีและดีวีดี | 88697147842 | |||
ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | โซนีบีเอ็มจี | ซีดี | 88697081142 |
ซีดีและดีวีดี | 88697147842 | |||
ฝรั่งเศส, โปแลนด์, สหราชอาณาจักร | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | โซนีบีเอ็มจี | ซีดี | 88697081142 |
ซีดีและดีวีดี | 88697147842 | |||
แคนาดา, สหรัฐอเมริกา | 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | โซนีบีเอ็มจี | ซีดี | 88697081142 |
ซีดีและดีวีดี | 88697147842 | |||
ไทย | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | โซนีบีเอ็มจี | ซีดี | 88697081142 |
ซีดีและดีวีดี | 88697137132 | |||
บราซิล | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | โซนีบีเอ็มจี | ซีดี | 88697081142 |
แคนาดา, สหรัฐอเมริกา | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 | โซนีบีเอ็มจี | ซีดี, ดีวีดี และน้ำหอม | 88697147862 |
ออสเตรีย, สวิตเซอร์แลนด์ | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | โซนีบีเอ็มจี | ซีดี, ดีวีดี และน้ำหอม | 88697147862 |
โปแลนด์ | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | โซนีบีเอ็มจี | ซีดี, ดีวีดี และน้ำหอม | 88697147862 |
สหราชอาณาจักร | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | โซนีบีเอ็มจี | ซีดี, ดีวีดี และน้ำหอม | 88697147862 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เทกกิงแชนเซส" - อัลบั้มใหม่ของเซลีน ดิออน เก็บถาวร 2009-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ เทกกิงแชนเซส รูปแบบใหม่ เรียกข้อมูลวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ เทกกิงแชนเซส เรียกข้อมูลวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
- ↑ 4.0 4.1 ข่าวเซลีน ดิออนจากเว็บไซต์เซลีนเมเนียส์ เดือนกรกฎาคม 2007 สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ ข่าวเซลีนจากเว็บไซต์เซลีนเมเนียส์ เก็บถาวร 2008-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เดือนสิงหาคม 2007 สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ ข่าวเซลีนจากเว็บไซต์เซลีนเมเนียส์ เก็บถาวร 2009-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เดือนกันยายน 2007 สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Céline se confie à Jocelyne Cazin[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (ฝรั่งเศส)
- ↑ 8.0 8.1 ข่าวเซลีนจากเว็บไซต์เซลีนเมเนียส์ เดือนพฤษภาคม 2007 สืบค้นวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Céline Dion chantera pour la fondation Mandela[ลิงก์เสีย] เรียกข้อมูลวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550
- ↑ ข่าวเซลีนจากเว็บไซต์เซลีนเมเนียส์ เก็บถาวร 2008-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เดือนตุลาคม 2007 สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ แอนออเดียวิธเซลีน ดิออน (รายการพิเศษของไอทีวี) เรียกข้อมูลวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2551
- ↑ แดทส์จัสเดอะวูแมนอินมี (รายการโทรทัศน์พิเศษซีบีเอส) เรียกข้อมูลวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2551
- ↑ "Taking Chances อัลบั้มภาษาอังกฤษชุดล่าสุดจาก Diva อันดับ 1 ของโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-01. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
- ↑ "SONY BMG ร่วมกับ The Radio จัดกิจกรรมดีๆ "Taking Chances เพื่อเด็กและสตรี"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-22. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
- ↑ Where Céline Has Performed เก็บถาวร 2009-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Celinedion.com สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซส เก็บถาวร 2007-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Celinedion.com สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ 17.0 17.1 ชาร์ตเพลงร่วมสมัยผู้ใหญ่ประเทศแคนาดา เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552
- ↑ ชาร์ตบิลบอร์ดแดนซ์คัลบเพลย์ สิบค้นวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552
- ↑ ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร ออฟฟิเชียลชาร์ต สืบค้นวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552
- ↑ Oricon Style Weekly Ranking. สืบค้นวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ "ชาร์ตอัลบั้ม IFPI 2007" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-11. สืบค้นเมื่อ 2009-02-25.
- ↑ BPI UK[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ RIAA สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (อังกฤษ)
- ↑ เซลีนคว้าโอกาส เว็บไซต์เดอะสตาร์ สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Soundtrack Review, นิตยสาร เอนเตอร์เทน ฉบับประจำวันที่ 13 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550
- ↑ บทวิจารณ์อัลบั้ม Taking Chances : Celine Dion เก็บถาวร 2008-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์นิตยสารโรลลิงสโตน สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ วิจารณ์ดนตรีจากนิตยสารแสลนต์ Celine DIon: Taking Chances สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ "Argentinian Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-01. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
- ↑ Australian Albums Chart
- ↑ ARIA
- ↑ Austrian Albums Chart
- ↑ IFPI Austria
- ↑ Belgian Flandres Albums Chart
- ↑ "IFPI Belgium". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
- ↑ Belgian Wallonia Albums Chart
- ↑ Canadian Albums Chart
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อa
- ↑ Czech Albums Chart
- ↑ Danish Albums Chart
- ↑ IFPI Denmark
- ↑ Dutch Albums Chart
- ↑ "NVPI". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
- ↑ "Estonian Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-27. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
- ↑ European Albums Chart
- ↑ IFPI
- ↑ Finnish Albums Chart
- ↑ "IFPI Finland". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
- ↑ French Albums Chart
- ↑ [1] เก็บถาวร 2016-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน15,400 in 2008 and 95100 in 2007
- ↑ "German Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
- ↑ "Greek International Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
- ↑ "Greek Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-08-06. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
- ↑ "Hungarian Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
- ↑ "MAHASZ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-21. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
- ↑ "Irish Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-05. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
- ↑ IRMA
- ↑ "Italian Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-06. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
- ↑ FIMI
- ↑ Oricon Albums Chart
- ↑ RIAJ
- ↑ Oricon International Albums Chart
- ↑ "Mexican Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-29. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
- ↑ "New Zealand Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-02. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
- ↑ "RIANZ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
- ↑ "Norwegian Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
- ↑ Polish Albums Chart
- ↑ "ZPAV". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-06. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
- ↑ "Portuguese Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
- ↑ "AFP". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
- ↑ 70.0 70.1 Singapore too cheap for Celine Dion เก็บถาวร 2009-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved April 11, 2008.
- ↑ "South Africa Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-19. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
- ↑ "Celine breaks showbiz records in SA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-21. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
- ↑ Spanish Albums Chart
- ↑ PROMUSICAE
- ↑ Swedish Albums Chart
- ↑ IFPI Sweden
- ↑ Swiss Albums Chart
- ↑ IFPI Switzerland
- ↑ UK Albums Chart
- ↑ BPI
- ↑ U.S. Albums Chart
- ↑ RIAA
- ↑ Top Internet Albums
- ↑ เทกกิงแชนเซส เรียกข้อมูลวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ เทกกิงแชนเซส เรียกข้อมูลวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ อะเมซอน เซลีน ดิออน เทกกิงแชนเซส เรียกข้อมูลวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ [http://www.amazon.com/dp/B000VI5CFO?tag=celinechannel-20&linkCode=xm2&camp=1789&creativeASIN=B000VI5CFO Taking Chances (CD/DVD Expanded Special Packaging) ENHANCED เรียกข้อมูลวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ CD: Taking Chances (with Exclusive Bonus DVD) (Digi-Pak) เรียกข้อมูลวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ เซลีน ดิออน - เทกกิงแชนเซส - กล่องยาว[ลิงก์เสีย] เรียกข้อมูลวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550